คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เปลี่ยนแปลงแก้ไข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ ศาลรับฟังพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือรับสภาพหนี้ได้
การรับสภาพหนี้ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เดิม (มาตรา 193/14(1) ใหม่)ดังนั้นการที่ศาลรับฟังพยานบุคคลแล้วนำไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความตามหนังสือรับสภาพหนี้ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4243/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความใบเสร็จรับเงิน การสืบอธิบายความหมายเอกสารไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไข
ใบเสร็จรับเงินที่ออกในการรับชำระหนี้กู้ยืมเงินระบุแต่เพียงว่าได้รับเงิน โดยไม่ระบุแยกแยะว่าเป็นเงินอะไรบ้าง การนำสืบความหมายของใบเสร็จดังกล่าวว่าเป็นการชำระต้นเงินและดอกเบี้ยอย่างใดสามารถทำได้ เพราะเป็นการสืบอธิบายข้อความในเอกสาร มิใช่สืบเปลี่ยนแปลงแก้ไข ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1630/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาด้วยพยานบุคคลขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
สัญญาโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทซึ่งระบุว่าจำเลยซึ่งเช่าตึกพิพาทจากโจทก์ร่วมได้โอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์เป็นผู้เช่าต่อไปเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306ซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ เมื่อสัญญาดังกล่าวมิได้กำหนดเรื่องค่าตอบแทนไว้ ดังนั้น การที่จำเลยจะนำพยานบุคคลมาสืบว่ามีค่าตอบแทนและโจทก์ยังค้างชำระค่าตอบแทนดังกล่าวบางส่วนและถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญานั้น จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขาย และการนำสืบพยานบุคคลเพื่อพิสูจน์ข้อตกลง
สัญญาจะซื้อจะขายมีข้อความว่า "ผู้จะซื้อยินดีจะจ่ายส่วนหนึ่งของค่าที่ดินให้แก่ผู้จะขายเป็นค่าปรับปรุงที่" ซึ่งเป็นข้อความที่กล่าวบ่งถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์ผู้จะซื้อกับจำเลยผู้จะขายเกี่ยวกับการปรับปรุงที่ดินที่จะซื้อขายกัน แต่ข้อตกลงดังกล่าวจะมีอยู่จริงหรือไม่ หรือมีสาระสำคัญอย่างไร ต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบซึ่งในการนำสืบเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบังคับให้มีพยานเอกสารมาแสดง จำเลยจึงมีสิทธินำสืบพยานบุคคลในข้อนี้ได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3687/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาจะซื้อจะขาย และการบอกเลิกสัญญาเนื่องจากค่าธรรมเนียมการโอน
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทมิได้กำหนดเรื่องที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายจะต้องออกค่าธรรมเนียมในการโอนไว้ด้วย การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่า ฝ่ายจำเลยได้ตกลงกับโจทก์ว่าจำเลยเป็นฝ่ายออกค่าธรรมเนียมในการโอนเองทั้งสิ้นนั้น เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญาจะซื้อจะขายอันต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 ข้ออ้างของโจทก์ว่ามีข้อตกลงดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้ โจทก์จะอาศัยข้ออ้างดังกล่าวมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 817/2524)
การจะเลิกสัญญากัน ได้นั้นต้องอาศัยข้อสัญญาหรือกฎหมายที่มีบทบัญญัติไว้ให้เลิกสัญญาได้ จะเลิกสัญญาเอาเองโดยไม่มีข้อสัญญายินยอมกันหรือไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เลิกสัญญาได้นั้นไม่ได้ สัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้กำหนดว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อจะต้องออกค่าธรรมเนียมในการโอนครึ่งหนึ่ง มิฉะนั้นถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ทั้งตามมาตรา 457 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมออกค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาได้ จำเลยจึงบอกเลิกสัญญาโดยอาศัยเหตุดังกล่าวไม่ได้ โจทก์ยังมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญานั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3649/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางขายฝากที่ดิน - การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลง
บรรยายฟ้องว่า โจทก์จำเลยประสงค์จะขายฝากที่ดินกันเพียง200 ตารางวา ส่วนที่เหลือไม่ได้ขายฝากเพราะจะต้องแบ่งแยกโฉนดแม้โจทก์จดทะเบียนขายฝากที่ดินไว้กับจำเลยทั้งแปลงโจทก์ก็นำสืบว่าขายฝากเพียง 200 ตารางวา ได้เพราะเป็นเรื่องนิติกรรมอำพรางไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขอันต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 817/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาส่งผลให้การนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
สัญญาจะซื้อขายที่ดินมิได้กำหนดเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อจะต้องออกค่าธรรมเนียมในการโอนไว้ในสัญญาด้วยดังนั้นการที่จำเลยจะนำพยานบุคคลมาสืบว่าโจทก์ตกลงกับจำเลยว่าจะออกค่าธรรมเนียมในการโอน และเมื่อโจทก์ไม่ยอมออกค่าธรรมเนียมดังกล่าว ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญานั้นเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญาจะซื้อขาย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2255/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญากู้ - การนำสืบพยานเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ จำเลยต่อสู้ว่าสัญญากู้อำพรางการที่โจทก์เช่าที่ดินจำเลยหักกับหนี้ที่จำเลยกู้เงินโจทก์จำนวนหนึ่ง จำเลยมีหน้าที่นำสืบพยานก่อน แต่เอกสารกู้มีความว่า จำเลยได้รับเงินไปครบถ้วนแล้วจำเลยให้การทำนองว่าแปลงหนี้โดยเอาหนี้เก่าหักกับหนี้ค่าเช่ามาทำเป็นสัญญากู้ ไม่เป็นการแสดงว่าหนี้ตามสัญญากู้ไม่สมบูรณ์จึงสืบพยานเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่าทรัพย์ขายฝากเป็นสิทธิแยกต่างหากจากค่าไถ่ การนำสืบข้อตกลงเรื่องค่าเช่าไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญา
ข้อตกลงของคู่สัญญาขายฝากเกี่ยวกับค่าเช่าทรัพย์สินที่ขายฝาก ถ้ามิได้จดแจ้งลงไว้ในสัญญาขายฝากเป็นอย่างอื่น คู่สัญญาย่อมมีสิทธินำสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงในเรื่องนี้ได้ เพราะค่าเช่าซึ่งเป็นดอกผลของทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นเงินต่างก้อนกับสินไถ่ซึ่งเป็นราคาไถ่ถอนที่ดินขายฝาก การนำสืบถึงข้อตกลงเกี่ยวกับค่าเช่าระหว่างกำหนดเวลาขายฝาก จึงไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาขายฝากอันจะเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อทำเป็นหนังสือ ห้ามเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ศาลไม่รับฟังพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงเนื้อหา
สัญญาเช่าซื้อกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือผู้เช่าซื้อซึ่งทำสัญญาในนามตนเองจะนำสืบพยานบุคคลว่า ทำสัญญาในฐานะผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัทจำกัดมิได้ เพราะเป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ซึ่งกฎหมายห้ามมิให้ศาลยอมรับฟัง
of 4