คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลิกห้างหุ้นส่วน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเมื่อหุ้นส่วนตาย และการมีอำนาจร้องขอตั้งผู้ชำระบัญชี
หุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลตายหุ้นส่วนอื่นที่คงเหลืออยู่เพียงแต่ได้แสดงเจตนาจะขอซื้อหุ้นของหุ้นส่วนดังกล่าว กรณียังไม่เป็นการรับซื้อหุ้นของหุ้นส่วนที่ตาย ตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา1060 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลจึงเป็นอันเลิกกันและต้องมีการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1069,1055(5) ผู้จัดการมรดกของผู้เป็นหุ้นส่วนที่ตาย เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 วรรคสอง มีอำนาจร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความขัดแย้งระหว่างหุ้นส่วนและการเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ
โจทก์จำเลยตกลงเข้าหุ้นประกอบกิจการโรงกลึงเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน การที่โจทก์จำเลยขัดแย้งกันโดยจำเลยไม่ให้โจทก์มีสิทธิสั่งจ่ายเงินและไม่แบ่งผลกำไรให้โจทก์ แต่กลับนำเงินไปจ่ายล่วงหน้าสำหรับรถยนต์ที่จำเลยซื้อ และจำเลยไม่ได้ทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกิจการโรงกลึงไว้ทั้งยังปฏิเสธว่าโจทก์มิใช่หุ้นส่วนกับจำเลย เช่นนี้ ถือได้ว่าผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ปรองดองกันเหลือวิสัยที่ห้างหุ้นส่วนจะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ จึงมีเหตุที่ศาลจะพิพากษาให้เลิกห้างหุ้นส่วนตามที่โจทก์ฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญจากเหตุหุ้นส่วนไม่ปรองดองและขาดการจัดการที่เหมาะสม
โจทก์จำเลยตกลงเข้าหุ้นประกอบกิจการโรงกลึงเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน การที่โจทก์จำเลยขัดแย้งกันโดยจำเลยไม่ให้โจทก์มีสิทธิสั่งจ่ายเงินและไม่แบ่งผลกำไรให้โจทก์ แต่กลับนำเงินไปจ่ายล่วงหน้าสำหรับรถยนต์ที่จำเลยซื้อ และจำเลยไม่ได้ทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกิจการโรงกลึงไว้ทั้งยังปฏิเสธว่าโจทก์มิใช่หุ้นส่วนกับจำเลย เช่นนี้ ถือได้ว่าผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ปรองดองกันเหลือวิสัยที่ห้างหุ้นส่วนจะดำรงคงอยู่ต่อไปได้จึงมีเหตุที่ศาลจะพิพากษาให้เลิกห้างหุ้นส่วนตามที่โจทก์ฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดจากเหตุหุ้นส่วนผู้จัดการประพฤติผิดสัญญาและมีเหตุให้ห้างฯ ดำรงอยู่ไม่ได้
การที่จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเพียงคนเดียวของห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ประพฤติผิดสัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดนับว่ามีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ที่ 1 เหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมสามารถฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ตามกฎหมายขอให้เลิกกิจการห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นการเลิกสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และจำเลยได้โดยตรงโดยหาจำต้องฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วยไม่ เมื่อคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงว่าจำเลยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในฐานะแทนโจทก์ที่ 1 และคำขอบังคับก็ได้ระบุขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ซึ่งย่อมหมายความรวมถึงโจทก์ที่ 1 ด้วย คำฟ้องของโจทก์เช่นนี้หาเคลือบคลุมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วน, อำนาจผู้ชำระบัญชี, การแต่งทนาย, และการดำเนินคดีเมื่อหุ้นส่วนถึงแก่กรรม
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรม ห้างฯ จำเลยที่ 1 ต้องเลิกกันและจัดให้มีการชำระบัญชี ว.หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดห้างฯ จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจแต่งทนายสู้คดีแทนห้างฯ จำเลยที่ 1 กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ ว. แต่งตั้งทนายสู้คดีแทนจำเลยที่ 1 ต้องเพิกถอนเสีย เพราะเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชี การที่จะอ้างเหตุฉุกเฉินตาม ป.พ.พ.มาตรา 802 ต้องเป็นตัวแทนกันมาก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังผู้จัดการเสียชีวิต อำนาจการดำเนินคดีเป็นของผู้ชำระบัญชี
จำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้ ถึงแก่ความตายไปก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลาย ห้างฯ จำเลยที่ 1 ซึ่ง มีผู้เป็นหุ้นส่วนอยู่สองคนคือจำเลยที่ 2 และ ว. จึงต้อง เลิกกัน เนื่องจากสภาพความเป็นหุ้นส่วนย่อมไม่มีอยู่ต่อไปอีก คงมีอยู่แต่ เฉพาะ ว. ผู้เดียวหากจะดำเนิน กิจการของห้างฯ จำเลยที่ 1 ต่อไปก็เท่ากับดำเนินการในกิจการส่วนตัวของ ว. เท่านั้น เมื่อห้างฯ จำเลยที่ 1เลิกกันก็ต้อง จัดให้มีการชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1247 ถึง1273 ว. จึงไม่มีอำนาจตั้ง ตนเองเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 และแต่งทนายเข้ามาสู้ คดีแทนจำเลยที่ 1 ได้ เพราะเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชีตาม มาตรา 1259(1) และกรณีดังกล่าวก็ไม่ต้องด้วยป.พ.พ. มาตรา 802 เนื่องจาก ว. มิได้เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 มาก่อน ว. จึงไม่มีอำนาจเข้าดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1เพราะเหตุฉุกเฉิน ได้ ดังนี้ ศาลชอบที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนับแต่ ว. แต่งทนายเข้ามาสู้ คดีแทนจำเลยที่ 1เสียทั้งหมด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2532 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางภาษีของหุ้นส่วนและทายาทในกรณีห้างหุ้นส่วนเลิก และการคำนวณเงินเพิ่มภาษีที่ถูกต้อง
ประมวลรัษฎากรมาตรา ๕๖ วรรคสองบัญญัติไว้เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบในการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลห้างหุ้นส่วนสามัญ จ. มีหุ้นส่วน ๒ คน คือ ห. กับจำเลยที่ ๑เมื่อ ห. ตาย จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ที่จะต้องยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของห้างหุ้นส่วนสำหรับปีภาษีนั้น เมื่อจำเลยที่ ๑ ไม่ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีและเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่ ๑ แล้วแม้จะมิได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อทายาทของ ห. ก็ไม่ทำให้การประเมินเสียไป
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล เลิกกันโดยไม่มีการชำระบัญชี ผู้เป็นหุ้นส่วนและบุคคลผู้มีอำนาจจัดการมีหน้าที่ร่วมกันยื่นแบบแสดงรายการการค้า ตามประมวลรัษฎากรมาตรา ๗๗ และ ๘๔ ฉ.วรรค เมื่อ ห. ผู้เป็นหุ้นส่วนตายเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา๑๐๕๕(๕) และไม่มีการชำระบัญชี จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่เหลือต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนห้างหุ้นส่วนในการเสียภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนต่อจำเลยที่ ๑ จึงชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา ๘๘
ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๐๒๕ เมื่อ ห.ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตาย ทายาทผู้รับมรดกของ ห. ต้องร่วมกับจำเลยที่ ๑ รับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวด้วย
การคำนวณเงินเพิ่มภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๘๙ ทวิต้องเริ่มนับเมื่อพ้น ๑๕ วัน ถัดจากเดือนภาษี ทั้งเงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา ๘๙ ทวิดังกล่าวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีหลังเลิกห้างหุ้นส่วน: วันสุดท้ายรอบระยะเวลาบัญชีตามกฎหมายภาษีอากร
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเลิกกันเพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษี ป.รัษฎากรมาตรา 72 วรรคสอง ให้ถือว่าวันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิกเป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานจดทะเบียนเลิกห้างโจทก์ในวันที่ 10 เมษายน 2524 จึงต้องถือว่าวันที่ 10เมษายน 2524 เป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี.
โจทก์ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามที่บัญญัติไว้ใน ป. รัษฎากร มาตรา 69 เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจตาม มาตรา 71(1) ที่จะประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 5 ของยอด รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆแม้โจทก์จะส่งมอบบัญชีและเอกสารในภายหลัง ก็ไม่ทำให้อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวหมดสิ้นไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนและผลกระทบต่อการประเมินภาษี: วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเลิกกัน เพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษี ประมวลรัษฎากร มาตรา 72 วรรคสอง ให้ถือว่าวันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิกเป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานจดทะเบียนเลิกห้างโจทก์ในวันที่ 10เมษายน 2524 จึงต้องถือว่าวันที่ 10 เมษายน 2524 เป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โจทก์ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีภายใน150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 69 เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) ที่จะประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ แม้โจทก์จะส่งมอบบัญชีและเอกสารในภายหลัง ก็ไม่ทำให้อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวหมดสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลและการประเมินภาษี: วันเลิกห้างเป็นวันสิ้นรอบบัญชี เจ้าพนักงานประเมินภาษีได้แม้ส่งบัญชีช้า
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเลิกกันเพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษีประมวลรัษฎากร มาตรา 72 วรรคสอง ให้ถือว่าวันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิกเป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานจดทะเบียนเลิกห้างโจทก์ในวันที่10 เมษายน 2524 จึงต้อง ถือว่าวันที่ 10 เมษายน 2524 เป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โจทก์ไม่ยื่นรายการซึ่ง จำเป็นต้อง ใช้ ในการคำนวณภาษีภายใน150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตาม ที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 69 เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) ที่จะประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 5 ของยอด รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ แม้โจทก์จะส่งมอบบัญชีและเอกสารในภายหลัง ก็ไม่ทำให้อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวหมดสิ้นไป.
of 8