คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลิกกิจการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินห้างหุ้นส่วนสามัญเมื่อเลิกกิจการ โดยไม่ต้องตั้งผู้ชำระบัญชี
เมื่อทางไต่สวนได้ความว่า ห้างหุ้นส่วนที่ผู้ร้องกับนายสุวัฒน์เข้าหุ้นส่วนกันไม่มีเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกเงินทดรองและค่าใช้จ่ายของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้างสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนมีแต่เงินฝากอยู่ในบัญชีกระแสรายวันและบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เท่านั้น การที่จะรื้อฟื้นให้พิจารณาเรื่องบัญชีของห้างหุ้นส่วนต่อไปก็คงไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นจึงเห็นสมควรพิพากษาไปทีเดียว ให้แบ่งเงินทุนและผลกำไรโดยไม่ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีก่อนได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1027 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสิ่งที่นำมาลงหุ้นด้วยกันมีค่าเท่ากัน ดังนั้น เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันก็ต้องเฉลี่ยแจกกำไรและทรัพย์สินที่มีอยู่ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1062 ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับกึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกกิจการของผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ทางภาษีและการประเมินภาษี
แม้คดีนี้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาแต่ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยศาลอาจสืบพยานตามที่เห็นจำเป็นเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์ และจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 205 วรรคแรก ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17ดังนั้น เมื่อศาลภาษีอากรพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จำเลยย่อมอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลภาษีอากรว่าข้ออ้างของโจทก์ทั้งสองไม่มีมูลให้ชนะคดีได้ ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ มาตรา 24 ประกอบมาตรา 29
ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็นประเด็นที่จำเลยจะต้องให้การไว้ คดีนี้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ถูกยกเลิกบัตรส่งเสริมการลงทุน เพราะจำเลยที่ 1เลิกกิจการ มิใช่ถูกคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับตามบัตรส่งเสริมอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ได้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดไว้ในบัตรส่งเสริมดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 แห่งพ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2522 ซึ่งจะทำให้ผู้ได้รับการส่งเสริมจะต้องเสียภาษีอากรโดยถือสภาพของของ ราคาและอัตราภาษีที่เป็นอยู่ในวันนำเข้าเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากร ตามมาตรา 55 วรรคแรก
ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน ฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่งได้บัญญัติเรื่องผู้ได้รับการส่งเสริมเลิกกิจการ รวมกิจการกับผู้อื่น หรือโอนกิจการให้แก่ผู้อื่น ให้บัตรส่งเสริมนั้นใช้ได้ต่อไปอีกไม่เกิน 3 เดือน นับแต่วันเลิก รวมหรือโอนกิจการ ส่วนวรรคสองเป็นเรื่องที่ผู้ซึ่งดำเนินกิจการที่ร่วมกันขึ้นใหม่ หรือโอนกิจการ ประสงค์จะขอรับช่วงดำเนินกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริมต่อไป ก็ให้ยื่นคำขอรับการส่งเสริมภายในเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าไม่สมควรให้การส่งเสริม ก็ให้สั่งให้เพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมด ดังนี้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า ตามมาตรา 56 วรรคสองมิได้บัญญัติถึงเรื่องการเลิกกิจการ อันจะถือเท่ากับว่าสิทธิและประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมถูกเพิกถอนแล้วไม่
ปัญหาเรื่องบัตรส่งเสริมถูกยกเลิกเพราะมีการเลิกกิจการสิทธิและประโยชน์ที่ผู้ได้รับการส่งเสริมเคยได้รับโดยเฉพาะเรื่องภาษีอากรนี้จะเรียกเก็บอย่างไร มิได้มีบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน ฯ จึงต้องบังคับตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ก. (ฉบับที่ 45) พ.ศ.2528 มิใช่บังคับตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราภาษีศุลกากร พ.ศ.2530 เพราะจำเลยที่ 1 เลิกกิจการและสำนักงานส่งเสริมการลงทุน ประกาศยกเลิกบัตรส่งเสริมของจำเลยที่ 1 ก่อนที่ พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 จะมีผลใช้บังคับ
ตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 มาตรา 10วรรคหนึ่ง ของนำเข้าใดเคยได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากร ถ้าสิทธิที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนสิ้นสุดลง ของนั้นจะต้องเสียอากรโดยถือสภาพของของ ราคาและอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่สิทธิดังกล่าวสิ้นสุดลงเป็นเกณฑ์ในการคำนวณอากรโดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรต้องไปดำเนินการเพื่อชำระอากรตามที่กำหนดไว้ ส่วนในช่วงก่อนที่สิทธิที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรจะสิ้นสุดลง ผู้นั้นก็ได้รับสิทธิและประโยชน์ต่อไป และน่ายังถือว่าเป็นสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับไปแล้ว หากผู้นำของเข้าหมดสิทธิที่จะได้รับสิทธิและประโยชน์ต่อไปมิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้น คือ มิได้ดำเนินการเพื่อชำระอากรดังกล่าว ก็ให้ถือว่าของนั้นได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้เสียอากรถูกต้อง อันอาจถูกพนักงานศุลกากรกักยึดเพื่อประเมินเรียกเก็บภาษีอากร รวมทั้งต้องเสียเงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา เท่านั้น แต่ก็ยังต้องถือว่าเป็นของที่ต้องเสียภาษีอากรโดยทั้งสภาพของของ ราคา และอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่สิทธิได้รับยกเว้นอากรสิ้นสุดลงตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 อยู่ หาได้หมายความว่า เมื่อผู้นำของเข้ามิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้นแล้ว ให้ถือว่าของนั้นได้นำเข้าโดยยังมิได้เสียอากรถูกต้องตามสภาพของของ ราคา และอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่นำเข้าไม่
หลังจากจำเลยได้รับแจ้งประเมินให้เสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยจึงหมดสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล ซึ่งรวมถึงหมดสิทธิที่จะฟ้องหรือยกขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลว่าการประเมินดังกล่าวมิชอบด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินและเรียกเก็บอากรขาเข้าหลังเลิกกิจการ การหักค่าเสื่อมราคา และการคำนวณเงินเพิ่มอากร
จำเลยเลิกกิจการเพราะขาดทุนซึ่งตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มาตรา 56 มิได้กล่าวถึงการเลิกกิจการอันจะถือว่าสิทธิประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมถูกเพิกถอนและมิได้บัญญัติให้เรียกเก็บภาษีอากรอย่างไร เมื่อสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรที่จำเลยได้รับตามบัตรส่งเสริมถูกยกเลิกเพราะการเลิกกิจการจึงต้องบังคับตาม พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503มาตรา 10 วรรคแรก โดยถือราคาและอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่สิทธิได้รับยกเว้นอากรของผู้ได้รับบัตรส่งเสริมสิ้นสุดลงเป็นเกณฑ์ในการคำนวณอากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: ห้างหุ้นส่วนเลิกกิจการ ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหน้าที่ร่วมกันรับผิดชอบภาษีค้างชำระ แม้ต่อมามีการโอนมรดก
ประมวลรัษฎากร มาตรา 56 วรรคสองบัญญัติไว้เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบในการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลห้างหุ้นส่วนสามัญ จ. มีหุ้นส่วน 2 คน คือ ห. กับจำเลยที่ 1เมื่อ ห. ตาย จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของห้างหุ้นส่วนสำหรับปีภาษีนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีและเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 แล้วแม้จะมิได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อทายาทของห. ก็ไม่ทำให้การประเมินเสียไป ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลเลิกกันโดยไม่มีการชำระบัญชี ผู้เป็นหุ้นส่วนและบุคคลผู้มีอำนาจจัดการ มีหน้าที่ร่วมกันยื่นแบบแสดงรายการการค้า ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 77 และ 84 ฉวรรคสองเมื่อห.ผู้เป็นหุ้นส่วนตายเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1055(5) และไม่มีการชำระบัญชี จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่เหลือต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนห้างหุ้นส่วนในการเสียภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนต่อจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1025 เมื่อ ห. ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตาย ทายาทผู้รับมรดกของ ห. ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1รับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวด้วย การคำนวณเงินเพิ่มภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิต้องเริ่มนับเมื่อพ้น 15 วัน ถัดจากเดือนภาษี ทั้งเงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิดังกล่าวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2532 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกิจการ: วันสุดท้ายรอบระยะเวลาบัญชีและการไม่ยื่นงบดุลตามกำหนด
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเลิกกันเพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษีประมวลรัษฎากร มาตรา 72 วรรคสอง ให้ถือว่าวันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิกเป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานจดทะเบียนเลิกห้างโจทก์ในวันที่ 10 เมษายน 2524 จึงต้อง ถือว่าวันที่ 10 เมษายน 2524 เป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
โจทก์ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 69 เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) ที่จะประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ แม้โจทก์จะส่งมอบบัญชีและเอกสารในภายหลัง ก็ไม่ทำให้อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวหมดสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 281/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล: จากหุ้นส่วนผู้จัดการสู่ผู้ชำระบัญชีเมื่อเลิกกิจการ
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลมีสภาพเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น การกระทำใดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลนั้นผู้ที่มีอำนาจฟ้องคดีแทนก็คือหุ้นส่วนผู้จัดการของห้าง ฯ แต่เมื่อห้าง ฯ ได้เลิกกันตามคำพิพากษาและมีการตั้งผู้ชำระบัญชีแล้ว อำนาจในการฟ้องคดีจึงตกอยู่แก่ผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259 โจทก์ในฐานะหุ้นส่วนของห้าง ฯ ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่อนผันภาษีตาม พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 และผลกระทบต่อการประเมินภาษี
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 เป็นบทบัญญัติเปิดโอกาสให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรซึ่งยังไม่ได้เสียภาษีอากรหรือเสียไว้ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรสำหรับเงินได้ รายรับที่มีอยู่ก่อนปีภาษี 2527 หรือในปีภาษี 2527 หรือในรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดลงก่อนหรือในวันที่ 31 ธันวาคม 2527 ตามแบบที่อธิบดีกำหนด ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2529 จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2529 เป็นระยะเวลา 6 เดือน หากผู้ใดยื่นคำขอเสียภาษีภายในเวลาดังกล่าวและได้ชำระภาษีอากรภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดนั้นแล้ว ก็เป็นอันได้รับยกเว้นจากการตรวจสอบไต่สวน การประเมินหรือคำสั่งให้เสียภาษีอากร ตลอดจนได้รับยกเว้นความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากรความตอนท้ายของบทบัญญัติมาตรานี้บัญญัติยกเว้นไว้ว่าถ้าผู้ใดที่ยังไม่ได้เสียภาษีอากรหรือเสียไว้ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์และเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับแล้ว ผู้นั้นย่อมไม่ได้รับการผ่อนผันสำหรับเงินได้หรือรายรับที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสียไว้นั้น
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ทำการประเมินภาษีของจำเลยเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2529 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529ใช้บังคับแล้ว เมื่อจำเลยได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2529 อันเป็นเวลาภายในระยะเวลาตามที่มาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติไว้ จำเลยจึงไม่ต้องเสียภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ทำการประเมิน
การคำนวณภาษีอากรตามมาตรา 30 ดังกล่าวกำหนดไว้เป็น 2 กรณีกรณีแรกเป็นเรื่องคำนวณจากมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมด กรณีหลังหากไม่มีมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดก็ต้องคำนวณจากยอกเงินได้ถัวเฉลี่ยย้อนหลังตามจำนวนปีที่มีเงินได้หรือรายได้แต่ไม่เกิน 5 ปีก่อนปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดลงก่อนหรือในวันที่ 31 ธันวาคม 2527 โดยไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเสร็จสิ้นการชำระบัญชีในวันที่ 31 ธันวาคม 2527 เท่านั้น จึงจะถือว่ามีทรัพย์สินสุทธิที่จะเปรียบเทียบเงินได้เฉลี่ย
จำเลยแจ้งเลิกกิจการเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2526 และเสร็จสิ้นการชำระบัญชีวันที่ 24 กรกฎาคม 2527 การที่จำเลยยื่นคำขอเสียภาษีอากรต่อเจ้าพนักงานประเมินโดยเสียภาษีในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายได้ถัวเฉลี่ย 4 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 - 2526 โดยเปรียบเทียบกับยอดทรัพย์สินสุทธิในวันที่ 30 กันยายน 2526 ซึ่งเป็นวันเลิกกิจการ เป็นการเสียภาษีที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่อนผันภาษีตาม พรฎ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 แม้เลิกกิจการแล้วก็สามารถใช้สิทธิได้หากยื่นแบบภายในกำหนด
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529มาตรา 30 เป็นบทบัญญัติเปิดโอกาสให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรซึ่งยังไม่ได้เสียภาษีอากรหรือเสียไว้ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรสำหรับเงินได้รายรับที่มีอยู่ก่อนปีภาษี 2527 หรือในปีภาษี 2527หรือในรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดลงก่อนหรือในวันที่ 31 ธันวาคม2527 ตามแบบที่อธิบดีกำหนด ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2529จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2529เป็นระยะเวลา 6 เดือน หากผู้ใดยื่นคำขอเสียภาษีภายในเวลาดังกล่าวและได้ชำระภาษีอากรภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดนั้นแล้ว ก็เป็นอันได้รับยกเว้นจากการตรวจสอบไต่สวน การประเมินหรือคำสั่งให้เสียภาษีอากร ตลอดจนได้รับยกเว้นความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากรความตอนท้ายของบทบัญญัติมาตรานี้บัญญัติยกเว้นไว้ว่าถ้าผู้ใดที่ยังไม่ได้เสียภาษีอากรหรือเสียไว้ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์และเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับแล้ว ผู้นั้นย่อมไม่ได้รับการผ่อนผันสำหรับเงินได้หรือรายรับที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสียไว้นั้น
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ทำการประเมินภาษีของจำเลยเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2529 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529ใช้บังคับแล้ว เมื่อจำเลยได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2529อันเป็นเวลาภายในระยะเวลาตามที่มาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติไว้ จำเลยจึงไม่ต้องเสียภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ทำการประเมิน
การคำนวณภาษีอากรตามมาตรา 30 ดังกล่าวกำหนดไว้เป็น2 กรณีกรณีแรกเป็นเรื่องคำนวณจากมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมด กรณีหลังหากไม่มีมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดก็ต้องคำนวณจากยอกเงินได้ถัวเฉลี่ยย้อนหลังตามจำนวนปีที่มีเงินได้หรือรายได้แต่ไม่เกิน 5 ปีก่อนปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดลงก่อนหรือในวันที่ 31 ธันวาคม 2527 โดยไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเสร็จสิ้นการชำระบัญชีในวันที่31 ธันวาคม 2527 เท่านั้น จึงจะถือว่ามีทรัพย์สินสุทธิที่จะเปรียบเทียบเงินได้เฉลี่ย
จำเลยแจ้งเลิกกิจการเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2526 และเสร็จสิ้นการชำระบัญชีวันที่ 24 กรกฎาคม 2527 การที่จำเลยยื่นคำขอเสียภาษีอากรต่อเจ้าพนักงานประเมินโดยเสียภาษีในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายได้ถัวเฉลี่ย 4 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523-2526โดยเปรียบเทียบกับยอดทรัพย์สินสุทธิในวันที่ 30 กันยายน 2526ซึ่งเป็นวันเลิกกิจการ เป็นการเสียภาษีที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้หลังเลิกกิจการ: ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระหนี้ค่าจ้างให้ลูกจ้าง แม้กิจการจะเลิกแล้ว
แม้ร้านสหกรณ์โรงงานกระดาษบางปะอิน จำกัด จำเลยที่ 1 จะได้เลิกกิจการไปแล้วก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 89 ให้ถือว่ายังคงดำรงอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีของผู้ชำระบัญชีสภาพการเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่1 ยังไม่สิ้นสุดลง การเป็นนายจ้างลูกจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่สิ้นสุดลงโดยการเลิกกิจการของจำเลยที่ 1 และเมื่อต่อมาจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์โดยยังมิได้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ชำระบัญชีจึงมีหน้าที่จัดการชำระหนี้แก่โจทก์ในนามของจำเลยที่ 1 ให้เสร็จสิ้นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 90 และ 94 การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ชำระบัญชีชำระหนี้ดังกล่าวจึงหาเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สหกรณ์เลิกกิจการ ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลเพื่อชำระบัญชี ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระหนี้สินแก่ลูกจ้าง
สหกรณ์แม้จะได้เลิกกิจการไปแล้ว ก็ยังถือว่าคงดำรง อยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ดังนั้นสภาพการเป็นนิติบุคคลของสหกรณ์ยังไม่สิ้นสุดลง นิติสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างของสหกรณ์กับสหกรณ์นายจ้างจึงหาได้สิ้นสุดลงไม่ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้ผู้ชำระบัญชี มีหน้าที่สะสาง ติดตามทรัพย์สินของสหกรณ์ที่มีอยู่มาจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย หาใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่มีกฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง จะถือว่านายจ้างผิดนัดตั้งแต่วันเลิกจ้างไม่ได้ ฉะนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างทวงถามเมื่อใดแล้วลูกจ้างก็ชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง.
of 4