พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการกู้ยืมเงินเริ่มนับจากวันผิดสัญญาชำระดอกเบี้ย ไม่ใช่วันครบกำหนดชำระเงิน
การกู้ยืมเงินมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม(มาตรา193/30)และตามมาตรา169เดิม(มาตรา193/32)บัญญัติว่าอายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปเมื่อตามสัญญาข้อ4จำเลยที่1จะต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนแรกภายในวันที่4มกราคม2524การที่จำเลยที่1ไม่ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เลยจึงเป็นการผิดสัญญาซึ่งสัญญาข้อ6ระบุว่าโจทก์ฟ้องเรียกเงินต้นและดอกเบี้ยได้ถือได้ว่าระยะเวลาซึ่งโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันที่4มกราคม2524ซึ่งนับถึงวันฟ้องไม่เกิน10ปีคดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาซื้อขายที่ดิน เริ่มนับจากวันชำระเงินบางส่วน แม้ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์
สัญญาซื้อขายที่ดินมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม การที่โจทก์ชำระเงินให้จำเลยในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2518 แล้วโจทก์จำเลยตกลงกันว่าส่วนที่เหลือจะชำระในวันโอน โดยมิได้กำหนดเวลาวันโอนไว้นั้น ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ซึ่งโจทก์อาจบังคับใช้สิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2518 เป็นต้นไปอันเป็นวันเริ่มนับอายุความตามมาตรา 169 เดิม มิใช่เริ่มนับแต่วันที่ผิดนัดจนกว่าจะมีการบอกกล่าวก่อน เมื่อนับถึงวันฟ้องเกิน 10 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาบังคับคดี 10 ปี เริ่มนับจากวันที่เริ่มบังคับคดีได้จริงตามคำพิพากษาตามยอม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินวิธีการบังคับคดีตามขั้นตอนให้ครบถ้วนภายในกำหนด10 ปี คือต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีก่อน ขั้นต่อไปต้องแจ้งให้เจ้าพนักงาน-บังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้ว จากนั้นต้องแถลงต่อเจ้าพนักงาน-บังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา บทบัญญัตินี้ไม่ได้หมายความว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพียงแต่ขอหมายบังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้วเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะดำเนินวิธีบบังคับอย่างไรต่อไปเมื่อพ้นกำหนดเวลา 10 ปีแล้วก็ได้ เพราะจะเป็นผลให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องถูกบังคับคดีโดยไม่มีกำหนดเวลา และกำหนดเวลา 10 ปีตามมาตรานี้ ตามปกติย่อมต้องนับตั้งแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไป มิใช่นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่จำเลยคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลย แต่โดยที่หนี้ตามคำพิพากษา-ศาลชั้นต้นที่มีคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติซึ่งโจทก์ร้องขอให้บังคับคดีนี้นั้น จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมนความ และศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยผ่อนชำระเป็นงวดตามจำนวนเงินที่ระบุและภายในระยะเวลาที่กำหนดเป็นคราว ๆ โดยกำหนดเริ่มชำระงวดแรกในวันที่ 30 เมษายน 2524 หากผิดนัดยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันทีเช่นนี้ หากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมเลย กำหนดเวลา10 ปี ที่โจทก์จะต้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม2524 อันเป็นวันแรกที่โจทก์อาจขอให้บังคัคบคดีแก่จำเลยได้เป็นต้นไป โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอให้ทำการยึดทรัพย์ของจำเลย เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2534จึงล่วงเลยเวลาที่บังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7465/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความเสียหายจากการยึดทรัพย์โดยมิชอบ เริ่มนับแต่วันที่เกิดเหตุ
การที่จำเลยทั้งสองใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12ประกาศยึดทรัพย์ของโจทก์โดยผิดกฎหมาย เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2532 ทำให้โจทก์ไม่สามารถจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้จะซื้อได้ ทำให้เกิดความเสียหายตั้งแต่วันนั้น หาใช่โจทก์เพิ่งจะได้รับความเสียหายในวันที่โจทก์อ้างว่าได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อไม่ จึงเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม2532
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5328/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อทวงถาม: กำหนดอายุความเริ่มนับจากวันที่ทวงถาม ไม่ใช่จากวันที่ออกตั๋ว
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 สัญญาจะใช้เงินจำนวน 8,000,000 บาท แก่โจทก์เมื่อทวงถาม จึงเห็นได้ว่าวันถึงกำหนดใช้เงินของตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทหมายถึงวันที่โจทก์ทวงถามให้ใช้เงินตามความในตอนต้นของมาตรา 913(3) เท่านั้น ไม่มีทางที่จะแปลว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อได้เห็นแต่อย่างใด ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถามมีความหมายและผลบังคับต่างกับตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อได้เห็น ฉะนั้นตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งระบุให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม จึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 944 ประกอบด้วยมาตรา 985 วรรคแรก ที่จะต้องนำตั๋วยื่นเพื่อให้ใช้เงินภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋ว ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถามวันที่โจทก์ทวงถามคือวันที่ 4 กันยายน 2528 จึงเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงิน เมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความเป็นวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2531 ซึ่งเป็นวันหยุดก็ต้องนับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 161(เดิม) โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 5 กันยายน 2531 จึงยังไม่พ้นเวลาสามปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม มาตรา 1001 จำเลยฎีกาว่าตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทไม่มีมูลหนี้ แต่จำเลยทั้งสองให้การโดยมิได้ยกประเด็นข้อนี้เป็นข้อต่อสู้ ศาลชั้นต้นจึงไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัย ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อต่อสู้ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีมูลละเมิด: เริ่มนับจากวันที่รู้ถึงการละเมิด หรือวันที่ทำละเมิด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เดิม (มาตรา 193/12)ที่กำหนดให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปนั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการเริ่มนับอายุความสำหรับการบังคับสิทธิเรียกร้องทั่ว ๆ ไป แต่การเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด มาตรา 448 วรรคแรก บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้นเป็นอันขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด เมื่อคดีได้ความว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง เรียกเก็บค่าธรรมเนียมล่วงเวลาไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย ทำให้โจทก์ขาดรายได้ เหตุเกิดตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน2521 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2523 ดังนั้นมูลละเมิดคดีนี้ย่อมเกิดขึ้นอย่างช้าที่สุดวันที่ 30 เมษายน 2523 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยในวันที่15 เมษายน 2534 ซึ่งล่วงพ้นสิบปี นับแต่วันทำละเมิดแล้ว คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก จำเลยยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นเป็นข้อต่อสู้ฟ้องโจทก์ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายนี้ได้ตามที่เห็นสมควรตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24โดยไม่จำเป็นต้องให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2243/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากละเมิด: เริ่มนับเมื่อใดเมื่อทราบตัวผู้ต้องรับผิด
เรือของกองทัพเรือโจทก์จมลง ต่อมาโจทก์กู้เรือขึ้นมาซ่อมพร้อมทั้งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดทางแพ่ง คณะกรรมการสอบสวนได้รายงานผู้บัญชาการทหารเรือตามบันทึกลงวันที่ 25พฤษภาคม 2524 โจทก์ได้รับบันทึกเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2524เจ้ากรมสารบัญทหารเรือได้บันทึกเสนอต่อโจทก์ว่าการสอบสวนยังไม่สมบูรณ์ โจทก์ได้สั่งสอบสวนเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม2524 จึงฟังได้ว่ากองทัพเรือได้ทราบถึงผู้ที่ต้องรับผิดทางแพ่งแล้วคือจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7 สำหรับจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 แม้คณะกรรมการจะได้มีความเห็นว่าไม่ต้องรับผิดในทางแพ่งแต่การที่จะวินิจฉัยความรับผิดของผู้ใดนั้นเป็นเรื่องที่ศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดในที่สุด รายงานของคณะกรรมการสอบสวนที่โจทก์ตั้งขึ้นครั้งแรกจึงได้แสดงให้รู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่งแล้วว่าคือผู้ใดบ้าง คณะกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดทางแพ่งได้สอบสวนเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2524 จึงฟังได้ว่าโจทก์ทราบถึงตัวผู้ต้องรับผิดทางแพ่งแล้วก่อนวันที่ 15 ธันวาคม 2524อายุความก็ต้องเริ่มนับแต่วันนั้นเป็นต้นไป โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2527 คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดจากการกระทำของลูกจ้าง: เริ่มนับแต่วันเกิดเหตุ หรือวันที่จ่ายค่าเสียหาย?
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่ง เป็นลูกจ้างกระทำละเมิดในทางการที่จ้างเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์และของบุคคลอื่นเสียหาย สำหรับค่าเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์อาจเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ได้นับแต่วันเกิดเหตุ ซึ่งเป็นวันที่ก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงนับเริ่มตั้งแต่นั้น มิใช่นับเริ่มแต่ วันที่โจทก์ใช้ ค่าซ่อมรถของโจทก์ แม้ต่อมาภายหลังจำเลยจะได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ยอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องนั้นอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง นับแต่วันทำหนังสือรับสภาพหนี้ จนถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี แล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดอายุความ ส่วนเงินที่โจทก์ใช้ให้แก่บริษัทประกันภัยเป็นค่าเสียหายจากการที่จำเลยขับรถชนรถที่บริษัทดังกล่าวรับประกันภัยเสียหาย ซึ่งโจทก์ผู้เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยผู้เป็นลูกจ้างในผลแห่งละเมิดที่จำเลยได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น โจทก์ชอบที่จะได้รับชดใช้จากจำเลยเมื่อโจทก์ได้ใช้ เงินให้แก่บริษัทดังกล่าวไป ดังนั้นอายุความในกรณีนี้ จึงต้องเริ่มนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ เงินค่าเสียหายให้แก่บริษัทประกันภัยอันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ เมื่อโจทก์ฟ้องยังไม่พ้นกำหนด10 ปี ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดจากอุบัติเหตุทางจราจร: เริ่มนับแต่วันเกิดเหตุหรือวันที่ชำระค่าเสียหาย
กำหนดอายุความตามกฎหมายนั้น ต้องเริ่มนับแต่ขณะอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป เมื่อข้อเท็จจริงคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์กระทำละเมิดในทางการที่จ้างเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์และของบุคคลอื่นเสียหาย อันเป็นสิทธิเรียกร้องจากการที่ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย และที่โจทก์ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ดังนี้ ค่าเสียหายในส่วนค่าซ่อมรถของโจทก์เองที่โจทก์ต้องจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างซ่อมเป็นค่าเสียหายที่โจทก์อาจเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ได้นับแต่วันเกิดเหตุ ซึ่งเป็นวันที่ก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงนับเริ่มแต่นั้นมิใช่เริ่มแต่วันที่โจทก์ใช้ค่าซ่อมรถให้ผู้รับจ้างซ่อม ฉะนั้นแม้ต่อมาภายหลังจำเลยจะได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ตาม แต่นับตั้งแต่วันทำหนังสือรับสภาพหนี้ถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์ส่วนนี้จึงขาดอายุความ สำหรับค่าเสียหายในส่วนที่โจทก์ในฐานนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลย เมื่อโจทก์ได้ชดใช้ให้แก่บุคคลอื่นที่ได้รับความเสียหายจากการทำละเมิดของจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างไปแล้ว โจทก์ก็ชอบจะให้รับการชดใช้จากจำเลยได้นับแต่วันที่โจทก์ชดใช้ให้บุคคลอื่น ดังนั้น อายุความกรณีนี้จึงต้องเริ่มนับแต่วันดังกล่าว อันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี ฟ้องโจทก์ส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4544/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาค้ำประกัน เริ่มนับจากวันที่เกิดละเมิด ไม่ใช่วันทำสัญญา
กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความของสัญญาค้ำประกันไว้จึงต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 โดยเริ่มนับตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 169 ซึ่งได้แก่วันเวลาแรกที่จำเลยที่ 1กระทำละเมิดต่อโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย หาใช่นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันไม่