คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เพิกเฉย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7548/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยไม่ชำระค่าธรรมเนียมส่งสำเนาอุทธรณ์ ทำให้ศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
ในชั้นตรวจอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยภายใน 15 วัน แต่จำเลยมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นที่ตั้งทำการของศาลชั้นต้น แม้จะได้ความว่าตามทางปฏิบัติศาลชั้นต้นจะมีหนังสือแจ้งให้ศาลจังหวัดชลบุรีที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแทนดังที่โจทก์ฎีกาก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวโจทก์ก็มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาอุทธรณ์ไปชำระแก่เจ้าหน้าที่ของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคสอง แม้โจทก์จะได้วางเงินไว้ในขณะยื่นคำฟ้องจำนวน 5,000 บาท แต่ก็เป็นเงินที่โจทก์ต้องวางเป็นประกันค่าใช้จ่ายไว้ต่อศาลตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 11 จึงมิใช่เงินที่โจทก์ได้วางไว้เป็นการชำระค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาอุทธรณ์ล่วงหน้า หากโจทก์ประสงค์จะให้หักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อันเป็นค่าธรรมเนียมในคดีจากเงินประกันดังกล่าว ก็ชอบที่โจทก์จะแถลงให้ศาลชั้นต้นทราบและได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นก่อนเช่นดังที่โจทก์เคยปฏิบัติมาแต่ในชั้นดำเนินการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยขณะยื่นฟ้องคดี ดังนั้น ข้อที่โจทก์อ้างว่าได้แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายนำหมายของศาลชั้นต้นว่า ได้วางเงินประกันค่าใช้จ่ายไว้ต่อศาลแล้ว และเจ้าหน้าที่ได้แจ้งว่าจะดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลย โดยจะหักเงินค่าธรรมเนียมในการส่งจากเงินประกันดังกล่าว แม้เป็นความจริงดังที่โจทก์อ้าง แต่ก็เป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบ ไม่อาจยกขึ้นอ้างเพื่อโจทก์ไม่ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งศาลชั้นต้นได้ เมื่อโจทก์มิได้ชำระเงินค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาอุทธรณ์แก่เจ้าหน้าที่ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลย เป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) และมาตรา 246 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6549/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้เพิกเฉยไม่วางเงินค่าใช้จ่ายขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีมีสิทธิขอถอนการบังคับคดีได้
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนอง ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้โจทก์วางเงินค่าใช้จ่ายในการประกาศขายทอดตลาด แต่โจทก์ไม่ได้วางเงินภายในกำหนดเวลาดังกล่าวดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 ทวิชอบที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขอให้ศาลถอนการบังคับคดีนั้นเสีย และการที่ศาลชั้นต้นสั่งถอนการบังคับคดีโดยไม่ได้ไต่สวนคำร้องเพราะข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยต่อคำสั่งศาลในการดำเนินคดีอุทธรณ์ ส่งผลให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีได้
โจทก์ยื่นอุทธรณ์และขอให้มีหนังสือไปยังศาลจังหวัดสงขลาเพื่อจัดส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลย ต่อมาโจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าส่งสำเนาอุทธรณ์ไม่ได้ ขอสืบหาภูมิลำเนา ศาลชั้นต้นสั่งว่า "อนุญาตให้สืบหาภูมิลำเนาได้ภายในวันที่ 20 มกราคม 2542" วันที่ 6 มกราคม2542 โจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยตาย ขอตรวจสอบทายาทหรือผู้จัดการมรดก หรือผู้ปกครองทรัพย์มรดก และสืบว่ามีทรัพย์มรดกหรือไม่แล้วจะขอให้เรียกเข้ามาแทนที่จำเลย หรือกรณีที่จำเลยไม่มีทรัพย์มรดกโจทก์จะถอนอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งว่า "อนุญาตถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์2542" คำสั่งดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 42 แต่เป็นดุลพินิจที่จะสั่งได้เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยรวดเร็ว โจทก์มีหน้าที่ต้องดำเนินการ การที่โจทก์ไม่ดำเนินการจึงถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามมาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และตามมาตรา 132(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8391/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยต่อคำสั่งให้นำค่าธรรมเนียมมาวางศาล ถือเป็นการทิ้งอุทธรณ์ตามกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นมีหมายนัดถึงจำเลยให้นำค่าธรรมเนียมที่จะชดใช้ให้แก่โจทก์มาวางต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหมาย หากไม่ยื่นภายในกำหนดให้ถือว่าไม่ติดใจที่จะวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมให้กับทางฝ่ายโจทก์ และมิได้ระบุว่าหากไม่นำเงินมาวางถือว่าทิ้งอุทธรณ์ก็ตาม แต่ผลตามกฎหมายของการที่จำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลถือว่าเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ประกอบด้วยมาตรา 246 จึงมีผลให้ถือว่าจำเลยทิ้งอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องคดีเนื่องจากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลและเพิกเฉยต่อการดำเนินคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ประทับฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยไว้พิจารณาและมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกจำเลยมาให้การในวันเดียวกันกับวันนัดสืบพยานโจทก์โดยกำหนดให้โจทก์นำส่งหมายภายใน 7 วัน หากไม่มีผู้รับหมายเรียกโดยชอบให้ปิดหมาย โจทก์ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาลแล้ว เมื่อนับตั้งแต่วันฟังคำสั่งศาลชั้นต้น จนถึงวันที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีโจทก์จากสารบบความ เป็นเวลานานถึง 48 วัน แสดงว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบ จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 15 ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา174 (2)
โจทก์ปล่อยปละละเลยไม่สนใจที่จะปฏิบัติตามคำสั่งศาลจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี โจทก์จึงมายื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นทบทวนคำสั่งจำหน่ายคดี แต่คำร้องของโจทก์ดังกล่าวก็หาได้แสดงเหตุอันสมควรให้เห็นว่า กรณีมีพฤติการณ์พิเศษหรือเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยอย่างใดที่ทำให้โจทก์ไม่สามารถดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด กลับอ้างแต่เพียงความพลั้งเผลอหรือหลงลืมของโจทก์เท่านั้น ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์จากสารบบความจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7600/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องจากความเพิกเฉยต่อคำสั่งศาล และขอบเขตการจำหน่ายคดี
ในการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ในครั้งหลัง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ไม่มีหลักฐานแสดงว่าจำเลยที่ 1 ทำงานอยู่ ณ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขลำนารายณ์ ให้ยกคำร้อง และให้โจทก์แถลงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องโดยศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวในวันที่โจทก์ยื่นคำร้องและท้ายคำร้องของโจทก์มีหมายเหตุว่า "ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" จึงต้องถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวในวันยื่นคำร้องแล้ว ไม่จำเป็นต้องแจ้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้โจทก์ทราบอีกโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องแถลงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดเมื่อโจทก์ไม่แถลงภายในกำหนดเวลา กรณีต้องถือว่าโจทก์ เพิกเฉย ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตาม มาตรา 132(1) แต่ตามมาตรา 132(1) นี้ไม่ได้ บังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ เหตุคดีนี้ที่ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง เป็นเพราะโจทก์เพิกเฉยไม่แถลงเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1ศาลจึงควรจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ที่โจทก์ไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลเท่านั้น ไม่สมควรจำหน่ายทั้งคดีออกจากสารบบความทั้งโจทก์ได้ดำเนินการนำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว และคดีของจำเลยที่ 1 ได้ยุติไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องอุทธรณ์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1กรณีมีเหตุสมควรไม่จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2 โดยให้โจทก์ ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับทราบคำสั่งศาลและการทิ้งอุทธรณ์: ผลของการเพิกเฉยต่อข้อกำหนดศาล
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยและให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ โดยกำหนดให้มาทราบคำสั่งของศาลดังกล่าวในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 ถ้าไม่มาถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อทราบข้อกำหนดและวันนัดดังกล่าวไว้ ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นขั้นตอนการปฏิบัติของศาลในการกำหนดวิธีการรับทราบคำสั่งของศาลมีผลเป็นคำสั่งของศาล หาได้เป็นเพียงการคาดหมายของเจ้าพนักงานศาลว่าศาลจะมีคำสั่งเมื่อใดไม่และเมื่อการรับทราบข้อกำหนดของศาลที่ให้มาทราบคำสั่งศาลในวันที่ 20 กุมภาพันธ์2540 เป็นกิจที่ผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยได้รับมอบมาดำเนินการแทน และการทราบข้อกำหนดดังกล่าวของศาลโดยผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยย่อมมีผลเป็นการรับทราบของทนายจำเลยแล้ว จึงถือได้ว่าทนายจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยตลอดจนคำสั่งที่ให้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 ตามที่กำหนด ดังนี้ เมื่อจำเลยเพิกเฉยมิได้มีการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในเวลากำหนดจึงต้องถือว่าจำเลยทิ้งอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: การนับระยะเวลาที่ถูกต้อง และการเพิกเฉยเป็นเหตุผลไม่อนุญาตขยายเวลา
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2538 จะครบกำหนดอุทธรณ์ 1 เดือน ในวันที่ 20 สิงหาคม 2538 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่ 1 อ้างว่าทนายโจทก์ยื่นคำแถลงขอคัดเอกสารต่าง ๆ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2538 แต่ยังไม่ได้รับเอกสารที่ขอคัด แสดงว่าโจทก์ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปนานถึง 27 วัน จึงเพิ่งจะมาขอคัดเอกสาร และเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่ 1 ออกไป 15 วันแล้ว โจทก์น่าจะใช้ประโยชน์จากระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้นั้นดำเนินการคัดเอกสารต่าง ๆ ให้เรียบร้อยเสียแต่เนิ่น ๆ ตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่ 2 โจทก์อ้างว่าเพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นในวันที่ 5 กันยายน 2538 ซึ่งเป็นวันยื่นคำร้องแสดงว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลามาแต่ต้นรวมเป็นเวลา 42 วัน การที่โจทก์เพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นในวันยื่นคำร้องจึงเป็นผลเนื่องมาจากการเพิกเฉยของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9538/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาอุทธรณ์ล่าช้าและการเพิกเฉยคดี: ศาลฎีกาพิจารณาว่าโจทก์มิได้ทิ้งอุทธรณ์
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2537 ทนายโจทก์มอบฉันทะให้ อ.เสมียนทนายนำอุทธรณ์ของโจทก์มายื่นต่อศาลชั้นต้น และให้ทำคำแถลง ชำระค่าธรรมเนียมและรับทราบคำสั่งศาลแทน เจ้าหน้าที่งานอุทธรณ์ฎีกาได้ใช้ตรายางประทับไว้ที่ริมซ้ายของอุทธรณ์ว่า ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 12 ตุลาคม 2537ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว และ อ.เสมียนทนายลงชื่อไว้แล้ว ต่อมาวันที่6 ตุลาคม 2537 อ.ได้ไปวางเงินเป็นค่านำหมายคำฟ้องอุทธรณ์แก่จำเลยทั้งสามไว้ล่วงหน้า เจ้าหน้าที่ผู้รับเงินได้ลงลายมือชื่อรับเงินและประทับตรายางวันเดือนปีไว้ตามเอกสารท้ายฎีกาของโจทก์ การที่เจ้าหน้าที่รายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2537 ว่า ศาลได้ส่งหมายนัดมาเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม2537 บัดนี้พ้นกำหนดระยะเวลาในการนำหมายแล้ว โจทก์หรือผู้แทนโจทก์ไม่มาเสียค่าธรรมเนียมในการส่งนั้น ซึ่งไม่ตรงกับความจริง คงเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ไม่ได้ตรวจสอบให้รอบคอบเกี่ยวกับผู้แทนโจทก์ได้เสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายนัดนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ทั้งสามไว้ล่วงหน้าแล้วก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ถึง 1 วัน ดังนี้ จะถือว่าโจทก์มิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งสามตามคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันจะถือว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาหาได้ไม่ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งสามแล้วดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9538/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาอุทธรณ์และการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดี ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
เมื่อวันที่5ตุลาคม2537ทนายโจทก์มอบฉันทะให้อ.เสมียนทนายนำอุทธรณ์ของโจทก์มายื่นต่อศาลชั้นต้นและให้ทำคำแถลงชำระค่าธรรมเนียมและรับทราบคำสั่งศาลแทนเจ้าหน้าที่งานอุทธรณ์ฎีกาได้ใช้ตรายางประทับไว้ที่ริมซ้ายของอุทธรณ์ว่าให้มาทราบคำสั่งในวันที่12ตุลาคม2537ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้วและอ.เสมียนทนายลงชื่อไว้แล้วต่อมาวันที่6ตุลาคม2537อ.ได้ไปวางเงินเป็นค่านำหมายคำฟ้องอุทธรณ์แก่จำเลยทั้งสามไว้ล่วงหน้าเจ้าหน้าที่ผู้รับเงินได้ลงลายมือชื่อรับเงินและประทับตรายางวันเดือนปีไว้ตามเอกสารท้ายฎีกาของโจทก์การที่เจ้าหน้าที่รายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่15พฤศจิกายน2537ว่าศาลได้ส่งหมายนัดมาเมื่อวันที่17ตุลาคม2537บัดนี้พ้นกำหนดระยะเวลาในการนำหมายแล้วโจทก์หรือผู้แทนโจทก์ไม่มาเสียค่าธรรมเนียมในการส่งนั้นซึ่งไม่ตรงกับความจริงคงเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ไม่ได้ตรวจสอบให้รอบคอบเกี่ยวกับผู้แทนโจทก์ได้เสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายนัดนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ทั้งสามไว้ล่วงหน้าแล้วก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ถึง1วันดังนี้จะถือว่าโจทก์มิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งสามตามคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันจะถือว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาหาได้ไม่ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งสามแล้วดำเนินการต่อไป
of 8