พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2277/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกฎมหาเถรสมาคมโดยที่ประชุมมหาเถรสมาคม การใช้บังคับย้อนหลัง และผลกระทบต่อการแต่งตั้งเจ้าอาวาส
โจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2506) ข้อ 6 และข้อ 22 และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแหลมโดยชอบตามมาตรา 23 ต่อมาได้มีมติของที่ประชุมมหาเถรสมาคมตีความในข้อ 23 กำหนดคุณสมบัติของพระภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อ 6 และข้อ 22 โดยข้อความตามข้อ 23 ชัดเจนอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาจะต้องตีความ การตีความดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่มหาเถรสมาคมแก้ไขกฎมหาเถรสมาคมโดยเพิ่มเติมคุณสมบัติของพระภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส อันเป็นการตรากฎมหาเถรสมาคมเพิ่มเติม ต้องประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์ก่อนจึงจะใช้บังคับได้ เมื่อปรากฏว่าเพิ่งจะลงประกาศภายหลังจากที่โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสโดยชอบแล้ว จึงไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้เพราะจะเป็นการใช้บังคับย้อนหลัง ดังนั้น การที่จำเลยมีคำสั่งว่าการแต่งตั้งโจทก์เป็นเจ้าอาวาสเป็นโมฆะเพราะขาดคุณสมบัติตามมติตีความของที่ประชุมมหาเถรสมาคมดังกล่าวจึงเป็นการมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2277/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกฎมหาเถรสมาคมโดยมติที่ประชุม และผลกระทบต่อการแต่งตั้งเจ้าอาวาส การใช้บังคับย้อนหลัง
โจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 5(พ.ศ. 2506) ข้อ 6 และข้อ 22 และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแหลมโดยชอบตามมาตรา 23 ต่อมาได้มีมติของที่ประชุมมหาเถรสมาคมตีความในข้อ 23 กำหนดคุณสมบัติของพระภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อ 6 และข้อ 22 โดยข้อความตามข้อ 23 ชัดเจนอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาจะต้องตีความ การตีความดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่มหาเถรสมาคมแก้ไขกฎมหาเถรสมาคมโดยเพิ่มเติมคุณสมบัติของพระภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส อันเป็นการตรากฎมหาเถรสมาคมเพิ่มเติม ต้องประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์ก่อนจึงจะใช้บังคับได้ เมื่อปรากฏว่าเพิ่งจะลงประกาศภายหลังจากที่โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสโดยชอบแล้ว จึงไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้เพราะจะเป็นการใช้บังคับย้อนหลัง ดังนั้นการที่จำเลยมีคำสั่งว่าการแต่งตั้งโจทก์เป็นเจ้าอาวาสเป็นโมฆะเพราะขาดคุณสมบัติตามมติตีความของที่ประชุมมหาเถรสมาคมดังกล่าวจึงเป็นการมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1534/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบศาสนสมบัติและเอกสารของวัดให้เจ้าอาวาสรูปใหม่หลังพ้นจากหน้าที่รักษาการ
ผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสนอกจากจะต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามข้อ 6 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2506) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการแล้ว จะต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 26 ด้วย คือ (1) มีพรรษาพ้น 5 และ (2) เป็นผู้ทรงเกียรติคุณ เป็นที่เคารพนับถือของบรรพชิตและคฤหัสถ์ในถิ่นนั้น ปรากฏว่าใน การประชุมปรึกษาเพื่อหาตัวผู้ที่จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสพระภิกษุในวัดโจทก์ร่วมประชุม 19 รูป ออกเสียงให้พระ น. เป็นเจ้าอาวาส 14 รูปออกเสียงให้จำเลย 5 รูป ใน 5 รูปนี้ มีพระ น. รวมอยู่ด้วย แม้จำเลยมีพรรษายุกาลสูงกว่าพระ น. แต่ตามพระวินัย กฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ กฎมหาเถรสมาคมตลอดจนสังฆาณัติไม่ปรากฏเลยว่าจะต้องแต่งตั้งจากพระภิกษุที่มีพรรษาสูงสุด ในวัดนั้น การที่พระ น. ลงชื่อในตราตั้งพระ น. เป็นเจ้าอาวาสวัดโจทก์กระทำในฐานะเจ้าคณะจังหวัดมิใช่ในฐานะส่วนตัว พระ น. จึงเป็น เจ้าอาวาสวัดโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสัญญาจ้างทำของ: การมอบอำนาจของเจ้าอาวาสและคณะกรรมการวัด
พระครู อ. เป็นเจ้าอาวาสวัด บ. โจทก์ปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีว่าพระครู อ. มอบอำนาจให้ ส. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลย เรื่องผิดสัญญาจ้างทำของและเรียกค่าเสียหายเป็นการมอบอำนาจในฐานะเป็นเจ้าอาวาสวัด บ. มิใช่ฐานะส่วนตัว ส่วนเรื่องคณะกรรมการวัดโจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ทำสัญญาจ้างทำของกับจำเลยนั้น ปรากฏตามสัญญาจ้างทำของว่า เป็นการทำสัญญาระหว่างคณะกรรมการวัด โจทก์ โดย ส.ผู้รับมอบอำนาจ กับจำเลย จำเลยมิได้โต้เถียงประการใด หลังจากทำสัญญากันแล้ว โจทก์จำเลยได้ปฏิบัติตามสัญญาในเรื่องส่งของรับของตลอดจนการชำระเงิน แสดงว่าจำเลยยอมรับว่า ส.เป็นตัวแทนวัดโจทก์ จึงเท่ากับเป็นการยอมรับหนังสือมอบอำนาจอยู่แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือแจ้งความเห็นให้ถอดถอนผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส มิใช่คำสั่งถอดถอน
เจ้าคณะจังหวัดมีหนังสือแจ้งไปยังเจ้าคณะอำเภอว่า พระภิกษุผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสละเมิดจริยพระสังฆาธิการสมควรถอดถอน ให้อำเภอแจ้งให้ตำบลทราบ และสั่งให้ดำเนินการต่อไปให้เรียบร้อยดังนี้ มิใช่เป็นคำสั่งให้ถอดถอนผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ไม่มีปัญหาว่าคำสั่งถอดถอนชอบหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของวัดต่อการกระทำของเจ้าอาวาส กรณีซ่อมแซมถนนสาธารณะ การกระทำนอกหน้าที่ไม่มีผลผูกพันวัด
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 37 (1) บัญญัติให้เจ้าอาวาสมีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดบำรุงรักษาวัด จัดกิจการของวัด และจัดศาสนาสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสของวัดจำเลยที่ 2 ดำเนินการจ้างรถแทร็กเตอร์ไถดินทำถนนและซ่อมแซมถนนซึ่งเป็นถนนสาธารณประโยชน์ มิใช่สมบัติของวัด ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำในฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 2 เมื่อการใช้รถแทร็กเตอร์ไถดินนั้นเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะที่ดินที่ถูกไดเอาดินไปเป็นที่ดินของโจทก์ และโจทก์มิได้ยินยอม จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
ปัญหาที่กล่าวในวรรคก่อน จำเลยที่ 2 มิได้ยกขึ้นให้การต่อสู้ไว้ แต่จำเลยที่ 2 เป็นวัดในพระพุทธศาสนา การที่จะให้วัดต้องร่วมรับผิดโดยไม่มีความผิด ย่อมฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
ปัญหาที่กล่าวในวรรคก่อน จำเลยที่ 2 มิได้ยกขึ้นให้การต่อสู้ไว้ แต่จำเลยที่ 2 เป็นวัดในพระพุทธศาสนา การที่จะให้วัดต้องร่วมรับผิดโดยไม่มีความผิด ย่อมฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของวัดต่อการกระทำของเจ้าอาวาส กรณีซ่อมแซมถนนสาธารณะ การกระทำนอกหน้าที่ไม่มีผลผูกพัน
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 37(1) บัญญัติให้เจ้าอาวาสมีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดบำรุงรักษาวัด จัดกิจการของวัด และจัดศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสของวัด จำเลยที่ 2 ดำเนินการจ้างรถแทร็กเตอร์ไถดินทำถนนและซ่อมแซมถนนซึ่งเป็นถนนสาธารณประโยชน์ มิใช่สมบัติของวัดถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำในฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 2 เมื่อการใช้รถแทร็กเตอร์ไถดินนั้นเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะที่ดินที่ถูกไถเอาดินไปเป็นที่ดินของโจทก์ และโจทก์มิได้ยินยอม จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
ปัญหาที่กล่าวในวรรคก่อน จำเลยที่ 2 มิได้ยกขึ้นให้การต่อสู้ไว้แต่จำเลยที่ 2 เป็นวัดในพระพุทธศาสนา การที่จะให้วัดต้องร่วมรับผิดโดยไม่มีความผิดย่อมฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
ปัญหาที่กล่าวในวรรคก่อน จำเลยที่ 2 มิได้ยกขึ้นให้การต่อสู้ไว้แต่จำเลยที่ 2 เป็นวัดในพระพุทธศาสนา การที่จะให้วัดต้องร่วมรับผิดโดยไม่มีความผิดย่อมฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากลักทรัพย์/รับของโจรเป็นยักยอก เนื่องจากผู้ดูแลรักษาคือเจ้าอาวาส และการกระทำเข้าข่ายยักยอกทรัพย์
พระพุทธรูปซึ่งเป็นศาสนสมบัติของวัด จึงอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มาตรา 37(1) จำเลยที่ 1 เบียดบังเอาพระพุทธรูปเป็นของตนหรือของจำเลยที่ 2 โดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ในการเบียดบังเอาพระพุทธรูป มีความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วยข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลต้องยกฟ้อง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192และการยกฟ้องนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้ยกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วยข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลต้องยกฟ้อง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192และการยกฟ้องนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้ยกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจแต่งตั้งเจ้าอาวาส: เจ้าคณะจังหวัดมีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งตามความเหมาะสม ไม่จำกัดเฉพาะผู้ถูกคัดเลือก
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยจากวัด ศาลชั้นต้นกะประเด็นว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าอาวาสโดยชอบหรือไม่ คดีจึงมีประเด็นเดียว เมื่อโจทก์ร่วมเป็นเจ้าอาวาสโดยชอบ ศาลพิพากษาขับไล่จำเลย
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 2505 มาตรา 23 กับกฎมหาเถรสมาคมให้เจ้าคณะปฤกษาสงฆ์และทายกทายิกาคัดเลือกแล้วรายงานเจ้าคณะจังหวัดแต่งตั้งเจ้าอาวาสตามที่เห็นสมควร ไม่จำต้องตั้งตามที่ได้รับการคัดเลือกมา
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 2505 มาตรา 23 กับกฎมหาเถรสมาคมให้เจ้าคณะปฤกษาสงฆ์และทายกทายิกาคัดเลือกแล้วรายงานเจ้าคณะจังหวัดแต่งตั้งเจ้าอาวาสตามที่เห็นสมควร ไม่จำต้องตั้งตามที่ได้รับการคัดเลือกมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของเจ้าอาวาส: การพิสูจน์สถานะและการมีกฎมหาเถรสมาคมที่ชัดเจน
กฎมหาเถรสมาคมตราขึ้นโดยมหาเถรสมาคมอันประกอบด้วยสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานโดยตำแหน่ง โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 เพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ ตลอดจนวางหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส แต่กฎมหาเถรสมาคมไม่ใช่กฎหมาย
เรื่องการแต่งตั้งเจ้าอาวาสหรือการพ้นจากหน้าที่เจ้าอาวาสไม่มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ จึงอาจวางเป็นระเบียบขึ้นไว้โดยกฎมหาเถรสมาคม เมื่อคดีมีประเด็นโต้เถียงกันย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบว่ากฎมหาเถรสมาคมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมีอยู่อย่างไร
เรื่องการแต่งตั้งเจ้าอาวาสหรือการพ้นจากหน้าที่เจ้าอาวาสไม่มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ จึงอาจวางเป็นระเบียบขึ้นไว้โดยกฎมหาเถรสมาคม เมื่อคดีมีประเด็นโต้เถียงกันย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบว่ากฎมหาเถรสมาคมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมีอยู่อย่างไร