คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลิกห้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งประเมินภาษีหลังเลิกห้างหุ้นส่วน และการรับผิดของหุ้นส่วน
ในการชำระบัญชีเพื่อเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด เมื่อผู้ชำระบัญชีได้เลือกกำหนดเอาสถานที่ใดเป็นสำนักงานชำระบัญชี ต้องถือว่าสถานที่นั้นเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการในการชำระบัญชีของห้างนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 49
แม้จะเสร็จการชำระบัญชีและได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดแล้วก็ตามแต่ภูมิลำเนาเฉพาะการดังกล่าวนั้น จะยังคงอยู่ ณ สถานที่นั้นต่อไปอีกจนสิ้นระยะเวลาสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้ผู้ชำระบัญชีของห้างที่จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด ทราบโดยชอบแล้วก็มีผลใช้ได้ แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ จะไม่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน ก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย-การเลิกห้าง-ภาษีค้างชำระ: ศาลยืนฟ้องล้มละลายได้
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะมิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้
เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย ห้างจำเลยที่ 1 ต้องเลิกกันและต้องมีการชำระบัญชี ซึ่งห้างยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการย่อมเป็นผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 1251 และมีอำนาจแก้ต่างว่าต่าง ในนามห้างได้ตาม มาตรา 1259(1) โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการให้รับผิดในหนี้ภาษีอากรได้
จำเลยที่ 3 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2514 ถึง วันที่ 7 กันยายน 2526 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2528 ก่อนครบกำหนด 2 ปี นับแต่จำเลยที่ 3 ออกจากหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 3 จึงยังคงต้องรับผิดในหนี้ของห้างอยู่ ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 10681080 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไม่ครบถ้วน ส่วนที่ยื่นไว้ก็ปรากฏว่าแสดงรายการการค้าต่ำกว่ากำหนดรายรับขั้นต่ำตามที่กองภาษีการค้ากำหนดไว้เจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงมีหมายเรียกจำเลยที่ 1 ให้มาไต่สวนกับให้ส่งมอบเอกสารที่ได้ดำเนินกิจการมาให้ตรวจสอบ แต่จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงทำการตรวจสอบและทำรายงานการตรวจสอบภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521 กับประเมินภาษีในปี พ.ศ. 2522, 2523 แล้วแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ฉะนั้น ภาษีการค้าที่เจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาด ตามนัยประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ 88 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521 เจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ มีหมายเรียกมาไต่สวนและให้ส่งเอกสารเพื่อทำการตรวจสอบ แต่จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ ประเมินและแจ้งผลการประเมินให้จำเลยที่ 1 ทราบแล้ว ฉะนั้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาด ตามนัยประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) 21 เมื่อรวมเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลกับภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแล้วรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,278,593.69 บาท จำนวนเงินดังกล่าวเป็นหนี้แน่นอนและไม่น้อยกว่า 500,000 บาทโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย-เลิกห้าง-อำนาจฟ้อง-ภาษีเด็ดขาด-หนี้ภาษี
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะมิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย ห้างจำเลยที่ 1 ต้อง เลิกกันและต้อง มีการชำระบัญชี ซึ่ง ห้างยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี โดย จำเลยที่ 2ในฐานะ หุ้นส่วนผู้จัดการย่อมเป็นผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12491251 และมีอำนาจแก้ต่างว่าต่าง ในนามห้างได้ตาม มาตรา 1259(1) โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1โดย จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการให้รับผิดในหนี้ภาษีอากรได้ จำเลยที่ 3 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2514 ถึง วันที่ 7 กันยายน 2526 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2528 ก่อนครบกำหนด 2 ปี นับแต่จำเลยที่ 3 ออกจากหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 3 จึงยังคงต้อง รับผิดในหนี้ของห้างอยู่ ตาม นัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 10681080 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไม่ครบถ้วน ส่วนที่ยื่นไว้ก็ปรากฏว่าแสดงรายการการค้าต่ำ กว่ากำหนดรายรับขั้นต่ำตามที่กองภาษีการค้ากำหนดไว้เจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงมีหมายเรียกจำเลยที่ 1 ให้มาไต่สวนกับให้ส่งมอบเอกสารที่ได้ดำเนิน กิจการมาให้ตรวจสอบ แต่ จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงทำการตรวจสอบและทำรายงานการตรวจสอบภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521 กับประเมินภาษีในปี พ.ศ. 2522,2523 แล้วแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบฉะนั้น ภาษีการค้าที่เจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาดตาม นัยประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ 88 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521เจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ มีหมายเรียกมาไต่สวนและให้ส่งเอกสารเพื่อทำการตรวจสอบ แต่ จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ ประเมินและแจ้งผลการประเมินให้จำเลยที่ 1 ทราบแล้ว ฉะนั้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาด ตาม นัยประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1)21 เมื่อรวมเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลกับภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแล้วรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,278,593.69 บาทจำนวนเงินดังกล่าวเป็นหนี้แน่นอนและไม่น้อยกว่า 500,000 บาทโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลายได้ .

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังผู้จัดการเสียชีวิต และอำนาจของผู้ชำระบัญชีในการดำเนินคดีแทน
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ จำเลยที่ 1 ถึง แก่กรรมห้างฯ จำเลยที่ 1 ต้อง เลิกกันและจัดให้มีการชำระบัญชี ว.หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดห้างฯ จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจแต่ง ทนายสู้ คดีแทนห้างฯ จำเลยที่ 1 กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ ว. แต่งตั้ง ทนายสู้ คดีแทนจำเลยที่ 1 ต้อง เพิกถอนเสีย เพราะเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชี การที่จะอ้างเหตุฉุกเฉิน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 802 ต้อง เป็นตัวแทนกันมาก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อหุ้นส่วนผู้จัดการเสียชีวิต และการรับทายาทเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทน
เมื่อหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดตาย ห้างหุ้นส่วนจำกัดย่อมเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055 (5), 1080 แต่หุ้นส่วนที่ยังคงอยู่อาจตกลงให้ห้างยังคงอยู่ต่อไป โดยรับทายาทของหุ้นส่วนที่ตายเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทนได้ เมื่อปรากฏว่า บ. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างโจทก์ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาหุ้นส่วนอื่นได้รับ ช. ซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกให้เข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทน บ. ห้างโจทก์จึงคงอยู่ต่อมาและเมื่อศาลอนุญาตให้ ช. เข้าเป็นผู้แทนโจทก์แทน บ. แล้ว ห้างโจทก์จึงมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดถึงแก่ความตายและการรับทายาทเข้าเป็นหุ้นส่วน
โดยปกติเมื่อหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดตายห้างหุ้นส่วนจำกัดย่อมเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1055(5),1080 แต่หุ้นส่วนที่ยังอยู่อาจตกลงให้ห้างยังคงอยู่ต่อไป โดยรับทายาทของหุ้นส่วนที่ตายเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทนได้เมื่อปรากฏว่าหลังจาก บ.หุ้นส่วนผู้จัดการห้างโจทก์ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณา หุ้นส่วนอื่นได้รับ ช. ซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกให้เข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทน บ. ห้างโจทก์จึงคงอยู่ต่อมา และเมื่อศาลอนุญาตให้ ช. เข้าเป็นผู้แทนโจทก์แทนบ. แล้วห้างโจทก์จึงมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญขาดทุน เลิกห้าง-ชำระบัญชี: ศาลสั่งบังคับรับผิดได้ แม้ยังมิได้ชำระบัญชี
การที่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญฟ้องผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเป็นจำเลยให้รับผิดในส่วนที่ขาดทุน โดยที่ยังไม่มีการเลิกห้างและชำระบัญชีนั้น แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะมิได้มีคำขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ แต่เมื่อตาม คำฟ้องมีคำขอให้บังคับจำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนครึ่งหนึ่งพร้อมด้วย ดอกเบี้ยแสดงให้เห็นความประสงค์ของโจทก์ว่าต้องการให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญด้วย ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าไม่มีตัวบุคคลที่จะช่วย ให้การประกอบกิจการของห้างหุ้นส่วนดำเนินต่อไปได้ อีกแล้ว ถือว่ามีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรง คงอยู่ต่อไปได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057(3)ศาลย่อมสั่งให้ห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นเลิกกันได้
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันแล้ว จะต้อง มีการชำระบัญชีกันก่อนเพื่อทราบกำไรขาดทุน แต่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนไม่มีเจ้าหนี้ไม่มี คงมีแต่ เพียงลูกหนี้ที่ไม่สามารถติดตาม เรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ ส่วนที่ขาดทุนคือเงินทดรองซื้อ สินค้า ดังนั้น การที่จะให้ไปดำเนินการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสียก่อนย่อมไม่เป็นประโยชน์ แม้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนโดย มิได้ขอให้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนเสียก่อน ศาลก็ย่อมพิพากษาบังคับให้จำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนได้โดย มิต้องให้มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญและการบังคับชำระหนี้ขาดทุนโดยไม่ต้องชำระบัญชี
การที่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญฟ้องผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเป็นจำเลยให้รับผิดในส่วนที่ขาดทุน โดยที่ยังไม่มีการเลิกห้างและชำระบัญชีนั้น แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะมิได้มีคำขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ แต่เมื่อตาม คำฟ้องมีคำขอให้บังคับจำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนครึ่งหนึ่งพร้อมด้วย ดอกเบี้ยแสดงให้เห็นความประสงค์ของโจทก์ว่าต้องการให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญด้วย ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าไม่มีตัวบุคคลที่จะช่วย ให้การประกอบกิจการของห้างหุ้นส่วนดำเนินต่อไปได้ อีกแล้ว ถือว่ามีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรง คงอยู่ต่อไปได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057(3)ศาลย่อมสั่งให้ห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นเลิกกันได้ เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันแล้ว จะต้อง มีการชำระบัญชีกันก่อนเพื่อทราบกำไรขาดทุน แต่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนไม่มีเจ้าหนี้ไม่มี คงมีแต่ เพียงลูกหนี้ที่ไม่สามารถติดตาม เรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ ส่วนที่ขาดทุนคือเงินทดรองซื้อ สินค้า ดังนั้น การที่จะให้ไปดำเนินการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสียก่อนย่อมไม่เป็นประโยชน์ แม้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนโดย มิได้ขอให้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนเสียก่อน ศาลก็ย่อมพิพากษาบังคับให้จำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนได้โดย มิต้องให้มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 281/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลหลังเลิกห้างฯ: ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องแทน
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลมีสภาพเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น การกระทำใดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลนั้นผู้ที่มีอำนาจฟ้องคดีแทนก็คือหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯ แต่เมื่อห้างฯได้เลิกกันตามคำพิพากษาและมีการตั้งผู้ชำระบัญชีแล้ว อำนาจในการฟ้องคดีจึงตกอยู่แก่ผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1259 โจทก์ในฐานะหุ้นส่วนของห้างฯ ไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3133/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนแบ่งเงินได้เสรีหลังเลิกห้าง ผู้ชำระบัญชีไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ย่อมตกลงกันให้แบ่งเงินของห้างหุ้นส่วนเมื่อใดก็ได้ ทำนองเดียวกับเจ้าของรวมตกลงแบ่งทรัพย์กันนั่นเอง
จำเลยรับเงินส่วนแบ่งจำนวนหนึ่งมาจากศาลตามที่ศาลฎีกาพิพากษาให้แบ่งเงินค่าสินค้าของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์ที่ 1 กับจำเลยผู้เป็นหุ้นส่วนโดยห้างหุ้นส่วนนั้นเลิกกันแล้วและอยู่ในระหว่างที่มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนอยู่ เงินส่วนที่แบ่งให้จำเลยก็ตกเป็นของจำเลย ผู้ชำระบัญชีหามีอำนาจที่จะเรียกร้องหรือเข้าเก็บรักษาเงินจำนวนนี้ โดยอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1259 ได้ไม่
of 5