คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลิกบริษัท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ชำระบัญชีละเว้นการชำระภาษีอากรหลังเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีต้องรับผิดในหนี้ภาษี
จำเลยที่ 2 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2538 หลังจากที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินซึ่งจะต้องชำระภาษีอากรตามฟ้องเพียง 9 วัน จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 ควรจะต้องรู้ว่าการขายที่ดินดังกล่าวเป็นการขายเพื่อการค้าหรือหากำไร เพราะจำเลยที่ 1ซื้อที่ดินทั้งหมดมาในราคาประมาณ 7,000,000 บาท แต่ขายต่อไปในระยะเวลาประมาณ 6 เดือน เป็นเงินถึง 124 ล้านบาทเศษ ซึ่งการขายในลักษณะดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ภายหลังจากการขายที่ดินดังกล่าวในวันที่ 5 กันยายน 2538แล้วก็ได้มีการแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชีเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2538 และหลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็รีบไปจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ในวันที่ 20 กันยายน 2538 และไปจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2538 กรณีจึงน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2ได้รู้ว่าในการขายที่ดินดังกล่าวนี้ บริษัทจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชี และบริษัทจำเลยที่ 1 จึงได้ร่วมกับบริษัทจำเลยที่ 1 รีบจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1และรีบจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการชำระบัญชีของจำเลยที่ 2 ยังปรากฏว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ยังมีเงินสดเหลืออยู่อีกจำนวน 1,480,108.75บาท การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีได้แบ่งเงินที่เหลือดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกคนเฉลี่ยตามสัดส่วนของการถือหุ้น จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ.มาตรา 1269เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่นำเงินที่เหลือจำนวน 1,480,108.75 บาท ไปชำระหนี้ภาษีตามฟ้องให้แก่กรมสรรพากรโจทก์ก่อน จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 นับตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีในวงเงินไม่เกิน1,480,108.75 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5561/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทถูกต้องตามกฎหมาย แม้เจ้าหนี้จะบังคับคดีไม่ได้ ศาลไม่อาจเพิกถอนการจดทะเบียนเลิกบริษัทได้
บริษัท พ. ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทเองซึ่งทำถูกต้องตามขั้นตอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1236 แล้วกรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(6)ที่บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียขอให้ศาลสั่งให้นายทะเบียนจดชื่อบริษัทกลับคืนเข้าในทะเบียนตามเดิมได้ เพราะกรณีตามมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องการถอนทะเบียนบริษัทร้างดังนั้น จึงไม่อาจสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครเพิกถอนการจดทะเบียนเลิกบริษัท พ. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5561/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเลิกบริษัทถูกต้องตามกฎหมาย แม้เจ้าหนี้จะถูกจำกัดสิทธิในการบังคับคดี
บริษัท พ. ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทเองซึ่งทำถูกต้องตามขั้นตอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1236 แล้วกรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(6)ที่บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียขอให้ศาลสั่งให้นายทะเบียนจดชื่อบริษัทกลับคืนเข้าในทะเบียนตามเดิมได้ เพราะกรณีตามมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องการถอนทะเบียนบริษัทร้างดังนั้น จึงไม่อาจสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครเพิกถอนการจดทะเบียนเลิกบริษัท พ. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องหลังเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจกระทำการแทนได้ และเช็คเป็นหลักฐานการชำระหนี้
แม้โจทก์ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทแล้วโดยมีส. และพ.เป็นผู้ชำระบัญชีก็ตามแต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1249บัญญัติให้ถือว่าบริษัทโจทก์ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีและตามมาตรา1252บัญญัติให้กรรมการบริษัทมีอำนาจโดยตำแหน่งเดิมเมื่อเป็นผู้ชำระบัญชีก็ยังคงมีอำนาจอยู่ดังนั้นบุคคลทั้งสองซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทโจทก์และเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ด้วยจึงยังคงมีอำนาจในตำแหน่งกรรมการของบริษัทโจทก์อยู่และมาตรา1259(1)บัญญัติให้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจแก้ต่างว่าต่างในนามของบริษัทในอรรถคดีพิพาทอันเป็นแพ่งหรืออาญาทั้งปวงเมื่อผู้ชำระบัญชีและกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เป็นบุคคลคนเดียวกันดังนั้นที่บุคคลทั้งสองได้มอบอำนาจให้ก. ฟ้องคดีแทนโจทก์ผู้รับมอบอำนาจจากบุคคลทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องคดีแทนโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทจำกัดจากเหตุผลขาดทุนและการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
การขอให้ศาลสั่งเลิกบริษัทจำกัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1237 นั้นมิได้กำหนดไว้ให้ต้องทำเป็นคำร้องขอ โจทก์จึงชอบที่จะขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1โดยทำเป็นคำฟ้องได้ และตามคำฟ้องบรรยายว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 เป็นกรรมการ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 มากกว่าโจทก์ได้บริหารบริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนจนไม่มีทางหวังว่าจะฟื้นตัวได้ จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 55 แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดว่าเหตุแห่งการขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1 เนื่องจากบริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนตั้งแต่ปี 2528 จนถึงปี 2531 รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 21,273,670.10 บาท และไม่มีทางหวังว่าจะฟื้นตัวได้ประเด็นในคดีจึงมีว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ดำเนินกิจการขาดทุนติดต่อกันเกินกว่า 1 ปีและไม่มีทางหวังจะฟื้นตัวได้หรือไม่ ส่วนที่อ้างมาในคำฟ้องตอนแรกว่า เป็นเพราะกรรมการฝ่ายจำเลยบริหารบริษัทจำเลยที่ 1 ปราศจากความระมัดระวังไม่รอบคอบและไม่สุจริตนั้น เป็นเพียงเหตุผลประกอบเท่านั้น ไม่ใช่เป็นประเด็นโดยตรง ดังนี้ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า น่าเชื่อว่าฝ่ายโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ร่วมกับฝ่ายจำเลย กิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 คงไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จึงทำให้กิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนติดต่อกันเป็นเวลา 4 ปีเศษนั้น จึงไม่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานนอกฟ้องและนอกประเด็น
จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ฎีกาว่า บริษัทจำเลยที่ 1มีทรัพย์สินเป็นที่ดินมูลค่า 1,000 ล้านบาท การที่บริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนอยู่เป็นเงินเพียง 26 ล้านบาทเศษ น่าจะแก้ไขได้หากได้รับความร่วมมือจากกรรมการฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ แต่กรรมการและผู้ถือหุ้นฝ่ายโจทก์นอกจากจะไม่ยอมใช้ความรู้ความสามารถเข้าช่วยเหลือบริษัทจำเลยที่ 1 แล้ว ยังพยายามขัดขวางมิให้ฝ่ายจำเลยแก้ไขปัญหาได้ และกลับปล่อยให้บริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนตลอดเวลานั้น ฎีกาของจำเลยดังกล่าวนอกจากจะไม่ได้เสนอหนทางหรือวิธีการแก้ไขปัญหาขาดทุนของจำเลยที่ 1 แล้ว กลับเป็นการแสดงให้เห็นว่าไม่มีทางที่จะกลับฟื้นตัวให้มีกำไรหรือระงับการขาดทุนต่อไปได้ ดังนี้จึงสมควรให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1
ป.พ.พ.มาตรา 1251 มิได้มุ่งหมายที่จะให้ผู้ที่เป็นกรรมการของบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทเสมอไปไม่ เพราะมีข้อยกเว้นไว้ว่าถ้าหากมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ผู้ชำระบัญชีของบริษัทก็จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับนั้น ๆ และถ้าหากกรรมการของบริษัทไม่อาจเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีได้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ และข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้ กรณีย่อมต้องด้วยวรรคสองของมาตรา 1251 นี้คือไม่มีผู้ชำระบัญชี ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีได้ มิฉะนั้นบทบัญญัติของมาตรา 1251 ย่อมไร้ผลไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่กรณีใด ๆ ได้
กรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมีเหตุไม่ลงรอยกัน ไม่อาจชำระบัญชีร่วมกันได้ และไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้ โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและผู้จัดการมรดกของผู้ถือหุ้นจึงมีสิทธิขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1251 วรรคสอง ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกบริษัทจำกัด: เหตุขาดทุนต่อเนื่องและไม่มีทางฟื้นตัว, การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
การขอให้ศาลสั่งเลิกบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1237 นั้น มิได้กำหนดไว้ให้ต้องทำเป็นคำร้องขอ โจทก์จึงชอบที่จะขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1 โดยทำเป็นคำฟ้องได้ และตามคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 เป็นกรรมการ จำเลยที่ 2ถึงที่ 7 ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 มากกว่าโจทก์ได้บริหารบริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนจนไม่มีทางหวังว่าจะพื้นตัวได้จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 แล้ว โจทก์บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดว่าเหตุแห่งการขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1 เนื่องจากบริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนตั้งแต่ปี 2528 จนถึงปี 2531 รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ21,273,670.10 บาท และไม่มีทางหวังว่าจะพื้นตัวได้ประเด็นในคดีจึงมีว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ดำเนินกิจการขาดทุนติดต่อกันเกินกว่า 1 ปี และไม่มีทางหวังจะพื้นตัวได้หรือไม่ ส่วนที่อ้างมาในคำฟ้องตอนแรกว่า เป็นเพราะกรรมการฝ่ายจำเลยบริหารบริษัทจำเลยที่ 1 ปราศจากความระมัดระวังไม่รอบคอบและไม่สุจริตนั้น เป็นเพียงเหตุผลประกอบเท่านั้น ไม่ใช้เป็นประเด็นโดยตรง ดังนี้ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า น่าเชื่อว่าฝ่ายโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1ร่วมกับฝ่ายจำเลย กิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 คงไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จึงทำให้กิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนติดต่อกันเป็นเวลา 4 ปีเศษนั้น จึงไม่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานนอกฟ้องและนอกประเด็น จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ฎีกาว่า บริษัทจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินเป็นที่ดินมูลค่า 1,000 ล้านบาทการที่บริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนอยู่เป็นเงินเพียง 26 ล้านบาทเศษน่าจะแก้ไขได้หากได้รับความร่วมมือจากกรรมการฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ แต่กรรมการและผู้ถือหุ้นฝ่ายโจทก์นอกจากจะไม่ยอมใช้ความรู้ความสามารถเข้าช่วยเหลือบริษัทจำเลยที่ 1 แล้ว ยังพยายามขัดขวางมิให้ฝ่ายจำเลยแก้ไขปัญหาได้ และกลับปล่อยให้บริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนตอลดเวลานั้น ฎีกาของจำเลยดังกล่าวนอกจากจะไม่ได้เสนอหนทางหรือวิธีการแก้ไขปัญหาขาดทุนของจำเลยที่ 1แล้ว กลับเป็นการแสดงให้เห็นว่าไม่มีทางที่จะกลับพื้นตัวให้มีกำไรหรือระงับการขาดทุนต่อไปได้ดังนี้จึงสมควรให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 มิได้มุ่งหมายที่จะให้ผู้ที่เป็นกรรมการของบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทเสมอไปไม่ เพราะมีข้อยกเว้นไว้ว่าถ้าหากมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ผู้ชำระบัญชีของบริษัทก็จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับนั้น ๆ และถ้าหากกรรมการของบริษัทไม่อาจเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีได้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ และข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้ กรณีย่อมต้องด้วยวรรคสองของมาตรา 1251 นี้คือไม่มีผู้ชำระบัญชี ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลผู้ชำระบัญชีได้ มิฉะนั้นบทบัญญัติของมาตรา 1251ย่อมไร้ผลไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่กรณีใด ๆ ได้ กรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมีเหตุไม่ลงรอยกัน ไม่อาจชำระบัญชีร่วมกันได้ และไม่ปรากฎว่ามีข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและผู้จัดการมรดกของผู้ถือหุ้นจึงมีสิทธิขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1251 วรรคสอง ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทจำกัด ขาดทุนต่อเนื่อง และการตั้งผู้ชำระบัญชี
การขอให้ศาลสั่งเลิกบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1237นั้นมิได้กำหนดไว้ให้ต้องทำเป็นคำร้องขอโจทก์ทั้งเจ็ดจึงชอบที่จะขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่1โดยทำเป็นคำฟ้องได้และตามคำฟ้องจำเลยที่2ถึงที่4และที่6เป็นกรรมการจำเลยที่2ถึงที่7ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่1มากกว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้บริหารบริษัทจำเลยที่1ขาดทุนจนไม่มีทางหวังว่าจะฟื้นตัวได้จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55แล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1251มิได้มุ่งหมายให้ผู้ที่เป็นกรรมการของบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทเสมอไปไม่เพราะมีข้อยกเว้นไว้ว่าหากมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นผู้ชำระบัญชีของบริษัทก็จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับนั้นๆและหากกรรมการของบริษัทไม่อาจเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีได้ไม่ว่าด้วยประการใดๆและข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้กรณีย่อมต้องด้วยวรรคสองของมาตรา1251คือไม่มีผู้ชำระบัญชีผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีได้มิฉะนั้นบทบัญญัติมาตรา1251ย่อมไร้ผลเมื่อกรรมการของบริษัทจำเลยที่1ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมีเหตุไม่ลงรอยกันไม่อาจชำระบัญชีร่วมกันได้และไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่1กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้โจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีสิทธิขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1251วรรคสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทจำกัดเนื่องจากขาดทุนต่อเนื่องและไม่มีทางฟื้นตัว รวมถึงการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
การขอให้ศาลสั่งเลิกบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1237นั้นมิได้กำหนดไว้ให้ต้องทำเป็นคำร้องขอโจทก์จึงชอบที่จะขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่1โดยทำเป็นคำฟ้องได้และตามคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยที่2ถึงที่4และที่6เป็นกรรมการจำเลยที่2ถึงที่7ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่1มากกว่าโจทก์ได้บริหารบริษัทจำเลยที่1ขาดทุนจนไม่มีทางหวังว่าจะพื้นตัวได้จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55แล้ว โจทก์บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดว่าเหตุแห่งการขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่1เนื่องจากบริษัทจำเลยที่1ขาดทุนตั้งแต่ปี2528จนถึงปี2531รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ21,273,670.10บาทและไม่มีทางหวังว่าจะพื้นตัวได้ประเด็นในคดีจึงมีว่าบริษัทจำเลยที่1ดำเนินกิจการขาดทุนติดต่อกันเกินกว่า1ปีและไม่มีทางหวังจะพื้นตัวได้หรือไม่ส่วนที่อ้างมาในคำฟ้องตอนแรกว่าเป็นเพราะกรรมการฝ่ายจำเลยบริหารบริษัทจำเลยที่1ปราศจากความระมัดระวังไม่รอบคอบและไม่สุจริตนั้นเป็นเพียงเหตุผลประกอบเท่านั้นไม่ใช้เป็นประเด็นโดยตรงดังนี้ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าน่าเชื่อว่าฝ่ายโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่1ร่วมกับฝ่ายจำเลยกิจการของบริษัทจำเลยที่1คงไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จึงทำให้กิจการของบริษัทจำเลยที่1ขาดทุนติดต่อกันเป็นเวลา4ปีเศษนั้นจึงไม่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานนอกฟ้องและนอกประเด็น จำเลยที่1ที่3ที่4ที่6และที่7ฎีกาว่าบริษัทจำเลยที่1มีทรัพย์สินเป็นที่ดินมูลค่า1,000ล้านบาทการที่บริษัทจำเลยที่1ขาดทุนอยู่เป็นเงินเพียง26ล้านบาทเศษน่าจะแก้ไขได้หากได้รับความร่วมมือจากกรรมการฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถแต่กรรมการและผู้ถือหุ้นฝ่ายโจทก์นอกจากจะไม่ยอมใช้ความรู้ความสามารถเข้าช่วยเหลือบริษัทจำเลยที่1แล้วยังพยายามขัดขวางมิให้ฝ่ายจำเลยแก้ไขปัญหาได้และกลับปล่อยให้บริษัทจำเลยที่1ขาดทุนตอลดเวลานั้นฎีกาของจำเลยดังกล่าวนอกจากจะไม่ได้เสนอหนทางหรือวิธีการแก้ไขปัญหาขาดทุนของจำเลยที่1แล้วกลับเป็นการแสดงให้เห็นว่าไม่มีทางที่จะกลับพื้นตัวให้มีกำไรหรือระงับการขาดทุนต่อไปได้ดังนี้จึงสมควรให้เลิกบริษัทจำเลยที่1 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1251มิได้มุ่งหมายที่จะให้ผู้ที่เป็นกรรมการของบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทเสมอไปไม่เพราะมีข้อยกเว้นไว้ว่าถ้าหากมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นผู้ชำระบัญชีของบริษัทก็จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับนั้นๆและถ้าหากกรรมการของบริษัทไม่อาจเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีได้ไม่ว่าด้วยประการใดๆและข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้กรณีย่อมต้องด้วยวรรคสองของมาตรา1251นี้คือไม่มีผู้ชำระบัญชีผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลผู้ชำระบัญชีได้มิฉะนั้นบทบัญญัติของมาตรา1251ย่อมไร้ผลไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่กรณีใดๆได้ กรรมการของบริษัทจำเลยที่1ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมีเหตุไม่ลงรอยกันไม่อาจชำระบัญชีร่วมกันได้และไม่ปรากฎว่ามีข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่1กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและผู้จัดการมรดกของผู้ถือหุ้นจึงมีสิทธิขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1251วรรคสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2037/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าช่วงและการโอนสิทธิเช่าหลังเลิกบริษัท: สิทธิของผู้ให้เช่าช่วงและผู้รับโอน
แม้โจทก์จะถูกศาลสั่งให้เลิกบริษัทแล้ว แต่ก็ยังหาได้สิ้นสภาพการเป็นนิติบุคคลไปทันทีไม่จะยังคงมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1249 เมื่อโจทก์ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่และยังอยู่ในระหว่างการชำระบัญชี โจทก์ก็ย่อมจะรับสิทธิตามสัญญาเช่าเดิมที่ทำไว้กับม. และ อ.ได้
แม้ในสัญญาเช่าช่วงอาคารพิพาทระหว่างโจทก์โดยผู้ชำระบัญชีผู้ให้เช่าช่วงกับ ด.ผู้เช่าช่วงจะมีข้อตกลงว่า ด.ให้เงินค่าตอบแทนแก่โจทก์ก็ดี กำหนดให้อายุของสัญญาเช่าช่วงเท่ากับอายุของสัญญาเช่าที่เหลืออยู่จากการที่โจทก์ทำสัญญาเช่าเดิมก็ดี หรือกำหนดให้สิทธิและหน้าที่ซึ่งโจทก์มีอยู่ตามสัญญาซึ่งเดิมตกเป็นของ ด.ก็ตาม ล้วนแต่เป็นข้อตกลงอันเกิดจากสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับ ด.ทั้งสิ้น คู่สัญญาย่อมทำข้อตกลงให้ผูกพันกันได้ เจตนาของคู่สัญญาให้มีผลผูกพันอย่างการเช่าช่วงก็ย่อมต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญานั้น หาทำให้ข้อความในสัญญาแปรเปลี่ยนไปเป็นการขายหรือโอนสิทธิการเช่าไม่ ยิ่งเมื่อพิจารณาจากสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับ ม.และ อ. ข้อ 6 และ ข้อ 7 แล้ว จะเห็นได้ว่าในข้อ 7 นั้นเป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าตกลงยอมให้ผู้เช่านำอาคารที่เช่าบางส่วนหรือทั้งหมดให้บุคคลอื่นเช่าช่วงได้ แต่ในข้อ 6เป็นกรณีที่ผู้เช่าจะโอนสิทธิให้บุคคลอื่น จะต้องจ่ายค่าแก้ไขสัญญาเช่าให้ผู้ให้เช่าครั้งละ 2,000 บาท ดังนั้น ในกรณีโอนสิทธิการเช่าจึงต้องมีการแก้ไขสัญญาให้ผู้ที่จะรับโอนสิทธิการเช่าเข้าเป็นคู่สัญญากับผู้ให้เช่าโดยตรง แต่โจทก์หาได้แก้ไขสัญญาให้ ด.ไปผูกพันเป็นคู่สัญญากับผู้ให้เช่าโดยตรงไม่ สัญญาระหว่างโจทก์กับ ด.จึงมิใช่การโอนสิทธิการเช่า โจทก์ยังมีสิทธิในฐานะคู่สัญญากับ ม.และ อ.อยู่ ย่อมอ้างถึงสิทธิตามสัญญาเช่าเดิมที่ทำไว้นั้นได้
แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบอธิบายว่า การโอนสิทธิการเช่าให้ ม.เกี่ยวข้องกับการชำระบัญชีอย่างไร แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ม.เป็นบุตรและผู้จัดการ-มรดกของ ด.ผู้เช่าช่วง เมื่อ ด.ถึงแก่กรรมไป โจทก์และ ม.ยังมีเจตนาจะให้มีความผูกพันกันตามสัญญาเช่าช่วงที่โจทก์ทำไว้กับ ด.ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเพราะสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับ ด.เลิกกันไปเพราะความตายของ ด.แล้ว โจทก์ยินยอมให้ ม.สืบสิทธิของ ด.ต่อไปในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด.โดยวิธีโอนสิทธิการเช่าของโจทก์ให้เลยทีเดียวหรือในฐานะส่วนตัวของ ม.ที่ขอโอนสิทธิการเช่ากับโจทก์ก็ตาม ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ย่อมมีอำนาจกระทำได้เพราะเป็นการจำหน่ายสิทธิในการเช่าซึ่งเป็นทรัพย์สินและเป็นการชำระสะสางกิจการของโจทก์ให้เสร็จสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 และ 1259 (2)(3) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2037/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สภาพการเป็นนิติบุคคลหลังเลิกบริษัท สิทธิในการเช่าช่วง และการโอนสิทธิการเช่าเพื่อชำระบัญชี
แม้โจทก์จะถูกศาลสั่งให้เลิกบริษัทแล้วแต่ก็ยังหาได้สิ้นสภาพการเป็นนิติบุคคลไปทันทีไม่ว่าจะยังคงมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1249เมื่อโจทก์ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่และยังอยู่ในระหว่างการชำระบัญชีโจทก์ก็ย่อมจะรับสิทธิตามสัญญาเช่าเดิมที่ทำไว้กับม. และอ. ได้ แม้ในสัญญาเช่าช่วงอาคารพิพาทระหว่างโจทก์โดยผู้ชำระบัญชีผู้ให้เช่าช่วงกับด.ผู้เช่าช่วงจะมีข้อตกลงว่าด.ให้เงินค่าตอบแทนแก่โจทก์ก็ดีกำหนดให้อายุของสัญญาเช่าช่วงเท่ากับอายุของสัญญาเช่าที่เหลืออยู่จากการที่โจทก์ทำสัญญาเช่าเดิมก็ดีหรือกำหนดให้สิทธิและหน้าที่ซึ่งโจทก์มีอยู่ตามสัญญาซึ่งเดิมตกเป็นของด.ก็ตามล้วนแต่เป็นข้อตกลงอันเกิดจากสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับด.ทั้งสิ้นคู่สัญญาย่อมทำข้อตกลงให้ผูกพันกันได้เจตนาของคู่สัญญาให้มีผลผูกพันอย่างการเช่าช่วงก็ย่อมต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญานั้นหาทำให้ข้อความในสัญญาแปรเปลี่ยนไปเป็นการขายหรือโอนสิทธิการเช่าไม่ยิ่งเมื่อพิจารณาจากสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับม.และอ. ข้อ6และข้อ7แล้วจะเห็นได้ว่าในข้อ7นั้นเป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าตกลงยอมให้ผู้เช่านำอาคารที่เช่าบางส่วนหรือทั้งหมดให้บุคคลอื่นเช่าช่วงได้แต่ในข้อ6เป็นกรณีที่ผู้เช่าจะโอนสิทธิให้บุคคลอื่นจะต้องจ่ายค่าแก้ไขสัญญาเช่าให้ผู้ให้เช่าครั้งละ2,000บาทดังนั้นในกรณีโอนสิทธิการเช่าจึงต้องมีการแก้ไขสัญญาให้ผู้ที่จะรับโอนสิทธิการเช่าเข้าเป็นคู่สัญญากับผู้ให้เช่าโดยตรงแต่โจทก์หาได้แก้ไขสัญญาให้ด.ไปผูกพันเป็นคู่สัญญากับผู้ให้เช่าโดยตรงไม่สัญญาระหว่างโจทก์กับด.จึงมิใช่การโอนสิทธิการเช่าโจทก์ยังมีสิทธิในฐานะคู่สัญญากับม. และอ. อยู่ย่อมอ้างถึงสิทธิตามสัญญาเช่าเดิมที่ทำไว้นั้นได้ แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบอธิบายว่าการโอนสิทธิการเช่าให้ม.เกี่ยวข้องกับการชำระบัญชีอย่างไรแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าม.เป็นบุตรและผู้จัดการมรดกของด.ผู้เช่าช่วงเมื่อด.ถึงแก่กรรมไปโจทก์และม.ยังมีเจตนาจะให้มีความผูกพันกันตามสัญญาเช่าช่วงที่โจทก์ทำไว้กับด.ต่อไปไม่ว่าจะเป็นเพราะสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับด. เลิกกันไปเพราะความตายของด.แล้วโจทก์ยินยอมให้ม.สืบสิทธิของด.ต่อไปในฐานะผู้จัดการมรดกของด.โดยวิธีโอนสิทธิการเช่าของโจทก์ให้เลยทีเดียวหรือในฐานะส่วนตัวของม.ที่ขอโอนสิทธิการเช่ากับโจทก์ก็ตามผู้ชำระบัญชีของโจทก์ย่อมมีอำนาจกระทำได้เพราะเป็นการจำหน่ายสิทธิในการเช่าซึ่งเป็นทรัพย์สินและเป็นการชำระสะสางกิจการของโจทก์ให้เสร็จสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1250และ1259(2)(3)โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
of 6