พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5489/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ กรณีละเลยตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินทดรองราชการ ทำให้เกิดการทุจริโอเกิดขึ้น
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งเป็นผู้แทนนิติบุคคลอันเป็นส่วนราชการ ทราบรายงานสรุปผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนและวินิจฉัยสั่งการเกี่ยวกับผู้รับผิดในทางแพ่งเมื่อวันที่ 9 มีนาคม2527 ถือว่าโจทก์เพิ่งรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันนั้น โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 8มีนาคม 2528 ยังไม่ล่วงพ้นระยะเวลา 1 ปี จึงไม่ขาดอายุความ อ.นำเอกสารที่ทำปลอมขึ้นเสนอต่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 โดยไม่ผ่านจำเลยที่ 1 ที่ 2 ก่อนตามระเบียบ แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 ที่ 4 แต่ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาในทางแพ่งจะต้องเป็นไปตามหลักเรื่องละเมิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 อันได้แก่การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ กรณีนี้ถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ประมาทเลินเล่อมิได้ จำเลยที่ 3 ที่ 4 จ่ายเงินยืม-ทดรองราชการแก่ อ. ทั้งที่อ. มิได้เสนอผ่านขั้นตอนตามระเบียบ นอกจากนี้ยังมิได้เรียกหนังสือมอบฉันทะจาก อ. และมิได้ดำเนินการทวงถามเงินยืมคืนจากผู้ยืม เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับจากวันรับเงินอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทำให้ อ. สามารถกระทำการทุจริตได้การที่ อ. กระทำการทุจริตได้ จึงเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว จำเลยที่ 3 ที่ 4 มีหน้าที่ชดใช้เงินแก่โจทก์ หากโจทก์จะได้รับชำระหนี้จาก อ.และฉ.ในคดีที่โจทก์ฟ้องอ.และฉ.ให้รับผิดต่อโจทก์ อันเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 เพราะอาจไม่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์อีก ก็เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีต่อไป หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้จึงหาซ้ำซ้อนกับคดีดังกล่าวไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4828/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนตัว โดยการสั่งใช้รถราชการและเบิกจ่ายน้ำมันเพื่อขนส่งวัสดุส่วนตัว
จำเลยรับราชการเป็นนายช่างโยธา 5 ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยจราจรสงเคราะห์ประจำเขตการทางสงขลา กรมทางหลวง ในการปฏิบัติหน้าที่จำเลยมีอำนาจสั่งอนุญาตให้เบิกจ่ายน้ำมันและอนุญาตให้ใช้รถยนต์ในเขตการทางสงขลาด้วย การที่จำเลยได้สั่งให้ใช้รถของราชการและสั่งอนุญาตให้เบิกจ่ายน้ำมันของราชการสำหรับรถดังกล่าวขนเสาซีเมนต์ป้ายจราจรจากแขวงการทางสงขลาไปยังจุดติดตั้งในกิจการส่วนตัว จึงเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่กรมทางหลวง ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4828/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต เบิกจ่ายน้ำมันและใช้รถราชการเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
จำเลยรับราชการเป็นนายช่างโยธา 5 ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยจราจรสงเคราะห์ประจำเขตการทางสงขลา กรมทางหลวง ในการปฏิบัติหน้าที่จำเลยมีอำนาจสั่งอนุญาตให้เบิกจ่ายน้ำมันและอนุญาตให้ใช้รถยนต์ในเขตการทางสงขลาด้วย การที่จำเลยได้สั่งให้ใช้รถของราชการและสั่งอนุญาตให้เบิกจ่ายน้ำมันของราชการสำหรับรถดังกล่าวขนเสาซีเมนต์ป้ายจราจรจากแขวงการทางสงขลาไปยังจุดติดตั้งในกิจการส่วนตัว จึงเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่กรมทางหลวง ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตรวจรับงานเท็จ เบิกจ่ายเงินเสียหาย
จำเลยที่ 1 ถึง ที่ 4 และจำเลยที่ 6 เป็นเจ้าพนักงานได้รับแต่งตั้ง เป็นกรรมการตรวจ การจ้างการก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลัง มีหน้าที่ตรวจ และควบคุมการจ้างให้ดำเนินไปตามข้อกำหนดในสัญญา แบบแปลนและแผนผัง เมื่อตรวจ เห็นเป็นการถูกต้องแล้ว ให้รับมอบงานแล้วรายงานต่อ ผู้มีอำนาจสั่งจ้าง ทราบพร้อมด้วย หลักฐาน การที่จำเลยที่ 1 ถึง ที่ 4 และจำเลยที่ 6 ได้ ทำหลักฐานใบตรวจรับงานจ้างเหมาแจ้งว่าจำเลยที่ 7 ได้ ก่อสร้างบ้านพักครูแล้วเสร็จตาม สัญญาจ้าง ทั้ง ๆ ที่เป็นความเท็จโดย งานยังไม่แล้วเสร็จ เป็นการรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จ เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 162(4) และเป็นเหตุให้มีการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้จำเลยที่ 7 รับไป จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเป็นเหตุให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับความเสียหายมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกจ่ายเงินผิดพลาดทางบัญชีและการพิสูจน์เจตนาทุจริต จำเลยไม่มีความผิด
แม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจะได้ความว่าเหตุตามฟ้องเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2525 และวันที่ 11 มีนาคม2525 แต่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2526และวันที่ 11 มีนาคม 2526 เป็นข้อแตกต่างเกี่ยวกับเวลาที่กระทำความผิดซึ่งเป็นเพียงรายละเอียดถือไม่ได้ว่าต่างกันในสาระสำคัญและเมื่อจำเลยไม่ได้หลงต่อสู้ จึงไม่ใช่เหตุที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์ จำเลยรับราชการในตำแหน่งเสมียนตราอำเภอ ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่สมุห์บัญชีของสุขาภิบาลอีกตำแหน่งหนึ่ง จำเลยจึงเป็นพนักงานสุขาภิบาลอีกในฐานะหนึ่ง ดังนั้น ในการปฏิบัติหน้าที่สมุห์บัญชีสุขาภิบาล จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 มาตรา 22 เมื่อความผิดที่โจทก์ฟ้องเป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้สุขาภิบาลผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 วรรคแรก และโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานอัยการก็มีอำนาจฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง แม้จะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดวินัยร้ายแรง กรณีฝ่าฝืนระเบียบการเงินและเบิกจ่าย
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยทำหน้าที่ด้านการเงิน ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ที่มีความสำคัญมาก โจทก์ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการเงินของจำเลยโดยเคร่งครัด ทั้งต้องปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังอย่างยิ่งการที่โจทก์ทำหน้าที่ด้านการเงินมา 20 ปีเศษแล้ว ย่อมจะทราบข้อบังคับเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินเป็นอย่างดี ปรากฏว่ามีข้อบังคับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2524 ว่าด้วยการเบิกและจ่ายเงิน ในส่วนที่ 3 ข้อ 17 กำหนดไว้ชัดเจนว่า 'ในการจ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้เป็นจำนวนตั้งแต่พันบาทขึ้นไปให้สั่งจ่ายเป็นเช็คในนามเจ้าหน้าที่' แต่โจทก์หาได้ปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ไม่กลับจ่ายเงินสดเป็นเงินทอนและมิได้บันทึกการทอนเงินไว้เป็นหลักฐานในใบเสร็จกรณีจึงถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการเงินของจำเลยผู้เป็นนายจ้างอย่างแจ้งชัดและเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47(3) จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตเบิกจ่ายเงิน กสช.เกินจริงเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ความผิดมาตรา 148
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งปลัดอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินตามโครงการ กสช. ได้สั่งให้คณะกรรมการสภาตำบลแก้ไขหลักฐานการเบิกจ่ายเงินให้เกินความเป็นจริง แล้วจำเลยเอาเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยทุจริต ดังนี้ แสดงว่าจำเลยมีเจตนามาแต่แรกที่จะกระทำการทุจริตโดยใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตน มิใช่ว่าจำเลยกระทำโดยชอบด้วยอำนาจในตำแหน่งแล้วกระทำการทุจริตในภายหลัง จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 เท่านั้น หาเป็นความผิดตามมาตรา 149 อีกด้วยไม่
แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายมาด้วยก็ตาม แต่เมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 148 เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43.
แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายมาด้วยก็ตาม แต่เมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 148 เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตเบิกจ่ายเงินเกินจริงเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ความผิดมาตรา 148
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งปลัดอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินตามโครงการ กสช.ได้สั่งให้คณะกรรมการสภาตำบลแก้ไขหลักฐานการเบิกจ่ายเงินให้เกินความเป็นจริง แล้วจำเลยเอาเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยทุจริต ดังนี้ แสดงว่าจำเลยมีเจตนามาแต่แรกที่จะกระทำการทุจริตโดยใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตน มิใช่ว่าจำเลยกระทำโดยชอบด้วยอำนาจในตำแหน่งแล้วกระทำการทุจริตในภายหลัง จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา148 เท่านั้น หาเป็นความผิดตามมาตรา 149 อีกด้วยไม่
แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายมาด้วยก็ตาม แต่เมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 148 เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43.
แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายมาด้วยก็ตาม แต่เมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 148 เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2975/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในเงินค่าใช้สอยล่วงหน้า: การเบิกจ่ายโดยไม่มีเงื่อนไขผูกพัน ไม่ถือเป็นการยักยอก
จำเลยเป็นผู้จัดการฝ่ายส่งออกของโจทก์ได้เบิกเงินค่าใช้สอยล่วงหน้าเป็นค่าเดินทางไปติดต่อธุรกิจต่างประเทศจากโจทก์รวม56ครั้งเงินที่เบิกไปนี้จำเลยมีสิทธิครอบครองใช้จ่ายได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องขออนุมัติจากโจทก์ทั้งโจทก์มิได้กำหนดการจ่ายไว้เป็นที่แน่นอนสุดแล้วแต่จำเลยจะเห็นสมควรใช้จ่ายอย่างใดแล้วนำหลักฐานมาหักหนี้ในทางบัญชีกับโจทก์ในภายหลังกรรมสิทธิ์ในเงินดังกล่าวจึงตกเป็นของจำเลยตั้งแต่ขณะที่ได้รับไปจากโจทก์หาใช่จำเลยครอบครองเงินดังกล่าวไว้แทนโจทก์ไม่ดังนั้นแม้ต่อมาจำเลยออกจากบริษัทโจทก์และส่งหลักฐานการใช้จ่ายเบิกเงินล่วงหน้าได้เพียงบางส่วนเงินที่เหลือไม่มีหลักฐานมาแสดงก็ตามโจทก์ก็ชอบที่จะเรียกร้องทางแพ่งเอาแก่จำเลยกรณีไม่มีมูลความผิดทางอาญาฐานยักยอก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4011/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายกเทศมนตรีต่อการอนุมัติฎีกาเบิกจ่ายเงินบำเหน็จที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ แม้จะพ้นตำแหน่งไปแล้ว
ตามรายงานความเห็นของสมุห์บัญชีและปลัดเทศบาล ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจฎีกา และผู้เสนอความเห็นในฎีกาและเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาเบิกจ่ายค่าบำเหน็จให้แก่ลูกจ้าง ได้เสนอเห็นควรให้เบิกจ่ายเงินบำเหน็จลูกจ้างให้แก่ลูกจ้าง จำเลยที่ 2 ในฐานะนายกเทศมนตรีผู้มีอำนาจอนุมัติฎีกา ได้มีคำสั่งอนุญาตในรายงานดังกล่าว ซึ่งมีความหมายว่าอนุญาตให้เบิกจ่ายเงินบำเหน็จลูกจ้างให้แก่ลูกจ้างได้นั่นเอง จึงเป็นการอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินบำเหน็จตามฎีกาดังกล่าวได้ แต่เนื่องจากเทศบาลไม่ได้ตั้งงบประมาณประเภทเงินค่าทดแทนและประเภทเงินบำเหน็จไว้ในงบประมาณประจำปี จำเลยที่ 2 จึงทำหนังสือขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัดขอยืมเงินสะสมของเทศบาลมาทดรองจ่ายไปพลางก่อน เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติมา ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้พ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีไปตามวาระแล้ว อ. นายกเทศมนตรีต่อจากจำเลยที่ 2 จึงได้ลงชื่ออนุมัติในหน้าฎีกาให้เบิกเงินตามฎีกามาจ่ายได้ เป็นที่เห็นได้ว่าถ้าหากเทศบาลได้ตั้งงบประมาณประเภทเงินทดแทนและประเภทเงินบำเหน็จไว้แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 อนุญาตในรายงานดังกล่าว ก็ย่อมตั้งฎีกาเบิกเงินมาจ่ายได้ไม่ต้องขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อขอยืมเงินสะสมของเทศบาลมาทดรองจ่ายไปพลางก่อนแต่อย่างใด ดังนั้นการที่จำเลยที่ 2 มีคำสั่งอนุญาตในรายงานดังกล่าวย่อมเป็นการอนุมัติฎีกาตามความหมายในระเบียบกระทรวงมหาดไทย ฯ ข้อ 24 นั่นเอง