พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6051/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้ก่อนล้มละลาย: เจ้าหนี้ได้เปรียบหรือไม่
จำเลยถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย ทางสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปรากฏว่าในระหว่างระยะเวลาภายหลังจากถูกฟ้องจำเลยได้ชำระหนี้เงินกู้ให้ผู้คัดค้านเป็นเงิน 520,000 บาท จำเลยยังคงค้างผู้คัดค้านอยู่อีก 681,279.40 บาท ผู้คัดค้านได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ที่เหลือดังกล่าว โดยขอให้ขายทรัพย์ที่จำนองเป็นประกันและขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนเงินที่ขาดอยู่ ดังนี้ การที่จำเลยชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านภายหลังถูกฟ้อง มีผลทำให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นของจำเลย เพราะหากผู้คัดค้านไม่ได้รับชำระหนี้จำนวน 520,000 บาทไปก่อน ผู้คัดค้านก็จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้เต็มจำนวนหนี้ โดยขอให้ขายทรัพย์ที่จำนองก่อนถ้าขายทรัพย์ที่จำนองได้เงินไม่ถึงจำนวนหนี้ทั้งหมด ผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้จากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองนั้นก่อนส่วนหนี้ที่ยังขาดอยู่ผู้คัดค้านจะได้เพียงส่วนเฉลี่ยโดยเสมอภาคกับเจ้าหนี้อื่นของจำเลย ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วผู้คัดค้านอาจจะได้รับชำระหนี้ไม่เต็มจำนวนหนี้ แต่การที่ผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้ไปก่อนแล้วนำเอาหนี้ส่วนที่ขาดมาขอรับชำระหนี้ ถ้าขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองได้เงินไม่ถึงจำนวนหนี้ทั้งหมดที่เป็นหนี้อยู่ ผู้คัดค้านจะได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนอง ซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนเงินที่ได้รับชำระไปก่อนผู้คัดค้านอาจจะได้รับชำระหนี้เต็มตามจำนวนหนี้ จึงเป็นการได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นของจำเลย และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยมีเจ้าหนี้รวมเป็นจำนวนเงินถึง 12,378,335.11 บาท แต่มีทรัพย์สินเพียง 40,000 บาท แสดงว่าจำเลยมีทรัพย์สินไม่พอที่จะชำระหนี้ได้ทั้งหมด พฤติการณ์ที่จำเลยชำระเงินให้ผู้คัดค้านไปก่อน จึงเป็นการมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นของจำเลย ผู้คัดค้านจะได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 โดยสุจริตดังอ้างหรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็เพิกถอนการชำระหนี้ดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้หลังศาลสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลาย และการหักบัญชีเงินฝากเพื่อชำระหนี้
ตามหนังสือสัญญากู้เงินเครดิตเงินสด ข้อ 8 วรรคสอง คู่สัญญาตกลงกันว่า "ผู้กู้ยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝากของผู้กู้เพื่อชำระดอกเบี้ย หรือต้นเงินกู้ซึ่งถึงกำหนดชำระหรือถูกเรียกคืนตามสัญญา ข้อ 25 โดย ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแต่ อย่างใด" เห็นได้ว่า เมื่อต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ยถึง กำหนดชำระนั้นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยผู้กู้จะต้องมีอยู่ ธนาคารโจทก์จึงจะหักเงินในบัญชีนั้นชำระหนี้เงินกู้หรือดอกเบี้ย ค้างชำระได้ ส่วนโจทก์จะหักเงินนั้นชำระหนี้เมื่อใดเป็นสิทธิของโจทก์ แต่ถ้าเงินในบัญชีไม่มีหรือมีแต่ได้หักชำระหนี้ต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ยที่ถึงกำหนดชำระหมดแล้ว การหักเงินชำระหนี้ตามสัญญาข้อ 8 วรรคสองที่กล่าวแล้วในภายหลังอีกย่อมไม่อาจกระทำได้เพราะไม่มีเงินในบัญชีที่จะให้หัก โจทก์หักเงินในบัญชีทั้งหมดชำระหนี้ที่จำเลยค้างชำระแล้วจึงนำหนี้ที่คงเหลือมาฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ฉะนั้น การที่จำเลยส่งเงินเข้าบัญชีเงินฝากภายหลังที่โจทก์ฟ้องและโจทก์นำเงินในบัญชีนั้นไปหักชำระหนี้โจทก์อีก ก็มีผลเป็นอย่างเดียวกับการที่จำเลยนำเงินนั้นไปชำระหนี้ให้โจทก์โดยตรง ดังนั้น การที่จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยวิธีการข้างต้นโดยที่จำเลยไม่มีเงินพอที่จะชำระหนี้ให้ผู้ร้อง จึงทำให้โจทก์ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ชอบที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีคำขอให้เพิกถอนการกระทำเช่นนั้นได้
จำเลยนำเงินไปเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้โจทก์หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22 24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 จึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนการชำระหนี้นั้นได้
การที่โจทก์ต้องคืนเงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพราะการชำระหนี้ได้ถูกเพิกถอนนั้นเป็นไปโดยผลของคำพิพากษา กรณียังถือไม่ได้ว่าได้มีการผิดนัดอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย เพราะตราบใดที่การชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบอยู่ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย
จำเลยนำเงินไปเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้โจทก์หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22 24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 จึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนการชำระหนี้นั้นได้
การที่โจทก์ต้องคืนเงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพราะการชำระหนี้ได้ถูกเพิกถอนนั้นเป็นไปโดยผลของคำพิพากษา กรณียังถือไม่ได้ว่าได้มีการผิดนัดอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย เพราะตราบใดที่การชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบอยู่ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการหักบัญชีชำระหนี้หลังล้มละลาย - เจ้าหนี้ได้ประโยชน์เกินควร - การชำระหนี้เป็นโมฆะ
ตาม หนังสือสัญญากู้เงินเครดิตเงินสด ข้อ 8 วรรคสอง คู่สัญญาตกลง กันว่า "ผู้กู้ยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝากของผู้กู้เพื่อชำระดอกเบี้ย หรือต้นเงินกู้ซึ่ง ถึง กำหนดชำระหรือถูก เรียกคืนตามสัญญา ข้อ 25 โดย ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแต่ อย่างใด" เห็นได้ ว่าเมื่อต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ย ถึง กำหนดชำระนั้นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยผู้กู้จะต้อง มีอยู่ ธนาคารโจทก์จึงจะหักเงินในบัญชีนั้นชำระหนี้เงินกู้หรือดอกเบี้ย ค้าง ชำระได้ แต่ ถ้า เงินในบัญชีไม่มีหรือมีแต่ ได้ หักชำระหนี้ต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ย ที่ถึงกำหนดชำระหมดแล้ว การหักเงินชำระหนี้ตาม สัญญาข้อ 8 วรรคสองในภายหลังอีกย่อมไม่อาจกระทำได้ เพราะไม่มีเงินในบัญชีที่จะให้หัก โจทก์หักเงินในบัญชีทั้งหมดชำระหนี้ที่จำเลยค้างชำระแล้วจึงนำหนี้ที่คงเหลือมาฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย การที่จำเลย ส่งเงินเข้าบัญชีเงินฝากภายหลังที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายแล้วโดย จำเลยไม่มีเงินพอที่จะชำระหนี้ให้ผู้ร้องและโจทก์นำเงินในบัญชีนั้นไปหักชำระหนี้โจทก์อีก ก็เป็นการที่จำเลย นำเงินนั้นไปชำระหนี้ให้โจทก์โดยตรง จึงทำให้โจทก์ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ดังนี้ ชอบที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีคำขอให้ เพิกถอน การกระทำเช่นนั้นได้ การที่จำเลยนำเงินไปเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้โจทก์หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว เป็นการฝ่าฝืนต่อ มาตรา 2224แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลายฯ นั้นกรณีตกเป็นโมฆะไม่มี ผลบังคับ ดังนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอน การชำระหนี้นั้นได้ การที่โจทก์ต้อง คืน เงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพราะ การชำระหนี้ได้ ถูก เพิกถอนนั้นเป็นไปโดย ผลของคำพิพากษา กรณี ยังถือ ไม่ ได้ว่าได้ มีการผิดนัดอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ต้อง รับผิดเรื่องดอกเบี้ย เพราะตราบใด ที่การชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอน ก็ยังถือ ว่าเป็นการ ชำระหนี้โดย ชอบอยู่ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้หลังล้มละลาย - เจ้าหนี้ได้เปรียบ - การหักบัญชีเงินฝาก
ตาม หนังสือสัญญากู้เงินเครดิตเงินสด ข้อ 8 วรรคสอง คู่สัญญาตกลง กันว่า "ผู้กู้ยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝากของผู้กู้เพื่อชำระดอกเบี้ย หรือต้นเงินกู้ซึ่งถึงกำหนดชำระหรือถูกเรียกคืนตามสัญญา ข้อ 25 โดย ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแต่ อย่างใด" เห็นได้ว่าเมื่อต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ยถึง กำหนดชำระนั้นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยผู้กู้จะต้องมีอยู่ ธนาคารโจทก์จึงจะหักเงินในบัญชีนั้นชำระหนี้เงินกู้หรือดอกเบี้ย ค้างชำระได้ ส่วนโจทก์จะหักเงินนั้นชำระหนี้เมื่อใดเป็นสิทธิของโจทก์ แต่ถ้าเงินในบัญชีไม่มีหรือมีแต่ได้หักชำระหนี้ต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ย ที่ถึง กำหนดชำระหมดแล้วการหักเงินชำระหนี้ตามสัญญาข้อ 8 วรรคสองที่กล่าวแล้วในภายหลังอีกย่อมไม่อาจกระทำได้เพราะไม่มีเงินในบัญชีที่จะให้หัก โจทก์หักเงินในบัญชีทั้งหมดชำระหนี้ที่จำเลยค้างชำระแล้วจึงนำหนี้ที่คงเหลือมาฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ฉะนั้น การที่จำเลยส่งเงินเข้าบัญชีเงินฝากภายหลังที่โจทก์ฟ้องและโจทก์นำเงินในบัญชีนั้นไปหักชำระหนี้โจทก์อีก ก็มีผลเป็นอย่างเดียวกับการที่จำเลยนำเงินนั้นไปชำระหนี้ให้โจทก์โดยตรง ดังนั้น การที่จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยวิธีการข้างต้นโดย ที่จำเลยไม่มีเงินพอที่จะชำระหนี้ให้ผู้ร้อง จึงทำให้โจทก์ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ชอบที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีคำขอให้เพิกถอนการกระทำเช่นนั้นได้ จำเลยนำเงินไปเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้โจทก์หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 2224 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 จึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนการชำระหนี้นั้นได้ การที่โจทก์ต้อง คืนเงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพราะการชำระหนี้ได้ถูกเพิกถอนนั้นเป็นไปโดยผลของคำพิพากษา กรณียังถือไม่ได้ว่าได้มีการผิดนัดอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย เพราะตราบใด ที่การชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบอยู่ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้ก่อนล้มละลาย และการคืนเงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การที่ลูกหนี้ชำระค่าภาษีและอากรแสตมป์ตามข้อตกลงผ่อนผันของกรมสรรพากรในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลาย โดยกรมสรรพากรรู้ถึงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้นั้น เป็นการรับชำระหนี้โดยไม่สุจริต แม้การตกลงชำระหนี้ดังกล่าวเป็นการกระทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย ศาลก็มีอำนาจสั่งเพิกถอนได้ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114
เมื่อศาลสั่งเพิกถอน ก็เท่ากับการรับชำระหนี้ปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้กรมสรรพากรต้องคืนเงินที่รับไว้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยลักษณะลาภมิควรได้ แต่เป็นการคืนโดยผลของคำพิพากษา กรมสรรพากรจึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย.(ที่มา-ส่งเสริม)
เมื่อศาลสั่งเพิกถอน ก็เท่ากับการรับชำระหนี้ปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้กรมสรรพากรต้องคืนเงินที่รับไว้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยลักษณะลาภมิควรได้ แต่เป็นการคืนโดยผลของคำพิพากษา กรมสรรพากรจึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้หลังฟ้องล้มละลาย และผลกระทบต่อเจ้าหนี้รายอื่นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
จำเลยเป็นหนี้ผู้คัดค้านตามสัญญาซื้อขายและรับสภาพหนี้ต่อมาจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวด้วยการออกเช็คให้ไว้ และผู้คัดค้านฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ดังกล่าว แต่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว ดังนั้นความรับผิดตามสัญญาซื้อขายหรือการที่จำเลยชำระหนี้ด้วยการออกเช็คไว้เดิม จึงเป็นอันระงับไป กลายเป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมแม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะมีข้อตกลงให้ผู้คัดค้านไปถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาที่จำเลยได้ออกเช็คไว้ด้วยก็ตามแต่หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็มิได้มีเฉพาะรายที่ผู้คัดค้านได้ร้องทุกข์ไว้ หากมีหนี้รายอื่นรวมอยู่ด้วยจึงเห็นได้ว่าที่จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความภายหลังจากโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายเป็นการกระทำที่มุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยผู้ล้มละลาย ขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ตามมาตรา 115 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลายฯ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้หลังล้มละลาย: เจตนาให้เจ้าหนี้รายหนึ่งได้เปรียบ
จำเลยเป็นหนี้ผู้คัดค้านตามสัญญาซื้อขายและรับสภาพหนี้ต่อมาจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวด้วยการออกเช็คให้ไว้ ผู้คัดค้านฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ดังกล่าว แต่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว ดังนั้น ความรับผิดตามสัญญาซื้อขายหรือการที่จำเลยชำระหนี้ด้วยการออกเช็คไว้เดิม จึงเป็นอันระงับไป กลายเป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมแม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะมีข้อตกลงให้ผู้คัดค้านไปถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาที่จำเลยได้ออกเช็คไว้ด้วยก็ตาม แต่หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็มิได้มีเฉพาะรายที่ผู้คัดค้านได้ร้องทุกข์ไว้ หากมีหนี้รายอื่นรวมอยู่ด้วย จึงเห็นได้ว่าที่จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความภายหลังจากโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายเป็นการกระทำที่มุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยผู้ล้มละลาย ขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ตามมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้จากการใช้สิทธิในข้อตกลงยินยอมก่อนล้มละลาย การหักเงินจากใบรับฝากเงินประจำ
ลูกหนี้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารผู้คัดค้าน โดยจำนำใบฝากเงินประจำเพื่อเป็นประกัน พร้อมกับทำหนังสือยินยอม ให้ผู้คัดค้านมีสิทธิหักเงินฝากประจำตามใบรับฝากนั้นชำระหนี้ ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีได้ ก่อนมีการฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลาย 9 เดือนเศษ ผู้คัดค้านใช้สิทธิตามหนังสือยินยอมหักเงินตาม ใบรับฝากเงินประจำชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีภายหลังที่ลูกหนี้ ถูกฟ้องล้มละลายแล้ว จึงเป็นการใช้สิทธิตามข้อตกลงของลูกหนี้ ซึ่งยังมีผลบังคับอยู่ตลอดมาถึงวันหักเงินนั่นเอง การที่ลูกหนี้จำนำใบรับฝากเงินประจำ ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ มีประกันก็มีเพียงสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันคือใบรับฝาก ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 95 ซึ่งผู้คัดค้านมีแต่เพียง สิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่ใบรับฝากโดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น ไม่อาจใช้สิทธิหักเงินตามใบรับฝาก เพื่อชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านได้ ทั้งเป็นข้อตกลงที่ให้สิทธิแก่ผู้รับจำนำ จัดการแก่ทรัพย์สินที่จำนำเป็นประการอื่น นอกจากบทบัญญัติทั้งหลาย ว่าด้วยการบังคับจำนำ ข้อตกลงย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 756. ข้อตกลงจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิหักเงินตามใบรับฝากไว้ชำระหนี้ได้ ถือได้ว่า ข้อตกลงดังกล่าว เป็นการกระทำที่ลูกหนี้มุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบ เจ้าหนี้อื่น ชอบที่ศาลจะเพิกถอนการใช้สิทธิหักเงินตามใบรับฝาก ที่ได้กระทำไปนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 115 การขอให้ผู้คัดค้านชำระหนี้ตามใบรับฝากดังกล่าวแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นกรณีนอกเหนือบทบัญญัติมาตรา 115เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องดำเนินการเป็นกรณีต่างหากจากคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายเงินสดและการเพิกถอนการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย การคืนสินค้าไม่ถือเป็นการตีใช้หนี้
ข้อตกลงซื้อสินค้ารายพิพาทเป็นการซื้อขายกันด้วยเงินสด เมื่อจำเลยในฐานะผู้ซื้อยอมรับมอบสินค้าไว้ จำเลยก็ต้องชำระราคาสินค้านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา486 การที่จำเลยไม่ชำระราคาขณะส่งมอบและยอมคืนสินค้าแก่ผู้คัดค้านไป แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะซื้อสินค้าต่อไปแล้ว ผู้คัดค้านจึงมีสิทธินำสินค้ากลับคืนได้ กรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการรับเอาสินค้านั้นเป็นการตีใช้หนี้ค่าสินค้าชำระแทนไม่จึงไม่เข้าข่ายการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใดๆซึ่งจำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใด ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นอันจะเป็นเหตุให้เพิกถอนการชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 115
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายเงินสดและการเพิกถอนการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การคืนสินค้าไม่ใช่การตีใช้หนี้
ข้อตกลงซื้อสินค้ารายพิพาทเป็นการซื้อขายกันด้วยเงินสดเมื่อจำเลยในฐานะผู้ซื้อยอมรับมอบสินค้าไว้จำเลยก็ต้องชำระราคาสินค้านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา486การที่จำเลยไม่ชำระราคาขณะส่งมอบและยอมคืนสินค้าแก่ผู้คัดค้านไปแสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะซื้อสินค้าต่อไปแล้วผู้คัดค้านจึงมีสิทธินำสินค้ากลับคืนได้กรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการรับเอาสินค้านั้นเป็นการตีใช้หนี้ค่าสินค้าชำระแทนไม่จึงไม่เข้าข่ายการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใดๆซึ่งจำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใด ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นอันจะเป็นเหตุให้เพิกถอนการชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 115