คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เพิกถอนสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8019/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินสินสมรส โดยไม่ได้รับความยินยอม และประเด็นอายุความที่ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
โจทก์และจำเลยที่1เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายแต่โจทก์ไม่ได้อยู่ด้วยและไม่ได้รู้เห็นยินยอมในการที่จำเลยที่1ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยที่2โจทก์จึงขอให้เพิกถอนสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480(เดิม)ส่วนข้อที่จำเลยที่2ฟ้องจำเลยที่1และศาลพิพากษาให้จำเลยที่1โอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่2นั้นหามีผลกระทบถึงสิทธิของโจทก์ที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ จำเลยที่2ให้การต่อสู้เพียงว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ทราบเรื่องการซื้อขายที่ดินพิพาทก่อนวันที่19กุมภาพันธ์2533มิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าเป็นวันที่เท่าใดซึ่งหากโจทก์มิได้ทราบเรื่องการซื้อขายดังกล่าวก่อนวันที่14กุมภาพันธ์2533ก็ยังไม่พ้นกำหนด1ปีอันโจทก์จะขอให้เพิกถอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480วรรคสอง(เดิม)เพราะโจทก์ฟ้องคดีวันที่14กุมภาพันธ์2534ดังนี้คำให้การของจำเลยที่2ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองไม่ก่อให้เกิดประเด็นในคดีการที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่จึงเป็นการไม่ชอบและที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นฎีกาของจำเลยที่2เรื่องอายุความจึงเป็นฎีกานอกประเด็นถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1ภริยาโจทก์และจำเลยที่2สมคบกันทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมของโจทก์ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง200บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7075/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้ฟ้องเพิกถอนสัญญาซื้อขายไม่ได้ หากผู้ซื้อไม่รู้ถึงเจตนาหลีกเลี่ยงหนี้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่1ชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ต่อมาจำเลยที่1จดทะเบียนโอนขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่2เป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบจำเลยที่2ย่อมนำสืบพยานบุคคลหักล้างหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทได้ว่าซื้อขายกันจริงในราคา1,400,000บาทส่วนเหตุที่มีการระบุไว้ในหนังสือสัญญาขายที่ดินว่ามีการซื้อในราคาเพียง780,000บาทนั้นเป็นการแจ้งราคาซื้อขายให้บิดเบือนไปจากราคาซื้อที่ขายกันจริงเพื่อประโยชน์ในการที่จะได้ไม่ต้องเสียภาษีในจำนวนที่สูงเพราะมิใช่เป็นการนำสืบเพื่อให้บังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5520/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสิทธิเช่าและผลกระทบต่ออำนาจฟ้องขับไล่เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดเพิกถอนสัญญาเช่า
คดีนี้โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและจำเลยร่วมออกจากตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าสร้างและสัญญาเช่าระหว่างโจทก์ร่วมกับโจทก์เมื่อปรากฏว่าคดีแพ่งหมายเลขแดงที่7416/2529ของศาลชั้นต้นถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างอ. กับโจทก์และเพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างโจทก์ร่วมกับโจทก์ซึ่งมีผลเสมือนไม่มีการโอนสิทธิการเช่าที่ดินของโจทก์ร่วมเพื่อสร้างตึกแถวแล้วยกกรรมสิทธิ์ในตึกแถวนั้นให้โจทก์ร่วมและไม่มีสัญญาเช่าระหว่างโจทก์ร่วมกับโจทก์โจทก์ร่วมและโจทก์ยังไม่มีสิทธิอย่างใดในตึกแถวพิพาทโจทก์ร่วมและโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5046/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำโดยไม่สุจริตของกรรมการบริษัทที่ทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบและเพิกถอนสัญญาเช่าได้
จำเลยที่ 1 ขณะเป็นกรรมการของบริษัท ส. ทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมอาคารโรงงานที่พิพาทของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ของบริษัท ส. โดยมีข้อตกลงว่าระหว่างอายุสัญญาจำนอง จำเลยที่ 1จะไม่นำทรัพย์จำนองไปทำให้เสื่อมสิทธิใด ๆ รวมทั้งให้บุคคลอื่นเช่า เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ทราบดีว่าโจทก์ได้เรียกให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังให้บริษัทจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการอยู่ด้วยเช่าอาคารโรงงานที่พิพาทโดยทำสัญญาเช่ากันเพียงอาคารโรงงานเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ต้องไปจดทะเบียนการเช่าที่สำนักงานที่ดิน แต่ความจริงเป็นการเช่าทั้งที่ดินและอาคารโรงงานที่พิพาทการทำสัญญาเช่าอาคารโรงงานที่พิพาท จึงเป็นการฝ่าฝืนสัญญาจำนองและเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต การทำสัญญาเช่าอาคารโรงงานที่พิพาทโดยจดทะเบียนการเช่าไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอไว้มีกำหนด 20 ปี ย่อมทำให้เกิดภาระติดพันแก่ตัวทรัพย์จำนองอันไม่อาจนำที่ดินไปทำประโยชน์อย่างอื่นได้ และทำให้การขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่มีผู้เข้าสู้ราคา จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าดังกล่าวทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โดยขณะที่ทำนั้นจำเลยที่ 2 ผู้ซึ่งได้ลาภงอกแต่การนั้นได้รู้ถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย โจทก์ชอบที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าดังกล่าวเสียได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาซื้อขายทรัพย์สินสมรสที่ไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส โดยอ้างกรรมสิทธิ์รวม
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่พิพาททั้งแปลง ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนเพียงครึ่งหนึ่ง จำเลยฎีกาขอให้พิพากษายกฟ้อง ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงมีเพียงครึ่งหนึ่งของราคาที่พิพาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ขายที่พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นสามี ถือได้ว่าโจทก์อ้างว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมกันทำนองเดียวกับการมีกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา 1356แห่ง ป.พ.พ. การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์รวมกันในฐานะเจ้าของรวมคนละกึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1357 และพิพากษาให้เพิกถอนการขายที่พิพาทกึ่งหนึ่ง จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้อง และไม่ใช่ข้อวินิจฉัยที่นอกประเด็นที่กำหนดไว้ เพราะคดีนี้ไม่มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาท เนื่องจากจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าหมดอายุ ผู้ครอบครองไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างผู้อื่นกับเจ้าของทรัพย์
โจทก์เป็น ผู้ครอบครอง ตึกแถวตาม สัญญาเช่าเดิมซึ่งครบกำหนดไปแล้วไม่อาจอ้างสิทธิใดๆในตึกแถวพิพาทได้อีกแม้จำเลยจะหลอกลวงผู้ให้เช่าทำสัญญาให้จำเลยเช่าตึกแถวดังกล่าวผู้ให้เช่าเท่านั้นที่ใช้สิทธิบอกล้างหรือฟ้องให้เพิกถอนได้โจทก์ ไม่มี นิติสัมพันธ์ใดๆกับจำเลยจึงบอกล้างหรือฟ้องเพิกถอนสัญญาเช่าดังกล่าวมิได้และการที่จำเลยบอกกล่าวให้โจทก์ออกจากตึกแถวพิพาทโดยอ้างว่าจำเลยได้เป็นผู้เช่าแล้วถือไม่ได้ว่าจำเลย โต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึง ไม่มี อำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าโจทก์มี สิทธิการเช่าดีกว่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6567/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกเงินคืนและการเพิกถอนสัญญาที่ไม่เกี่ยวข้องกัน สิทธิเรียกร้องที่เกิดภายหลังฟ้องเดิม
ตามคำฟ้องเพิ่มเติมที่โจทก์ยื่นคำร้องมาเป็นเรื่องที่โจทก์เรียกเงินที่โจทก์ได้ชำระให้จำเลยไปตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2525 พร้อมดอกเบี้ยคืนส่วนตามคำฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้เพิกถอนสัญญายินยอมผ่อนชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐตามหนังสือฉบับลงวันที่ 29 ธันวาคม 2529 และเรียกเงินที่ได้ชำระไปตามสัญญาดังกล่าวคืน มูลคดีตามคำฟ้องเดิมกับคำฟ้องเพิ่มเติมไม่มีความเกี่ยวข้องกัน และคำฟ้องเพิ่มเติมอีกข้อเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว แม้หากจะฟังว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องคืนจากจำเลย สิทธิของโจทก์ก็เกิดภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ จึงถือไม่ได้ว่า คำฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันเฉพาะคู่กรณี ผู้บริวารของจำเลยไม่อาจอ้างเป็นเหตุเพิกถอนได้
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินซึ่งจำเลยเช่าจากโจทก์ บ้านพิพาทปลูกอยู่ในที่ดินที่จำเลยเช่า ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยให้รื้อถอนบ้านพิพาทออกไป แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่าจำเลยยอมรื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินของโจทก์ ศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด แต่จำเลยมิได้รื้อถอนบ้านพิพาทออกไปตามสัญญาโจทก์จึงขอออกหมายบังคับคดี และปรากฏว่าบ้านพิพาทในคดีนี้เป็นบ้านหลังเดียว กันกับบ้านพิพาทในอีกคดีหนึ่งซึ่ง ส.เป็นโจทก์ได้มอบอำนาจให้จำเลยในคดีนี้ฟ้องขับไล่ผู้ร้องในคดีนี้เป็นจำเลยให้ออกจากบ้านพิพาทและคดีดังกล่าวได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า ผู้ร้องยอมอาศัยห้องหนึ่งของบ้านพิพาทอย่างผู้อาศัย ดังนั้น เมื่อ ส. แถลงรับในคดีนี้ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลว่า เป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวและมอบอำนาจให้จำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นบิดาเป็นผู้ดูแลบ้านพิพาทและฟ้องคดีแทน ทั้งยินยอมที่จะปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยทำไว้กับโจทก์คดีนี้ ส. จึงอยู่ในฐานะวงศ์ญาติและบริวารของจำเลย ผู้ร้องในฐานะผู้อาศัยอยู่ในบ้านพิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งทำไว้กับ ส. ก็อยู่ในฐานะบริวารของจำเลยเช่นเดียวกัน หาได้มีอำนาจพิเศษอันจะเป็นข้ออ้างต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1) แต่อย่างใดไม่ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิจะขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและหมายบังคับคดีในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การไม่อุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมทำให้สิทธิในการเพิกถอนสัญญาหมดไป
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล และศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ถ้าโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมดังกล่าวได้หากเข้ากรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์จนคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3268/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการสืบพยานในคดีซื้อขายรถยนต์: ประเด็นสุจริต, เพิกถอนสัญญา, ความเสียหาย
เมื่อจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็มีหน้าที่นำสืบให้เต็มตามฟ้อง และคดียังมีประเด็นตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2และคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์ว่า โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตหรือไม่ จำเลยที่ 2 มีสิทธิขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือไม่ และจำเลยที่ 2 ได้รับความเสียหายเพียงใดหรือไม่อยู่อีกด้วยการที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้คู่ความสืบเฉพาะประเด็นว่าโจทก์ชำระเงินให้จำเลยที่ 1ครบถ้วนหรือไม่ จึงไม่ถูกต้อง ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
of 7