พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเอกสารสัญญาซื้อขาย - จำเลยมิได้ต่อสู้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย จึงไม่อาจนำสืบเปลี่ยนแปลงสัญญาได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาขายรถยนต์ปอนเตี๊ยกจึงเรียกเงินมัดจำคืน จำเลยต่อสู้ว่ากู้เงินโจทก์ 15,000 บาท เอารถฮิลแมนประกันแล้วกู้อีก 10 ,000 บาทเอารถปอนเตี๊ยกประกัน ต่อมาจำเลยชำระคืน 15,000 บาท โจทก์คืนรถปอนเตี๊ยกให้ แล้วโจทก์ยึดรถฮิลแมนของจำเลยโอนเป็นของโจทก์ โจทก์ยังจะต้องคืนเงินให้จำเลยอีก 5,000 บาท ข้อต่สู้ของจำเลยมิได้กล่าวอ้างตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.แพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย ดังนี้ จำเลยจะนำสืบเปลี่ยนแปลงเอกสารสัญญาซื้อขายท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับสัญญาซื้อขายที่ดิน แม้ไม่มีระบุสถานที่ชัดเจน การนำสืบเพื่อชี้แจงสถานที่ซื้อขายไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเอกสาร
ในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินไม่มีระบุให้รู้ว่าตรงไหนจะซื้อขายกันเมื่อโจทก์นำสืบว่าที่ตรงไหนจะซื้อขายกันจึงเป็นการสืบอธิบายเอกสารไม่ต้องห้ามมิใช่นำสืบเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมเอกสาร
อนึ่งในสัญญานั้นแม้จะมีข้อความว่า ถ้าผู้ขายไม่ยอมขาย ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับ 1,500 บาท ข้อความเช่นนี้หมายความว่าเมื่อผู้ขายผิดนัด นอกจากผู้ซื้อมีสิทธิบังคับให้ผู้ขายขายที่ให้แล้วผู้ซื้อยังมีสิทธิปรับผู้ขายอีกตามจำนวนเงินที่กะกันไว้
อนึ่งในสัญญานั้นแม้จะมีข้อความว่า ถ้าผู้ขายไม่ยอมขาย ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับ 1,500 บาท ข้อความเช่นนี้หมายความว่าเมื่อผู้ขายผิดนัด นอกจากผู้ซื้อมีสิทธิบังคับให้ผู้ขายขายที่ให้แล้วผู้ซื้อยังมีสิทธิปรับผู้ขายอีกตามจำนวนเงินที่กะกันไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบข้อเท็จจริงส่วนร่วมในการทำสัญญาซื้อขาย ไม่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร
ตามสัญญาซื้อขายมีชื่อสามีจำเลยเป็นผู้ซื้อ แต่ผู้เดียวนั้น โจทก์มีสิทธิที่จะนำสืบได้ว่าตนมีส่วนออกเงินร่วมด้วยในการทำสัญญานั้น ไม่เรียกว่าเป็นการนำสืบแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเอกสารที่ห้ามไว้ตามมาตรา 94(ข)ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพราะเป็นการนำสืบถึงข้อเท็จจริงส่วนหนึ่ง มิได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในตัวสัญญานั้นเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3876/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบจำนวนเงินกู้ที่ไม่ตรงกับสัญญากู้ยืม ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร แต่เป็นการโต้แย้งความไม่สมบูรณ์ของหนี้
ที่จำเลยทั้งสองนำสืบอ้างว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์เพียง 7,000,000 บาท แต่ถูกโจทก์และ น. ฉ้อฉลให้ทำสัญญากู้ยืมเงิน 16,000,000 บาท เป็นการนำสืบโต้แย้งเกี่ยวกับจำนวนเงินที่กู้จากโจทก์ว่าไม่ได้รับเงินจำนวนดังกล่าว ถือว่าเป็นการนำสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธินำสืบได้ ไม่ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว
หนังสือสัญญาจำนองที่ดินถูกอ้างในฐานะเพียงหลักฐานในการกู้ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 อย่างหนึ่งเท่านั้น มิใช่เป็นลักษณะแห่งตราสารการกู้ยืมเงินอันจะพึงต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 แต่อย่างใด ศาลจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
หนังสือสัญญาจำนองที่ดินถูกอ้างในฐานะเพียงหลักฐานในการกู้ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 อย่างหนึ่งเท่านั้น มิใช่เป็นลักษณะแห่งตราสารการกู้ยืมเงินอันจะพึงต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 แต่อย่างใด ศาลจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้