พบผลลัพธ์ทั้งหมด 90 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7350/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัยทางทะเล: ผลของการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการตรวจสภาพเรือและการรับรองของผู้เอาประกันภัย
สัญญาประกันภัยทางทะเลที่ทำขึ้นนั้น เมื่อประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายทะเล ทั้งไม่มีจารีตประเพณี จึงต้องวินิจฉัยคดีตามหลักกฎหมายทั่วไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4เมื่อกรมธรรม์ทำเป็นภาษาอังกฤษ จึงควรถือกฎหมายของอังกฤษเป็นกฎหมายทั่วไป ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความให้ผู้เอาประกันภัยนำเรือไปตรวจสภาพ และปฏิบัติตามคำแนะนำให้ซ่อมแซมเรือ ตามกฎหมายอังกฤษข้อความดังกล่าวเป็นคำรับรองของผู้เอาประกันภัย เป็นคำมั่นสัญญาที่ผู้เอาประกันต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด และไม่จำต้องมีข้อความต่อท้ายว่า ถ้าผู้เอาประกันภัยไม่ปฏิบัติแล้วผู้รับประกันภัยจะหลุดพ้นความรับผิด ผู้เอาประกันภัยมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยก่อนนำเรือออกทะเล เมื่อเรืออับปางที่ต่างประเทศ ผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดการที่บริษัทรับประกันภัยต่อได้จ่ายเงินให้จำเลยในรูปสินไหมกรุณา ซึ่งเป็นเงินที่ผู้รับประกันภัยจ่ายให้แม้จะมีความเห็นว่าผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบตามเงื่อนไขในกรมธรรม์โจทก์ในฐานะผู้รับจำนองจึงไม่อาจเข้ารับช่วงทรัพย์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2875/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์เรือและของกลาง: สิทธิการขอคืนของกลางของผู้เสียหายจากการกระทำผิดของผู้อื่น
ใบสำคัญรับรองการตรวจเรือ ใบอนุญาตใช้เรือ อาชญาบัตรให้ใช้อวนทำการประมงและใบทะเบียนเรือไทยของกรมเจ้าท่าซึ่งมีชื่อผู้ร้องเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ เป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดทำขึ้น โจทก์มิได้นำสืบปฏิเสธความเท็จจริงและถูกต้อง ต้องสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เรือพร้อมเครื่องยนต์และอวนของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4192/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดในความเสียหายต่อเรือ และการกำหนดค่าเสียหายจากละเมิด
โจทก์ที่ 1 ขายเรือต่อให้โจทก์ที่ 2 โดยโจทก์ที่ 2 ผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้ว แต่โจทก์ที่ 1 ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ที่ 2จำเลยที่ 2 ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ควบคุมเรือบรรทุกน้ำมันของจำเลยที่ 1 โดยประมาทชนเรือของโจทก์ที่ 1 เสียหายจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ และถูกคนร้ายลากจูงไป การที่โจทก์ที่ 1 จะต้องไปหาซื้อเรือต่อลำอื่นที่มีสภาพใกล้เคียงกับเรือต่อลำเกิดเหตุมาจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ที่ 2 ในราคาที่สูงกว่าราคาค่าเสียหายที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้แก่โจทก์ที่ 1 นั้น เป็นเรื่องที่ไกลกว่าเหตุ นอกเหนือความรับผิดของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายส่วนนั้น
ค่าขาดประโยชน์จากการที่โจทก์ที่ 2 ไม่ได้ใช้เรือต่อลำเกิดเหตุเป็นการเรียกค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 438 วรรคแรก อย่างหนึ่งดังนั้น ศาลชอบที่จะใช้ดุลพินิจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 2 ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
ค่าขาดประโยชน์จากการที่โจทก์ที่ 2 ไม่ได้ใช้เรือต่อลำเกิดเหตุเป็นการเรียกค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 438 วรรคแรก อย่างหนึ่งดังนั้น ศาลชอบที่จะใช้ดุลพินิจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 2 ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4078/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างในการควบคุมเรือ กู้เรือ และอายุความ
จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ควบคุมดูแลเรือ ว. ทองทะเล 4 ที่เกิดเหตุของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 เป็นผู้เช่าบ้านให้จำเลยที่ 1พักรวมกับคนงานอื่น ๆ จัดรถยนต์รับส่งระหว่างบ้านพักกับสะพานที่เกิดเหตุที่ถูกเรือดังกล่าวชนเพื่อให้จำเลยที่ 1 กับคนงานอื่น ๆลงเรือดังกล่าวไปทำงานกู้ตัดเหล็กซากเรือใหญ่ที่อับปางซึ่งเป็นกิจการของจำเลยที่ 4 ทุกวัน และเป็นผู้เปิดบัญชีธนาคารให้จำเลยที่ 1 เบิกเป็นค่าใช้จ่ายในการทำงานดังกล่าว ทั้งภริยาจำเลยที่ 1ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 4 ให้เป็นผู้ควบคุมการเบิกจ่ายค่าแรงและจัดการเรื่องอาหารทุกมื้อให้แก่คนงานทั้งหมดของจำเลยที่ 4 และได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ไปติดต่อขอรับเรือของจำเลยที่ 4 คืนจากเจ้าพนักงานตำรวจหลังเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยังได้ใช้เรือของจำเลยที่ 4 ที่ตนควบคุมอยู่ทำการช่วยเหลือกู้เรือชาวประมงตามพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างควบคุมเรือ ว. ทองทะเล 4กระทำกิจการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 ขณะเกิดเหตุเป็นฤดูมรสุม จำเลยที่ 1 มีอาชีพกู้เรือมานาน20 ปี ย่อมรู้ดีว่าการจอดเรือ ว. ทองทะเล 4 ในบริเวณที่ไม่มีที่กำบังลมเพื่อกู้ตัดเหล็กซากเรือใหญ่ที่อับปางอาจถูกลมพายุพัดหลุดลอยได้ง่าย การจัดการป้องกันด้วยการนำเรือไปหลบหาที่กำบังพายุก็สามารถกระทำได้ทันเพราะมีประกาศเตือนทางวิทยุให้รู้ว่าจะเกิดพายุล่วงหน้าติด ๆ กันทุกชั่วโมงตั้งแต่หัวค่ำของคืนก่อนวันเกิดเหตุ เมื่อจำเลยที่ 1 อาจป้องกันไม่ให้เรือถูกพายุได้แต่ไม่จัดการป้องกัน เป็นเหตุให้เรือ ว. ทองทะเล 4 ถูกพายุพัดหลุดลอยไปชนสะพานของโจทก์ จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง เมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความคือวันที่ 23 ตุลาคม 2522 เป็นวันหยุดก็ต้องนับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2522 จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนใจตักแร่ - ความผิดฐานร่วมกันข่มขืนใจและเรือไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด
จำเลยทั้งสามนั่งเรือไปที่แพดูดดำแร่ ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลประมาณ 1 กิโลเมตร จำเลยที่ 1 ที่ 3 ขึ้นไปบนแพดูดดำแร่ จำเลยที่ 3 ซึ่งแต่งกายและแสดงตนว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีอาวุธปืนติดตัวมองเห็น ได้บอก ว.ให้ตักแร่ให้ ว. กับพวกกลัว ตักแร่ให้ 1 ถุง น้ำหนัก 20กิโลกรัม ราคาประมาณ 1,200 บาท ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้ใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายอย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ แต่ตามพฤติการณ์ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยได้อาศัยการที่จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีอาวุธปืนติดตัวประกอบกับที่เกิดเหตุอยู่ในท้องทะเล ไม่มีผู้ใดจะรู้เห็นหรือช่วยเหลือได้ทันถ้าขัดขืน เป็นการบังคับ ว. กับพวกอยู่ในทีแล้ว ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันข่มขืนใจให้ ว. ต้องตักแร่ให้ โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและเสรีภาพของ ว. กับพวก เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309วรรคสอง แล้ว สำหรับจำเลยที่ 2 มาด้วยกับจำเลยที่ 1 ที่ 3ขณะเกิดเหตุแม้จะนั่งอยู่ในเรือ แต่ก็อยู่ติดกับแพดูดดำแร่เห็นกันชัดเจน แสดงว่าแบ่งหน้าที่กันทำ เมื่อได้แร่แล้วก็กลับไปพร้อมกัน ถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 ด้วย.
เรือพร้อมเครื่องยนต์ ของกลางจำเลยทั้งสามใช้เป็นยานพาหนะไปมาเท่านั้น เป็นเรื่องใช้ยานพาหนะตามปกติไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดอันจะพึง ริบตามป.อ. มาตรา 33(1).
เรือพร้อมเครื่องยนต์ ของกลางจำเลยทั้งสามใช้เป็นยานพาหนะไปมาเท่านั้น เป็นเรื่องใช้ยานพาหนะตามปกติไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดอันจะพึง ริบตามป.อ. มาตรา 33(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3821/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างทำงานในเรือระหว่างประเทศ แต่เริ่มต้น/สิ้นสุดงานในกรุงเทพฯ ถือทำงานในประเทศไทย ต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
บริษัทโจทก์มีลูกจ้าง 70 คน ประจำสำนักงานไม่ถึง 20 คนนอกนั้น ประจำอยู่ในเรือบรรทุกสินค้า 3 ลำ รับจ้างบรรทุกสินค้าระหว่างท่าเรือในกรุงเทพมหานครและในจังหวัดสมุทรปราการกับต่างประเทศ เรือสินค้าของโจทก์จะกลับมาประเทศไทยอย่างเร็วประมาณ 1 เดือน อย่างช้าประมาณ 4 เดือนครั้งหนึ่ง และจะอยู่ในประเทศไทยไม่เกิน 7 วัน ดังนี้ แม้ว่างานและเวลาส่วนใหญ่ลูกจ้างโจทก์จะทำงานในต่างประเทศ แต่การบรรทุกสินค้าเพื่อไปส่งต่างประเทศก็ดี บรรทุกสินค้าจากต่างประเทศกลับมายังท่าเรือในเขตกรุงเทพมหานครก็ดี การเริ่มต้นงานและสิ้นสุดงานแต่ละเที่ยวเกิดในเขตกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น ถือได้ว่าลูกจ้างโจทก์ทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
ความมุ่งหมายที่กฎหมายตั้งกองทุนเงินทดแทนขึ้นมานั้นมิใช่เพื่อ หาประโยชน์แต่เพื่อคุ้มครองลูกจ้างโดยทั่วไป มิใช่เฉพาะลูกจ้างของโจทก์เท่านั้น เพื่อให้ลูกจ้างได้รับเงินทดแทนโดยมิต้องเสี่ยงกับฐานะการเงิน ของนายจ้าง กองทุนเงินทดแทนอาจต้องจ่ายเงินทดแทนจำนวนมากกว่าเงินสมทบทุนที่เรียกเก็บจากนายจ้างก็ได้ดังนั้น เมื่อกฎหมายกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตาม แม้ว่ากองทุนเงินทดแทนจะไม่มีโอกาสจ่ายค่าทดแทน ให้แก่ลูกจ้างโจทก์ในปีดังกล่าวก็ตาม
ความมุ่งหมายที่กฎหมายตั้งกองทุนเงินทดแทนขึ้นมานั้นมิใช่เพื่อ หาประโยชน์แต่เพื่อคุ้มครองลูกจ้างโดยทั่วไป มิใช่เฉพาะลูกจ้างของโจทก์เท่านั้น เพื่อให้ลูกจ้างได้รับเงินทดแทนโดยมิต้องเสี่ยงกับฐานะการเงิน ของนายจ้าง กองทุนเงินทดแทนอาจต้องจ่ายเงินทดแทนจำนวนมากกว่าเงินสมทบทุนที่เรียกเก็บจากนายจ้างก็ได้ดังนั้น เมื่อกฎหมายกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตาม แม้ว่ากองทุนเงินทดแทนจะไม่มีโอกาสจ่ายค่าทดแทน ให้แก่ลูกจ้างโจทก์ในปีดังกล่าวก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงคนครัวเรือ: ค่าจ้างต้องนำมารวมคำนวณเงินทดแทน
ส. ลูกจ้างโจทก์ทำงานในตำแหน่งคนครัวประจำเรือบรรทุกน้ำมันระหว่างปฏิบัติงานในเรือ โจทก์จะจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้ โดยหนึ่งเดือนจะได้หยุดงาน 7 วันติดต่อกันและไม่ได้เบี้ยเลี้ยง การปฏิบัติงานของ ส. ระหว่างเรือออกปฏิบัติงานขนส่งน้ำมันจึงมิใช่เป็นการไปทำงานนอกสถานที่เป็นครั้งคราว เบี้ยเลี้ยงที่จ่ายเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างซึ่งจะต้องนำมารวมเป็นฐานคำนวณเงินทดแทนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงลูกจ้างบนเรือบรรทุกน้ำมันเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ต้องนำมารวมคำนวณเงินทดแทน
ส. ลูกจ้างโจทก์ทำงานในตำแหน่งคนครัวประจำเรือบรรทุกน้ำมัน ระหว่างปฏิบัติงานในเรือ โจทก์จะจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้โดยหนึ่งเดือนจะได้ หยุดงาน 7 วันติดต่อกันและไม่ได้เบี้ยเลี้ยง การปฏิบัติงานของ ส. ระหว่างเรือออกปฏิบัติงานขนส่งน้ำมันจึงมิใช่เป็นการไปทำงาน นอกสถานที่เป็นครั้งคราวเบี้ยเลี้ยงที่จ่ายเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างซึ่งจะต้อง นำมารวมเป็นฐานคำนวณเงินทดแทนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากความเสียหายต่อข้าวสารจากเหตุคลื่นลมแรง จำเลยต้องรับผิดหากมีวิธีป้องกันแต่ไม่ดำเนินการ
จำเลยใช้เชือกไนล่อนเส้นเดียวผูกเรือลำเลียงของจำเลยติดกับเรือเดินทะเลเพื่อขนถ่ายข้าวสารขึ้นเรือเดินทะเล ขณะที่กำลังขนถ่ายข้าวสารอยู่นั้นเกิดพายุอย่างแรง เชือกผูกหัวเรือลำเลียงขาด คลื่นตีหัวเรือลำเลียงออกไป ท้ายเรือและหางเสือไปกระแทกกับเรือเดินทะเลเป็นเหตุให้กระบอกหางเสือแตก น้ำเข้าเรือลำเลียงทางกระบอกหางเสือข้าวสารในเรือเปียกน้ำเสียหาย ขณะเกิดเหตุเป็นฤดูหนาวซึ่งมักมีคลื่นลมแรงตลอดวัน และการป้องกันไม่ให้เชือกขาดอาจทำได้โดยการผูกเรือด้วยเชือกหลาย ๆ เส้น ดังนี้เหตุที่เกิดขึ้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยเพราะมีทางที่จะป้องกันมิให้เหตุนั้นเกิดขึ้น จำเลยจึงต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3088/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดทางทะเล: ประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 448 ใช้บังคับเหนือ พ.ร.บ.เดินเรือฯ และความประมาทเลินเล่อของผู้ควบคุมเรือ
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ฯลฯ ซึ่งมีกำหนด 6 เดือนถูกยกเลิกโดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 3 จึงต้องใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448เป็นบทบังคับ
จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำร่องเรือเดินสมุทร ซึ่งนายเรือต้องปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ในการนำร่อง จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ควบคุมยานพาหนะอันเกิดด้วยเครื่องจักรกลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 เมื่อจำเลยที่ 1สั่งให้นายเรือเลี้ยวขวาเพื่อทอดสมอโดยยังไม่พ้นเรือโจทก์ที่จอดอยู่เป็นเหตุให้เรือที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำร่องโดนเรือโจทก์เสียหาย ซึ่งหากจำเลยที่ 1 สั่งให้แล่นไปให้พ้นเสียก่อนแล้วจึงเลี้ยวขวาเพื่อทอดสมอก็จะไม่เกิดเหตุขึ้น จึงเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ฯลฯ ซึ่งกำหนดให้ผู้นำร่องต้องใช้ความระมัดระวังมากที่สุดเพื่อป้องกันความเสียหายและถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช้ความช่ำชองในวิชาการเรือซึ่งตนมีอยู่จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ประมาทเลินเล่อ แม้เรือโจทก์จะจอดเทียบเป็นลำที่ 3ซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายก็มิใช่ผลโดยตรงที่ก่อให้เรือโดนกัน
จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำร่องเรือเดินสมุทร ซึ่งนายเรือต้องปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ในการนำร่อง จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ควบคุมยานพาหนะอันเกิดด้วยเครื่องจักรกลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 เมื่อจำเลยที่ 1สั่งให้นายเรือเลี้ยวขวาเพื่อทอดสมอโดยยังไม่พ้นเรือโจทก์ที่จอดอยู่เป็นเหตุให้เรือที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำร่องโดนเรือโจทก์เสียหาย ซึ่งหากจำเลยที่ 1 สั่งให้แล่นไปให้พ้นเสียก่อนแล้วจึงเลี้ยวขวาเพื่อทอดสมอก็จะไม่เกิดเหตุขึ้น จึงเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ฯลฯ ซึ่งกำหนดให้ผู้นำร่องต้องใช้ความระมัดระวังมากที่สุดเพื่อป้องกันความเสียหายและถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช้ความช่ำชองในวิชาการเรือซึ่งตนมีอยู่จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ประมาทเลินเล่อ แม้เรือโจทก์จะจอดเทียบเป็นลำที่ 3ซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายก็มิใช่ผลโดยตรงที่ก่อให้เรือโดนกัน