พบผลลัพธ์ทั้งหมด 393 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีและการมอบอำนาจช่วง แม้กรรมการผู้มีอำนาจเปลี่ยนแปลงหลังมอบอำนาจแล้ว ผู้รับมอบอำนาจยังคงมีอำนาจดำเนินการแทนได้
ขณะมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจเป็นผู้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนนั้น ผู้มอบอำนาจยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์อยู่ แม้ภายหลังผู้มอบอำนาจจะพ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการแทนโจทก์ก็ตาม หาได้ทำให้ฐานะของผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนโจทก์สิ้นสุดไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9778-9835/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวเลิกจ้าง การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเรื่องวันจ่ายค่าจ้าง และผลต่อการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างจะกำหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันสิ้นเดือนของทุกเดือนก็ตาม แต่การที่นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างก่อนวันสิ้นเดือน 1 วัน เป็นประจำตลอดมา ย่อมถือได้ว่านายจ้างตกลงกับลูกจ้างให้มีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องกำหนดการจ่ายค่าจ้างจากวันสิ้นเดือนเป็นวันก่อนวันสิ้นเดือน 1 วัน โดยปริยาย ซึ่งนายจ้างและลูกจ้างย่อมมีสิทธิทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
วันที่ครบกำหนดจ่ายสินจ้างตามกฎหมายของจำเลยในเดือนมิถุนายน 2541 คือวันที่ 29 มิถุนายน 2541 หากจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยให้มีผลเป็นการเลิกจ้างในวันที่ 1 สิงหาคม 2541 จำเลยจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์อย่างช้าที่สุดต้องภายในวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จึงจะเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 วรรคหนึ่ง
คณะกรรมการบริหารโรงงานน้ำตาลของจำเลยซึ่งอยู่ที่กรุงเทพมหานครประชุมแล้วมีมติให้เลิกจ้างพนักงานในโรงงานน้ำตาล รวมทั้งพนักงานในโรงงานน้ำตาลลำปางคือโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 58 การที่จำเลยได้ส่งประกาศเลิกจ้างพนักงานโรงงานน้ำตาลของจำเลยกับหนังสือคำสั่งให้ทางโรงงานน้ำตาลลำปางทำหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้างพนักงานโรงงานน้ำตาลลำปางเป็นรายบุคคลทางโทรสารไปยังโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการโรงงานน้ำตาลลำปางในเวลาบ่ายของวันประชุมดังกล่าวเพื่อแจ้งให้พนักงานโรงงานน้ำตาลลำปางทราบ การกระทำเช่นนี้มิใช่เป็นการที่จำเลยส่งโทรสารบอกกล่าวเลิกจ้างไปถึงโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 โดยตรงเฉพาะเจาะจง แต่เป็นการที่จำเลยมอบหมายให้โจทก์ที่ 1 เป็นผู้บอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 การบอกกล่าวเลิกจ้างในลักษณะนี้เป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้าอันจะมีผลต่อเมื่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 ได้ทราบการแสดงเจตนาบอกเลิกจ้างแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้สั่งหรือปิดประกาศหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้างพนักงานเป็นรายบุคคลให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 รับทราบ และมีการปิดประกาศสำเนาประกาศเลิกจ้างไว้ที่หน้าโรงงานก่อนเลิกงานเพียง 5 นาที โดยไม่ได้ความว่าโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 ทราบการบอกกล่าวเลิกจ้างแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 ในวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือนสิงหาคม 2541 จำนวน 30 วัน ให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 แต่สำหรับโจทก์ที่ 1 เป็นผู้จัดการโรงงานน้ำตาลลำปางของจำเลยและหลังจากโจทก์ที่ 1 ได้รับทราบหนังสือประกาศเลิกจ้างตามเอกสารซึ่งจำเลยได้ส่งทางโทรสารถึงโจทก์ที่ 1 โดยตรงแล้ว โจทก์ที่ 1 ก็ได้สั่งให้นำเอกสารดังกล่าวไปปิดประกาศ ถือได้ว่าการแสดงเจตนาบอกกล่าวเลิกจ้างของจำเลยไปถึงโจทก์ที่ 1 ก่อนเลิกงานในวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จึงมีผลให้เป็นการเลิกสัญญาจ้างเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปในวันที่ 29 กรกฎาคม 2541
วันที่ครบกำหนดจ่ายสินจ้างตามกฎหมายของจำเลยในเดือนมิถุนายน 2541 คือวันที่ 29 มิถุนายน 2541 หากจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยให้มีผลเป็นการเลิกจ้างในวันที่ 1 สิงหาคม 2541 จำเลยจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์อย่างช้าที่สุดต้องภายในวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จึงจะเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 วรรคหนึ่ง
คณะกรรมการบริหารโรงงานน้ำตาลของจำเลยซึ่งอยู่ที่กรุงเทพมหานครประชุมแล้วมีมติให้เลิกจ้างพนักงานในโรงงานน้ำตาล รวมทั้งพนักงานในโรงงานน้ำตาลลำปางคือโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 58 การที่จำเลยได้ส่งประกาศเลิกจ้างพนักงานโรงงานน้ำตาลของจำเลยกับหนังสือคำสั่งให้ทางโรงงานน้ำตาลลำปางทำหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้างพนักงานโรงงานน้ำตาลลำปางเป็นรายบุคคลทางโทรสารไปยังโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการโรงงานน้ำตาลลำปางในเวลาบ่ายของวันประชุมดังกล่าวเพื่อแจ้งให้พนักงานโรงงานน้ำตาลลำปางทราบ การกระทำเช่นนี้มิใช่เป็นการที่จำเลยส่งโทรสารบอกกล่าวเลิกจ้างไปถึงโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 โดยตรงเฉพาะเจาะจง แต่เป็นการที่จำเลยมอบหมายให้โจทก์ที่ 1 เป็นผู้บอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 การบอกกล่าวเลิกจ้างในลักษณะนี้เป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้าอันจะมีผลต่อเมื่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 ได้ทราบการแสดงเจตนาบอกเลิกจ้างแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้สั่งหรือปิดประกาศหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้างพนักงานเป็นรายบุคคลให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 รับทราบ และมีการปิดประกาศสำเนาประกาศเลิกจ้างไว้ที่หน้าโรงงานก่อนเลิกงานเพียง 5 นาที โดยไม่ได้ความว่าโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 ทราบการบอกกล่าวเลิกจ้างแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 ในวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือนสิงหาคม 2541 จำนวน 30 วัน ให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 แต่สำหรับโจทก์ที่ 1 เป็นผู้จัดการโรงงานน้ำตาลลำปางของจำเลยและหลังจากโจทก์ที่ 1 ได้รับทราบหนังสือประกาศเลิกจ้างตามเอกสารซึ่งจำเลยได้ส่งทางโทรสารถึงโจทก์ที่ 1 โดยตรงแล้ว โจทก์ที่ 1 ก็ได้สั่งให้นำเอกสารดังกล่าวไปปิดประกาศ ถือได้ว่าการแสดงเจตนาบอกกล่าวเลิกจ้างของจำเลยไปถึงโจทก์ที่ 1 ก่อนเลิกงานในวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จึงมีผลให้เป็นการเลิกสัญญาจ้างเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปในวันที่ 29 กรกฎาคม 2541
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7536/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุจำเลยเปลี่ยนแปลงหลังศาลชั้นต้นพิพากษา ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขคำสั่งเดิม
ขณะเกิดเหตุจำเลยอายุ 14 ปี แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏแก่ศาลฎีกาว่า จำเลยอายุเกิน 18 ปีแล้ว จึงไม่อาจส่งจำเลยไปรับการฝึกและอบรมตามคำพิพากษาของศาลล่างได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74(5) ถือว่าเป็นกรณีที่พฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งเดิมได้ ตามมาตรา 74 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7084-7106/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเวลาจ่ายค่าจ้างโดยไม่ยินยอมลูกจ้างเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่ชอบธรรม และการสอบถามสิทธิเป็นสิทธิลูกจ้าง
จำเลยมิได้จัดทำข้อตกลงสภาพการจ้างเกี่ยวกับกำหนดเวลาจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเป็นหนังสือ แต่ในทางปฏิบัติ เมื่อถึงวันจ่ายค่าจ้างจำเลยจะจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลา 15 ถึง 17 นาฬิกา ตั้งแต่ปี 2533 ตลอดมาโดยลูกจ้างของจำเลยไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน จึงถือได้ว่ากำหนดเวลาจ่ายค่าจ้างระหว่างเวลา 15 ถึง 17 นาฬิกา เป็นสภาพการจ้างที่มีผลผูกพันจำเลยกับลูกจ้างของจำเลยทั้งหมดการที่จำเลยเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาการจ่ายค่าจ้างมาเป็นระหว่างเวลา 12 ถึง 13 นาฬิกา ย่อมมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าวและถือไม่ได้ว่าเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าสภาพการจ้างเดิมจำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง การเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาการจ่ายค่าจ้างดังกล่าวไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 20
การที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามเข้าไปในห้องทำงานของผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายธุรการของจำเลยเพื่อสอบถามถึงการเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาจ่ายค่าจ้างและขอใบอนุญาตผ่านออกจากอาคารที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามทำงานไปเจรจากับฝ่ายการเงินที่อยู่ในอีกอาคารหนึ่งเพื่อให้จ่ายค่าจ้างในเวลาเดิมตามสภาพการจ้างที่ปฏิบัติกันมาย่อมเป็นสิทธิโดยชอบที่จะกระทำได้ มิใช่กรณีที่ลูกจ้างจะต้องร้องขอให้ศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 50 วรรคสอง แม้ขณะที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามเข้าไปในห้องทำงานดังกล่าวจะเป็นเวลาการทำงาน ก็ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำด้วยสาเหตุดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบคำสั่งของจำเลยในกรณีร้ายแรงหรือการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร
การที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามเข้าไปในห้องทำงานของผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายธุรการของจำเลยเพื่อสอบถามถึงการเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาจ่ายค่าจ้างและขอใบอนุญาตผ่านออกจากอาคารที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามทำงานไปเจรจากับฝ่ายการเงินที่อยู่ในอีกอาคารหนึ่งเพื่อให้จ่ายค่าจ้างในเวลาเดิมตามสภาพการจ้างที่ปฏิบัติกันมาย่อมเป็นสิทธิโดยชอบที่จะกระทำได้ มิใช่กรณีที่ลูกจ้างจะต้องร้องขอให้ศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 50 วรรคสอง แม้ขณะที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามเข้าไปในห้องทำงานดังกล่าวจะเป็นเวลาการทำงาน ก็ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำด้วยสาเหตุดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบคำสั่งของจำเลยในกรณีร้ายแรงหรือการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7082/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงประเด็นข้อพิพาทหลังสละข้อต่อสู้: ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยตามประเด็นเดิม
แม้คำให้การของจำเลยในตอนหลังที่ว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า โจทก์ถูกแย่งการครอบครองและไม่ได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนภายใน 1 ปี จะขัดกับคำให้การในตอนแรกว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยซื้อมาจากผู้มีชื่อ ก็ต้องถือว่าคำให้การดังกล่าวมีอยู่ แต่ต่อมาในชั้นชี้สองสถานจำเลยขอสละข้อต่อสู้ที่ว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทหรือไม่เสียแล้ว จึงต้องถือว่าคำให้การในเรื่องดังกล่าวมิได้มีอยู่อีกต่อไป ดังนี้ประเด็นเรื่องที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลยเป็นอันยุติ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ทำให้คำให้การของจำเลยที่ว่า โจทก์ถูกแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทและไม่ได้ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี ไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งอีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครองหรือไม่ และพิจารณาพิพากษาคดีไปตามประเด็นดังกล่าว โดยไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลย จึงถูกต้องแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ชอบที่จะพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่วินิจฉัยประเด็นดังกล่าว กลับไปวินิจฉัยประเด็นเรื่องที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลยซึ่งยุติไปแล้ว จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา การเปลี่ยนแปลงทรัพย์สิน และการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดที่ดินของจำเลยที่ 1 รวม 96 แปลง ไว้เป็นการชั่วคราวก่อนพิพากษา ตามคำร้องขอของโจทก์ จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำขอให้ศาลชั้นต้นยกเลิกคำสั่งดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 267 วรรคสอง หรือใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 228 วรรคสอง คำสั่งดังกล่าวจึงถึงที่สุด ที่ดิน 96 แปลง
ในระหว่างที่ศาลมีคำสั่งอายัดที่ดินชั่วคราวนั้น ศาลมีคำพิพากษาตามยอมในคดีอื่นให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งถูกอายัดชั่วคราวบางแปลงให้แก่ผู้ซื้อ โจทก์จึงยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวครั้งที่สอง ขอให้อายัดเงินที่จำเลยที่ 1 จะได้รับในการโอนกรรมสิทธิ์ดังกล่าว ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดชั่วคราว จึงเป็นหลักประกันเบื้องต้นในการที่โจทก์จะบังคับคดีได้ เมื่อต่อมาปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์ที่ศาลชั้นต้นสั่งอายัดชั่วคราวได้เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าวจนทำให้คำสั่งอายัดที่ดินชั่วคราวไร้ผล และทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะได้รับเงินจากการบังคับคดีของเจ้าหนี้ จึงถือเสมือนว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ได้มาแทนที่ที่ดินที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา ประกอบกับเงินเป็นทรัพย์ที่สามารถยักย้ายถ่ายเทหรือปิดบังซ่อนเร้นโดยง่าย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้อายัดเงินดังกล่าวไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา และไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ในระหว่างที่ศาลมีคำสั่งอายัดที่ดินชั่วคราวนั้น ศาลมีคำพิพากษาตามยอมในคดีอื่นให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งถูกอายัดชั่วคราวบางแปลงให้แก่ผู้ซื้อ โจทก์จึงยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวครั้งที่สอง ขอให้อายัดเงินที่จำเลยที่ 1 จะได้รับในการโอนกรรมสิทธิ์ดังกล่าว ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดชั่วคราว จึงเป็นหลักประกันเบื้องต้นในการที่โจทก์จะบังคับคดีได้ เมื่อต่อมาปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์ที่ศาลชั้นต้นสั่งอายัดชั่วคราวได้เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าวจนทำให้คำสั่งอายัดที่ดินชั่วคราวไร้ผล และทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะได้รับเงินจากการบังคับคดีของเจ้าหนี้ จึงถือเสมือนว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ได้มาแทนที่ที่ดินที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา ประกอบกับเงินเป็นทรัพย์ที่สามารถยักย้ายถ่ายเทหรือปิดบังซ่อนเร้นโดยง่าย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้อายัดเงินดังกล่าวไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา และไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4476/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคำให้การเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ทำให้ไม่มีประเด็นเรื่องครอบครองปรปักษ์
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ โจทก์ขอรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดิน จำเลยคัดค้าน ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้พิพากษาว่าที่ดินเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยคัดค้านการรังวัดสอบเขตและห้ามเกี่ยวข้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้งในตอนแรกว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของจำเลยโดยซื้อมาจากผู้มีชื่อ จากนั้นได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา เท่ากับจำเลยอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยได้รับโอนกรรมสิทธิ์ จากเจ้าของเดิม แต่จำเลยกลับให้การและฟ้องแย้งในตอนหลังว่า หากฟังได้ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ จำเลยก็ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของนานกว่า 10 แล้ว จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงขัดแย้งกับคำให้การและฟ้องแย้งตอนแรกซึ่งอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นเจ้าของจำเลยเพราะซื้อมา รูปคดีตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยให้การและฟ้องแย้งดังกล่าวจึงไม่มีประเด็นเรื่องการครองครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของนิติบุคคล: การมอบอำนาจและผลของการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร
การประปานครหลวงโจทก์โดย ส. ผู้ว่าการได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ ป. ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์โดยขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคำสั่งดังกล่าวไม่ได้ถูกยกเลิกหรือเพิกถอนจึงยังมีผลใช้บังคับอยู่ แม้ ส. จะพ้นจากตำแหน่งไปแล้วก็ตาม ป. ซึ่งยังดำรงตำแหน่งอยู่ก็มีอำนาจลงนามมอบอำนาจให้ ก. ผู้อำนวยการกองคดีฟ้องคดีแทนได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า ช. ผู้ว่าการเป็นผู้แต่งตั้งผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ไม่ตรงต่อความเป็นจริงก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6515/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสวัสดิการรักษาพยาบาลของนายจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้าง และขอบเขตอำนาจการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
การที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้มีพยาบาลประจำเรืออันเป็นการกำหนดขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานก็เป็นการจัดสวัสดิการซึ่งเป็นสภาพการจ้างตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ก็ไม่ได้บังคับให้ต้องทำข้อตกลงเป็นหนังสือ แม้จำเลยกระทำแต่เพียงฝ่ายเดียวและไม่ได้ทำเป็นหนังสือก็ถือได้ว่าเป็นสภาพการจ้างโดยปริยายแล้ว จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามแต่การจัดพยาบาลประจำเรือดังกล่าวเป็นสวัสดิการที่จำเลยจัดให้แก่พนักงานนอกเหนือที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อจำเลยมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ในการบริหารกิจการของจำเลยและเกี่ยวกับสวัสดิการและผลประโยชน์อื่น จำเลยย่อมอาศัยระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสวัสดิการที่ได้ให้แก่พนักงานนั้นได้ เมื่อการเปลี่ยนแปลงสวัสดิการในการรักษาพยาบาลที่จำเลยจัดให้ใหม่นี้มิได้ทำให้พนักงานของจำเลยได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลน้อยลงกว่าเดิม จำเลยจึงมีอำนาจกระทำได้ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนค่าจ้างเป็นผลให้สภาพการจ้างเปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
สัญญาจ้างกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐโดยไม่มีข้อตกลงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ฉะนั้น อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทย จึงต้องคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนของทางราชการในวันที่ถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 27 วรรคสอง เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ 24 ตุลาคม 2540 ซึ่งเป็นวันจ่ายค่าจ้างกำหนดให้ 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ38.40 บาท จำเลยจะประกาศกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นใหม่โดยกำหนดให้1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 26 บาท ไม่ได้ เพราะสัญญาจ้างในส่วนที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างเป็นสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 5 การที่จำเลยประกาศกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นใหม่นี้ จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ เมื่อโจทก์มิได้ให้ความยินยอมประกาศของจำเลยที่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินขึ้นใหม่ จึงไม่มีผลใช้บังคับ