พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6239/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเจ้าพนักงานเบียดบังยักยอก: ศาลยืนตามศาลล่างว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า แม้จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์ก็ต้องนำพยานซึ่งเป็นผู้นำเงินไปชำระค่าธรรมเนียมและเป็นประจักษ์พยานเข้าสืบทั้งหมดเมื่อโจทก์นำพยานเข้าสืบตามฟ้องเพียง 6 ข้อ จึงฟังลงโทษจำเลยได้เพียง 6 ข้อนั้น เมื่อโจทก์ได้นำพยานบุคคลและพยานเอกสารเข้าสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 176 วรรคหนึ่ง จนเป็นที่พอใจแก่ศาลชั้นต้นแล้วว่าจำเลยได้กระทำผิดตาม ป.อ.มาตรา 147 ฐานเจ้าพนักงานเบียดบัง ยักยอก ซึ่งเป็นบทเฉพาะ ให้ลงโทษจำเลยเป็นความผิดต่างกระทงในรายที่ได้กระทำ อันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันรวม 15 กระทง ฎีกาจำเลยในข้อนี้จึงเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษในสถานเบาก็เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่มีหน้าที่ในการซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาตัวทรัพย์ก็ดี เงินค่าธรรมเนียมที่จำเลยยักยอกไม่ใช่ทรัพย์วัตถุมีรูปร่างที่จำเลยมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการรักษาก็ดี เจ้าพนักงานจะมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 147 ต้องเบียดบังทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุมีรูปร่างก็ดี จำเลยกรอกข้อความกำลังแรงม้าและจำนวนเงินเปลี่ยนแปลงในต้นฉบับใบเสร็จรับเงินและในสมุดเงินสด โดยจำเลยแก้ไขเพียงครั้งเดียวในวันเวลาเดียวกัน ในตอนเย็นก่อนเลิกงานราชการ และก่อนที่จะส่งเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้แก่เจ้าหน้าที่เก็บรักษาเงินเข้าเป็นประโยชน์ส่วนตัว จึงเป็นการเบียดบังยักยอกเงินค่าธรรมเนียมอันเป็นความผิดกรรมเดียวต่อเนื่องกันในแต่ละวันที่จำเลยยักยอกเงินค่าธรรมเนียมไปเป็นความผิดเพียง 8 กรรม ตามวันที่ที่จำเลยยักยอกนั้นก็ดี เป็นฎีกาที่โต้เถียงข้อเท็จจริงว่า จำเลยมิได้มีเจตนากระทำความผิดฐานเจ้าพนักงานเบียดบังยักยอกและมิได้มีเจตนากระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน และเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานเจ้าพนักงานยักยอกต่างกรรมต่างวาระกันดังที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157 เพียงบทเดียว และเพียง3 กรรม นั้น ล้วนเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5964/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเบียดบังเงินฌาปนสถานไม่ใช่ทรัพย์ของแผ่นดิน คดีขาดอายุความ
เงินรายได้ฌาปนสถานที่จำเลยเบียดบังไม่ได้ส่งกรมตำรวจตามที่โจทก์กล่าวหา เป็นเงินนอกงบประมาณไม่ใช่เงินรายได้ของแผ่นดิน และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตาม ป.อ.มาตรา 147 ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานเบียดบังเอาไว้เป็นของตนหรือของผู้อื่น ต้องเป็นทรัพย์ที่เจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำจัดการหรือรักษา แต่เมื่อเงินที่จำเลยยักยอกเอาไปใช้ส่วนตัวในคดีนี้เป็นเงินค่าบำรุงที่เจ้าภาพงานศพมาใช้ฌาปนสถานมอบให้แก่จำเลยเพื่อเก็บส่งเป็นเงินสวัสดิการต่อกรมตำรวจเท่านั้น มิใช่เงินของทางราชการหรือของรัฐบาลที่จำเลยผู้เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษา จึงลงโทษจำเลยตามป.อ.มาตรา 147 ไม่ได้
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 352เป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด แต่ปรากฏว่าผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2528 แต่ ท.เพิ่งได้รับคำสั่งจากผู้บังคับการกองสวัสดิการกรมตำรวจ ให้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2530การร้องทุกข์ซึ่งจะต้องดำเนินการตั้งแต่รับคำสั่งจึงเกิน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิดแล้ว คดีจึงขาดอายุความ แม้จำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ศาลฎีกาก็ยกขึ้นพิจารณาได้เอง
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 352เป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด แต่ปรากฏว่าผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2528 แต่ ท.เพิ่งได้รับคำสั่งจากผู้บังคับการกองสวัสดิการกรมตำรวจ ให้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2530การร้องทุกข์ซึ่งจะต้องดำเนินการตั้งแต่รับคำสั่งจึงเกิน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิดแล้ว คดีจึงขาดอายุความ แม้จำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ศาลฎีกาก็ยกขึ้นพิจารณาได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5964/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบียดบังเงินฌาปนสถานไม่ใช่ทรัพย์ของแผ่นดิน ความผิด 352 ขาดอายุความ
เงินรายได้ฌาปนสถานที่จำเลยเบียดบังไม่ได้ส่งกรมตำรวจตามที่โจทก์กล่าวหา เป็นเงินนอกงบประมาณไม่ใช่เงินรายได้ของแผ่นดิน และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา147 ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานเบียดบังเอาไว้เป็นของตนหรือของผู้อื่น ต้องเป็นทรัพย์ที่เจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำจัดการหรือรักษา แต่เมื่อเงินที่จำเลยยักยอกเอาไปใช้ส่วนตัวในคดีนี้เป็นเงินค่าบำรุงที่เจ้าภาพงานศพมาใช้ฌาปนสถานมอบให้แก่จำเลยเพื่อเก็บส่งเป็นเงินสวัสดิการต่อกรมตำรวจเท่านั้น มิใช่เงินของทางราชการหรือของรัฐบาลที่จำเลยผู้เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดซื้อ ทำ จัดการหรือรักษา จึงลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ไม่ได้ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 เป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด แต่ปรากฏว่าผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2528 แต่ ท. เพิ่งได้รับคำสั่งจากผู้บังคับการกองสวัสดิการกรมตำรวจ ให้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2530 การร้องทุกข์ซึ่งจะต้องดำเนินการตั้งแต่รับคำสั่งจึงเกิน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิดแล้ว คดีจึงขาดอายุความแม้จำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ศาลฎีกาก็ยกขึ้นพิจารณาได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3256/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดผู้จัดการสาขาเบียดบังเงินฝากของลูกค้า: ความผิดหลายกรรม
จำเลยเป็นผู้จัดการสาขาของโจทก์ร่วม ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของโจทก์ร่วม กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต เบียดบังยักยอกเงินของลูกค้าที่จำเลยรับฝากไว้แทนโจทก์ร่วม เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ร่วมโดยโจทก์ร่วมต้องใช้เงินให้แก่ลูกค้าไป โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย
โจทก์ส่งสำเนาใบรับฝากเงิน เนื่องจากต้นฉบับหาไม่พบ ประกอบกับจำเลยไม่ได้คัดค้านว่าสำเนาใบรับฝากเงินไม่ถูกต้องอย่างไร จึงรับฟังได้ตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 238 วรรคหนึ่ง
จำเลยรับฝากเงินรวม 2 ครั้ง แล้วไม่นำเงินไปมอบให้พนักงานรักษาเงินของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยที่รับฝากเงินและไม่ส่งมอบเงินแต่ละครั้งเป็นความผิดเป็นกรรม ๆ ไป จึงเป็นความผิดหลายกรรม
โจทก์ส่งสำเนาใบรับฝากเงิน เนื่องจากต้นฉบับหาไม่พบ ประกอบกับจำเลยไม่ได้คัดค้านว่าสำเนาใบรับฝากเงินไม่ถูกต้องอย่างไร จึงรับฟังได้ตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 238 วรรคหนึ่ง
จำเลยรับฝากเงินรวม 2 ครั้ง แล้วไม่นำเงินไปมอบให้พนักงานรักษาเงินของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยที่รับฝากเงินและไม่ส่งมอบเงินแต่ละครั้งเป็นความผิดเป็นกรรม ๆ ไป จึงเป็นความผิดหลายกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 617/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบเงินให้ฝากบัญชีถือเป็นการส่งมอบทรัพย์ให้จำเลยครอบครอง หากนำไปเบียดบังเป็นความผิดฐานยักยอก
การที่โจทก์ร่วมมอบเงินให้แก่จำเลยเพื่อไปฝากเข้าบัญชีเป็นการส่งมอบทรัพย์ให้อยู่ในความยึดถือของจำเลยอันเป็นการมอบให้ครอบครองทรัพย์ดังกล่าวแทนโจทก์ร่วม จำเลยจึงอยู่ในฐานะครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น เมื่อจำเลยเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกเงิน: การปฏิเสธการรับเงินและการไม่ซื้อเมล็ดพันธุ์โกโก้ตามที่รับฝาก เป็นเจตนาเบียดบังเงิน
จำเลยรับฝากเงินไปจากโจทก์ร่วมเพื่อซื้อเมล็ดพันธุ์โกโก้แต่จำเลยไม่ซื้อให้และกลับปฏิเสธว่าไม่ได้รับเงินจากโจทก์ร่วมเป็นการส่อเจตนาว่าจำเลยได้เบียดบังเอาเงินของโจทก์ร่วมไว้เป็นของตนโดยทุจริตมีความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่เบียดบังเงินบำรุงโรงพยาบาลเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานประจำโรงพยาบาล มีหน้าที่จัดซื้อจัดการซ่อมแซม และดูแลรักษาพัสดุครุภัณฑ์และได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เกี่ยวกับด้านการเงินด้วย จำเลยได้ลงชื่อคู่กับผู้อำนวยการโรงพยาบาลในฐานะเจ้าของบัญชีและผู้มอบฉันทะในแบบถอนเงินจำนวน14,000 บาท จากบัญชีเงินบำรุงโรงพยาบาลพรหมพิรามมาสำรองจ่ายค่าพัสดุครุภัณฑ์ ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จัดซื้อแล้วมอบให้ ส. นำไปถอนเงินจำนวนดังกล่าวจากธนาคารมาให้ตน จำเลยได้รับแล้วมิได้จัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์แต่อย่างใด และปรากฏว่าเงินจำนวนนี้ได้ขาดหายไปจากบัญชี การกระทำของจำเลยเป็นการเบียดบังเงินจำนวน 14,000บาท ที่อยู่ในความครอบครองตามหน้าที่ของตนไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3817/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์จากเช็ค: การครอบครองเช็คแทนเจ้าของและการเบียดบังเงิน
ผู้เสียหายมอบเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คระบุชื่อให้จำเลยนำไปเข้าบัญชีของผู้เสียหาย แต่จำเลยกลับนำไปให้ผู้สั่งจ่ายออกเช็คฉบับใหม่เป็นเช็คผู้ถือ แล้วจำเลยนำเช็คฉบับใหม่ไปขึ้นเงินจากธนาคารและหลบหนีไป การที่จำเลยรับเช็คฉบับใหม่มาแล้วนำไปขึ้นเงินจากธนาคารนั้น เป็นการครอบครองเช็คแทนผู้เสียหาย เพราะผู้สั่งจ่ายเจตนาจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหาย ไม่ได้จ่ายให้จำเลย เมื่อจำเลยนำเช็คนั้นไปขึ้นเงินมาครอบครองแล้วเบียดบังเอาเงินนั้นเป็นของตน จึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์: จำเลยไม่ได้รับเงินจากผู้ซื้อจึงไม่อาจเบียดบังได้ ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
จำเลยกับสามีจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของร้าน ก. ได้นำรถยนต์ของผู้เสียหายไปขายให้บริษัท น. บริษัท น. ไม่ได้จ่ายเงินค่ารถยนต์ให้แก่ร้าน ก. แต่ได้หักหนี้ที่ร้าน ก.เป็นหนี้บริษัท น. อยู่ ดังนี้ จำเลยมิได้รับเงินค่ารถยนต์จากบริษัท น. ไว้แทนผู้เสียหายเลยจำเลยจึงไม่อาจเบียดบังเอาเงินดังกล่าวได้ การที่จำเลยไม่ยอมชำระเงินค่ารถยนต์แก่ผู้เสียหาย ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์: จำเลยไม่ได้รับเงินค่ารถยนต์ จึงไม่อาจเบียดบังได้
จำเลยกับสามีจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของร้าน ก. ได้นำรถยนต์ของผู้เสียหายไปขายให้บริษัท น. บริษัท น.ไม่ได้จ่ายเงินค่ารถยนต์ให้แก่ร้าน ก. แต่ได้หักหนี้ที่ร้าน ก. เป็นหนี้บริษัท น.อยู่ ดังนี้ จำเลยมิได้รับเงินค่ารถยนต์จากบริษัท น.ไว้แทนผู้เสียหายเลย จำเลยจึงไม่อาจเบียดบังเอาเงินดังกล่าวได้การที่จำเลยไม่ยอมชำระเงินค่ารถยนต์แก่ผู้เสียหาย ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก