คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เทศบาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6245/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาคาร: คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น (นายกเทศมนตรี) มิใช่คำสั่งของเทศบาล โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 คำสั่งอนุญาตหรือไม่ อนุญาตให้ผู้ใด ก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคาร เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 4 บัญญัติว่า ในพระราชบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า (1)นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล ดังนั้น นายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีจึงเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น ส่วนเทศบาลเมืองนนทบุรี จำเลยมิได้เป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น และที่นายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารก็สั่งในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งแยกต่างหากจากการสั่งในฐานะเป็นผู้กระทำแทนจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล คำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งของจำเลย เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยแล้ว ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าสมควรเรียกนายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) หรือไม่อีกต่อไป เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องชอบด้วยกฎหมาย การรับรู้คำสั่งเป็นสำคัญต่อความผิด
พระราชบัญญัติการสาธารณสุขพ.ศ.2535มาตรา28วรรคหนึ่งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ระงับเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นในสถานที่นั้นมาตรา45ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้ดำเนินกิจการนั้นแก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้องถ้าการดำเนินกิจการนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้ทันทีเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้และต้องทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ดำเนินกิจการซึ่งจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งทราบแต่ที่จำเลยยอมรับว่าจำเลยได้ดำเนินการแก้ไขเหตุเดือดร้อนรำคาญตามคำสั่งของสำนักงานเทศบาลเมืองตรังแล้วนั้นอาจเป็นการทราบคำสั่งดังกล่าวจากเจ้าพนักงานตำรวจผู้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบก็ได้เมื่อจำเลยยังไม่ได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยชอบจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7057/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสภาพเทศบาลและการสมัครรับเลือกตั้งที่ไร้ผล
เมื่อได้มี พ.ร.ฎ จัดตั้งเทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2538 เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลวารินชำราบเป็นเทศบาลเมืองวารินชำราบประกาศใช้ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน2538 ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2538 เป็นต้นไป เทศบาลตำบลวารินชำราบจึงเป็นอันพ้นจากสภาพแห่งเทศบาลเดิม ตาม พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ. 2496มาตรา 13 วรรคสอง การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบ กำหนดวันรับสมัครตั้งแต่วันที่ 25กันยายน 2538 จึงเป็นอันสิ้นผลไปในตัว เมื่อโจทก์ทั้งสองสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบ ในวันที่ 25 กันยายน 2538 ตามประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี แต่สภาเทศบาลตำบลวารินชำราบพ้นสภาพไปในวันนั้นแล้ว การสมัครของโจทก์ทั้งสองเป็นอันสิ้นผลไปด้วย ไม่มีทางที่จะทำให้โจทก์ทั้งสองได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบไปได้ ไม่ว่าจะมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจจำเลยทั้งสามที่จะวินิจฉัยสั่งการยกเลิกหรือถอนการสมัครรับเลือกตั้งของโจทก์ทั้งสองไว้โดยตรงหรือไม่ก็ตาม ความเสียหายของโจทก์ทั้งสองตามฟ้องก็หาเป็นผลมาจากการวินิจฉัยสั่งการของจำเลยทั้งสามเช่นนั้นไม่ การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7057/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสภาเทศบาลเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาล
เมื่อพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองวารินชำราบ เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลวารินชำราบเป็นเทศบาลเมืองวารินชำราบเทศบาลตำบลวารินชำราบ จึงพ้นจากสภาพแห่งเทศบาลเดิมประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดที่ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบ โดยกำหนดวันรับสมัครตั้งแต่วันวันเดียวกันนั้นเป็นอันสิ้นผลไปในตัว และการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบ จึงเป็นอันสิ้นผลไปด้วยไม่มีทางที่จะทำให้โจทก์ทั้งสองได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบ ได้ ไม่ว่าจะมีกฎหมายให้อำนาจจำเลยทั้งสามที่จะวินิจฉัยสั่งการยกเลิกหรือถอนการสมัครรับเลือกตั้งของ โจทก์ทั้งสองไว้โดยตรงหรือไม่ก็ตาม ความเสียหายของโจทก์ทั้งสองที่อ้างว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้งเพิ่มขึ้นโจทก์ทั้งสองอยู่ในฐานะจะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบ โดยไม่ต้องลงคะแนน ต้องขาดประโยชน์ที่จะพึงได้รับเดือนละ 3,100 บาท เป็นเวลา 5 ปี หาเป็นผลมาจากการวินิจฉัยสั่งการของจำเลยทั้งสามไม่การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7057/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ท. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาล
เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานีพ.ศ.2538เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลวารินชำราบเป็นเทศบาลเมืองวารินชำราบประกาศใช้ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่25กันยายน2538ดังนั้นตั้งแต่วันที่25กันยายน2538เป็นต้นไปเทศบาลตำบลวารินชำราบ จึงเป็นอันพ้นจากสภาพแห่งเทศบาลเดิมตามพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ.2496มาตรา13วรรคสองการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบ กำหนดวันรับสมัครตั้งแต่วันที่25กันยายน2538จึงเป็นอันสิ้นผลไปในตัวเมื่อโจทก์ทั้งสองสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบ ในวันที่25กันยายน2538ตามประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีแต่สภาเทศบาลตำบลวารินชำราบพ้นสภาพไปในวันนั้นแล้วการสมัครของโจทก์ทั้งสองเป็นอันสิ้นผลไปด้วยไม่มีทางที่จะทำให้โจทก์ทั้งสองได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบไปได้ไม่ว่าจะมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจจำเลยทั้งสามที่จะวินิจฉัยสั่งการยกเลิกหรือถอนการสมัครรับเลือกตั้งของโจทก์ทั้งสองไว้โดยตรงหรือไม่ก็ตามความเสียหายของโจทก์ทั้งสองตามฟ้องก็หาเป็นผลมาจากการวินิจฉัยสั่งการของจำเลยทั้งสามเช่นนั้นไม่การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6136/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้เทศบาลเพื่อจัดตั้งสถานีขนส่ง แม้มีการยกเลิกสถานีขนส่งแล้ว กรรมสิทธิ์ในที่ดินยังคงเป็นของเทศบาล
โจทก์มีหนังสือถึงเทศบาลเมืองอุบลราชธานีจำเลยแจ้งว่าโจทก์ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยเพื่อให้จำเลยใช้เป็นสถานีขนส่ง โดยมีข้อความระบุว่า"...ที่ดินดังกล่าวนี้ข้าพเจ้ายินดีและตกลงยกให้เทศบาลเมืองอุบลฯ จำนวนเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ เพื่อให้จัดทำเป็นสถานีขนส่งทางบก...ผู้ยกให้และผู้รับจะได้ทำการโอนทางทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยเร็วหลังจากกรมขนส่งอนุญาตแล้ว..."ซึ่งต่อมาจำเลยได้ว่าจ้างให้โจทก์ก่อสร้างอาคารสถานีขนส่งลงในที่พิพาทและโจทก์ได้ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ ในที่สุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศกำหนดให้สถานที่ที่โจทก์ก่อสร้างดังกล่าวเป็นสถานีขนส่งจังหวัดอุบลราชธานี หลังจากนั้นโจทก์ก็ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่จำเลย ดังนี้ถือว่าจำเลยได้ดำเนินการตามขั้นตอนเรื่องการจัดตั้งสถานีขนส่งเรียบร้อยทุกขั้นตอนแล้ว ส่วนการที่ภายหลังต่อมากระทรวงคมนาคมประกาศยกเลิกสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานีนั้น เป็นเรื่องที่ทางราชการเห็นว่าสภาพและสภาวะปัจจุบันไม่เหมาะสมที่จะใช้ที่พิพาทเป็นสถานีขนส่งอีกต่อไป ซึ่งไม่มีผลย้อนหลังให้ที่พิพาทซึ่งโจทก์ได้จดทะเบียนโอนเป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยไปแล้วกลับคืนไปยังโจทก์อีก คำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5894/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิด: การรับรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้ต้องรับผิด
นายกเทศมนตรีเป็นผู้แทนโจทก์ตามพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ. 2496 มาตรา 39 และตามรายงานการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งก็ระบุชัดถึงผู้ต้องรับผิดชอบทางแพ่งต่อโจทก์จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ปรากฏในรายงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศบาลต้องรับผิดต่อความเสียหายจากต้นไม้ล้มทับเนื่องจากละเลยดูแล แม้ไม่มีเหตุสุดวิสัย
ต้นสนที่ล้มทับรถยนต์ของโจทก์เสียหายและโจทก์ได้รับอันตรายสาหัส มีสภาพผุกลวงอยู่ในความครอบครองดูแลของเทศบาลเมืองสงขลาจำเลยที่ 1วันเกิดเหตุมีฝนตกเล็กน้อยและปานกลางเป็นช่วงสั้น ๆ และมีฟ้าคะนอง ความเร็วลมเพียง 5 ถึง 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถือเป็นความเร็วลมปกติ การที่ต้นสนดังกล่าวล้มลงทับรถของโจทก์จึงมิใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัย แต่เป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 1ที่ไม่ยอมโค่นหรือค้ำจุนต้นสนดังกล่าวเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ค่าเสียหายเพราะเหตุที่โจทก์ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิต โดยระบบประสาทไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ เสียสมรรถภาพทางเพศ และไม่สามารถเดินได้ กับค่าเสียหายที่โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานจากการทุพพลภาพตลอดชีวิตนั้น ถือเป็นค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 ทั้งสองกรณี อันเนื่องมาจากเหตุที่ต่างกัน จึงแยกจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ให้ชดใช้ตามเหตุที่แยกออกจากกันเป็นแต่ละเหตุได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศบาลต้องรับผิดชอบความเสียหายจากต้นไม้ล้มทับรถยนต์ เนื่องจากละเลยไม่ดูแลรักษา แม้สภาพอากาศปกติ
ต้นสนที่อยู่ข้างถนนซึ่งเทศบาลจำเลยที่1มีหน้าที่ดูแลมีสภาพผุกลวงแม้จะมีฝนตกและฟ้าคะนองในวันเกิดเหตุแต่ก็เป็นฝนตกเล็กน้อยและปานกลางในช่วงสั้นๆและความเร็วของลมก็เป็นความเร็วลมปกติการที่ต้นสนล้มลงทับรถยนต์โจทก์จึงมิใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัยเนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนแต่เป็นความบกพร่องของจำเลยที่1ที่ไม่ยอมโค่นหรือค้ำจุนต้นสนเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นจำเลยที่1จึงต้องรับผิด ค่าเสียหายเพราะเหตุที่โจทก์ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตโดยระบบประสาทไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้เสียสมรรถภาพทางเพศและไม่สามารถเดินได้กับค่าเสียหายที่โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานจากการทุพพลภาพตลอดชีวิตเป็นค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินทั้งสองกรณีอันเนื่องมาจากเหตุที่ต่างกันจึงแยกจำนวนให้ชดใช้ตามเหตุที่แยกออกจากกันเป็นแต่ละเหตุได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4763/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของเทศบาลต่อการทุจริตของเจ้าหน้าที่
หนังสือกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดในทางแพ่งของเทศบาล สุขาภิบาล และเมืองพัทยา เป็นเรื่องที่กระทรวง-มหาดไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความรับผิดในทางแพ่งเพื่อให้เทศบาล สุขาภิบาลและเมืองพัทยาถือเป็นแนวปฏิบัติเท่านั้น มิใช่กฎหมาย ดังนั้น จะถือว่าผู้บังคับบัญชาทุกชั้นจะต้องร่วมรับผิดเมื่อผู้ใต้บังคับบัญชากระทำทุจริตโดยเด็ดขาดไม่ได้ จะต้องรับผิดเมื่อกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อเท่านั้น
of 13