พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645-5646/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพาทเกี่ยวกับที่ดินธรณีสงฆ์และการเพิกถอนโฉนดที่ดิน โดยมีข้อพิพาทเรื่องการครอบครองและสิทธิในที่ดิน
ในระหว่างพิจารณา พ. รักษาการเจ้าอาวาสวัดโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้สัตยาบันการที่นาย ช. และนาย น. ฟ้องคดีแทนวัดโจทก์พร้อมกับได้ชี้แจงเหตุผลประกอบและได้ส่งหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่โดยไม่ได้ระบุมอบอำนาจให้นาย ช. เป็นผู้ฟ้องคดีแทนด้วยเพราะนาย ช. ถึงแก่กรรมไปแล้วย่อมเท่ากับเป็นการให้สัตยาบันในการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งห้ามไว้แต่ประการใดทั้งกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา47แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนาย ช. และนาย น. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์มาแต่ต้น ที่ดินโจทก์ดังกล่าวมีสภาพเป็นป่าช้ามาแต่โบราณกาลล้อมรอบด้วยที่ธรณีสงฆ์ของวัด บ. จากข้อเท็จจริงที่ปรากฎต่อมาว่านาย ห.เป็นผู้แจ้งสิทธิครอบครองในที่ป่าช้าดังกล่าวไว้ด้วยเหตุผลที่จะกันไม่ให้ถูกบุกรุกยึดครองโดยเจตนาของนาย ห. ดังกล่าวนี้ได้ประกาศชัดเจนว่าถือครองในฐานะแทนโจทก์ซึ่งจำเลยก็มิได้คัดค้านโต้แย้งเมื่อพิเคราะห์ประกอบกับข้อเท็จจริงที่บริเวณที่ดินใกล้เคียงที่ป่าช้าซึ่งหากจำเลยยึดถือครอบครองและออกโฉนดซึ่งมีทั้งซากวัตถุโบราณซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมการฝังศพตลอดจนทางจำเลยก็ยอมรับถึงความเชื่อถือที่ไม่ยอมใช้น้ำในหนองโบสถ์ตรงตามที่พยานโจทก์เบิกความเป็นหนองน้ำใช้ล้างกระดูกศพแล้วยิ่งเห็นได้ชัดว่าคำยืนยันของโจทก์ดังกล่าวเป็นความจริงว่าที่ดินพิพาทที่ล้อมรอบป่าช้าของโจทก์เป็นที่ที่ใช้ประโยชน์เกี่ยวเนื่องกับการฝังศพจริงที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัด บ. โจทก์จำเลยไม่อาจยกการครอบครองขึ้นยันวัดโจทก์การออกโฉนดในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบและโต้แย้งสิทธิโจทก์โจทก์มีอำนาจขอให้เพิกถอนได้ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645-5646/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินโต้แย้ง: เพิกถอนโฉนดที่ดินธรณีสงฆ์วัด โดยพิจารณาจากสภาพพื้นที่ การครอบครอง และประวัติวัด
ในระหว่างพิจารณา พ. รักษาการเจ้าอาวาสวัดโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้สัตยาบันการที่นาย ช. และนาย น. ฟ้องคดีแทนวัดโจทก์พร้อมกับได้ชี้แจงเหตุผลประกอบและได้ส่งหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่โดยไม่ได้ระบุมอบอำนาจให้นาย ช. เป็นผู้ฟ้องคดีแทนด้วยเพราะนาย ช. ถึงแก่กรรมไปแล้วย่อมเท่ากับเป็นการให้สัตยาบันในการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งห้ามไว้แต่ประการใดทั้งกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา47แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนาย ช. และนาย น. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์มาแต่ต้น ที่ดินโจทก์ดังกล่าวมีสภาพเป็นป่าช้ามาแต่โบราณกาลล้อมรอบด้วยที่ธรณีสงฆ์ของวัด บ. จากข้อเท็จจริงที่ปรากฎต่อมาว่านาย ห.เป็นผู้แจ้งสิทธิครอบครองในที่ป่าช้าดังกล่าวไว้ด้วยเหตุผลที่จะกันไม่ให้ถูกบุกรุกยึดครองโดยเจตนาของนาย ห. ดังกล่าวนี้ได้ประกาศชัดเจนว่าถือครองในฐานะแทนโจทก์ซึ่งจำเลยก็มิได้คัดค้านโต้แย้งเมื่อพิเคราะห์ประกอบกับข้อเท็จจริงที่บริเวณที่ดินใกล้เคียงที่ป่าช้าซึ่งหากจำเลยยึดถือครอบครองและออกโฉนดซึ่งมีทั้งซากวัตถุโบราณซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมการฝังศพตลอดจนทางจำเลยก็ยอมรับถึงความเชื่อถือที่ไม่ยอมใช้น้ำในหนองโบสถ์ตรงตามที่พยานโจทก์เบิกความเป็นหนองน้ำใช้ล้างกระดูกศพแล้วยิ่งเห็นได้ชัดว่าคำยืนยันของโจทก์ดังกล่าวเป็นความจริงว่าที่ดินพิพาทที่ล้อมรอบป่าช้าของโจทก์เป็นที่ที่ใช้ประโยชน์เกี่ยวเนื่องกับการฝังศพจริงที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัด บ. โจทก์จำเลยไม่อาจยกการครอบครองขึ้นยันวัดโจทก์การออกโฉนดในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบและโต้แย้งสิทธิโจทก์โจทก์มีอำนาจขอให้เพิกถอนได้ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ & โฉนดที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมาย: ศาลกลับคำพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดและคืนสิทธิครอบครอง
เมื่อโจทก์ บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ โจทก์จึงมีแต่เพียง สิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวเท่านั้นแม้โจทก์จะอ้างว่ากรณีเป็นเรื่องการเรียกทรัพย์คืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ก็เป็นการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนซึ่งสิทธิครอบครองต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ4ลักษณะ3และ สิทธิฟ้องคดีดังกล่าวนี้เป็น ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้กำหนดประเด็นไว้ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยจึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินต่อเนื่อง + โฉนดที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมาย = ผู้ครอบครองมีสิทธิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินตามน.ส.3โจทก์จึงมีแต่เพียงสิทธิครอบครองแม้โจทก์จะอ้างว่าเป็นการเรียกทรัพย์คืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336แต่ก็เป็นการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนซึ่งสิทธิครอบครองต้องอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ4ลักษณะ3ว่าด้วยการครอบครองต้องฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในหนึ่งปีตามมาตรา1375 ที่ดินน.ส.3ของจำเลยมีการออกโฉนดที่ดินทั้งแปลงแล้วน.ส.3ย่อมเป็นอันยกเลิกโฉนดที่ดินซึ่งจำเลยรังวัดออกมาจากที่ดินน.ส.3ดังกล่าวจึงเป็นโฉนดที่ดินที่ออกมาโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา61 โจทก์เป็นฝ่ายครอบครองที่ดินการที่จำเลยขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินน.ส.3ของโจทก์และมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์สืบต่อกันมาโดยมิได้เข้าครอบครองที่ดินจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินจากโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้แม้จะเกิน1ปีนับแต่วันที่ทางราชการออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการออกโฉนดที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลเพิกถอนโฉนดคืนสิทธิผู้ครอบครองเดิม
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องฟ้องโจทก์ขาดสิทธิเอาคืนซึ่งการครอบครองไว้เพราะจำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375อันเป็นบทบัญญัติในเรื่องระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองแม้โจทก์จะอ้างว่ากรณีเป็นเรื่องการเรียกทรัพย์คืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ก็เป็นการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนซึ่งสิทธิครอบครองซึ่งจะต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ4ลักษณะ3และประเด็นดังกล่าวนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้มิได้กำหนดประเด็นไว้ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5) เมื่อที่ดินของจำเลยที่6มีการออกโฉนดซึ่งที่ดินทั้งแปลงแล้วน.ส.3ของที่ดินแปลงนั้นย่อมเป็นอันยกเลิกไปโฉนดที่ดินเลขที่13130ซึ่งจำเลยที่6รังวัดออกมาจากที่ดินน.ส.3ดังกล่าวนั้นอีกจึงเป็นโฉนดที่ดินที่ออกมาโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา61 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทั้งสามเป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาการที่จำเลยที่6ขอออกโฉนดที่ดินเลขที่13130ทับที่ดินน.ส.3ของโจทก์ทั้งสามและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์สืบต่อกันมาจนถึงจำเลยที่4โดยมิได้เข้าครอบครองที่พิพาทกรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้แม้จะเกิน1ปีนับแต่วันที่ทางราชการออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยที่6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6407/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนโฉนดที่ดินเมื่อมีหลักฐานสิทธิในที่ดินเดิม หากศาลพบว่าโจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาท ศาลมีอำนาจเพิกถอนโฉนดได้
ฟ้องโจทก์ที่ขอให้ศาลเพิกถอน น.ส.3 ก. เลขที่ 1898 ที่มีชื่อจำเลยนั้น จำเลยได้ให้การต่อสู้ว่า น.ส.3 ก. ดังกล่าวพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ออกโฉนดที่ดินให้จำเลยเป็นโฉนดเลขที่ 20753 ซึ่งในวันชี้สองสถานโจทก์จำเลยแถลงว่าที่ดินพิพาทปัจจุบันมีหลักฐานเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 20753 ดังนั้นโฉนดที่ดินเลขที่ดังกล่าวจึงเป็นเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินแปลงเดียวกับที่ปรากฎตาม น.ส.3 ก.เลขที่ 1898 เมื่อฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจให้เพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าวได้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอให้เจ้าพนักงานที่ดินเพิกถอนโฉนดที่ดินเป็นคำขอที่ไม่ชอบ ศาลไม่อาจบังคับบุคคลภายนอกที่ไม่เป็นคู่ความได้
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า จำเลยได้กระทำการซึ่งเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ และฟ้องบังคับจำเลยไม่ให้กระทำการรบกวนสิทธิของโจทก์ ไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลยด้วยแต่อย่างใด ฉะนั้น ที่โจทก์มีคำขอให้เจ้าพนักงานที่ดินยกเลิกการออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลย และออกโฉนดให้แก่โจทก์จึงเป็นคำขอที่บังคับแก่บุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีคำขอของโจทก์จึงไม่ชอบและไม่อาจบังคับได้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) เป็นเรื่องคำพิพากษาที่วินิจฉัยข้อกรรมสิทธิ์เป็นคุณแก่โจทก์สามารถใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้หาใช่เป็นเรื่องบังคับให้เจ้าพนักงานที่ดินกระทำการหรือไม่กระทำการแต่อย่างใดไม่ ปัญหาว่าศาลไม่อาจบังคับจำเลยตามคำขอของโจทก์ได้ เพราะเป็นการบังคับบุคคลภายนอก และมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 60 เป็นเรื่องที่มีกรณีโต้แย้งสิทธิกันเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดิน และไม่อาจตกลงกันได้ในชั้นเจ้าพนักงานที่ดิน และต้องฟ้องคดีต่อศาลซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินจะต้องรอเรื่องไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาอย่างหนึ่งอย่างใดแล้วจึงให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการต่อไป หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยแล้วมีคำขอให้บังคับแก่เจ้าพนักงานที่ดินโดยไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินมาด้วยดังเช่นกรณีของโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ไม่ตรงกับที่ครอบครอง การฟ้องต้องชัดเจนตรงประเด็น หากสืบได้ว่ามีการสลับโฉนดกัน การฟ้องเดิมจึงไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยออกโฉนดทับที่ดินของโจทก์และขอให้เพิกถอนโฉนด แต่ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าที่ดินที่โจทก์และจำเลยต่างอ้างว่าเป็นที่พิพาท โจทก์และจำเลยต่างครอบครองทำกินอยู่คนละแปลง แต่ยึดถือโฉนดซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินออกให้ผิดสลับแปลงกันจึงมิใช่เป็นการออกโฉนดทับที่ดินโจทก์ตามฟ้อง การที่โจทก์ขอให้ศาลวินิจฉัยว่าที่พิพาทที่โจทก์ครอบครองเป็นของโจทก์นั้นแม้วินิจฉัยไปก็ไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนโฉนดที่จำเลยยึดถือไว้ เพราะมิใช่เป็นการออกโฉนดทับที่ดินโจทก์ดังกล่าว ส่วนจะมีการสลับโฉนดกันหรือไม่ และจะบังคับกันอย่างไร โจทก์มิได้ฟ้องในเรื่องดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนโฉนดที่ดินทับที่สาธารณประโยชน์ ไม่ถือเป็นการละเมิด เจ้าหน้าที่ศาลรับฟังพยานหลักฐานได้
การที่จำเลยใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 มีคำสั่งให้เพิกถอนโฉนดที่ดินซึ่งออกทับที่สาธารณประโยชน์นั้น เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย เพื่อจุดประสงค์ในการสงวนและรักษาไว้ซึ่งสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวมหาใช่เป็นการใช้สิทธิอันมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นไม่จำเลยจึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตามโฉนดดังกล่าว เอกสารที่จำเลยยื่นต่อศาลเพื่อส่งสำเนาให้แก่โจทก์ เป็นพยานที่เกี่ยวกับประเด็นอันสำคัญในคดี แม้จะยังมิได้ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน เพราะความพลั้งเผลอของเจ้าหน้าที่ศาล แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 926/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ผิดพลาด การเพิกถอนโฉนด และความรับผิดของผู้เกี่ยวข้อง
ผู้รับมอบอำนาจตายก่อนจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ หนังสือมอบอำนาจย่อมระงับสิ้นไปหรือหมดสภาพไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 826 จำเลยร่วมซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินทราบแล้วว่าผู้มอบอำนาจตายแต่ยังดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินจนเสร็จสิ้น ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยร่วมเป็นการปฏิบัติราชการในหน้าที่ฝ่าฝืนกฎหมายเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อจำเลยร่วมเป็นข้าราชการในสังกัดของกรมที่ดินจำเลยที่ 1 ทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ย่อมต้องร่วมรับผิดด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76
กรมที่ดินย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนและแก้ไขรายการจดทะเบียนที่ดินและโฉนดที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และแบ่งแยกโฉนดโดยมิชอบ โดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจที่ระงับสิ้นไปแล้วเพราะผู้มอบอำนาจตายได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา61
แม้จำเลยที่ 3 จะซื้อที่พิพาทมาโดยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันทางทะเบียนและเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตก็ตาม แต่โจทก์ก็รับซื้อทรัพย์สินดังกล่าวไว้จากจำเลยที่ 3 โดยสุจริตเช่นกัน เมื่อกรมที่ดินสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนที่พิพาทและโฉนดที่พิพาท เป็นเหตุให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นกลับคืนไปยังเจ้าของที่แท้จริงกรณีเช่นนี้ถือว่า โจทก์ถูกรอนสิทธิ์ จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 479.
กรมที่ดินย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนและแก้ไขรายการจดทะเบียนที่ดินและโฉนดที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และแบ่งแยกโฉนดโดยมิชอบ โดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจที่ระงับสิ้นไปแล้วเพราะผู้มอบอำนาจตายได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา61
แม้จำเลยที่ 3 จะซื้อที่พิพาทมาโดยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันทางทะเบียนและเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตก็ตาม แต่โจทก์ก็รับซื้อทรัพย์สินดังกล่าวไว้จากจำเลยที่ 3 โดยสุจริตเช่นกัน เมื่อกรมที่ดินสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนที่พิพาทและโฉนดที่พิพาท เป็นเหตุให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นกลับคืนไปยังเจ้าของที่แท้จริงกรณีเช่นนี้ถือว่า โจทก์ถูกรอนสิทธิ์ จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 479.