พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14528/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารสิทธิปลอมเพื่อเบิกถอนเงินธนาคาร: การนับจำนวนกรรมความผิด
จำเลยนำใบถอนเงินซึ่งเป็นเอกสารสิทธิปลอมรวม 17 ฉบับ ไปแสดงขอถอนเงินต่อพนักงานธนาคาร ก. สาขาอุทัยธานี ในใบถอนเงินดังกล่าวระบุวันที่จำเลยนำไปใช้ถอนเงินเป็นวันที่ 14 และ 18 มกราคม 2545 วันที่ 23 เมษายน 2545 วันที่ 9, 16 และ 23 พฤษภาคม 2545 โดยนำใบถอนเงินฉบับลงวันที่ เดือน ปีเดียวกันหลายฉบับไปยื่นต่อธนาคารพร้อมกัน แยกเป็น 6 วัน จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมรวม 6 กรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8552/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้บัตร ATM ของผู้อื่นเบิกถอนเงินโดยผิดพลาด ศาลปรับบทเป็นรับของโจรแทนลักทรัพย์
เมื่อโจทก์ไม่บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่า บัตรเอทีเอ็มที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เบิกถอนเงินไปนั้นเป็นของบุคคลอื่น ก็ต้องฟังว่าเป็นบัตรเอทีเอ็มของจำเลยคนใดคนหนึ่งหรือเป็นของจำเลยทั้งสองเอง และยังต้องรับฟังต่อไปอีกว่า สาเหตุที่จำเลยทั้งสองสามารถใช้บัตรเอทีเอ็มอังกล่าวเบิกถอนเงินออกไปได้นั้น เป็นเพราะมีเงินตามจำนวนที่จำเลยทั้งสองร่วมเบิกถอนโอนเข้าบัญชีของจำเลยทั้งสองโดยการผิดพลาด เพราะมิฉะนั้นแล้ว จำเลยทั้งสองย่อมไม่สามารถใช้บัตรเอทีเอ็มเบิกถอนออกไปได้ ข้อเท็จจริงตามฟ้องตามที่โจทก์ได้บรรยายมาดังกล่าวนี้ ย่อมถือได้ว่าเงินจำนวนที่จำเลยทั้งสองร่วมเบิกถอนไปนั้น ได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสองเพราะโจทก์ร่วมส่งมอบให้โดยสำคัญผิด การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้บัตรเอทีเอ็มเบิกถอนไปนั้น จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคสอง หาใช่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องและมิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและลงโทษจำเลยทั้งสองให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225 เมื่อศาลฎีกาปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองใหม่แล้ว ก็ต้องกำหนดโทษจำเลยทั้งสองเสียใหม่ให้เหมาะสมกับความผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8552/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกถอนเงินด้วยบัตร ATM ที่ผิดพลาด: จำเลยครอบครองเงินโดยไม่เจตนา ทำให้เป็นการรับของโจร ไม่ใช่ลักทรัพย์
เมื่อโจทก์ไม่บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่า บัตรเอทีเอ็มที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เบิกถอนเงินไปนั้นเป็นของบุคคลอื่น ก็ต้องฟังว่าเป็นบัตรเอทีเอ็มของจำเลยคนใดคนหนึ่งหรือเป็นของจำเลยทั้งสองเอง และยังต้องรับฟังต่อไปอีกว่า สาเหตุที่จำเลยทั้งสองสามารถใช้บัตรเอทีเอ็มดังกล่าวเบิกถอนเงินออกไปได้นั้น เป็นเพราะมีเงินตามจำนวนที่จำเลยทั้งสองร่วมเบิกถอนโอนเข้าบัญชีของจำเลยทั้งสองโดยการผิดพลาด ข้อเท็จจริงตามฟ้องที่โจทก์บรรยายมาดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเงินจำนวนที่จำเลยเบิกถอนไปนั้น ได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสองเพราะโจทก์ร่วมส่งมอบให้โดยสำคัญผิด การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคสอง หาใช่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องและมิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและลงโทษจำเลยทั้งสองให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
1/1
1/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากสัญญาเบิกถอนเงินเกินวงเงิน สัญญาเลิกแล้ว ถือเป็นการทำงานต่าง ๆ
โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เกินกว่าเงินฝากในบัญชีโดยอาศัยข้อตกลงที่ระบุไว้ในสัญญา ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการในการรับทำการงานต่างๆ เรียกเอาเงินที่ได้ทดรองไปก่อนคืน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลหนี้ดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2539 และไม่ปรากฏว่าในเดือนถัดไปโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินอีก คงมีเพียงรายการคิดดอกเบี้ยเท่านั้น ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกันโดยปริยายตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่มีการคำนวณดอกเบี้ยของรอบเดือนดังกล่าว โจทก์จึงอาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2539 ต่อมาจำเลยที่ 1 นำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2541 อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง และเริ่มนับอายุความใหม่ตามอายุความเดิม ตั้งแต่วันดังกล่าว เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีนี้วันที่ 23 มิถุนายน 2548 พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรม ลักทรัพย์บัตรอิเล็กทรอนิกส์และใช้เบิกถอนเงิน ศาลฎีกาพิพากษาตามความผิดหลายกรรม
โจทก์ฟ้องจำเลยแยกเป็น 2 ข้อ คือ ข้อ 1.1 และข้อ 1.2 การกระทำตามที่บรรยายฟ้องมาแต่ละข้อเป็นความผิดสำเร็จในตัวเอง โดยโจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1.1 ว่า จำเลยได้ลักทรัพย์และเอาไปเสียซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร ก. ที่ออกให้แก่ผู้เสียหายไปโดยทุจริต ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ธนาคาร ก. ผู้อื่นและประชาชน ความผิดดังกล่าวย่อมสำเร็จเมื่อจำเลยลักเอาบัตรดังกล่าวไป และโจทก์ได้บรรยายฟ้องข้อ 1.2 ว่าภายหลังการกระทำความผิดตามฟ้องข้อ 1.1 แล้ว จำเลยได้นำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวไปใช้ลักทรัพย์เบิกถอนโอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายโดยทุจริต ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ธนาคาร ก. ผู้อื่นและประชาชน ดังนี้ การกระทำของจำเลยในข้อ 1.2 จึงเป็นคนละวาระกันกับการกระทำความผิดตามฟ้องข้อ 1.1 ทั้งทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดก็แตกต่างกัน กล่าวคือ ทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดตามฟ้องข้อ 1.2 คือเงินจำนวน 92,640 บาท เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดโดยมีเจตนาต่างกัน การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดหลายกรรม หาใช่กรรมเดียวดังที่จำเลยฎีกาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมจากบัตรอิเล็กทรอนิกส์: ศาลฎีกาชี้การเบิกถอนเงินหลายครั้งเป็นกรรมต่างกัน
การกระทำความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมนั้นเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้มิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างมาโดยชอบในศาลชั้นต้น จำเลยก็ยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 180 และ 182
จำเลยให้การรับสารภาพว่า จำเลยใช้บัตรเอทีเอ็มเบิกถอนเงินสดจากตู้เบิกถอนเงินสดอัตโนมัติของธนาคาร ก. และธนาคาร ท. รวม 7 ครั้ง ตามฟ้องจริง ซึ่งแต่ละครั้งจำเลยจะใช้บัตรแต่ละใบใน 3 ใบ เบิกเงินแต่ละจำนวน ตามที่มีเงินอยู่ในบัญชีของบัตรแต่ละใบ โดยใช้ตู้เบิกถอนเงินต่างธนาคารและต่างเวลากัน ลักษณะการกระทำผิดดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแล้ว จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยให้การรับสารภาพว่า จำเลยใช้บัตรเอทีเอ็มเบิกถอนเงินสดจากตู้เบิกถอนเงินสดอัตโนมัติของธนาคาร ก. และธนาคาร ท. รวม 7 ครั้ง ตามฟ้องจริง ซึ่งแต่ละครั้งจำเลยจะใช้บัตรแต่ละใบใน 3 ใบ เบิกเงินแต่ละจำนวน ตามที่มีเงินอยู่ในบัญชีของบัตรแต่ละใบ โดยใช้ตู้เบิกถอนเงินต่างธนาคารและต่างเวลากัน ลักษณะการกระทำผิดดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแล้ว จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน