คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เปรียบเทียบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาภาษีอากรที่ถูกต้อง: การเปรียบเทียบราคาต้องคำนึงถึงปริมาณ เวลา และแหล่งที่มาของสินค้า
จำเลยนำสินค้าพิพาทจากประเทศ สิงคโปร์เข้ามา 2 ครั้ง ครั้งแรกแบบ ซีวีโอ 700 จำนวน 150 ชุด ครั้งที่ 2 แบบ ซีวีโอ 500 จำนวน204 ชุด โดยสั่งซื้อ จากบริษัท ช. ราคาสินค้าพิพาทที่จำเลยสำแดงก็เท่ากับที่ผู้นำเข้ารายอื่นนำเข้าทางท่าเรือกรุงเทพในระยะเวลานั้น การที่โจทก์นำราคาสินค้าชนิดเดียวกันซึ่ง ว. สั่งซื้อ จากผู้ขายต่าง รายกัน และนำเข้าในจำนวนน้อยกว่ามาก โดย นำเข้าแบบซีวีโอ 500 จำนวน 100 ชุด และแบบ ซีวีโอ 700 จำนวนเพียง 2 ชุดเพียงรายเดียว มาเปรียบเทียบกับราคาสินค้าของจำเลย โดย ถือว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดแล้วเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่มเติมจากจำเลย ทั้ง ๆ ที่ระยะเวลานำเข้าก็ต่างกันเกือบ 1 ปี และต่าง ปีกันจึงไม่ถูกต้อง ถือได้ว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2354/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดมาตรา 112: การปราศรัยเปรียบเทียบตนเองกับพระบรมวงศานุวงศ์ และอ้างอิงสถานที่ในพระราชวัง
พยานบุคคลที่เบิกความให้ความเห็นโดยสุจริตและเป็นธรรม ย่อมรับฟังความเห็นนั้นประกอบกับข้อความที่อ้างว่าเป็นหมิ่นประมาทได้ พระบรมมหาราชวัง เป็นของพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงสร้างขึ้นไว้เพื่อเป็นที่ประทับของพระองค์และพระบรมราชินี เป็นที่ประสูติพระราชโอรสและพระราชธิดาพระราชโอรสทรงเป็นรัชทายาทที่จะสืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์ต่อไปในเมื่อแผ่นดินว่างกษัตริย์ ลงคนภายนอกจะมาเกิดในพระบรมมหาราชวัง มิได้ ดังนั้น ข้อความที่จำเลยกล่าวต่อประชาชนว่าถ้าจำเลยเลือกเกิดได้ จะเลือกเกิดใจกลางพระบรมมหาราชวังออกมาเป็นพระองค์เจ้าวีระ แม้จำเลยจะมิได้ระบุชื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยชัดแจ้งแต่ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบก็แปลเจตนาของจำเลยได้ว่าจำเลยกล่าวโดยมุ่งหมายถึงองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระบรมโอรสธิราชฯสยามมงกุฎราชกุมาร องค์รัชทายาท ข้อความที่จำเลยกล่าว จะเป็นการใส่ความในประการที่น่าจะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชังหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาถึงฐานะที่ทรงดำรงอยู่และความรู้สึกนึกคิดของประชาชนชาวไทยอันมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ประกอบด้วย ซึ่งปรากฏตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกอบกับประมวลกฎหมายอาญาอย่างแจ้งชัดว่าองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นทรงดำรงอยู่ในฐานะพระประมุขของประเทศ ทรงเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะล่วงละเมิดหรือใช้สิทธิและเสรีภาพให้เป็นปฏิปักษ์ในทางหนึ่งทางใดมิได้ ทั้งรัฐและประชาชนต่างมีหน้าที่ต้องรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ดำรงอยู่คู่ประเทศตลอดไปแม้ในความรู้สึกนึกคิดของประชาชนชาวไทยอันมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็ให้ความเคารพสักการะและยกย่องเทิดทูนไว้เหนือเกล้าฯตลอดมาตั้งแต่โบราณกาลการที่จะกล่าววาจาจาบจ้วงล่วงเกินเปรียบเทียบเปรียบเปรยหรือเสียดสีให้เป็นที่ระคายเคืองต่อเบื้องพระยุคลบาทนั้น หามีบุคคลใดกล้าบังอาจไม่ จำเลยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการและเลขาธิการพรรคการเมือง ได้กล่าวต่อประชาชนเพื่อช่วยหาเสียงให้แก่สมาชิกพรรคการเมืองของตนมีความว่า ถ้าเลือกเกิดได้ จะเลือกเกิดใจกลางพระบรมมหาราชวังออกมาเป็นพระองค์เจ้าวีระไม่ต้องมายืนตากแดด พูดให้ประชาชนฟังถึงเวลาเที่ยงก็เข้าห้องเย็น เสวยเสร็จก็บรรทม ตื่นอีกทีบ่ายสามโมงพอตกเย็นก็เสวยน้ำจัณฑ์ให้สบายอกสบายใจ เป็นการกล่าวเปรียบเทียบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร องค์รัชทายาททรงมีความเป็นอยู่สุขสบาย ไม่ต้องปฏิบัติพระราชภารกิจใด ๆ ต่างกับจำเลยที่เป็นลูกชาวนา ต้องทำงานหนัก ซึ่งข้อความที่จำเลยกล่าวนั้นไม่เป็นความจริงจึงเป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯลฯ ทรงเสื่อมเสียพระเกียรติยศชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง แม้การกระทำดังกล่าวของจำเลยจะไม่เกิดผลเพราะไม่มีใครเชื่อถือคำกล่าวนั้นก็ตาม ก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำเลยจะมีเจตนาหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นหรือไม่ จะถือตามความเข้าใจของจำเลยซึ่งเป็นผู้กล่าวเองมิได้ ต้องพิจารณาจากข้อความที่จำเลยกล่าวทั้งหมด การที่จำเลยกล่าวข้อความไปอย่างไร แล้วกลับมาแก้ว่าไม่มีเจตนาตามที่กล่าว ย่อมยากที่จะรับฟัง การที่จำเลยเป็นผู้มีคุณความดีมาก่อน หลังจากเกิดเหตุแล้วยังได้ไปกล่าวคำกราบบังคมทูลของพระราชทานอภัยโทษต่อพระบรมสาทิสลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้มีหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษเป็นการรู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น อันเป็นเหตุบรรเทาโทษ มีเหตุสมควรปรานีลดโทษให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5995/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินของกลางหลังคำร้องเปรียบเทียบถูกยกเลิก เจ้าหน้าที่ชอบที่จะดำเนินการตามกฎหมายได้
เจ้าหน้าที่ศุลกากรจับกุมโจทก์ในข้อหาพยายามพาของต้องจำกัดออกไปนอกราชอาณาจักร อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพุทธศักราช 2469 มาตรา 27 จึงมีอำนาจนำตัวโจทก์และของพิพาทซึ่งเป็นของกลางที่เกี่ยวกับการพยายามกระทำความผิดส่งสถานีตำรวจ เพื่อจัดการตามกฎหมาย แม้ต่อมาโจทก์ได้ทำคำร้องขอให้เปรียบเทียบเพื่อไม่ต้องดำเนินคดี โดยขอยกของพิพาทให้เป็นของแผ่นดินก็ตาม แต่ภายหลังโจทก์กลับขอคืนของพิพาทก่อนที่คณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องจะพิจารณาคำร้องขอให้เปรียบเทียบมาตรา 102 ทวิ ถือได้ว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้มีการเปรียบเทียบต่อไปโจทก์จึงหมดความคุ้มกันในการที่จะถูกดำเนินคดีจำเลยย่อมมีอำนาจยึดของพิพาทไว้เพื่อนำส่งพนักงานสอบสวนให้ดำเนินการตามมาตรา 20 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5995/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินของกลางหลังทำคำร้องเปรียบเทียบแล้วยกเลิก ถือเป็นการสิ้นสุดความคุ้มกันทางกฎหมาย
เจ้าหน้าที่ศุลกากรจับกุมโจทก์ในข้อหาพยายามพาของต้องจำกัดออกไปนอกราชอาณาจักร อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรพุทธศักราช 2469 มาตรา 27 จึงมีอำนาจนำตัวโจทก์และของพิพาทซึ่งเป็นของกลางที่เกี่ยวกับการพยายามกระทำความผิดส่งสถานีตำรวจเพื่อจัดการตามกฎหมาย แม้ต่อมาโจทก์ได้ทำคำร้องขอให้เปรียบเทียบเพื่อไม่ต้องดำเนินคดี โดยขอยกของพิพาทให้เป็นของแผ่นดินก็ตาม แต่ภายหลังโจทก์กลับขอคืนของพิพาทก่อนที่คณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องจะพิจารณาคำร้องขอให้เปรียบเทียบ มาตรา 102 ทวิถือได้ว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้มีการเปรียบเทียบต่อไป โจทก์จึงหมดความคุ้มกันในการที่จะถูกดำเนินคดี จำเลยย่อมมีอำนาจยึดของพิพาทไว้เพื่อนำส่งพนักงานสอบสวนให้ดำเนินการตามมาตรา 20 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5995/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินของกลางหลังผู้ต้องหาขอเปรียบเทียบแล้วถอนคำขอ ถือว่าหมดความคุ้มกันจำเลยมีสิทธิยึดทรัพย์ได้
เจ้าหน้าที่ศุลกากรจับกุมโจทก์ในข้อหาพยายามพาของต้องจำกัดออกไปนอกราชอาณาจักร อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพุทธศักราช 2469 มาตรา 27 จึงมีอำนาจนำตัวโจทก์และของพิพาทซึ่งเป็นของกลางที่เกี่ยวกับการพยายามกระทำความผิดส่งสถานีตำรวจเพื่อจัดการตามกฎหมาย แม้ต่อมาโจทก์ได้ทำคำร้องขอให้เปรียบเทียบเพื่อไม่ต้องดำเนินคดี โดยขอยกของพิพาทให้เป็นของแผ่นดินก็ตาม แต่ภายหลังโจทก์กลับขอคืนของพิพาทก่อนที่คณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องจะพิจารณาคำร้องขอให้เปรียบเทียบมาตรา 102 ทวิ ถือได้ว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้มีการเปรียบเทียบต่อไปโจทก์จึงหมดความคุ้มกันในการที่จะถูกดำเนินคดีจำเลยย่อมมีอำนาจยึดของพิพาทไว้เพื่อนำส่งพนักงานสอบสวนให้ดำเนินการตามมาตรา 20 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2413/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนเมื่อไม่ใช่ผู้ต้องหา: ไม่มีหน้าที่เปรียบเทียบจึงไม่เป็นความผิด
จำเลยเจรจาค่าเสียหายกับโจทก์ต่อหน้าพนักงานสอบสวนในการที่ส. ขับรถชนบุตรสาวโจทก์ และพนักงานสอบสวนได้ทำบันทึกไว้แม้จำเลยจะกล่าวความเท็จ แต่เมื่อจำเลยมิได้เป็นผู้ต้องหาในกรณีรถชนดังกล่าว พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีหน้าที่ทำการเปรียบเทียบ การที่พนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบจึงไม่ถือเป็นการกระทำ โดยหน้าที่การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ แก่เจ้าพนักงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัยโดยผลของการเปรียบเทียบ - เจตนาให้มีสิทธิอยู่ตลอดชีวิต แม้มิได้จดทะเบียน
โจทก์ จำเลยตกลงกันตามคำเปรียบเทียบของคณะกรรมการอำเภอ ซึ่งมีความว่า "ให้จำเลยอยู่ในที่(พิพาท)นี้เรื่อยไป แต่จะยกที่ดินให้ใครไม่ได้ ส่วนพืชผลก็อาศัยแบ่งกันเก็บเงินไป" ดังนี้ ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของคู่ความว่า ให้จำเลยมีสิทธิอาศัยอยู่ในที่พิพาทเรื่อยไปจนตลอดชีวิตนั่นเอง และการยอมให้อาศัยเช่นนี้ แม้มิได้จดทะเบียน ก็ใช้ยันกันเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1749/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกที่ดินหลังเจ้าพนักงานที่ดินเปรียบเทียบแล้ว ไม่ถือเป็นการสละมรดกหรือประนีประนอมยอมความ
ทายาทด้วยกันต่างโต้แย้งคัดค้านการประกาศรับมรดกที่ดินของซึ่งกันและกันเจ้าพนักงานที่ดินจึงเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นการปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.การออกโฉนดที่ดิน ร.ศ.127 มาตรา 52 โดยสั่งให้ลงชื่อทายาทบางคนลงในโฉนดแปลงหนึ่ง และสั่งให้ลงชื่อทายาทอื่นลงในโฉนดอีกแปลงหนึ่ง และให้ฝ่ายที่ไม่พอใจไปฟ้องศาลภายใน 30 วัน เมื่อถึงกำหนดไม่มีใครไปฟ้องร้อง เจ้าพนักงานที่ดินจึงได้ลงชื่อทายาทในโฉนดไปตามที่ได้สั่งแล้วนั้น ดังนี้ จะถือว่าทายาทคนที่ไม่ถูกลงชื่อในโฉนดได้สละมรดกส่วนของตนในโฉนดนั้นยังไม่ได้ และจะว่าเป็นการปรานีประนอมยอมความก็ไม่ได้ ทายาทผู้ไม่ถูกลงชื่อในโฉนดนั้น ย่อมมีสิทธิมาฟ้องขอแบ่งที่ดินนั้นต่อศาลได้ภายในกำหนดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ไม่จำเป็นต้องมีการเปรียบเทียบก่อนเสมอไป
ในคดีที่ฟ้องหาว่า จำลเยนำของออกนาอกราชอาณาจักรไทย เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่างนั้นถ้าผู้กระทำผิดไม่ขอปฏิบัติตาม พ.ร.บศุลกากรเรื่องเปรียบเทียบแล้ว ก็ไม่จำเป็นเปรียบเทียบ และในกรณีเช่นนี้ อัยการมีอำนาจฟ้องคดีได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการเปรียบเทียบก่นอ ทั้งในฟ้องก็ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่า ได้มีการเปรียบเทียบผู้กระทำผิดนั้นแล้วหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีนำของออกนอกราชอาณาจักร ไม่จำเป็นต้องมีการเปรียบเทียบเสมอไป อัยการมีอำนาจฟ้องได้หากจำเลยไม่ขอปฏิบัติตามกฎหมาย
ในคดีที่ฟ้องหาว่า จำเลยนำของออกนอกราชอาณาจักรไทยอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่างนั้น ถ้าผู้กระทำผิดไม่ขอปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติศุลกากรเรื่องเปรียบเทียบแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบและในกรณีเช่นนี้ อัยการมีอำนาจฟ้องคดีได้โดยไม่จำต้องมีการเปรียบเทียบก่อน ทั้งในฟ้องก็ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่าได้มีการเปรียบเทียบผู้กระทำผิดนั้นแล้วหรือไม่
of 3