พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9839/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดค่าเสียหายจากการเลือกตั้งใหม่ กรณีถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง: จำเลยมีสิทธิปฏิเสธความรับผิดและนำสืบพยานหลักฐานได้
การฟ้องให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งรับผิดค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 99 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการฟ้องให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งรับผิดในทางแพ่งที่มีเหตุมาจากที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการเลือกตั้งมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและให้เลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง หากแปลความมาตรา 99 วรรคหนึ่ง ว่าผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องรับผิดเด็ดขาดโดยไม่คำนึงถึงเหตุที่นำไปสู่การเลือกตั้งใหม่ว่าเกิดจากการกระทำของผู้นั้นหรือไม่ ย่อมเป็นการใช้กฎหมายที่ไม่คำนึงถึงความถูกต้อง เมื่อจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธความรับผิดและต่อสู้ว่าทั้งสองไม่เคยให้เงินหรือทรัพย์สินเพื่อจูงใจให้บุคคลใดมาลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง คดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า จำเลยได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือไม่ จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธินำสืบปฏิเสธความรับผิดตามประเด็นตามคำให้การได้ การที่จำเลยทั้งสองนำสืบโดยอ้างคำพิพากษาในคดีอาญาจึงเป็นการนำสืบปฏิเสธความรับผิดตามประเด็นที่จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ไว้ และศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวประกอบการพิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5988/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง, การชดใช้ค่าเสียหายจากการเลือกตั้งใหม่, และอำนาจฟ้องของ กกต.
การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา จัดให้มีขึ้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2549 ต่อมามีผู้ร้องคัดค้านและคณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีคำวินิจฉัยสั่งการ ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2549 ซึ่งช่วงระยะเวลาดังกล่าว พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มีผลใช้บังคับ แม้ต่อมาจะมี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 ออกมาใช้บังคับ ซึ่งได้กำหนดสัดส่วนองค์ประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งในมาตรา 8 แตกต่างไปจากกฎหมายฉบับเดิมก็ตาม ศาลจะหยิบยกกฎหมายฉบับที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้
ข้อความตามมาตรา 8 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 บัญญัติว่า การประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องมีกรรมการการเลือกตั้งมาประชุมไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการการเลือกตั้งทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม หมายถึงจำนวนคนไม่ใช่สัดส่วนที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ดังนั้น เมื่อขณะลงมติมีคณะกรรมการการเลือกตั้ง 3 คน และกรรมการการเลือกตั้งทั้งสามคนได้ลงมติให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยและให้มีการเลือกตั้งใหม่ จึงเป็นการลงคะแนนไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการตามนัยแห่งกฎหมายข้างต้นแล้ว
การฟ้องผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้รับผิดค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 99 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการฟ้องให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งรับผิดในทางแพ่งที่มีเหตุมาจากการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและให้เลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวด้วยก็ตาม กรณีมิใช่เป็นเรื่องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ที่ศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา เพียงแต่ว่าเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธความรับผิดว่าไม่เคยกระทำการฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและมีการเลือกตั้งใหม่ จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบปฏิเสธความรับผิดตามคำให้การได้ และมีสิทธิอ้างคำพิพากษาในคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ และศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวประกอบได้ แต่พยานหลักฐานดังกล่าวจะมีน้ำหนักให้รับฟังได้ประการใดหรือไม่เป็นกรณีที่ต้องพิจารณาตามหลักเรื่องภาระการพิสูจน์และการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน
มาตรา 99 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 บัญญัติว่า ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้มีการการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 56 หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง...ผู้กระทำการฝ่าฝืน มาตรา 56 หรือผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด ซึ่งต้องไม่เกินค่าใช้จ่ายในการให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่าเมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้ผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องชำระ คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงมีอำนาจในการยื่นฟ้องเพื่อบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่ง
ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลในทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครองโดยได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง จึงต้องคืนค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดแก่โจทก์
ข้อความตามมาตรา 8 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 บัญญัติว่า การประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องมีกรรมการการเลือกตั้งมาประชุมไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการการเลือกตั้งทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม หมายถึงจำนวนคนไม่ใช่สัดส่วนที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ดังนั้น เมื่อขณะลงมติมีคณะกรรมการการเลือกตั้ง 3 คน และกรรมการการเลือกตั้งทั้งสามคนได้ลงมติให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยและให้มีการเลือกตั้งใหม่ จึงเป็นการลงคะแนนไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการตามนัยแห่งกฎหมายข้างต้นแล้ว
การฟ้องผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้รับผิดค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 99 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการฟ้องให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งรับผิดในทางแพ่งที่มีเหตุมาจากการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและให้เลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวด้วยก็ตาม กรณีมิใช่เป็นเรื่องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ที่ศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา เพียงแต่ว่าเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธความรับผิดว่าไม่เคยกระทำการฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและมีการเลือกตั้งใหม่ จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบปฏิเสธความรับผิดตามคำให้การได้ และมีสิทธิอ้างคำพิพากษาในคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ และศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวประกอบได้ แต่พยานหลักฐานดังกล่าวจะมีน้ำหนักให้รับฟังได้ประการใดหรือไม่เป็นกรณีที่ต้องพิจารณาตามหลักเรื่องภาระการพิสูจน์และการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน
มาตรา 99 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 บัญญัติว่า ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้มีการการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 56 หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง...ผู้กระทำการฝ่าฝืน มาตรา 56 หรือผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด ซึ่งต้องไม่เกินค่าใช้จ่ายในการให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่าเมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้ผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องชำระ คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงมีอำนาจในการยื่นฟ้องเพื่อบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่ง
ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลในทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครองโดยได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง จึงต้องคืนค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21310/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งจากการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง: การพิสูจน์ความผิดตามกฎหมายเลือกตั้งและผลกระทบต่อการชดใช้ค่าเสียหาย
การฟ้องผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 99 วรรคหนึ่ง เป็นการฟ้องให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งรับผิดในทางแพ่งที่มีเหตุมาจากการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและให้เลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธความรับผิดว่า จำเลยหาเสียงด้วยความบริสุทธิ์ ไม่เคยซื้อเสียงหรือให้ทรัพย์สินเพื่อจูงใจให้บุคคลใดมาลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ตน คดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่หรือไม่ ซึ่งโจทก์มีภาระการพิสูจน์ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานมาสืบให้ได้ความตามคำฟ้อง ส่วนจำเลยก็มีสิทธินำสืบปฏิเสธความรับผิดตามคำให้การ
ส่วนคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 8, 57 และ 118 และขอให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจำเลยมีกำหนด 10 ปี ศาลพิพากษายกฟ้อง และคดีถึงที่สุดนั้น ข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวเป็นเพียงพยานหลักฐานที่จำเลยสามารถนำสืบให้ศาลเห็นว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ หาใช่เป็นข้อเท็จจริงที่ฟังยุติว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดทางอาญาแล้วก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ไม่ ทั้งนี้เพราะคำสั่งของโจทก์ที่ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยภายหลังประกาศผลการเลือกตั้งนั้น เป็นอำนาจเด็ดขาดของโจทก์ และถือว่าจำเลยยังเป็นผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งอยู่ แม้ภายหลังมีการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยอันเนื่องมาจากการเลือกตั้งดังกล่าว ผลของคำพิพากษาในคดีอาญาก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่สั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและให้มีการเลือกตั้งใหม่ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย และพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยนำผลของคำพิพากษาในคดีอาญามาผูกพันกับคดีนี้ทั้งที่ไม่ใช่เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้น เป็นการไม่ชอบ
ส่วนคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 8, 57 และ 118 และขอให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจำเลยมีกำหนด 10 ปี ศาลพิพากษายกฟ้อง และคดีถึงที่สุดนั้น ข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวเป็นเพียงพยานหลักฐานที่จำเลยสามารถนำสืบให้ศาลเห็นว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ หาใช่เป็นข้อเท็จจริงที่ฟังยุติว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดทางอาญาแล้วก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ไม่ ทั้งนี้เพราะคำสั่งของโจทก์ที่ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยภายหลังประกาศผลการเลือกตั้งนั้น เป็นอำนาจเด็ดขาดของโจทก์ และถือว่าจำเลยยังเป็นผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งอยู่ แม้ภายหลังมีการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยอันเนื่องมาจากการเลือกตั้งดังกล่าว ผลของคำพิพากษาในคดีอาญาก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่สั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและให้มีการเลือกตั้งใหม่ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย และพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยนำผลของคำพิพากษาในคดีอาญามาผูกพันกับคดีนี้ทั้งที่ไม่ใช่เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้น เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2878/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง: อำนาจสืบสวน คดีระงับ และหลักฐานสนับสนุน
ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 49 วรรคสอง (1) (2) ได้บัญญัติระยะเวลามีผลใช้บังคับวิธีการหาเสียงเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้เป็น 2 กรณี กรณีแรกที่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปอันเนื่องมาจากการครบอายุของสภาผู้แทนราษฎรให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่เก้าสิบวันก่อนวันครบอายุจนถึงวันเลือกตั้ง ส่วนกรณีที่สองเป็นกรณีที่เป็นการเลือกตั้ง อันเนื่องมาจากเหตุอื่นนอกจากกรณีแรกให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจนถึงวันเลือกตั้ง กรณีของผู้คัดค้านเป็นกรณีเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างเนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยให้ผู้คัดค้านพ้นสภาพจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นระยะเวลาที่ใช้บังคับวิธีการหาเสียงกรณีของผู้คัดค้านจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2553 อันเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นที่ทราบทั่วกัน ซึ่งถือว่าเป็นวันที่ได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 49 วรรคสอง (2)
แม้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 106 บัญญัติว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงเมื่อ (1)...มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรและข้อเท็จจริงเป็นดังที่ผู้คัดค้านอ้าง แต่การยุบสภามีผลเพียงทำให้สมาชิกภาพของผู้คัดค้านซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงเท่านั้น ซึ่งหากผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่เพราะเหตุที่มีการกระทำตามคำร้อง การวินิจฉัยและมีคำสั่งโดยศาลฎีกาก็จะไม่เป็นประโยชน์อีกต่อไป คดีนี้ผู้ร้องมีคำขอเพียงประการเดียวคือ ขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้คัดค้านเป็นเวลาห้าปี ซึ่งเป็นคนละส่วนไม่เกี่ยวข้องกับการสิ้นสมาชิกภาพของผู้คัดค้าน ผู้ร้องจึงยังคงร้องขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งในกรณีนี้ได้ หาได้ระงับไปเพราะเหตุที่มีการยุบสภาไม่
แม้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 106 บัญญัติว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงเมื่อ (1)...มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรและข้อเท็จจริงเป็นดังที่ผู้คัดค้านอ้าง แต่การยุบสภามีผลเพียงทำให้สมาชิกภาพของผู้คัดค้านซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงเท่านั้น ซึ่งหากผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่เพราะเหตุที่มีการกระทำตามคำร้อง การวินิจฉัยและมีคำสั่งโดยศาลฎีกาก็จะไม่เป็นประโยชน์อีกต่อไป คดีนี้ผู้ร้องมีคำขอเพียงประการเดียวคือ ขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้คัดค้านเป็นเวลาห้าปี ซึ่งเป็นคนละส่วนไม่เกี่ยวข้องกับการสิ้นสมาชิกภาพของผู้คัดค้าน ผู้ร้องจึงยังคงร้องขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งในกรณีนี้ได้ หาได้ระงับไปเพราะเหตุที่มีการยุบสภาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5019/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและเลือกตั้งใหม่จากกรณีการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
การกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งซึ่งทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมมิได้มีผลเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดผู้หนึ่ง หรือพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หากความปรากฏต่อผู้ร้องว่ามีการกระทำใดอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งเกิดขึ้นไม่ว่าจะโดยผู้ร้องเห็นเองหรือมีการยื่นคำร้องคัดค้านต่อผู้ร้องก็ตาม ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมย่อมมีอำนาจดำเนินการให้มีการสืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 236 (5) และตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสืบสวน สอบสวนและการวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ. 2550 ได้ การถอนคำร้องเรื่องคัดค้านของผู้คัดค้านการเลือกตั้งจึงมิใช่เงื่อนไขเด็ดขาดให้ผู้ร้องต้องใช้ดุลพินิจอนุญาตเสมอไป การที่ผู้ร้องไม่อนุญาตให้ ว. ถอนคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งและยังคงดำเนินการสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริงต่อไป จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมและดำเนินการจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของ ว. แต่อย่างใด และไม่ใช่กรณีขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนและการวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ. 2550 ข้อ 59 เป็นเพียงการกำหนดขั้นตอนเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้มีการพิจารณากลั่นกรองตามลำดับชั้นว่าสำนวนการสืบสวนสอบสวนมีความสมบูรณ์ครบถ้วนหรือไม่ หากยังไม่สมบูรณ์ครบถ้วนก็อาจสั่งให้มีการสืบสวนสอบสวนเพิ่มเติม หากสมบูรณ์ครบถ้วนแล้วก็เสนอสำนวนการสืบสวนสอบสวนพร้อมทำความเห็นให้ผู้ร้องได้พิจารณาต่อไป แม้ไม่มีการเสนอสำนวนการสืบสวนสอบสวนพร้อมความเห็นของผู้เกี่ยวข้องตามลำดับชั้น ก็ไม่มีผลทำให้สำนวนการสืบสวนสอบสวนที่คณะกรรมการสืบสวนดำเนินมาทั้งหมดต้องเสียไป หรือทำให้ข้อเท็จจริงในสำนวนการสืบสวนสอบสวนเปลี่ยนแปลงไป และไม่มีผลกระทบต่อการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องคัดค้านการเลือกตั้งซึ่งเป็นอำนาจของผู้ร้องแต่อย่างใด ในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องดังกล่าวผู้ร้องจะรับฟังพยานหลักฐานในส่วนไหนอย่างไรเป็นดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานซึ่งเป็นอำนาจของผู้ร้อง เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าผู้ร้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวนหรือฝ่าฝืนต่อพยานหลักฐานในสำนวน จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริต ไม่ถูกต้องหรือไม่เที่ยงธรรมแต่อย่างใด
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 มาตรา 8 วรรคสอง บังคับให้กรรมการการเลือกตั้งที่เข้าร่วมประชุมต้องลงคะแนนเสียงเพื่อมีมติทุกคน จะงดออกเสียงหรือไม่ยอมลงมติหาได้ไม่ และในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งกฎหมายมิได้บังคับว่าหากมีการเสนอสำนวนการสืบสวนสอบสวนให้ผู้ร้องพิจารณาแล้ว กรรมการการเลือกตั้งจะต้องลงความเห็นหรือมีมติแต่เพียงว่าต้องยกคำร้องหรือให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือต้องเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเท่านั้น จะลงมติหรือมีความเห็นเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ดังนั้น หากกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าสำนวนการสืบสวนสอบสวนที่เสนอมาให้พิจารณายังไม่สมบูรณ์ครบถ้วน จำเป็นต้องสืบสวนสอบสวนเพิ่มเติมในบางเรื่องบางประเด็นกรรมการการเลือกตั้งก็ย่อมลงความเห็นให้มีการสืบสวนสอบสวนเพิ่มเติมได้ มติของผู้ร้องครั้งที่ 2/2551 จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 มาตรา 53 บัญญัติห้ามมิให้กระทำการต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้เนื่องจากเป็นการกระทำที่ส่งผลให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และบุคคลที่กฎหมายห้ามมีทั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้ที่มิใช่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง สำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้หมายความแต่เพียงว่าผู้นั้นได้กระทำการอันฝ่าฝืนที่กฎหมายกำหนดในขณะที่ตนเองมีฐานะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแล้วเท่านั้น แม้ในขณะที่กระทำการดังกล่าวผู้ร้องยังมิได้มีการประกาศสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือมีการประกาศสมัครรับเลือกตั้งแล้ว แต่ผู้นั้นยังมิได้สมัครรับเลือกตั้งก็ตาม หากการที่กระทำไปได้กระทำภายหลังจากที่มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและต่อมาผู้นั้นได้สมัครรับเลือกตั้งก็ถือได้ว่าการที่กระทำไปก่อนหน้านี้ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมในที่สุดแล้วก็เป็นการกระทำของผู้สมัครรับเลือกตั้งนั่นเอง นอกจากนี้ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ห้ามเฉพาะผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเท่านั้น ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนก็ถูกห้ามด้วย เพราะการกระทำของผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ตามหากเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้สมัครผู้ใดผู้หนึ่ง หรือพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแล้วก็ย่อมมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมเช่นเดียวกัน ดังนั้น แม้ผู้คัดค้านที่ 1 ได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหาก่อนที่จะมีการประกาศสมัครรับเลือกตั้งก็ตาม แต่ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 ก็ได้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 1 พรรค พ. การกระทำของผู้คัดค้านที่ 1 จึงถือว่าเป็นการกระทำของผู้สมัครรับเลือกตั้งอันต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
เมื่อปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 กระทำการตามที่ถูกกล่าวหาแล้ว แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะมิได้รู้เห็นเป็นใจหรือสนับสนุนให้ผู้คัดค้านที่ 1 กระทำการดังกล่าวก็ตาม แต่การกระทำของผู้คัดค้านที่ 1 ดังกล่าวย่อมเป็นการเอื้อเพื่อประโยชน์ให้แก่พรรค พ. และผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในนามพรรค พ. โดยตรงอันมีผลทำให้การเลือกตั้งในส่วนของผู้คัดค้านที่ 2 มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และแม้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนี้ผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยได้คะแนนเสียงมาเป็นอันดับที่ 1 มากกว่าผู้สมัครพรรคการเมืองคู่แข่งถึง 13,469 คะแนนก็ตาม แต่เมื่อการเลือกตั้งในส่วนของผู้คัดค้านที่ 2 มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมเสียแล้ว ผู้คัดค้านที่ 2 ก็ไม่อาจถือเอาคะแนนเสียงที่ได้รับมาเป็นข้ออ้างเพื่อมิให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้
ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนและการวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ. 2550 ข้อ 59 เป็นเพียงการกำหนดขั้นตอนเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้มีการพิจารณากลั่นกรองตามลำดับชั้นว่าสำนวนการสืบสวนสอบสวนมีความสมบูรณ์ครบถ้วนหรือไม่ หากยังไม่สมบูรณ์ครบถ้วนก็อาจสั่งให้มีการสืบสวนสอบสวนเพิ่มเติม หากสมบูรณ์ครบถ้วนแล้วก็เสนอสำนวนการสืบสวนสอบสวนพร้อมทำความเห็นให้ผู้ร้องได้พิจารณาต่อไป แม้ไม่มีการเสนอสำนวนการสืบสวนสอบสวนพร้อมความเห็นของผู้เกี่ยวข้องตามลำดับชั้น ก็ไม่มีผลทำให้สำนวนการสืบสวนสอบสวนที่คณะกรรมการสืบสวนดำเนินมาทั้งหมดต้องเสียไป หรือทำให้ข้อเท็จจริงในสำนวนการสืบสวนสอบสวนเปลี่ยนแปลงไป และไม่มีผลกระทบต่อการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องคัดค้านการเลือกตั้งซึ่งเป็นอำนาจของผู้ร้องแต่อย่างใด ในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องดังกล่าวผู้ร้องจะรับฟังพยานหลักฐานในส่วนไหนอย่างไรเป็นดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานซึ่งเป็นอำนาจของผู้ร้อง เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าผู้ร้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวนหรือฝ่าฝืนต่อพยานหลักฐานในสำนวน จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริต ไม่ถูกต้องหรือไม่เที่ยงธรรมแต่อย่างใด
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 มาตรา 8 วรรคสอง บังคับให้กรรมการการเลือกตั้งที่เข้าร่วมประชุมต้องลงคะแนนเสียงเพื่อมีมติทุกคน จะงดออกเสียงหรือไม่ยอมลงมติหาได้ไม่ และในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งกฎหมายมิได้บังคับว่าหากมีการเสนอสำนวนการสืบสวนสอบสวนให้ผู้ร้องพิจารณาแล้ว กรรมการการเลือกตั้งจะต้องลงความเห็นหรือมีมติแต่เพียงว่าต้องยกคำร้องหรือให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือต้องเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเท่านั้น จะลงมติหรือมีความเห็นเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ดังนั้น หากกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าสำนวนการสืบสวนสอบสวนที่เสนอมาให้พิจารณายังไม่สมบูรณ์ครบถ้วน จำเป็นต้องสืบสวนสอบสวนเพิ่มเติมในบางเรื่องบางประเด็นกรรมการการเลือกตั้งก็ย่อมลงความเห็นให้มีการสืบสวนสอบสวนเพิ่มเติมได้ มติของผู้ร้องครั้งที่ 2/2551 จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 มาตรา 53 บัญญัติห้ามมิให้กระทำการต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้เนื่องจากเป็นการกระทำที่ส่งผลให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และบุคคลที่กฎหมายห้ามมีทั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้ที่มิใช่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง สำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้หมายความแต่เพียงว่าผู้นั้นได้กระทำการอันฝ่าฝืนที่กฎหมายกำหนดในขณะที่ตนเองมีฐานะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแล้วเท่านั้น แม้ในขณะที่กระทำการดังกล่าวผู้ร้องยังมิได้มีการประกาศสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือมีการประกาศสมัครรับเลือกตั้งแล้ว แต่ผู้นั้นยังมิได้สมัครรับเลือกตั้งก็ตาม หากการที่กระทำไปได้กระทำภายหลังจากที่มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและต่อมาผู้นั้นได้สมัครรับเลือกตั้งก็ถือได้ว่าการที่กระทำไปก่อนหน้านี้ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมในที่สุดแล้วก็เป็นการกระทำของผู้สมัครรับเลือกตั้งนั่นเอง นอกจากนี้ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ห้ามเฉพาะผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเท่านั้น ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนก็ถูกห้ามด้วย เพราะการกระทำของผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ตามหากเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้สมัครผู้ใดผู้หนึ่ง หรือพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแล้วก็ย่อมมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมเช่นเดียวกัน ดังนั้น แม้ผู้คัดค้านที่ 1 ได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหาก่อนที่จะมีการประกาศสมัครรับเลือกตั้งก็ตาม แต่ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 ก็ได้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 1 พรรค พ. การกระทำของผู้คัดค้านที่ 1 จึงถือว่าเป็นการกระทำของผู้สมัครรับเลือกตั้งอันต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
เมื่อปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 กระทำการตามที่ถูกกล่าวหาแล้ว แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะมิได้รู้เห็นเป็นใจหรือสนับสนุนให้ผู้คัดค้านที่ 1 กระทำการดังกล่าวก็ตาม แต่การกระทำของผู้คัดค้านที่ 1 ดังกล่าวย่อมเป็นการเอื้อเพื่อประโยชน์ให้แก่พรรค พ. และผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในนามพรรค พ. โดยตรงอันมีผลทำให้การเลือกตั้งในส่วนของผู้คัดค้านที่ 2 มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และแม้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนี้ผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยได้คะแนนเสียงมาเป็นอันดับที่ 1 มากกว่าผู้สมัครพรรคการเมืองคู่แข่งถึง 13,469 คะแนนก็ตาม แต่เมื่อการเลือกตั้งในส่วนของผู้คัดค้านที่ 2 มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมเสียแล้ว ผู้คัดค้านที่ 2 ก็ไม่อาจถือเอาคะแนนเสียงที่ได้รับมาเป็นข้ออ้างเพื่อมิให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเจ้าพนักงานเลือกตั้งที่กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง แม้ลงโทษตามกฎหมายอาญาแล้ว ก็ต้องเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมายเฉพาะ
การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทโดยนอกจากมีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตาม ป.อ. มาตรา 157 แล้วยังมีความผิดต่อ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ฯ มาตรา 59 ซึ่งบัญญัติให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดเวลาไม่ต่ำกว่าสี่ปีและไม่เกินแปดปีด้วย อันเป็นมาตรการที่มุ่งจะจำกัดสิทธิของเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งซึ่งกระทำหน้าที่โดยทุจริตไม่ใช่โทษตามกฎหมาย ดังนั้น เมื่อศาลลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ตาม ป.อ. มาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 ศาลก็ต้องสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ด้วย ตามที่กฎหมายบัญญัติบังคับไว้โดยไม่อาจใช้ดุลพินิจเป็นอย่างอื่นได้ มิฉะนั้นจะเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8450/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกตั้งท้องถิ่น: ความผิดฐานให้ทรัพย์สินเพื่อจูงใจลงคะแนน และการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่าฝืน พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 57 จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 ให้มีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง และศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยที่ 1 มีกำหนดหนึ่งปี ต่อมาพนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้สมัครรับเลือกตั้งกระทำการฝ่าฝืนมาตรา 57 ขอให้ลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 118 โดยให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปีซึ่งถือเป็นอุปกรณ์ของโทษทางอาญาและศาลล่างทั้งสองได้พิพากษามานั้น มิใช่กรณีเมื่อศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น และมิใช่กรณีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว ห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 และมาตรา 148 และถือไม่ได้ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 4 ในคดีก่อนได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ศาลชั้นต้นในคดีนี้จึงมีอำนาจสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยที่ 1 ได้อีก
อนึ่ง ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 ใช้บังคับโดยยกเลิก พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด และให้ใช้บทบัญญัติใหม่แทน แต่การกระทำของจำเลยทั้งสามที่เป็นการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใดเพื่อจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่จำเลยที่ 1 ตามบทบัญญัติมาตรา 57 วรรคหนึ่ง (1) แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ฉบับเดิม ยังคงเป็นความผิดตามบทบัญญัติมาตรา 65 วรรคหนึ่ง (1) แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 ฉบับใหม่ที่คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งสามยังคงเป็นความผิดอยู่เช่นเดิม ดังนั้น ต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ฉบับเดิม มาตรา 57 วรรคหนึ่ง (1) ในส่วนของบทความผิดบังคับแก่จำเลยทั้งสาม ตาม ป.อ. มาตรา 2 ส่วนกำหนดโทษนั้นตามกฎหมายเดิมบัญญัติบทลงโทษไว้ในมาตรา 118 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี สำหรับกฎหมายที่แก้ไขใหม่บัญญัติบทลงโทษไว้ในมาตรา 126 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับและให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนดยี่สิบปี จะเห็นได้ว่าตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกและโทษปรับเท่ากัน แต่ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นการบัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับเท่านั้น จึงต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด และกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษจำคุกและโทษปรับซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้ จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ ในส่วนของโทษจำคุกและโทษปรับตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 มาตรา 126 วรรคหนึ่ง อันเป็นส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยทั้งสามไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 สำหรับการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งซึ่งถือเป็นอุปกรณ์ของโทษทางอาญาตามกฎหมายใหม่มีกำหนดเวลานานกว่ากฎหมายเดิม กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนนี้จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสาม ต้องใช้ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ฉบับเดิม มาตรา 118 มาบังคับใช้แก่จำเลยทั้งสาม ตาม ป.อ. มาตรา 3
อนึ่ง ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 ใช้บังคับโดยยกเลิก พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด และให้ใช้บทบัญญัติใหม่แทน แต่การกระทำของจำเลยทั้งสามที่เป็นการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใดเพื่อจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่จำเลยที่ 1 ตามบทบัญญัติมาตรา 57 วรรคหนึ่ง (1) แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ฉบับเดิม ยังคงเป็นความผิดตามบทบัญญัติมาตรา 65 วรรคหนึ่ง (1) แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 ฉบับใหม่ที่คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งสามยังคงเป็นความผิดอยู่เช่นเดิม ดังนั้น ต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ฉบับเดิม มาตรา 57 วรรคหนึ่ง (1) ในส่วนของบทความผิดบังคับแก่จำเลยทั้งสาม ตาม ป.อ. มาตรา 2 ส่วนกำหนดโทษนั้นตามกฎหมายเดิมบัญญัติบทลงโทษไว้ในมาตรา 118 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี สำหรับกฎหมายที่แก้ไขใหม่บัญญัติบทลงโทษไว้ในมาตรา 126 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับและให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนดยี่สิบปี จะเห็นได้ว่าตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกและโทษปรับเท่ากัน แต่ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นการบัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับเท่านั้น จึงต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด และกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษจำคุกและโทษปรับซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้ จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ ในส่วนของโทษจำคุกและโทษปรับตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 มาตรา 126 วรรคหนึ่ง อันเป็นส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยทั้งสามไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 สำหรับการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งซึ่งถือเป็นอุปกรณ์ของโทษทางอาญาตามกฎหมายใหม่มีกำหนดเวลานานกว่ากฎหมายเดิม กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนนี้จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสาม ต้องใช้ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ฉบับเดิม มาตรา 118 มาบังคับใช้แก่จำเลยทั้งสาม ตาม ป.อ. มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและการรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการเลือกตั้งใหม่ จำเลยต้องพิสูจน์การกระทำผิด
แม้คำสั่งของโจทก์ที่ 1 ที่ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยภายหลังประกาศผลการเลือกตั้งจะเป็นอำนาจเด็ดขาดของโจทก์ที่ 1 แต่ก็มีผลผูกพันจำเลยเฉพาะผลคำวินิจฉัยที่ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยอันเนื่องมาจากโจทก์ที่ 1 เห็นว่ามีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนมาตรา 57แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 และมีผลเฉพาะหน้าในขณะนั้น อันเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 52/2546 ที่โจทก์ทั้งสองอ้างมิได้วินิจฉัยถึงความเป็นที่สุดแห่งคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง รูปเรื่องย่อมต่างจากคดีนี้ จึงไม่มีผลผูกพันศาลในการวินิจฉัยเกี่ยวกับคำสั่งของโจทก์ที่ 1 ที่ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลย
การฟ้องผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้ต้องรับผิดในค่าเสียหายอันเกิดจากการให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 99 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 เป็นการฟ้องร้องให้รับผิดในทางแพ่งที่มีเหตุมาจากการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและให้มีการเลือกตั้งตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธความรับผิดและต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้สนับสนุนให้ตัวแทน (หัวคะแนน) หาเสียงให้จำเลยโดยการแจกเงินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง คดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่หรือไม่ ซึ่งคู่ความต้องนำสืบพยานหลักฐานตามข้ออ้างและข้อเถียงของตนเพื่อให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดต่อไป มาตรา 99 วรรคหนึ่ง จึงมิใช่บทบัญญัติให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องรับผิดโดยเด็ดขาด เมื่อโจทก์ทั้งสองและจำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ก็ย่อมไม่มีพยานหลักฐานที่จะรับฟังว่า จำเลยกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายในการให้มีการเลือกตั้งใหม่
การฟ้องผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้ต้องรับผิดในค่าเสียหายอันเกิดจากการให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 99 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 เป็นการฟ้องร้องให้รับผิดในทางแพ่งที่มีเหตุมาจากการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและให้มีการเลือกตั้งตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธความรับผิดและต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้สนับสนุนให้ตัวแทน (หัวคะแนน) หาเสียงให้จำเลยโดยการแจกเงินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง คดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่หรือไม่ ซึ่งคู่ความต้องนำสืบพยานหลักฐานตามข้ออ้างและข้อเถียงของตนเพื่อให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดต่อไป มาตรา 99 วรรคหนึ่ง จึงมิใช่บทบัญญัติให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องรับผิดโดยเด็ดขาด เมื่อโจทก์ทั้งสองและจำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ก็ย่อมไม่มีพยานหลักฐานที่จะรับฟังว่า จำเลยกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายในการให้มีการเลือกตั้งใหม่