คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เช็ค

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,865 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5388/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดหลายกรรมจากเช็ค ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษให้เหมาะสมกับจำนวนกรรมความผิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 (1) (3) ป.อ. มาตรา 83, 91 จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นพิพากษาด้วยวาจาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 (1) (3) รับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 เดือน จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเมื่ออ่านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยตลอดแล้ว ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 เพียงกรรมเดียวและไม่อาจที่จะเข้าใจหรือแปลความหมายเป็นอย่างอื่นไปได้ เพราะหากนำโทษจำคุก 3 เดือน มาเฉลี่ยเป็นโทษสำหรับความผิด 4 กระทงแล้ว ก็เป็นโทษจำคุกกระทงละ 22 วันครึ่ง ซึ่งผิดวิสัยไม่สอดคล้องกับระวางโทษที่กฎหมายบัญญัติ ศาลชั้นต้นจึงมิได้ลงโทษจำเลยที่ 2 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามคำฟ้องที่จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพจึงเป็นการที่โจทก์อุทธรณ์ทำนองขอให้เพิ่มเติมโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิด โดยลงโทษจำคุกกระทงละ 3 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง จำคุกกระทงละ 1 เดือน 15 วัน รวมเป็นจำคุก 4 เดือน 60 วัน จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5205/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าสินค้ายังไม่สิ้นสุดแม้มีการชำระเงินบางส่วน การออกเช็คจึงเป็นความผิดหลายกระทง
เงินที่โจทก์ได้รับไปจากจำเลยในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นรวม 850,000 บาทนั้น แม้จะมากกว่าจำนวนเงินในเช็คพิพาทฉบับลงวันที่ 27 มิถุนายน 2539 ก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าที่จำเลยออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับชำระแก่โจทก์ หนี้ดังกล่าวจึงยังมีผลผูกพันจำเลย และไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยได้มีการตกลงให้คดีตามเช็คพิพาทฉบับหนึ่งฉบับใดเลิกกันไปก่อน คดีตามเช็คพิพาทฉบับลงวันที่ 27 มิถุนายน 2539 จึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 การออกเช็คของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4914-4915/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
เช็คทั้งสองฉบับเป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 สั่งจ่ายชำระค่าผลประโยชน์หรือดอกเบี้ยจากการที่จำเลยที่ 1 นำเช็คไปแลกเงินสดจากโจทก์ร่วมซึ่งคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 กำหนดให้เรียกดอกเบี้ยเงินกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปีเท่านั้น จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้มีความผิดต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) การออกเช็คทั้งสองฉบับของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4264/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช็ค: ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้อง แม้ไม่ได้ระบุฐานะผู้จัดการมรดก
เช็คเป็นเอกสารเปลี่ยนมือ เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์โดยมิได้ระบุว่า จ่ายให้โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คตามกฎหมาย เมื่อธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้นแล้ว โจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คโดยชอบจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องในนามของโจทก์ โดยไม่ต้องระบุต่อท้ายชื่อโจทก์ว่าในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. ทั้งคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 และ 2 ซึ่งถือว่าเอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง แม้ในช่องระหว่างผู้ใดโจทก์ผู้ใดจำเลยจะระบุชื่อโจทก์ โดยมิได้ระบุว่าในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. แต่เมื่อโจทก์อ้างเช็คและสัญญาประนีประนอมเอกสารท้ายฟ้องมากับฟ้องด้วย และสัญญาประนีประนอมดังกล่าวระบุว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คตามฟ้องให้แก่โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. จึงถือว่าโจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกตามสัญญาประนีประนอมที่แนบมาท้ายฟ้องนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4264/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช็ค: ผู้ทรงเช็คมีอำนาจฟ้อง แม้ไม่ได้ระบุฐานะผู้จัดการมรดกในเช็ค
เช็ค เป็นเอกสารเปลี่ยนมือ เมื่อจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์โดยมิได้ระบุว่าจ่ายให้โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คตามกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คโดยชอบจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องในนามของโจทก์เองโดยไม่จำต้องระบุต่อท้ายชื่อโจทก์ว่าในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. อย่างไรก็ดี คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 และ 2 ซึ่งถือว่าเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวระบุว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คตามฟ้องให้แก่โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. จึงถือว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่แนบมาท้ายฟ้องอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยผิดกฎหมาย: โจทก์ผิดนัดชำระดอกเบี้ยตามเช็ค จำเลยขอคิดดอกเบี้ยเพิ่มไม่ได้
เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายชำระหนี้แก่จำเลย โจทก์ก็ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดคือวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แต่โจทก์ชำระเฉพาะต้นเงินตามเช็คให้แก่จำเลยเท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยโจทก์มิได้ชำระ และศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์รับผิดตามที่จำเลยฟ้องแย้งในส่วนของดอกเบี้ยดังกล่าว แม้เงินที่โจทก์จะต้องรับผิดจะเป็นหนี้เงินและการที่โจทก์ไม่ยอมชำระทำให้จำเลยเสียหายก็ตาม แต่หนี้ดังกล่าวก็เป็นหนี้เงินในส่วนที่เป็นดอกเบี้ยมิใช่หนี้เงินในส่วนที่เป็นต้นเงิน จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์โดยคิดเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของหนี้เงินดังกล่าวอีก เพราะมีลักษณะเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3490/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเลิกกันเนื่องจากประนีประนอมยอมความในหนี้เช็ค สิทธิฟ้องอาญาจึงระงับ
การที่ผู้เสียหายและจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในมูลหนี้ตามที่จำเลยออกเช็คพิพาท และศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 เมื่อสิทธิเรียกร้องของผู้เสียหายในมูลหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทระงับสิ้นไป ไม่ว่าผู้เสียหายจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนหรือไม่ กรณีถือได้ว่าหนี้ที่ผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็ค: ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดแม้ไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้ทรง หากการโอนไม่เกิดจากฉ้อฉล
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงฟ้องให้จำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คชำระเงินตามเช็คซึ่งเรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยผู้ถูกฟ้องในมูลเช็คหาอาจต่อสู้โจทก์ด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อนนั้นได้ไม่ เว้นแต่การโอนจะมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 ประกอบมาตรา 989 ที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์และจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน จำเลยไม่เคยสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่ ช. เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ แต่ ช. คบคิดกับโจทก์ฉ้อฉลจำเลย โดยโจทก์นำเช็คไปลงวันที่แล้วนำไปเรียกเก็บเงินเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายนั้น จำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าโจทก์คบคิดกับ ข. ฉ้อฉลจำเลยอย่างไร เช็คเป็นตราสารที่โอนเปลี่ยนมือกันได้ ช. ซึ่งเป็นผู้ทรงก็ย่อมมีสิทธิโอนเช็คให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ผู้รับโอนเช็คหาจำต้องมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยไม่ ทั้งการโอนก็ทำได้เพียงส่งมอบให้กันเนื่องจากเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินแก่ผู้ถือ และต้องถือว่าโจทก์รับโอนเช็คมาโดยสุจริตตามมาตรา 5 โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงและทำการโดยสุจริตย่อมมีสิทธิที่จะจดวันออกเช็คตามที่ถูกต้องแท้จริงลงในเช็คซึ่งจำเลยมิได้ลงวันสั่งจ่ายได้ ตามมาตรา 910 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 989 เมื่อคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้งว่ามีการคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร จึงเป็นคำให้การที่ไม่มีประเด็นจะสืบและคดีวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยานโจทก์จำเลย
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คเมื่อธนาคารผู้จ่ายปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยจึงตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง, 914, 989 ประกอบมาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คโดยสุจริตและการรับผิดของผู้สั่งจ่ายเช็คแม้ไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้ทรง
จำเลยให้การว่า โจทก์และจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้ ช. เพื่อเป็นหลักประกัน ช. และโจทก์ได้ร่วมกันฉ้อฉลจำเลยโดยโจทก์นำเช็คพิพาทไปลงวันที่แล้วนำไปเรียกเก็บเงินนั้น เป็นคำให้การที่ไม่แสดงโดยชัดแจ้งว่าโจทก์คบคิดกับ ช. ฉ้อฉลจำเลยอย่างไร จึงไม่มีประเด็นเรื่องการโอนด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามมาตรา 916 ที่จะนำสืบ เมื่อเช็คพิพาทเป็นตราสารที่โอนเปลี่ยนมือกันได้ ช. ผู้ทรงย่อมมีสิทธิโอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยโจทก์หาจำต้องมีนิติสัมพันธ์กับจำเลย ทั้งเช็คพิพาทสั่งจ่ายให้ผู้ถือ เบื้องต้นต้องถือว่าโจทก์ผู้ทรงรับโอนเช็คพิพาทมาโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะจดวันออกเช็คตามที่ถูกต้องแท้จริงลงในเช็คพิพาทซึ่งจำเลยไม่ลงวันสั่งจ่ายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 910 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 989 จำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ตามมาตรา 914

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737-2751/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงหนี้และการออกเช็คไม่มีเงินรองรับ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 15,467,184 บาท ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงกันโดยโจทก์ตกลงลดหนี้แก่จำเลย 467,184 บาท ส่วนที่เหลือ 15,000,000 บาท ให้จำเลยผ่อนชำระเป็นรายเดือนเดือนละ 1,000,000 บาท โดยทำหลักฐานเป็นสัญญากู้ยืมเงินไว้ ถือเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ เมื่อเช็คพิพาทลงวันที่สั่งจ่ายตรงกับวันถึงกำหนดชำระเงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงิน จึงถือได้ว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยในขณะที่ออกเช็คไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ โดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คหรือห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
ศาลล่างพิพากษาว่าการออกเช็คของจำเลยทั้ง 15 ฉบับ เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 และลงโทษจำคุกกระทงละ 6 เดือน โดยเรียงกระทงลงโทษซึ่งศาลถือว่ามีผลเสมือนเป็นการนับโทษต่อ ดังนั้น แม้ศาลล่างจะปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 มาด้วยนั้น ย่อมหมายความว่า ศาลล่างพิพากษาให้จำคุกจำเลยทั้ง 15 สำนวน สำนวนละ 6 เดือน แล้วนับโทษแต่ละสำนวนต่อกันตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เพียงแต่อ้างบทมาตราผิดพลาดไป ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
of 187