พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5348/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญากู้ยืมเงิน: การเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินกู้และดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อความระบุชัดเจนว่าจำเลยได้รับเงิน80,000 บาท ไปแล้วในวันทำสัญญา การที่จำเลยนำสืบว่าไม่ได้รับเงินเต็มตามจำนวน 80,000 บาท ตามที่ระบุไว้ในสัญญา เนื่องจากโจทก์นำหนี้เงินกู้เดิม10,000 บาท รวมกับยอดหนี้เงินกู้ใหม่ 13,000 บาท แล้วโจทก์คิดต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน 70,000 บาท โดยให้จำเลยผ่อนชำระเดือนละ 1,000 บาทเป็นเวลา 70 เดือน เป็นการนำสืบว่าจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์จำนวนเท่าใดไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้ยืมเงิน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) แต่เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตามมาตรา 94 วรรคท้าย จำเลยย่อมนำสืบได้
จำเลยกู้เงินโจทก์ 23,000 บาท มิใช่ 80,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญากู้ยืมเงิน และโจทก์คิดดอกเบี้ยโดยนำต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน70,000 บาท แล้วให้จำเลยชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 70 เดือนเมื่อคำนวณแล้วได้เป็นอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ
ป.วิ.พ.มาตรา 161 และ 167 บัญญัติให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ ดังนั้น แม้ว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนจำเลย คดีนี้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง คำให้การของจำเลยที่ขอให้ศาลไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทและที่จำเลยไม่ได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยไม่ใช่คำขอท้ายคำฟ้อง จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของจำเลย
จำเลยกู้เงินโจทก์ 23,000 บาท มิใช่ 80,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญากู้ยืมเงิน และโจทก์คิดดอกเบี้ยโดยนำต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน70,000 บาท แล้วให้จำเลยชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 70 เดือนเมื่อคำนวณแล้วได้เป็นอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ
ป.วิ.พ.มาตรา 161 และ 167 บัญญัติให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ ดังนั้น แม้ว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนจำเลย คดีนี้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง คำให้การของจำเลยที่ขอให้ศาลไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทและที่จำเลยไม่ได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยไม่ใช่คำขอท้ายคำฟ้อง จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าล่วงหน้าและการคำนวณค่าเช่าเพื่อประโยชน์ในการฟ้องขับไล่ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตามหนังสือสัญญาเช่ามีข้อความเกี่ยวกับค่าเช่าว่า ค่าเช่าเดือนละ 1,000 บาท และผู้เช่าชำระเงินกินเปล่าแล้ว เมื่อเงินกินเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ชำระกันล่วงหน้าจึงต้องนำมาคำนวณเฉลี่ยรวมเป็นค่าเช่าด้วย เงินกินเปล่ามีจำนวน 2,000,000บาท กำหนดเวลาเช่า 11 ปี 6 เดือน คิดเป็นค่าเช่าเฉลี่ยเดือนละ 14,492.75บาท เมื่อรวมกับค่าเช่าปกติเดือนละ 1,000 บาท จึงเป็นค่าเช่าเดือนละ15,492.75 บาท ในขณะยื่นคำฟ้อง ซึ่งเป็นค่าเช่าที่เกินเดือนละสี่พันบาท จึงไม่ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง
ปัญหาว่าเงินกินเปล่าหรือค่าเช่าล่วงหน้าเป็นเงินจำนวน250,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้อง หรือเป็นจำนวนเงิน 2,000,000บาท ตามที่จำเลยอ้าง กรณีก็ไม่ต้องห้ามที่จะนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาเช่าตามมาตรา 94(ข) เพราะข้อโต้เถียงเรื่องค่าเช่ามิใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี จึงมิใช่กรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง
ปัญหาว่าเงินกินเปล่าหรือค่าเช่าล่วงหน้าเป็นเงินจำนวน250,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้อง หรือเป็นจำนวนเงิน 2,000,000บาท ตามที่จำเลยอ้าง กรณีก็ไม่ต้องห้ามที่จะนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาเช่าตามมาตรา 94(ข) เพราะข้อโต้เถียงเรื่องค่าเช่ามิใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี จึงมิใช่กรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6958/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขาย การแบ่งแยกที่ดินไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสัญญา
ข้อความในสัญญาจะซื้อจะขายได้ระบุไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 160959 เฉพาะส่วนจำนวน 20 ตารางวา ซึ่งขณะนี้จำเลยได้ดำเนินการแบ่งแยกโฉนดอยู่พร้อมสิ่งปลูกสร้าง โดยจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2535 ดังนั้น การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก็คือการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่แบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยแล้วนั่นเอง การที่โจทก์นำสืบว่าตกลงโอนกรรมสิทธิ์กันเมื่อแบ่งแยกที่ดินแล้วจึงมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาจะซื้อจะขาย และไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1102/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงราคาซื้อขายที่ดินหลังทำสัญญา การนำสืบเพิ่มเติมไม่ขัดกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
แม้หนังสือสัญญาขายที่ดินระบุว่าที่ดินราคา9,500,000บาทโดยผู้ซื้อได้ชำระและผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินเรียบร้อยแล้วแต่เมื่อผู้ซื้อผู้ขายรับกันว่าซื้อขายกันจริงในราคา20,000,000บาทการที่ผู้ขายนำสืบว่าได้รับชำระค่าที่ดินยังไม่ครบถ้วนหาเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาขายที่ดินไม่จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงราคาซื้อขายที่ดินตามข้อตกลงนอกสัญญา ไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 94(ข)
ตามสัญญาซื้อขายที่ดินท้ายเอกสารหมาย ล.5 ระบุราคาที่ซื้อขายกันเพียง 3,000,000 บาท ทั้งที่ราคาที่ซื้อขายกันจริงตามที่คู่ความรับกันว่ามีราคา9,500,000 บาท ตามสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมาย จ.4 ดังนั้น แม้สัญญาซื้อขายท้ายเอกสารหมาย ล.5 จะมีข้อความว่า ผู้ซื้อได้ชำระและผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินรายนี้เรียบร้อยแล้ว การที่โจทก์นำสืบว่ายังได้รับชำระค่าที่ดินไม่ครบถ้วน ก็หาเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาซื้อขายที่ดินท้ายเอกสารหมาย ล.5 เพราะคู่ความได้รับกันแล้วว่าซื้อขายกันจริงในราคา 9,500,000 บาท ไม่ใช่ตามราคาที่ระบุในสัญญาดังกล่าว การนำสืบว่ายังได้รับค่าที่ดินไม่ครบถ้วนตามราคาที่แท้จริงตามที่รับกัน จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาของคู่สัญญาในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสัญญาขยายระยะเวลา สัญญาฉบับหลังมีผลบังคับใช้
สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศและสัญญาขยายระยะเวลาศึกษาต่ออีก 2 ฉบับ มีข้อความอย่างเดียวกัน จะต่างกันก็แต่รายละเอียดเกี่ยวกับช่วงเวลาที่จำเลยลาไปศึกษาต่อตามที่ได้ขอขยายจากกำหนดเดิมออกไปและอัตราดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญาเท่านั้น และสัญญาแต่ละฉบับไม่มีข้อความเท้าถึงกันซึ่งตามสัญญาและสัญญาขยายระยะเวลาครั้งแรกระบุดอกเบี้ยของเงินที่ต้องชำระอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ส่วนสัญญาฉบับสุดท้ายคิดดอกเบี้ยในกรณีเดียวกันอัตราร้อยละ12 ต่อปี ดังนี้ การที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยขยายเวลาศึกษาต่อโดยได้ทำสัญญาขยายระยะเวลาฉบับสุดท้ายนั้น จึงมีผลทำให้จำเลยมิต้องตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาเดิมที่ทำกันไว้กับมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในสัญญาจากเดิมร้อยละ 15 ต่อปี มาเป็นร้อยละ 12 ต่อปี กรณีนี้เมื่อสัญญาทั้งสามฉบับได้ทำต่อเนื่องกันมาโดยระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ในสัญญาแต่ละฉบับแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งอาจตีความได้สองนัยว่าจะบังคับตามสัญญาฉบับใด เป็นเรื่องที่จะต้องตีความเจตนาของคู่สัญญา โดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาเป็นสำคัญยิ่งกว่าตัวอักษร การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้ลดหย่อนจากอัตราเดิมที่ทำกันไว้นั้น จะว่าไม่มีผลใช้บังคับเลยนั้นไม่ได้ รูปคดีมีเหตุให้ตีความได้ว่าคู่สัญญามีเจตนาจะผ่อนผันให้แก่กันโดยมีความประสงค์จะบังคับตามสัญญาฉบับสุดท้าย เมื่อเป็นเช่นนี้โจทก์จะยกเอาเจตนาเดิมมาลบล้างสัญญาซึ่งโจทก์กับจำเลยทำกันโดยตกลงกันใหม่หาได้ไม่ จำเลยจึงมีความผูกพันต้องชำระดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ดังระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาคู่สัญญาสำคัญกว่าตัวอักษร: การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในสัญญาต่อเนื่อง
สัญญาที่จำเลยทำกับโจทก์ทั้งสามฉบับได้ทำต่อเนื่องกันมาโดยระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ในสัญญาแต่ละฉบับแตกต่างกันซึ่งอาจตีความได้สองนัยว่าจะบังคับตามสัญญาฉบับใดเป็นเรื่องที่จะต้องตีความเจตนาของคู่สัญญาโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาเป็นสำคัญยิ่งกว่าตัวอักษรทั้งรูปคดีมีเหตุตีความได้ว่าคู่สัญญามีเจตนาจะผ่อนผันให้แก่กันโดยมีความประสงค์จะบังคับตามสัญญาฉบับสุดท้ายจำเลยจึงมีความผูกพันชำระดอกเบี้ยของต้นเงินตามสัญญาฉบับสุดท้ายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการทำสัญญาขยายเวลาและเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องกัน เจตนาคู่สัญญาสำคัญกว่าตัวอักษร
สัญญา ข้าราชการไป ศึกษาต่อภายในประเทศและสัญญาขยายระยะเวลาศึกษาต่ออีก2ฉบับมีข้อความอย่างเดียวกันจะต่างกันก็แต่รายละเอียดเกี่ยวกับช่วงเวลาที่จำเลยลาไปศึกษาต่อตามที่ได้ขอขยายจากกำหนดเดิมออกไปและอัตราดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญาเท่านั้นและสัญญาแต่ละฉบับไม่มีข้อความเท้าถึงกันซึ่งตามสัญญาและสัญญาขยายระยะเวลาครั้งแรกระบุดอกเบี้ยของเงินที่ต้องชำระอัตราร้อยละ15ต่อปีส่วนสัญญาฉบับสุดท้ายคิดดอกเบี้ยในกรณีเดียวกันอัตราร้อยละ12ต่อปีดังนี้การที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยขยายเวลาศึกษาต่อโดยได้ทำสัญญาขยายระยะเวลาฉบับสุดท้ายนั้นจึงมีผลทำให้จำเลยมิต้องตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาเดิมที่ทำกันไว้กับมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในสัญญาจากเดิมร้อยละ15ต่อปีมาเป็นร้อยละ12ต่อปีกรณีนี้เมื่อสัญญาทั้งสามฉบับได้ทำต่อเนื่องกันมาโดยระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ในสัญญาแต่ละฉบับแตกต่างกันอย่างชัดเจนซึ่งอาจตีความได้สองนัยว่าจะบังคับตามสัญญาฉบับใดเป็นเรื่องที่จะต้อง ตีความ เจตนาของคู่สัญญาโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาเป็นสำคัญยิ่งกว่าตัวอักษรการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้ลดหย่อนจากอัตราเดิมที่ทำกันไว้นั้นจะว่าไม่มีผลใช้บังคับเลยนั้นไม่ได้รูปคดีมีเหตุให้ตีความได้ว่าคู่สัญญามีเจตนาจะผ่อนผันให้แก่กันโดยมีความประสงค์จะบังคับตามสัญญาฉบับสุดท้ายเมื่อเป็นเช่นนี้โจทก์จะยกเอาเจตนาเดิมมาลบล้างสัญญาซึ่งโจทก์กับจำเลยทำกันโดยตกลงกันใหม่หาได้ไม่จำเลยจึงมีความผูกพันต้องชำระดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ12ต่อปีดังระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงราคาซื้อขายที่ดินที่ขัดแย้งกับสัญญาซื้อขายที่เป็นหนังสือ
โจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายที่ดิน อันเป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามป.พ.พ. มาตรา 556 วรรคหนึ่ง จึงเป็นกรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง และสัญญาซื้อขายดังกล่าว มีข้อความระบุชัดว่าซื้อขายที่ดินในราคา 1,000,000 บาท แต่โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบอ้างว่าซื้อขายที่ดินกันในราคา 1,827,000 บาท ย่อมเป็นการนำสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาซื้อขายดังกล่าว ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) และข้อกฎหมายนี้แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตามแต่ก็เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3039/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานเปลี่ยนแปลงสัญญาซื้อขายที่ดิน: ศาลอนุญาตได้หากไม่ขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์มอบอำนาจให้สามีโจทก์เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนประกอบกับสามีโจทก์เบิกความรับรองว่ายินยอมให้โจทก์ฟ้องคดีถือได้ว่าโจทก์ได้รับความยินยอมจากสามีให้ฟ้องคดีแล้ว ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 บัญญัติห้ามเฉพาะการนำพยานบุคคลเข้าสืบแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสารในเมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง การที่โจทก์นำสืบถึงบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่ดินตลอดจนเงื่อนไขการชำระราคาที่ดินอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากหนังสือสัญญาขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น จึงไม่เป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว