พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6648/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า แม้มีสิทธิใช้เครื่องหมายเดิม แต่เจตนาทำให้หลงเชื่อถือเป็นเครื่องหมายผู้เสียหาย ถือเป็นความผิด
แม้จำเลยที่ 2 จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นรูปรวงข้าวอยู่ในวงกลมสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องจักร กับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นรูปรวงข้าวอยู่ในวงกลมและมีภาษาไทยคำว่า "ตรารวงข้าว" อยู่ใต้รูปสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และยังคงจดทะเบียนอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าข้างต้นต่อไปตามมาตรา 117 ก็ตาม แต่การที่จำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้ารูปรวงข้าวในวงกลมและคำว่า "InterNationalGroup" กับสินค้าจำพวกเครื่องไฟฟ้าโดยไม่มีคำว่า "ตรารวงข้าว" กำกับ ทั้งยังเน้นคำว่า "National" ซึ่งไม่ใช่เครื่องหมายการค้าของตนให้ใหญ่เป็นพิเศษยิ่งกว่าคำอื่น ย่อมแสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองยังคงมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าตรารวงข้าวที่จำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนไว้ตามกฎหมายเดิมต่อไปหรือไม่จึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสองเสียเปรียบหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมแต่อย่างใด เพราะข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองเป็นคนละเรื่องกับการจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "National" ของผู้เสียหาย ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จำเลยคงมีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5104/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า 'LOVEMAN' ทำให้เกิดความสับสนและละเมิดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "LOVEMAN" ของโจทก์ร่วม กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 ซึ่งใช้อักษรโรมันคำว่า "K LOVE MANDESIGN" ประดิษฐ์ขึ้นเป็นรูปครึ่งตัวคนสวมหมวกเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำเหมือนกัน และใช้อักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกัน เครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างมีคำว่า "LOVE MAN" เหมือนกัน สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวเป็นสินค้าชนิดเดียวกันคือเสื้อเชิ้ต แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจะเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ที่เขียนขึ้นโดยมิได้ประดิษฐ์เป็นรูปครึ่งตัวคนสวมหมวกอย่างเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 และเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 มีอักษร "K" และคำว่า "DESIGN" กับประดิษฐ์ตัวอักษรคำว่า "DESIGN" ให้ใหญ่กว่าคำว่า "LOVEMAN" มาก แต่ก็ปรากฏตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าว่าอักษร "K" กับคำว่า "DESIGN" ซึ่งแปลว่า การออกแบบ เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายซึ่งจำเลยที่ 2 ได้แสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้อักษรและคำดังกล่าว สาระสำคัญในเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำว่า "LOVE MAN" ที่เหลืออยู่ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจะเขียนตัวอักษรคำว่า "LOVE" ติดกับคำว่า "MAN" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2วางตัวอักษรคำว่า "LOVE" อยู่บนคำว่า "MAN" ก็ตาม แต่ก็อ่านออกเสียงว่า"เลิฟแมน" เหมือนกัน เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมและของจำเลยที่ 2ใช้กับสินค้าเสื้อเชิ้ตเช่นเดียวกัน ประชาชนผู้ซื้อสินค้าดังกล่าวอาจเรียกสินค้าเสื้อเชิ้ตของโจทก์ร่วมและของจำเลยทั้งสองที่มีไว้เพื่อจำหน่ายว่า "เสื้อเลิฟแมน" เหมือนกันดังนี้ ประชาชนผู้ซื้อสินค้าย่อมเกิดความสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้านั้นได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายจนนับได้ว่าเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าคำว่า "LOVEMAN" ของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนแล้ว
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าเสื้อเชิ้ตของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "LOVEMAN" ของโจทก์ร่วม โดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าสินค้าเสื้อเชิ้ตนั้นมีเครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา110 (1) ประกอบด้วยมาตรา 109 และ ป.อ.มาตรา 83
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าเสื้อเชิ้ตของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "LOVEMAN" ของโจทก์ร่วม โดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าสินค้าเสื้อเชิ้ตนั้นมีเครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา110 (1) ประกอบด้วยมาตรา 109 และ ป.อ.มาตรา 83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5104/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า 'LOVEMAN' และความรับผิดทางอาญาของผู้กระทำ
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "LOVEMAN"ของโจทก์ร่วม กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2ซึ่งใช้อักษรโรมันคำว่า "KLOVEMANDESIGN" ประดิษฐ์ขึ้นเป็นรูปครึ่งตัวคนสวมหมวกเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำเหมือนกัน และใช้อักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกันเครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างมีคำว่า "LOVEMAN" เหมือนกันสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวเป็นสินค้าชนิดเดียวกันคือเสื้อเชิ้ต แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจะเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ที่เขียนขึ้นโดยมิได้ประดิษฐ์ เป็นรูปครึ่งตัวคนสวมหมวกอย่างเครื่องหมายการค้าของ จำเลยที่ 2 และเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 มีอักษร "K" และคำว่า "DESIGN" กับประดิษฐ์ตัวอักษรคำว่า "DESIGN" ให้ใหญ่กว่าคำว่า "LOVEMAN" มาก แต่ก็ปรากฏ ตามตามคำวินิจฉัย ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าว่าอักษร "K" กับคำว่า "DESIGN" ซึ่งแปลว่า การออกแบบ เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญ ในการค้าขายซึ่งจำเลยที่ 2 ได้แสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิ ของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้อักษรและคำดังกล่าว สาระสำคัญ ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำว่า "LOVEMAN" ที่เหลืออยู่ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจะเขียน ตัวอักษรคำว่า "LOVE" ติดกับคำว่า "MAN" ส่วนเครื่องหมาย การค้าของจำเลยที่ 2 วางตัวอักษรคำว่า "LOVE" อยู่บนคำว่า "MAN" ก็ตาม แต่ก็อ่านออกเสียงว่า "เลิฟแมน" เหมือนกัน เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมและของจำเลยที่ 2 ใช้กับสินค้าเสื้อเชิ้ตเช่นเดียวกัน ประชาชนผู้ซื้อสินค้า ดังกล่าวอาจเรียกสินค้าเสื้อเชิ้ตของโจทก์ร่วมและของจำเลยทั้งสอง ที่มีไว้เพื่อจำหน่ายว่า "เสื้อเลิฟแมน" เหมือนกัน ดังนี้ ประชาชนผู้ซื้อสินค้าย่อมเกิดความสับสนหลงผิดในความเป็น เจ้าของสินค้านั้นได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายจนนับได้ว่าเป็นการเลียนแบบ เครื่องหมายการค้าคำว่า "LOVEMAN" ของโจทก์ร่วมที่ได้ จดทะเบียนแล้ว จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับ จำเลยที่ 1 มีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าเสื้อเชิ้ตของกลาง ที่มีเครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "LOVEMAN" ของโจทก์ร่วม โดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าสินค้าเสื้อเชิ้ตนั้นมีเครื่องหมายการค้า ที่เลียนแบบดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 110(1) ประกอบด้วยมาตรา 109 และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5639/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: จำเลยที่ 1 จดทะเบียนก่อน โจทก์เลียนแบบ การฟ้องแย้งโดยตัวแทนที่ไม่มีอำนาจ
จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า SEIKOในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2503 สำหรับสินค้าจำพวก 10 สินค้าเครื่องบอกเวลาและได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเมื่อปี 2505ได้มีการโฆษณาสินค้าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1แพร่หลายในประเทศไทยมาก่อนที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2534โดยในปี 2508 บริษัท ม. ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้านาฬิกาของจำเลยที่ 1 ในประเทศไทยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า SEIKO รวม 2 คำขอ โดยคำขอแรกใช้กับสินค้าจำพวก 50สินค้าเบ็ดเตล็ด ได้แก่ ยาขัดทาเครื่องแต่งเรือน ส่วนคำขอที่สองใช้กับสินค้าจำพวก 37 ได้แก่ หนังของสัตว์ และต่อมาได้มีการโอนเครื่องหมายการค้าทั้งสอง เครื่องหมายการค้าให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า SEIKO และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเวลานานหลายปีประกอบกับได้มีการโฆษณาสินค้าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นที่แพร่หลายทั่วไป และโจทก์ได้เลียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทในสินค้าต่างจำพวกกับสินค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่ก่อนแล้วก็ตาม ก็อาจทำให้ผู้ซื้อสินค้าเกิดความสับสนหรือหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์คือเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งนับว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามมาตรา 16แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 โจทก์จึงไม่มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า จำเลยที่ 1 มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ดีกว่าโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่ยอมรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพราะเห็นว่าคล้ายกับเครื่องหมายการค้าซึ่งผู้อื่นได้จดทะเบียนไว้ เป็นการปฏิบัติตามอำนาจของนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 16 และตามมาตรา 16 วรรคสอง บัญญัติว่าภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเหตุที่ไม่รับจดทะเบียน ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 19 ทวิ โดยยื่นต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ดังนั้น ถ้าโจทก์ไม่พอใจคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้แต่เพียงวิธีเดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2ให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทได้ โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งจำเลยที่ 1 ไว้แล้วว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง หนังสือมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ที่มอบให้ ว. เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 มิได้ลงนามการรับรองลายมือชื่อกรรมการฝ่ายบริหารอาวุโสของจำเลยที่ 1ไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบอำนาจให้ ร. เป็นผู้ดำเนินคดีนี้แทนแต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้สืบพยานเพราะขาดนัดพิจารณา และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้องของโจทก์ว่า ร. เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 1 มีอำนาจเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนการค้าของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ดังนั้น ร. ย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งแทนจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ แต่แม้จะถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีเพราะคำให้การที่ร. ยื่นไว้แทนจำเลยที่ 1 ไม่มีผลใช้บังคับได้ก็ตามแต่ข้อวินิจฉัยในปัญหาเกี่ยวกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1ดังที่กล่าวมาข้างต้นก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นคงมีผลเฉพาะปัญหาที่ ร. ฟ้องแย้งโจทก์แทนจำเลยที่ 1จึงต้องยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4259/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนทะเบียนและห้ามใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบและทำให้สาธารณชนสับสน
โจทก์ฟ้องว่า นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "F FENDI" ตามคำขอเลขที่ 199227 สำหรับสินค้าจำพวกที่ 37 ชนิดสินค้ากระเป๋าสตางค์ กระเป๋าถือ กระเป๋าใส่ธนบัตร ห่วงร้อยกุญแจ หีบหนังขนาดกลาง หีบเดินทางขนาดใหญ่ และของที่ทำด้วยหนังสัตว์ฟอกซึ่งอยู่ในจำพวกนี้ ซึ่งโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลยมิใช่กรณีที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการวินิจฉัยยกอุทธรณ์ และไม่ว่าโจทก์จะได้อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งไม่รับจดทะเบียนของนายทะเบียนดังกล่าวหรือไม่ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ ตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ เพราะโจทก์มิได้ขอให้ศาลพิพากษาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลย อันเป็นปัญหาในชั้นการพิจารณาของนายทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า"FF-FENDI" และ "F " ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในลักษณะรวมกันและแยกกัน สำหรับเครื่องหมายการค้า "F " โจทก์คิดประดิษฐ์ขึ้นและใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของโจทก์จำพวกกระเป๋าสตางค์กระเป๋าถือ กระเป๋าอื่น ๆ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกาย และสินค้าเบ็ดเตล็ดอื่น ๆโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวที่ประเทศต่าง ๆ และบริษัท ฟ.ได้สั่งสินค้าของโจทก์เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2532 ถึง 2533 โจทก์โฆษณาสินค้าและเครื่องหมายการค้า จนสินค้าของโจทก์เป็นที่แพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวมาก่อนที่จำเลยจะไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย และมีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า "F " จำนวน 6 คู่ ภายในกรอบสี่เหลี่ยมพร้อมคำว่า "FFเอฟเอฟ." ของจำเลย กับให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว
เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ดีกว่าจำเลยดังนี้ การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะแบบเดียวกันกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ประกอบกับสินค้าของโจทก์และจำเลยต่างเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดหรือเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือเกี่ยวข้องกับสินค้าของโจทก์ และสินค้ากระเป๋าถือสตรีของจำเลยมีเครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ทั่วพื้นของกระเป๋าถือทั้งหมดและที่โลหะเหนือหัวเข็มขัดปิดกระเป๋าเหมือนกับสินค้ากระเป๋าถือสตรีของโจทก์ด้วย ประชาชนผู้ซื้อย่อมสับสนหลงผิดว่าสินค้ากระเป๋าถือสตรีของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ จำเลยได้ทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคสอง และห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวได้
เมื่อโจทก์มีสิทธิเครื่องหมายการค้าโรมัน "F "ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวดีกว่าจำเลย และมีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนและคำขอจดทะเบียนเครื่อง-หมายการค้าของจำเลยได้แล้ว กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยข้อที่จำเลยฎีกาว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมัน "F " ในลักษณะประดิษฐ์ 6 ตัว และมีอักษรโรมันFF และอักษรไทยว่า "เอฟเอฟ" รวมอยู่ด้วย ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "FF_FENDI" และ"F " ในลักษณะประดิษฐ์ของโจทก์อีกเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป
จำเลยฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์รบกวนการผลิตจำหน่ายสินค้าของจำเลยภายใต้เครื่องหมายการค้า "F " และให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเดือนละ 100,000 บาท นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะปฏิบัติตามคำขอของจำเลยฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า"FF-FENDI" และ "F " ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในลักษณะรวมกันและแยกกัน สำหรับเครื่องหมายการค้า "F " โจทก์คิดประดิษฐ์ขึ้นและใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของโจทก์จำพวกกระเป๋าสตางค์กระเป๋าถือ กระเป๋าอื่น ๆ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกาย และสินค้าเบ็ดเตล็ดอื่น ๆโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวที่ประเทศต่าง ๆ และบริษัท ฟ.ได้สั่งสินค้าของโจทก์เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2532 ถึง 2533 โจทก์โฆษณาสินค้าและเครื่องหมายการค้า จนสินค้าของโจทก์เป็นที่แพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวมาก่อนที่จำเลยจะไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย และมีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า "F " จำนวน 6 คู่ ภายในกรอบสี่เหลี่ยมพร้อมคำว่า "FFเอฟเอฟ." ของจำเลย กับให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว
เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ดีกว่าจำเลยดังนี้ การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะแบบเดียวกันกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ประกอบกับสินค้าของโจทก์และจำเลยต่างเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดหรือเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือเกี่ยวข้องกับสินค้าของโจทก์ และสินค้ากระเป๋าถือสตรีของจำเลยมีเครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ทั่วพื้นของกระเป๋าถือทั้งหมดและที่โลหะเหนือหัวเข็มขัดปิดกระเป๋าเหมือนกับสินค้ากระเป๋าถือสตรีของโจทก์ด้วย ประชาชนผู้ซื้อย่อมสับสนหลงผิดว่าสินค้ากระเป๋าถือสตรีของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ จำเลยได้ทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคสอง และห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวได้
เมื่อโจทก์มีสิทธิเครื่องหมายการค้าโรมัน "F "ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวดีกว่าจำเลย และมีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนและคำขอจดทะเบียนเครื่อง-หมายการค้าของจำเลยได้แล้ว กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยข้อที่จำเลยฎีกาว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมัน "F " ในลักษณะประดิษฐ์ 6 ตัว และมีอักษรโรมันFF และอักษรไทยว่า "เอฟเอฟ" รวมอยู่ด้วย ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "FF_FENDI" และ"F " ในลักษณะประดิษฐ์ของโจทก์อีกเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป
จำเลยฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์รบกวนการผลิตจำหน่ายสินค้าของจำเลยภายใต้เครื่องหมายการค้า "F " และให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเดือนละ 100,000 บาท นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะปฏิบัติตามคำขอของจำเลยฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการใช้เครื่องหมายการค้าเลียนแบบ: ศาลล่างพิพากษาถูกต้องตามเจตนาจำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 109, 110, 114 และ 115 ป.อ.มาตรา 32, 33,83, 91, 272 และ 274 จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสามแต่ละข้อหาตามฟ้องเป็นการกระทำโดยมีเจตนาในการกระทำผิดแยกต่างหากจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ประกอบกับจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดทั้งสามข้อหาตามฟ้องโดยมีเจตนาต่างกัน จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่า การกระทำผิดของจำเลยตามคำฟ้องโจทก์เป็นการกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียว โดยจำเลยมีเจตนาเพียงต้องการผลิตสินค้าแล้วใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายเพื่อการจำหน่าย ซึ่งเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวหาได้ไม่ ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลยจึงถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนเครื่องหมายการค้าเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้มีเจตนาผลิตและจำหน่ายสินค้าเดียวกัน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 109,110,114 และ 115 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,33,83,91,273 และ 274 จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสามแต่ละข้อหาตามฟ้องเป็นการกระทำโดยมีเจตนาในการกระทำผิดแยกต่างหากจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ประกอบกับจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดทั้งสามข้อหาตามฟ้องโดยมีเจตนาต่างกัน จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่า การกระทำผิดของจำเลยตามคำฟ้องโจทก์เป็นการกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียว โดยจำเลยมีเจตนาเพียงต้องการผลิตสินค้าแล้วใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายเพื่อการจำหน่าย ซึ่งเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวหาได้ไม่ ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลยจึงถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5422/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเนื่องจากเป็นการลวงสาธารณชนและมีเจตนาเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น
จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎบินเมื่อวันที่18มีนาคม2534นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิจารณาเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้วเห็นควรรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงมีคำสั่งให้โฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยและโจทก์ได้ยื่นคำคัดค้านลงวันที่4ตุลาคม2534ถือได้ว่านายทะเบียนได้มีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยก่อนวันที่14กุมภาพันธ์2535ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534มีผลใช้บังคับกรณีจึงต้องด้วยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534มาตรา119(2)ซึ่งบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474ต่อไปจนกว่าจะถึงที่สุด โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎเป็นการแอบอ้างเครื่องหมายการค้าของโจทก์และลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยไม่สุจริตเมื่อโจทก์ยื่นคำคัดค้านนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ยกคำคัดค้านของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยโจทก์ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา41(1)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474โจทก์มีอำนาจฟ้อง เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปมงกุฎในลักษณะประดิษฐ์ห้ายอดมีปีกประกอบทั้งด้านซ้ายและขวาและมีอักษรไทยประดิษฐ์คำว่า"ตรามงกุฎบิน"อยู่ข้างล่างทั้งหมดอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัสสองชั้นทึบยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวก1รายการสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปมงกุฎในลักษณะประดิษฐ์ห้ายอดอยู่ในกรอบวงกลมสองชั้นโดยมีอักษรไทยคำว่าSIAMCITYCEMENTCO.,LTD.วางอยู่ระหว่างวงกลมชั้นนอกและชั้นในยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวก17ชนิดสินค้าปูนซีเมนต์เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์มีสาระสำคัญอยู่ที่มงกุฎห้ายอดประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกขานว่าตรามงกุฎแม้จะมีข้อแตกต่างอยู่บ้างตรงที่รูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีรูปปีกอยู่ข้างมงกุฎทั้งสองด้านก็เป็นเพียงส่วนประกอบที่ไม่สำคัญมากนักส่วนอักษรไทยคำว่าตรามงกุฎบินก็มีขนาดเล็กไม่ใช่ลักษณะเด่นไม่เป็นสาระสำคัญแก่การสังเกตประกอบกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นเด่นชัดว่าสินค้าน้ำยาเคมีใช้ผสมปูนซีเมนต์นั้นเป็นของจำเลยแม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวก1ต่างกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวก17แต่ก็เป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์นอกจากนี้โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎมานานจำเลยเพิ่งยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหลังจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนมาแล้ว20ปีจำเลยเคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้และจำเลยเคยใช้เครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีของโจทก์กับสินค้าของจำเลยจนถูกฟ้องในข้อหาเลียนเครื่องหมายการค้าและถูกศาลลงโทษไปแล้วเมื่อได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปนกอินทรีรูปเพชรและรูปสิงโตใช้กับสินค้าปูนซีเมนต์ก็ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปนกอินทรีเพชรมีปีกและสิงโตคู่เหยียบลูกโลกใช้กับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับของโจทก์เป็นคู่ๆโดยมุ่งหมายที่จะอาศัยแอบอ้างชื่อเสียงจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนกับสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจำเลยจึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าเดิม และการใช้สิทธิไม่สุจริต
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปนกในลักษณะประดิษฐ์คล้ายรูปนกอินทรี ซึ่งเป็นนกประเภทเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยรูปนกดังกล่าวเป็นรูปนกในลักษณะกางปีกหลายลำตัวด้านท้องออก หันหัวไปทางด้านซ้ายมือ มีหงอนที่หัวและขาทั้งสองข้างถือเกรียงโบกปูนอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมและมีอักษรไทยกำกับภายใต้รูปนกว่า "ตรานกถือเกรียง" ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะสำคัญเป็นรูปนกอินทรีกางปีกหันข้างและขาทั้งสองข้างมิได้ถือเกรียงโบกปูนและอยู่ภายใต้กรอบวงกลมโดยมีอักษรไทยคำว่าบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวงจำกัด และอักษรโรมันคำว่า SIAM CITY CEMENT CO.,LTD. วางอยู่ระหว่างวงกลมชั้นนอกและชั้นใน และในอีกลักษณะหนึ่งวางอยู่ในกรอบวงกลมชั้นเดียว เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่า สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยคือรูปนกอินทรี มีลักษณะเด่นคือรูปนกอินทรีที่กางปีกอยู่ในกรอบคล้ายคลึงกันประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกขานว่าตรานกอินทรี แม้จะมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างตรงที่รูปเเครื่องหมายกาค้าของจำเลยเป็นรูปนกอินทรีหันหน้าไปทางด้านซ้าย หงายลำตัวด้านท้องออกและขาทั้งสองข้างถือเกรียงโบกปูนและมีอักษรไทยคำว่า ตรานกถือเกรียงอยู่ใต้ปูนก็ตาม ก็เป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้น ทั้งรูปเกรียงและอักษรไทยดังกล่าวก็มีขนาดเล็ก ไม่ใช่ลักษณะเด่น ไม่เป็นสาระสำคัญแก่การสังเกต ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นเด่นชัดว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าของจำเลย จำเลยขอจดทะเบียนใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าน้ำยาเคมีผสมซีเมนต์ แม้จะเป็นสินค้าในจำพวกที่ 1ต่างจำพวกกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวกที่ 17 แต่ก็เป็นวัสดุที่ใช้ในการกสอร้างและเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ โจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีมานาน และได้โฆษณาทางหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ เป็นที่แพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไป จำเลยเพิ่งยื่นคำขอจดทะบเยนเครื่องหมายการค้าภายหลังโจทก์ 20 ปี จำเลยเคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีหันข้างและกางปีกเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้ จำเลยเคยถูกฟ้องในข้อหาเลียนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีและถูกศาลลงโทษไปแล้วเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปของมงกุฎ รูปเพชรและรูปสิงโตใช้กับปูนซีเมนต์ ก็ปากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยในรูปของเพชรมีปีก มงกุฎมีปีก และสิงโตคู่เหยียบลูกโลก ใช้กับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ ซึ่งเป็นคดีฟ้องร้องกันอยู่ แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับโจทก์เป็นคู่ ๆ โดยมุ่งหมายที่จะอาศัยแอบอ้างชื่อเสียงเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าทำให้สับสน: สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว
คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย มีข้อจำกัดไม่ให้สิทธิผู้ขอจดทะเบียนแต่ผู้เดียวที่จะใช้คำว่า "ใช้งานหนักอย่างมั่นใจ"และคำว่า "คือคุณภาพ" ดังนั้นเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ยื่นขอจดทะเบียนจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่รูปช้างยืนอยู่ในกรอบรูปหกเหลี่ยม และคำว่า "ตราช้าง"เมื่อเครื่องหมายการค้ารูปช้างของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อน มีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวช้างยืนหันหน้าไปทางซ้าย ยกเข่าหน้าซ้ายงอเล็กน้อย ลดงวงลง ยืนอยู่ในกรอบรูปหกเหลี่ยม มีเส้นไขว้ตัดกันรอบตัวช้าง ส่วนเครื่องหมายการค้ารูปช้างของจำเลยที่ขอจดทะเบียนมีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวช้างยืนหันหน้าไปทางซ้าย ยกเท้าหน้าซ้ายเหยียบถัง ชูงวงขึ้นเหนือศีรษะ อยู่ในกรอบรูปหกเหลี่ยม มีเส้นโค้งลากจากมุมหนึ่งไปยังอีกมุมหนึ่งของรูปหกเหลี่ยมเหมือนดาวรอบตัวช้าง เครื่องหมายการค้ารูปช้างของโจทก์และจำเลยจึงมีลักษณะสำคัญอยู่ที่ตัวช้างยืนหันหน้าไปทางซ้ายในกรอบรูปหกเหลี่ยมเหมือนกัน ส่วนรูปช้างของจำเลยที่ยืนยกเท้าหน้าซ้ายเหยียบถัง ชูงวงขึ้น และเท้าทั้งสองคู่หน้าหลังยืนแยกออกจากกัน เป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดของลักษณะการยืนและการวางงวงของรูปช้างในเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าจำพวก 50 ชนิดสินค้ากระบะถือปูน ถังพลาสติกใส่ปูน เกรียงฉาบปูน ต่างจำพวกกับสินค้าของโจทก์ แต่ก็เป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าวัสดุก่อสร้างของโจทก์ในจำพวกที่ 17 ซึ่งโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้และได้โฆษณาทางสื่อมวลชนจนเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ในหมู่ผู้รับเหมาก่อสร้างเรียกขานสินค้าของโจทก์ว่าตราช้างมาตั้งแต่ พ.ศ.2517 ก่อนจำเลยยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำว่าตราช้างดังกล่าวใน พ.ศ.2529 ถึง 10 ปีเศษเครื่องหมายการค้ารูปช้างและคำว่าตราช้างของจำเลยจึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้ารูปช้างของโจทก์ จนอาจทำให้ประชาชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นของโจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนจึงมีสิทธิตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2477 ที่จะฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนและให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้