คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลือกตั้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8820/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งจากไม่ใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุอันสมควร
การที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แต่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งหลังสุดและไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งไว้ ผู้สมัครย่อมเป็นผู้เสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 และตกเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้อ 8 (15) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 145 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 10 (2) แห่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 (คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8295/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องขอรับสมัครเลือกตั้ง สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง การไม่ใช้สิทธิเลือกตั้ง
เมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องที่ขอให้ศาลฎีกาสั่งให้ผู้คัดค้านรับสมัครผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้คัดค้านไม่คัดค้าน จึงอนุญาตให้ผู้ร้องถอนคำร้อง ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8264/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและการเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง: การประกาศรายชื่อผู้ไม่ไปใช้สิทธิเป็นเงื่อนไขเบื้องต้น
แม้กฎหมายจะบัญญัติให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งแจ้งเหตุขัดข้องต่อบุคคลที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งขึ้น แต่ย่อมเป็นที่เห็นได้อยู่ในตัวว่าการที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งรายใดจะแจ้งเหตุที่ทำให้ตนไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลดังกล่าวได้นั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องประกาศชื่อผู้นั้นเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 21 หรือแจ้งเหตุไว้แล้วแต่เหตุนั้นมิใช่เหตุอันสมควรเสียก่อน หากคณะกรรมการการเลือกตั้งยังมิได้ประกาศชื่อผู้นั้นเป็นผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 22 หน้าที่ในการแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งของบุคคลนั้นก็ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2543 ผู้ร้องไปถึงหน่วยเลือกตั้งเมื่อล่วงพ้นกำหนดเวลาลงคะแนนเลือกตั้งแล้ว 15 นาที เนื่องจากเครื่องบินโดยสารล่าช้าผู้ร้องจึงไม่ได้ใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง จึงต้องถือว่าผู้ร้องเป็นผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งดังกล่าว ผู้ร้องย่อมอยู่ในฐานะที่อาจแจ้งเหตุที่ตนไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งขึ้นตามมาตรา 22 แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ภายหลังการเลือกตั้งแล้วคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดขอนแก่นได้ออกประกาศฉบับลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2543 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุ หรือแจ้งเหตุแล้วแต่เหตุนั้นมิได้เป็นเหตุอันสมควร โดยไม่มีชื่อผู้ร้องอยู่ในประกาศดังกล่าว ทั้งนี้ไม่ว่าการไม่มีชื่อผู้ร้องในประกาศฉบับนั้นเป็นผลสืบเนื่องจากเหตุใดก็ตาม หน้าที่ของผู้ร้องในการแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 22 จึงยังไม่เกิดขึ้น จะถือว่าผู้ร้องเป็นผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 22 ไม่ได้ผู้ร้องจึงไม่เสียสิทธิตามมาตรา 23 (3) แห่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8264/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง: การแจ้งเหตุและการประกาศรายชื่อ
ผู้ร้องมิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเพราะเหตุเครื่องบินโดยสารล่าช้าผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะที่อาจแจ้งเหตุที่ตนไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งภายหลังจากวันเลือกตั้งตามกฎหมายได้ แต่เมื่อไม่ปรากฏชื่อผู้ร้องในประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเพื่อให้ผู้ร้องแจ้งเหตุขัดข้องหน้าที่ของผู้ร้องในการแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งจึงยังไม่เกิดขึ้นจะถือว่าผู้ร้องเป็นผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ได้ ผู้ร้องไม่เสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8243/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง สส. จากไม่ใช้สิทธิเลือกตั้ง สว. และขอบเขตการนับระยะเวลาการเสียสิทธิ
คำว่า วันเลือกตั้งตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯ มาตรา 4 หมายถึงเฉพาะวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้นไม่ว่าจะเป็นครั้งใด หาได้หมายความรวมถึงวันเลือกตั้งอื่น ๆ ด้วยไม่
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในครั้งที่สอง โดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ผู้ร้องย่อมเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อยังไม่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาเกิดขึ้นอีก จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องยังมิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งจะทำให้การเสียสิทธิของผู้ร้องสิ้นสุดลง ผู้ร้องจึงยังคงเป็นผู้เสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ในวันสมัครรับเลือกตั้ง ผู้ร้องจะอ้างการไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นมาเป็นข้อแก้ตัวให้กลับเป็นผู้มีสิทธิมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8241/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แม้ไม่มีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ว. ไม่ถือเป็นเหตุเสียสิทธิ
แม้ไม่มีชื่อผู้ร้องในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.11) ก็หาทำให้สิทธิตามกฎหมายของผู้ร้องที่มีอยู่สูญสิ้นไปไม่ ดังนั้นในวันเลือกตั้งเมื่อผู้ร้องไปขอใช้สิทธิเลือกตั้งแล้ว แต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ในการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 68 วรรคหนึ่งได้ โดยมิใช่เกิดจากความผิดหรือความบกพร่องอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ร้อง ทั้งหลังวันเลือกตั้งผู้ร้องจะไปแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่อาจดำเนินการรับแจ้งได้ เพราะไม่มีชื่อผู้ร้องในบัญชีรายชื่อผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งฯ (ส.ว.31) และในบัญชีรายชื่อผู้เสียสิทธิฯ (ส.ว.32) ดังนั้น จึงไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลซึ่งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่จะเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8241/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้ที่ถูกละเลยการขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
แม้ในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะไม่มีชื่อผู้ร้อง ก็หาทำให้สิทธิตามกฎหมายของผู้ร้องที่มีอยู่สูญสิ้นไปแต่อย่างใดไม่ แต่เมื่อผู้ร้องจะไปแจ้งเหตุที่ตนไม่อาจใช้สิทธิเลือกตั้งได้ คณะกรรมการเลือกตั้งไม่อาจดำเนินการรับแจ้งได้ เพราะไม่ปรากฏชื่อผู้ร้องในบัญชีรายชื่อผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งฯ และในบัญชีรายชื่อผู้เสียสิทธิฯ ดังนั้น จึงไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลซึ่งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่จะเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7695/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล: คำสั่งให้มีการเลือกตั้ง
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 57 และ 58

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7065/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาล: คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุด ไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.สุขาภิบาล พ.ศ.2495 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สุขาภิบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2528 บัญญัติให้การเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลม และตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2482 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลเมื่อได้รับคำร้องคัดค้านแล้ว ให้ดำเนินการพิจารณาตาม ป.วิ.พ.โดยเร็ว โดยให้เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้งหรือผู้ได้รับเลือกตั้งที่มีส่วนได้เสียมีโอกาสต่อสู้การคัดค้านนั้นเมื่อศาลสั่งอย่างใดให้แจ้งคำสั่งไปยังเทศบาลโดยมิชักช้า คำสั่งศาลนั้นให้เป็นที่สุดซึ่งหมายความว่า เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอย่างไรเกี่ยวกับการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด คู่ความไม่สามารถอุทธรณ์ฎีกาได้การที่ผู้ร้องอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และฎีกาของผู้ร้อง และที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย และพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และยกฎีกาของผู้ร้องทั้งสี่ ให้บังคับคดีไปตามคำสั่งของศาลชั้นต้น คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องทั้งสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7065/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลชั้นต้นในการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลเป็นที่สุด ห้ามอุทธรณ์ฎีกา
ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสุขาภิบาล (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2528 บัญญัติให้การเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลมและตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482มาตรา 58 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลเมื่อได้รับคำร้อง คัดค้านแล้ว ให้ดำเนินการพิจารณาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยเร็ว โดยให้เจ้าหน้าที่ ผู้ดำเนินการเลือกตั้งหรือผู้ได้รับเลือกตั้งที่มีส่วนได้เสีย มีโอกาสต่อสู้การคัดค้านนั้นเมื่อศาลสั่งอย่างใดให้แจ้งคำสั่ง ไปยังเทศบาลโดยมิชักช้า คำสั่งศาลนั้นให้เป็นที่สุดซึ่งหมายความว่า เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอย่างไรเกี่ยวกับการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด คู่ความไม่สามารถอุทธรณ์ฎีกาได้การที่ผู้ร้องอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และฎีกาของผู้ร้อง และที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย และพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และยกฎีกาของผู้ร้องทั้งสี่ให้บังคับคดีไปตามคำสั่งของศาลชั้นต้น คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาทั้งหมด ให้แก่ผู้ร้องทั้งสี่
of 11