พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7390/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลต้องใช้ดุลพินิจพิจารณาปัจจัยในการกำหนดค่าเสียหาย
จำเลยให้การว่าจำเลยจ้างโจทก์โดยมีการทดลองงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ไม่ผ่านการทดลองงาน การที่ศาลแรงงานพิเคราะห์เอกสารสัญญาจ้าง และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็เพื่อวินิจฉัยตามคำท้าว่า จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยมีการทดลองงานหรือไม่ และการที่ศาลแรงงานพิเคราะห์คำว่าพนักงานทดลองงานและคำว่าพนักงานสัญญาจ้างในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยมีกำหนดระยะเวลาแน่นอน แต่มิใช่เป็นการทดลองงาน เป็นการวินิจฉัยคดีตรงตามคำท้าว่าจำเลยจ้างโจทก์โดยมีการทดลองงานหรือไม่แล้ว
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากจำเลยแพ้คดีตามคำท้า ถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ หมายความว่า เมื่อจำเลยแพ้คดีตามคำท้าแล้วจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมดังนี้ สำหรับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานต้องใช้ดุลพินิจกำหนดให้โดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ด้วย การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเต็มตามฟ้องให้แก่โจทก์ โดยมิได้พิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ชอบ สมควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากจำเลยแพ้คดีตามคำท้า ถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ หมายความว่า เมื่อจำเลยแพ้คดีตามคำท้าแล้วจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมดังนี้ สำหรับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานต้องใช้ดุลพินิจกำหนดให้โดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ด้วย การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเต็มตามฟ้องให้แก่โจทก์ โดยมิได้พิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ชอบ สมควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: เหตุผลการเลิกจ้างเป็นสาระสำคัญ แม้มีการอ้างตกลงเลิกสัญญา
จำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โดยจำเลยยกเหตุแห่งการปฏิเสธว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหาย จึงไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การที่จำเลยขอแก้ไขคำให้การเป็นเหตุประการที่สองว่า โจทก์ตกลงเลิกสัญญากับจำเลยซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญาจ้างกัน เห็นได้ว่าหากจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยแสดงเจตนาฝ่ายเดียวตามเหตุประการแรกก็ไม่อาจมีกรณีตกลงเลิกสัญญาด้วยการแสดงเจตนาของโจทก์จำเลยร่วมกันทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นพร้อมกันอีก คำให้การที่จำเลยขอแก้ไขเพิ่มเติมที่อ้างว่า มีการตกลงเลิกสัญญาจ้างกันแล้วจึงเป็นเพียงเหตุผลสนับสนุนข้ออ้างของจำเลยที่ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพเท่านั้น หรืออีกนัยหนึ่งจำเลยอ้างว่า เมื่อโจทก์ไม่ลาออกจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ เหตุแห่งการปฏิเสธที่ว่า โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันจึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ดังนั้นที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมเพราะไม่มีเหตุอันสมควรในการเลิกจ้างตามเหตุแห่งการปฏิเสธในคำให้การของจำเลยประการแรก โดยไม่วินิจฉัยเหตุที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ประการที่สองจึงชอบแล้ว
อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยเมื่อไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง ศาลไม่จำต้องวินิจฉัย
อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยเมื่อไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง ศาลไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลยืนตามเดิม แม้จำเลยอ้างมีการตกลงเลิกสัญญา แต่เป็นเหตุสนับสนุนข้ออ้างเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน
จำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โดยจำเลยยกเหตุแห่งการปฏิเสธว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายจึงไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การที่จำเลยขอแก้ไขคำให้การเป็นเหตุประการที่สองว่า โจทก์ตกลงเลิกสัญญากับจำเลยซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญาจ้างกัน เห็นได้ว่าหากจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยแสดงเจตนาฝ่ายเดียวตามเหตุประการแรกก็ไม่อาจมีกรณีตกลงเลิกสัญญาด้วยการแสดงเจตนาของโจทก์จำเลยร่วมกันทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นพร้อมกันอีก คำให้การที่จำเลยขอแก้ไขเพิ่มเติมที่อ้างว่า มีการตกลงเลิกสัญญาจ้างกันแล้วจึงเป็นเพียงเหตุผลสนับสนุนข้ออ้างของจำเลยที่ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะการทำงานของโจทก์ไม่มีประสิทธิภาพเท่านั้นหรืออีกนัยหนึ่งจำเลยอ้างว่า เมื่อโจทก์ไม่ลาออกจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ เหตุแห่งการปฏิเสธที่ว่า โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันจึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ดังนั้นที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมเพราะไม่มีเหตุอันสมควรในการเลิกจ้างตามเหตุแห่งการปฏิเสธในคำให้การของจำเลยประการแรกโดยไม่วินิจฉัยเหตุที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ประการที่สองจึงชอบแล้ว
อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยเมื่อไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง ศาลไม่จำต้องวินิจฉัย
อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยเมื่อไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง ศาลไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจพนักงานตรวจแรงงานและการประนีประนอมข้อพิพาทกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
พนักงานตรวจแรงงานเชิญกรรมการผู้จัดการของจำเลยไปพบเนื่องจากโจทก์ร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานว่าถูกจำเลยเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ถึงวันนัดจึงได้ทำบันทึกข้อความขึ้น เห็นได้ว่าบันทึกข้อความดังกล่าวทำขึ้น สืบเนื่องมาจากโจทก์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้โจทก์มีสิทธิยื่นคำร้องได้ในกรณีจำเลยผู้เป็นนายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินของโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างตาม พ.ร.บ. นี้ เงินที่โจทก์รับจากจำเลยตามที่ปรากฏในบันทึกข้อความคือเงินตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานดังกล่าวอันเป็นเงินที่อยู่ในกรอบสิทธิที่โจทก์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ตาม มาตรา 123 วรรคหนึ่ง และพนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจดำเนินการได้ตามมาตรา 124 ไม่มีข้อความในบันทึก ข้อความว่าโจทก์ไม่ประสงค์เรียกร้องจากจำเลยตามกฎหมายอื่นอีก เมื่อโจทก์ฟ้องโดยอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดย ไม่เป็นธรรมเป็นการฟ้องตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ซึ่งโจทก์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานไม่ได้ และไม่อยู่ในอำนาจดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงาน จึงถือไม่ได้ว่าบันทึกข้อความดังกล่าวเป็นการประนีประนอมยอมความรวมไปถึงให้ระงับข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายและค่าเสียโอกาส ดังกล่าวด้วย
ปัญหาที่ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ หากเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายและค่าเสียโอกาสตามฟ้องหรือไม่เพียงใด เป็นปัญหาที่ศาลแรงงานกลางจะต้องวินิจฉัยต่อไป เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งของดสืบพยานทำให้ข้อเท็จจริงไม่พอวินิจฉัยมีปัญหาดังกล่าว เป็นสมควร ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานโจทก์จำเลยเพื่อฟังข้อเท็จจริงต่อไป
ปัญหาที่ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ หากเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายและค่าเสียโอกาสตามฟ้องหรือไม่เพียงใด เป็นปัญหาที่ศาลแรงงานกลางจะต้องวินิจฉัยต่อไป เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งของดสืบพยานทำให้ข้อเท็จจริงไม่พอวินิจฉัยมีปัญหาดังกล่าว เป็นสมควร ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานโจทก์จำเลยเพื่อฟังข้อเท็จจริงต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5294/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและการกำหนดค่าเสียหาย ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนเพื่อพิจารณาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
ข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏเพียงว่าโจทก์ได้รับเงินเดือน48,400 บาท ค่ารับรอง-ของขวัญ 5,000 บาท และค่าตอบแทนอื่น ๆ 30,000 บาทแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยจ่ายเงินค่ารับรอง-ของขวัญ และเงินค่าตอบแทนอื่น ๆ ให้แก่โจทก์ด้วยเหตุใด เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานหรือไม่ จึงไม่อาจวินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยที่ว่า ค่ารับรองของขวัญและค่าตอบแทนอื่น ๆ ดังกล่าวเป็นค่าจ้างหรือไม่ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานพิจารณาและวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวก่อน
ศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เนื่องจากเห็นว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยมิได้กำหนดค่าเสียหายที่เกิดจากการถูกบุคคลอื่นดูหมิ่นเหยียดหยาม เสื่อมเสียชื่อเสียงและเสียประวัติการทำงาน การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าค่าเสียหายส่วนที่ศาลแรงงานไม่ได้กำหนดให้โจทก์ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานนั้นจำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านว่าศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมให้โจทก์ไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกต้องควรเป็นเช่นไร จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เนื่องจากเห็นว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยมิได้กำหนดค่าเสียหายที่เกิดจากการถูกบุคคลอื่นดูหมิ่นเหยียดหยาม เสื่อมเสียชื่อเสียงและเสียประวัติการทำงาน การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าค่าเสียหายส่วนที่ศาลแรงงานไม่ได้กำหนดให้โจทก์ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานนั้นจำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านว่าศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมให้โจทก์ไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกต้องควรเป็นเช่นไร จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5294/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้าง, ค่าชดเชย, ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลฎีกาย้อนสำนวนเพื่อพิสูจน์การจ่ายเงินและตรวจสอบความชัดเจนของอุทธรณ์
ข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏเพียงว่าโจทก์ได้รับเงินเดือน48,400 บาท ค่ารับรอง-ของขวัญ 5,000 บาท และค่าตอบแทนอื่น ๆ30,000 บาท แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยจ่ายเงินค่ารับรอง-ของขวัญและเงินค่าตอบแทนอื่น ๆ ให้แก่โจทก์ด้วยเหตุใด เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานหรือไม่ จึงไม่อาจวินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยที่ว่า ค่ารับรองของขวัญและค่าตอบแทนอื่น ๆ ดังกล่าวเป็น ค่าจ้างหรือไม่ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานพิจารณา และวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวก่อน ศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เนื่องจากเห็นว่าจำเลย เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยมิได้กำหนดค่าเสียหายที่เกิด จากการถูกบุคคลอื่น ดูหมิ่นเหยียดหยาม เสื่อมเสียชื่อเสียงและ เสียประวัติการทำงาน การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าค่าเสียหายส่วนที่ ศาลแรงงานไม่ได้กำหนดให้โจทก์ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานนั้น จำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านว่าศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหาย จากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมให้โจทก์ไม่ถูกต้อง อย่างไร และที่ถูกต้องควรเป็นเช่นไร จึงเป็นอุทธรณ์ที่ ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกจ้างไม่เป็นธรรม: จำเลยอ้างเหตุทุจริต แต่ไม่นำสืบตามคำให้การ ศาลแรงงานพิพากษาให้จ่ายค่าเสียหาย
คดีแรงงาน จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำการจงใจให้จำเลยได้รับความเสียหายและทุจริตต่อหน้าที่ในการยื่นประมูลงานรับเหมาก่อสร้างที่จังหวัด ล.โดยโจทก์สมรู้กับผู้เข้าร่วมประมูลงานรับเหมาก่อสร้างรายอื่น เพื่อให้ผู้ประมูลงานรายนั้นได้งานก่อสร้างดังกล่าวไปอันเป็นเหตุให้จำเลยเสียหาย และเป็นการทุจริตต่อหน้าที่อย่างร้ายแรง ในชั้นพิจารณาจำเลยไม่สืบพยานตามคำให้การ แต่กลับนำสืบว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ในการประมูลงานก่อสร้างศาลากลาง จังหวัด อ. โดยโจทก์รับเงินจากผู้ประมูลรายอื่นมาเป็นประโยชน์ส่วนตน แล้วโจทก์ไม่ยื่นซองประมูลประกวดราคางานก่อสร้าง โดยอ้างว่าโจทก์คำนวณแบบศาลากลางในรายละเอียดไม่ทัน ซึ่งเป็นการนำสืบนอกคำให้การ ดังนี้ศาลแรงงานจะยกเรื่องที่โจทก์กระทำการทุจริตตามที่จำเลยนำสืบมาวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่หาได้ไม่
เมื่อจำเลยไม่นำสืบให้เห็นอย่างชัดแจ้งตามคำให้การต่อสู้คดี และศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า ในขณะโจทก์ยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างศาลากลางจังหวัด ล.ที่จำเลยให้การไว้ โจทก์ได้ถูกคนร้ายขัดขวางและทำร้ายได้รับบาดเจ็บ จำเลยจึงไม่ให้โจทก์ไปทำงานอีกเพราะเกรงจะเป็นอันตราย ดังนี้ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมาจึงเป็นยุติว่า โจทก์ไม่ได้กระทำการจงใจให้จำเลยได้รับความเสียหาย และจำเลยมิได้ทุจริตต่อหน้าที่ในการยื่นประมูลงานรับเหมาก่อสร้างศาลากลางจังหวัด ล.ตามที่จำเลยให้การ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุสมควรและไม่มีเหตุเพียงพอเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายในส่วนนี้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำความผิดอย่างร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 แก่โจทก์
เมื่อจำเลยไม่นำสืบให้เห็นอย่างชัดแจ้งตามคำให้การต่อสู้คดี และศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า ในขณะโจทก์ยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างศาลากลางจังหวัด ล.ที่จำเลยให้การไว้ โจทก์ได้ถูกคนร้ายขัดขวางและทำร้ายได้รับบาดเจ็บ จำเลยจึงไม่ให้โจทก์ไปทำงานอีกเพราะเกรงจะเป็นอันตราย ดังนี้ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมาจึงเป็นยุติว่า โจทก์ไม่ได้กระทำการจงใจให้จำเลยได้รับความเสียหาย และจำเลยมิได้ทุจริตต่อหน้าที่ในการยื่นประมูลงานรับเหมาก่อสร้างศาลากลางจังหวัด ล.ตามที่จำเลยให้การ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุสมควรและไม่มีเหตุเพียงพอเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายในส่วนนี้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำความผิดอย่างร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: คำฟ้องเพียงพอ ศาลไม่ต้องรอการนำสืบ
ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาบอกเลิกจ้างโจทก์ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ขอให้จ่ายเงินต่าง ๆ ตามสิทธิที่โจทก์จะได้รับ รวมทั้งค่าเสียหายที่จำเลยเลิกจ้างโดยผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย ย่อมเป็นการเพียงพอที่จะถือได้ว่าคำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องที่กล่าวอ้างถึงการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วยแล้ว โจทก์หาจำต้องกล่าวหรือบรรยายมาในฟ้องโดยชัดแจ้งหรือต้องนำสืบถึงการกระทำอื่นใดว่าไม่เป็นธรรมอย่างไรอีกไม่ ฉะนั้นที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า ยังไม่มีเหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์จึงชอบแล้วมิได้ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 142 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: อุทธรณ์ขอเพิ่มค่าเสียหายหลังศาลตัดสินถือเป็นการโต้แย้งดุลพินิจ
ศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหายจากการที่โจทก์ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเป็นเงินจำนวนหนึ่งให้โจทก์ การที่โจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหายเพื่อให้ศาลฎีกากำหนดจำนวนค่าเสียหายให้โจทก์เพิ่มขึ้น ทั้งค่าเสียหายดังกล่าวเป็นการเรียกร้องภายหลังโจทก์ถูกเลิกจ้างไปแล้ว ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม กรณีจึงมิใช่เป็นค่าเสียหายในอนาคตซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องอีก ดังนี้อุทธรณ์โจทก์จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานในการกำหนดค่าเสียหาย เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและโบนัส การรับเงินชดเชยเฉพาะกรณีไม่ถือเป็นการสละสิทธิทั้งหมด
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลย ต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2537 และจำเลยได้จ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจำนวน424,083 บาท แก่โจทก์ โจทก์ได้ทำหนังสือตามบันทึกเอกสารหมาย จ.7 ให้แก่จำเลย ความว่า "ตามที่ ชสท. (จำเลย) ได้เลิกจ้างข้าพเจ้าตามคำสั่งที่46/2537 วันที่ 25 พฤศจิกายน 2537 ข้าพเจ้าได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบชสท.ว่าด้วยการพนักงาน ชสท. พ.ศ.2535 และเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานเป็นเงิน 424,083 บาท ถูกต้องแล้ว และจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใดทั้งสิ้น" ข้อความในเอกสารที่โจทก์ลงลายมือชื่อให้ไว้แก่จำเลยดังกล่าวได้ระบุประเภทของเงินไว้เฉพาะเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้น มิได้ระบุถึงค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยแต่อย่างใด ข้อความตอนท้ายที่ว่าจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใด ซึ่งจำเลยถือว่าเป็นการที่โจทก์สละสิทธิหรือปลดหนี้ให้แก่จำเลยนั้น ข้อความดังกล่าวหาได้ระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าโจทก์ทั้งสองได้ปลดหนี้ในเงินอื่น ๆ รวมทั้งค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยไม่ บันทึกตามเอกสารหมาย จ.7 ดังกล่าวโจทก์เพียงแต่รับรองว่าจะไม่ฟ้องร้องจำเลยเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้น กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสจากจำเลยได้
ปัญหาที่ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ หากเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายเพียงใด และโจทก์มีสิทธิได้รับเงินโบนัสหรือไม่ จำนวนเท่าใดนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงาน-กลางยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
ปัญหาที่ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ หากเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายเพียงใด และโจทก์มีสิทธิได้รับเงินโบนัสหรือไม่ จำนวนเท่าใดนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงาน-กลางยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป