พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5311/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์จากการขายทอดตลาด: เจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองตกลงรับชำระหนี้เท่าที่ได้รับจริง ทำให้เจ้าหนี้รายอื่นไม่มีสิทธิเรียกร้อง
หนี้จำนองทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยที่เจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองยื่นขอรับชำระหนี้ต่อศาลชั้นต้นมีจำนวนถึง 13,950,000 บาท แต่เงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองมีเพียง 7,601,977 บาท การที่เจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า เมื่อได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินในคดีนี้ ซึ่งเป็นเงินกว่า 7,000,000 บาท แล้ว ก็ไม่ติดใจที่จะว่ากล่าวเรียกหนี้สินประการอื่นใดจากผู้ร้องสอดทั้งสองอีกต่อไป ย่อมหมายถึง เจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองตกลงรับชำระหนี้เพียงเงินจำนวนสุทธิทั้งหมดที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวเท่านั้น ส่วนเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแก่โจทก์ ตามที่ปรากฏในบัญชีรับจ่ายเงินในคดีในสำนวนเป็นเงินของเจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองที่เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดหักไว้เพื่อจ่ายให้แก่โจทก์ ตามที่เจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองได้ตกลงกับโจทก์ไว้ เงินจำนวนดังกล่าวหาใช่เงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดหรือเหลือจากการชำระหนี้จำนองให้แก่เจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองซึ่งจะต้องนำมาเฉลี่ยให้แก่โจทก์และผู้ร้องไม่ เมื่อฟังได้ว่าเจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองได้รับเงินจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปหมดแล้ว ย่อมไม่เหลือทรัพย์ที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 253 (3) จะเข้ามามีส่วนเฉลี่ยได้อีก การพิจารณาคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องต่อไป จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเฉลี่ยทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290: กำหนดเวลาและอำนาจศาล
ป.วิ.พ. มาตรา 290 กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษารายอื่นมีอำนาจยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นได้ ซึ่งตามมาตรา 302 วรรคหนึ่ง ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีคือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นในคดีนี้คือศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อมาตรา 290 วรรคหนึ่ง มิได้กำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ไว้ และวรรคห้าเป็นบทบัญญัติเชื่อมโยงมาจากวรรคหนึ่ง จึงไม่จำต้องระบุศาลที่จะรับคำร้องไว้ในวรรคห้าซ้ำอีกเพราะเป็นที่เข้าใจได้ว่าหมายถึงศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดทุ่งสงซึ่งบังคับคดีแทนศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชได้รับเงินที่อายัดจากลูกหนี้ของจำเลยเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541 แล้วส่งเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีสำนักงานบังคับคดีจังหวัดนครศรีธรรมราชวันที่ 18 มกราคม 2542 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชวันที่ 29 มกราคม 2542 จึงอยู่ภายในกำหนดระยะเวลา 14 วัน ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์บังคับคดี: กำหนดเวลา 14 วันนับจากวันส่งเงินถึงศาลผู้มีอำนาจ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290มีสาระสำคัญสองประการ ประการแรกเมื่อได้มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินอย่างใดของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้วห้ามมิให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นซ้ำอีก กับให้เจ้าหนี้รายอื่นมีอำนาจยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นอีกประการหนึ่ง และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 302 วรรคหนึ่งบัญญัติไว้ชัดเจนว่าศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีคือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นเนื่องจากมาตรา 290 วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องไว้จึงได้บัญญัติไว้ในวรรคห้าว่าในกรณีอายัดทรัพย์สิน ให้ยื่นคำขอเสียก่อนสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ และเป็นบทบัญญัติที่เชื่อมโยงมาจากวรรคหนึ่งจึงไม่จำต้องระบุศาลที่จะรับคำร้องไว้ในวรรคห้าซ้ำอีกเพราะเป็นที่เข้าใจได้ว่าหมายถึงศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีศาลจังหวัดทุ่งสงบังคับคดีตามหมายอายัดแทนศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541 แล้วส่งเงินที่ถูกอายัดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2542การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชวันที่ 29 มกราคม 2542 จึงอยู่ในระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเฉลี่ยทรัพย์หลังยึด/อายัด: กำหนดเวลา 14 วันนับจากวันส่งมอบทรัพย์สินให้เจ้าพนักงานบังคับคดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษารายอื่นมีอำนาจยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นได้ ซึ่งตามมาตรา 302 วรรคหนึ่ง ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีคือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น เมื่อมาตรา 290 วรรคหนึ่งมิได้กำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ไว้ และวรรคห้าเป็นบทบัญญัติเชื่อมโยงมาจากวรรคหนึ่ง จึงไม่จำต้องระบุศาลที่จะรับคำร้องไว้ในวรรคห้าซ้ำอีกเพราะเป็นที่เข้าใจได้ว่าหมายถึงศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดทุ่งสงซึ่งบังคับคดีแทนศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชได้รับเงินที่อายัดจากลูกหนี้ของจำเลยเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541แล้วส่งเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดนครศรีธรรมราชวันที่ 18 มกราคม 2542 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชวันที่ 29 มกราคม 2542 จึงอยู่ภายในกำหนดระยะเวลา 14 วัน ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6601/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเฉลี่ยทรัพย์ซ้ำโดยไม่มีข้อเท็จจริงใหม่ เป็นการดำเนินกระบวนการซ้ำที่ต้องห้าม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ฉบับแรกของผู้ร้องเพราะผู้ร้องไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลย ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่ผู้ร้องจะบังคับคดีเอาชำระหนี้ได้ ข้อที่ผู้ร้องอ้างเป็นที่สุดไปแล้วเพราะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ฉบับหลังอีกโดยมีข้ออ้างและคำขอเช่นเดียวกับคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ฉบับแรก และไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสืบหาทรัพย์สินของจำเลยเพิ่มเติมอีกเลย นอกจากจำนวนหนี้ที่คำนวณดอกเบี้ยถึงวันยื่นคำร้องฉบับหลังซึ่งมีจำนวนมากกว่าเดิมเท่านั้น จึงเป็นการขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว แม้เป็นขั้นตอนชั้นบังคับคดีก็ตาม ก็ต้องห้ามตามมาตรา 144 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6601/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเฉลี่ยทรัพย์ซ้ำในคดีบังคับคดี แม้มีข้อเท็จจริงเดิม ศาลยกคำร้องตามมาตรา 144 วรรคแรก
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ฉบับแรกของผู้ร้องเพราะผู้ร้องไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลย ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่ผู้ร้องจะบังคับคดีเอาชำระหนี้ได้ ข้อที่ผู้ร้องอ้างเป็นที่สุดไปแล้วเพราะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ฉบับหลังอีกโดยมีข้ออ้างและคำขอเช่นเดียวกับคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ฉบับแรก และไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสืบหาทรัพย์สินของจำเลย เพิ่มเติมอีกเลย นอกจากจำนวนหนี้ที่คำนวณดอกเบี้ย ถึงวันยื่นคำร้องฉบับหลังซึ่งมีจำนวนมากกว่าเดิมเท่านั้น จึงเป็นการขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดี หรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว แม้เป็นขั้นตอน ชั้นบังคับคดีก็ตาม ก็ต้องห้ามตามมาตรา 144 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1678/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์: ศาลพิจารณาความเพียงพอของทรัพย์สินจำเลยในการชำระหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ร้องได้นำยึดที่ดินของจำเลยซึ่งติดจำนอง ก. เป็นประกันเงินกู้ที่จำเลยได้ขอกู้เพื่อซื้อที่ดินเป็นเงิน 500,000 บาทมียอดหนี้จำนองถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2534 เป็นเงิน 410,000 บาทและต่อมามียอดหนี้ค้างเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2537 เพียง 247,000บาท เท่านั้น แสดงว่าราคาที่แท้จริงของที่ดินแปลงนี้น่าจะมากกว่า500,000 บาท ตามที่ได้จดทะเบียนจำนองกับ ก.ไว้ และหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยต้องชำระให้ผู้ร้องนับถึงวันที่ศาลมีคำสั่งคำร้องของผู้ร้องคดีนี้คิดเป็นเงินประมาณ 257,760 บาท จึงยังถือไม่ได้ว่าทรัพย์ที่ผู้ร้องยึดไว้ไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษาแม้ทรัพย์ที่ยึดมีการร้องขัดทรัพย์ แต่ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าทรัพย์ที่ยึดไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 ทรัพย์ที่ยึดจึงยังเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีจึงยังไม่ต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคสอง ที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1678/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์: ศาลพิจารณาจากมูลค่าทรัพย์ที่ยึดและหนี้สิน เพื่อตัดสินสิทธิในการเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้อง
ผู้ร้องได้นำยึดที่ดินของจำเลยซึ่งติดจำนองก. เป็นประกันเงินกู้ที่จำเลยได้ขอกู้เพื่อซื้อที่ดินเป็นเงิน500,000บาทมียอดหนี้จำนองถึงวันที่30มิถุนายน2534เป็นเงิน410,000บาทและต่อมามียอดหนี้ค้างเมื่อวันที่2ธันวาคม2537เพียง247,000บาทเท่านั้นแสดงว่าราคาที่แท้จริงของที่ดินแปลงนี้น่าจะมากกว่า500,000บาทตามที่ได้จดทะเบียนจำนองกับก.ไว้และหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยต้องชำระให้ผู้ร้องนับถึงวันที่ศาลมีคำสั่งคำร้องของผู้ร้องคดีนี้คิดเป็นเงินประมาณ257,760บาทจึงยังถือไม่ได้ว่าทรัพย์ที่ผู้ร้องยึดไว้ไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษาแม้ทรัพย์ที่ยึดมีการร้องขัดทรัพย์แต่ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าทรัพย์ที่ยึดไม่ใช่ของจำเลยที่1ทรัพย์ที่ยึดจึงยังเป็นของจำเลยที่1กรณีจึงยังไม่ต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา290วรรคสองที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6075/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในการขอเฉลี่ยทรัพย์สินสามีภรรยาและการนับระยะเวลาตามกฎหมาย
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 แม้ที่ดินพิพาทจะมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ก็ได้ความว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นสามีภรรยากัน ผู้ร้องได้อ้างในการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งแรกแล้วว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์ที่โจทก์นำยึดทั้ง 6 รายการเป็นทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองซึ่งโจทก์มิได้คัดค้าน ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถือว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 อยู่ด้วย ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยเงินจากการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าว
ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคสี่ ได้บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์สิน ระยะเวลา 14 วันนั้นนับแต่วันสิ้นสุดการขายทรัพย์สินที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมด
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองออกขายทอดตลาดเพื่อบังคับคดีรวม 6 รายการ ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยและได้ขายทอดตลาดไปรวม 4 รายการ ในการขายทอดตลาดครั้งแรกคงเหลือที่ดินพิพาทซึ่งได้ขายทอดตลาดไปในการขายทอดตลาดครั้งที่สอง ดังนั้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เข้ามาก่อนวันขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดมาคราวนั้นในครั้งที่สองเป็นการยื่นขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนวันสิ้นสุดการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมด ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้ทั้งหมด โดยไม่ต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีก แม้หลังจากขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งที่ 2 ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีกเมื่อพ้นระยะเวลา 14 วันนับแต่วันขายทอดตลาดครั้งที่ 2 ก็มิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่ 1 หมดไป เพราะผู้ร้องมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้ทั้งหมดตามคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในครั้งแรกซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว
ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคสี่ ได้บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์สิน ระยะเวลา 14 วันนั้นนับแต่วันสิ้นสุดการขายทรัพย์สินที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมด
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองออกขายทอดตลาดเพื่อบังคับคดีรวม 6 รายการ ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยและได้ขายทอดตลาดไปรวม 4 รายการ ในการขายทอดตลาดครั้งแรกคงเหลือที่ดินพิพาทซึ่งได้ขายทอดตลาดไปในการขายทอดตลาดครั้งที่สอง ดังนั้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เข้ามาก่อนวันขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดมาคราวนั้นในครั้งที่สองเป็นการยื่นขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนวันสิ้นสุดการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมด ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้ทั้งหมด โดยไม่ต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีก แม้หลังจากขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งที่ 2 ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีกเมื่อพ้นระยะเวลา 14 วันนับแต่วันขายทอดตลาดครั้งที่ 2 ก็มิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่ 1 หมดไป เพราะผู้ร้องมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้ทั้งหมดตามคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในครั้งแรกซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6075/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเฉลี่ยทรัพย์สินจากบังคับคดี กรณีทรัพย์สินเป็นสินสมรส แม้มีการขายทอดตลาดหลายครั้ง
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่1แม้ที่ดินพิพาทจะมีชื่อจำเลยที่2เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ก็ได้ความว่าจำเลยที่1และที่2เป็นสามีภรรยากันผู้ร้องได้อ้างในการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งแรกแล้วว่าจำเลยที่1และที่2เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายทรัพย์ที่โจทก์นำยึดทั้ง6รายการเป็นทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองซึ่งโจทก์มิได้คัดค้านที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่1และที่2ถือว่าจำเลยที่1มีส่วนเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่1กับที่2อยู่ด้วยผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยเงินจากการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าว ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา290วรรคสี่ได้บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนสิ้นระยะเวลา14วันนับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์สินระยะเวลา14วันนั้นนับแต่วันสิ้นสุดการขายทรัพย์สินที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมด โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองออกขายทอดตลาดเพื่อบังคับคดีรวม6รายการซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยและได้ขายทอดตลาดไปรวม4รายการในการขายทอดตลาดครั้งแรกคงเหลือที่ดินพิพาทซึ่งได้ขายทอดตลาดไปในการขายทอดตลาดครั้งที่สองดังนั้นเมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เข้ามาก่อนวันขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดมาคราวนั้นในครั้งที่สองเป็นการยื่นขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนวันสิ้นสุดการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมดผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่1ได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีกแม้หลังจากขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งที่2ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีกเมื่อพ้นระยะเวลา14วันนับแต่วันขายทอดตลาดครั้งที่2ก็มิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่1หมดไปเพราะผู้ร้องมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่1ได้ทั้งหมดตามคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในครั้งแรกซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว