คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เรียกคืน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126-5127/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาในสัญญาจ้าง กรณีเรียกคืนเงินประกันก่อนกำหนด
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดว่าจำเลยจะคืนเงินประกันให้หลังจากลูกจ้างพ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างภายใน30วันเป็นเงื่อนเวลาซึ่งเป็นประโยชน์แก่จำเลยในการปฏิเสธที่จะคืนเงินประกันให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างได้เมื่อโจทก์ทั้งสองเรียกเงินคืนก่อนกำหนดแต่จำเลยหาได้ยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาขึ้นปฏิเสธไม่กลับปฏิเสธว่าโจทก์ทั้งสองก่อความเสียหายให้แก่จำเลยถือว่าจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา192วรรคท้ายและการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานี้ไม่จำต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรจำเลยจึงไม่อาจยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลามาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ทั้งสองได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2127/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นผลระงับสิทธิเรียกร้องเดิม โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกคืนการให้
ภายหลังจากโจทก์ยกที่ดินให้แก่จำเลยแล้ว ต่อมาโจทก์จำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับที่ดินและทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้แก่จำเลยดังกล่าวรวมทั้งที่ดินพิพาทต่อหน้า พ.ผู้ใหญ่บ้านมีใจความว่า ที่ดินและทรัพย์สินที่ยกให้แก่จำเลยและเป็นชื่อของจำเลยแล้วนั้น ที่ดินที่เป็นที่สำหรับเพาะปลูก 1 แปลง จำเลยยอมยกให้ศ.และค. ส่วนที่ดินสำหรับอยู่อาศัยและสำหรับเพราะปลูกอีกอย่างละแปลงรวม2 แปลง จำเลยยอมโอนคืนให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ยอมยกยุ้งข้าว1 หลังให้แก่จำเลย ซึ่งบันทึกดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาที่โจทก์และจำเลยตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นเกี่ยวกับที่ดินและทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้แก่จำเลยดังกล่าวนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850,851 การเรียกร้องที่โจทก์จำเลยได้ ยอมสละนั้นจึงระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ตามมาตรา 852 โจทก์จำเลยจึงไม่มีความผูกพันต่อกันตามสัญญาให้ที่โจทก์ยกที่ดินและทรัพย์สินรวมทั้งที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยอีกต่อไป เมื่อไม่มีการให้ที่จะเรียกถอนคืนการให้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกถอนคืนการให้ที่ดินพิพาทดังกล่าวจากจำเลย และเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบมาตรา 246,247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินชอบด้วยกฎหมาย แม้โฉนดออกชื่อบุคคลอื่น เจ้าของกรรมสิทธิ์แท้จริงมีสิทธิเรียกคืนได้
ฉ. ไม่ใช่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดที่ดินพิพาทแม้ทางราชการได้ออกโฉนดที่ดินพิพาทให้ ฉ. ฉ. ก็หาได้เป็นเจ้าของที่ดินตามโฉนดฉบับดังกล่าวไม่จึงไม่มีสิทธิที่จะยึดถือโฉนดฉบับดังกล่าวไว้ได้เมื่อ ฉ. ส่งมอบโฉนดฉบับพิพาทให้แก่จำเลยและยึดถือไว้เป็นประกันเงินกู้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงย่อมมีอำนาจติดตามเอาโฉนดซึ่งเป็นเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินของโจทก์กลับคืนมาได้จำเลยไม่อาจอ้างว่ามีสิทธิยึดหน่วงโฉนดฉบับพิพาทไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้เพราะหนี้เงินกู้มิได้เป็นหนี้ที่เป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวกับโฉนดฉบับพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา241วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1407/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สิน: เจ้าของกรรมสิทธิ์/ผู้ครอบครอง ย่อมมีสิทธิเรียกคืนจากผู้ไม่มีสิทธิ
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทรายการที่1ถึงที่4จึงมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยได้ ทรัพย์พิพาทรายการที่5ไม่ใช่ทรัพย์ของโจทก์แต่เป็นทรัพย์ของผู้อื่นที่โจทก์ขอยืมมาแล้วให้ ท.ยืมไปอีกต่อหนึ่งดังนี้ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงสิทธิครอบครองในทรัพย์พิพาทรายการนี้เมื่อทรัพย์พิพาทรายการนี้ไปตกอยู่กับจำเลยโดยจำเลยไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของโจทก์ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในทรัพย์รายการนี้ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกเป็นโมฆะ ผู้รับซื้อฝากไม่มีสิทธิในทรัพย์สิน โจทก์มีสิทธิเรียกคืนได้
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์ทั้งสามไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเป็นการฟ้องบุพการีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562 ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุเฉพาะตัวระหว่างโจทก์ทั้งสามกับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกด้วยไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ปัญหาเรื่องโจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 หรือไม่ จึงเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ไม่อาจยกเรื่องห้ามฟ้องจำเลยที่ 1 มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ทั้งสามได้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ห. ย่อมเป็นตัวแทนของบรรดาทายาทในการจัดการมรดก มีหน้าที่ต้องดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรมและจะทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากพินัยกรรม และเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกแต่กลับโอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนเองในฐานะส่วนตัว จึงเป็นการทำนิติกรรมให้ตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกอันเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722การโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิม กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงยังคงเป็นกองมรดกของ ห.อยู่ตามเดิม ส่วนบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินย่อมตกได้แก่โจทก์ทั้งสาม ไม่ตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ได้รับซื้อฝากที่ดินพิพาทพร้อมบ้านไว้จากจำเลยที่ 1ย่อมไม่เกิดผลให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิตามนิติกรรมขายฝาก ทั้งเป็นการกระทำที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสาม โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้องเรียกที่ดินพิพาทพร้อมบ้านคืนจากจำเลยที่ 2 ได้ เพราะเป็นการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และจะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความลาภมิควรได้: การเบิกจ่ายเงินสมนาคุณผิดระเบียบและสิทธิในการเรียกคืน
จำเลยให้การว่า โจทก์ทราบข้อทักท้วงของกระทรวงการคลังแล้วไม่ฟ้องภายใน 1 ปี คดีจึงขาดอายุความ เป็นคำให้การที่ชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง แล้ว ส่วนอายุความที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้จะต้องด้วยบทกฎหมายลักษณะใด เป็นหน้าที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยเอง โจทก์เบิกเงินจากคลังจ่ายสมนาคุณแก่จำเลยโดยผิดระเบียบราชการเงินจำนวนดังกล่าวโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายให้จำเลย และจำเลยไม่มีสิทธิรับเงินจำนวนนี้ การที่จำเลยรับเงินไปเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบเงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นลาภมิควรได้ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด1 ปี นับแต่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประพฤติเนรคุณและการหมิ่นประมาทบุพการีเป็นเหตุให้เรียกคืนทรัพย์สินได้
จำเลยด่าว่าโจทก์ซึ่งเป็นมารดา "มึงจะหนีไปไหนก็ไปกูจะไม่เลี้ยงมึงแล้ว ทรัพย์สินที่อยากได้ก็มาฟ้องเอาเพราะยกให้แล้วถ้ากลับมาอยู่บ้านจะเอายาเบื่อให้กิน" เนื่องจากโจทก์ได้ยกที่ดินรวม 4 แปลง และบ้าน 1 หลังให้แก่จำเลยแล้วมาขอแบ่งที่ดินให้แก่พี่คนอื่นบ้าง เป็นการใช้คำพูดด่าว่าโจทก์ ซึ่งเป็นบุพการีด้วยถ้อยคำที่รุนแรง ในลักษณะขับไล่ไสส่ง ไม่ต้องการเลี้ยงดูต่อไปโดยขู่เข็ญว่าจะให้ยาเบื่อกินถ้ากลับมาอีก ย่อมถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ผู้ให้อย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2) แล้ว โจทก์ย่อมเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้ ศาลชั้นต้นเห็นว่าถ้อยคำดังกล่าวเป็นเพียงการกล่าววาจาหยาบคายเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์พิพากษายกฟ้องจำเลยแก้อุทธรณ์ของโจทก์ ยอมรับว่าได้กล่าวถ้อยคำดังกล่าวต่อโจทก์จริง แต่กล่าวด้วยความโกรธและว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นชอบแล้ว ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยได้ด่าว่าโจทก์ด้วยถ้อยคำดังกล่าวข้างต้น จำเลยจะกลับมาฎีกาให้แย้งข้อเท็จจริงดังกล่าวอีกไม่ได้ เพราะเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4589/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อมาโดยสุจริต แม้จะถูกยึดเนื่องจากความผิดในการนำเข้า โจทก์มีสิทธิเรียกคืนได้
โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริตจากโจทก์ร่วมผู้เป็นพ่อค้าขายรถยนต์ โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท และมีสิทธิติดตามเอาคืนตามอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะมีอำนาจยึดรถยนต์พิพาทเพราะร.นำเข้าโดยสำแดงเท็จและหลีกเลี่ยงกฎหมายและข้อจำกัดอันเกี่ยวแก่การนำเข้า อันพึงยึดและริบตาม พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 24,27,99 แต่ขณะโจทก์รับโอนมาศาลยังมิได้พิพากษาให้ริบหรือตกเป็นของแผ่นดิน โดยโจทก์ขอรถยนต์พิพาทคืนภายในกำหนด30 วัน นับแต่ถูกยึด จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4356/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรที่มิชอบและการฟ้องเรียกคืนภาษีอากร จำเป็นต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน
โจทก์นำเข้าสินค้าเหล็กแผ่นเที่ยวแรกและเที่ยวที่สองเรียกว่าคอมเบิลเพลทส่วนเที่ยวที่สามเรียกว่ารีรอยเลเบิล สต๊อก เพลทเป็นสินค้าที่มีลักษณะแตกต่างกันจึงควรมีราคาไม่เท่ากัน ดังนั้นราคาแท้จริงในท้องตลาดจึงเป็นราคาที่โจทก์ได้สำแดงไว้แต่แรกการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดให้มีราคาเท่ากันจึงมิชอบ การที่โจทก์แก้ราคาสินค้าและจำนวนเงินภาษีอากรในใบขนสินค้ากับใบกำกับสินค้าให้สูงขึ้นตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยแจ้งให้โจทก์แก้ แต่โจทก์ได้สงวนสิทธิ์โต้แย้งราคาสินค้าในส่วนที่เพิ่มขึ้นไว้ แสดงว่าโจทก์มิได้แก้ราคาสินค้าและจำนวนเงินภาษีอากรด้วยความสมัครใจ การยอมแก้ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการแก้ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินแล้ว เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในส่วนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเสียก่อน จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรและอำนาจฟ้องเรียกคืนภาษีเกิน การประเมินราคาต้องใช้ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
การดำเนินการค้าแบบเดียวกันนี้ผู้ขายที่ประเทศญี่ปุ่นได้ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ม. เครือเดียวกับบริษัทโจทก์เป็นผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทยมาประมาณ 20 ปีแล้ว โจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่า สินค้าพิพาทมีราคาตามที่โจทก์สำแดงไว้แต่แรก แทนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะนำราคาสินค้าที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ม. เคยสั่งเข้ามาจำหน่ายตั้งแต่ปี2511 ตลอดมาจนถึงปัจจุบันมาเปรียบเทียบราคาเพื่อหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาด กลับประเมินราคาสินค้าพิพาทโดยถือเกณฑ์ให้แตกต่างไม่เกินร้อยละ 10 ของราคาสินค้ายี่ห้ออื่น ตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 28/2527ทั้งที่ราคาที่นำมาเปรียบเทียบนั้นมิใช่ชนิดเดียวกัน คุณภาพอาจแตกต่างกันเป็นการประเมินราคาสินค้าที่ไม่ชอบด้วยเหตุผล ไม่สอดคล้องกับคำจำกัด-ความว่า ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 2
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จำเลยก็ยกขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ได้
เมื่อจำเลยได้รับมอบหมายจากกรมสรรพากร ให้เรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล การที่จำเลยเรียกเก็บเกินจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยเรียกส่วนที่เก็บเกินคืนได้โดยหาต้องฟ้องกรมสรรพากรด้วยไม่
สำหรับสินค้าที่โจทก์เป็นผู้ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุง-เทศบาลเกินเองโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยมิได้ประเมิน หาใช่เป็นการฟ้องเรียกคืนเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินโดยมิชอบไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30
of 9