พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจเลื่อนขั้นเงินเดือนและการกระทำละเมิด นายจ้างมีอำนาจบริหาร แต่ต้องไม่เลือกปฏิบัติ
โจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคาร อ. ซึ่งมีจำเลยที่ 1 ผู้จัดการหรือจำเลยที่ 2 รองผู้จัดการเป็นผู้กระทำการแทน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 จึงเป็นไปตามสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 มีคำสั่งไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้โจทก์ ฝ่าฝืนข้อบังคับธนาคาร อ.แต่ปรากฏว่าข้อบังคับดังกล่าวกำหนดให้ผู้จัดการมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างได้ ดังนี้ ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ใช้ดุลพินิจผิดไปจากข้อบังคับ โจทก์ก็ชอบที่จะว่ากล่าวกับจำเลยที่ 1 ฐานผิดสัญญาจ้างแรงงาน จะอ้างว่ากระทำละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่ เว้นแต่โจทก์จะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อขึ้นอีกต่างหากนอกเหนือจากการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน
โจทก์แต่งชุดดำมาทำงานในวันที่มีข่าวว่าจะมีพนักงานธนาคาร อ. ร่วมกันแต่งชุดดำประท้วงจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการประชุมแต่งตั้งพนักงานในสำนักงานผู้จัดการซึ่งนอกจากโจทก์แล้วยังมีพนักงานธนาคารอีก 3 คน แต่งชุดดำมาทำงานด้วย แม้จะเป็นการบังเอิญมาตรงกัน แต่การกระทำของโจทก์ก็เป็นมูลเหตุให้จำเลยที่ 2 เข้าใจไปได้ว่าโจทก์แต่งมาเพื่อประท้วงจำเลยที่ 1 จึงได้ทำความเห็นเสนอจำเลยที่ 1 ว่าไม่ควรเลื่อนเงินเดือนให้โจทก์ และจำเลยที่ 1 มีความเห็นด้วยกับจำเลยที่ 2 การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 เช่นนี้ แม้จะเป็นการใช้ดุลพินิจโดยขาดความละเอียดรอบคอบจนอาจเรียกได้ว่าขาดความเป็นธรรม ก็เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจในการบริหารที่ตนมีอยู่ โดยโจทก์เองมีส่วนทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าใจผิดและใช้ดุลพินิจดังกล่าว กรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์.
โจทก์แต่งชุดดำมาทำงานในวันที่มีข่าวว่าจะมีพนักงานธนาคาร อ. ร่วมกันแต่งชุดดำประท้วงจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการประชุมแต่งตั้งพนักงานในสำนักงานผู้จัดการซึ่งนอกจากโจทก์แล้วยังมีพนักงานธนาคารอีก 3 คน แต่งชุดดำมาทำงานด้วย แม้จะเป็นการบังเอิญมาตรงกัน แต่การกระทำของโจทก์ก็เป็นมูลเหตุให้จำเลยที่ 2 เข้าใจไปได้ว่าโจทก์แต่งมาเพื่อประท้วงจำเลยที่ 1 จึงได้ทำความเห็นเสนอจำเลยที่ 1 ว่าไม่ควรเลื่อนเงินเดือนให้โจทก์ และจำเลยที่ 1 มีความเห็นด้วยกับจำเลยที่ 2 การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 เช่นนี้ แม้จะเป็นการใช้ดุลพินิจโดยขาดความละเอียดรอบคอบจนอาจเรียกได้ว่าขาดความเป็นธรรม ก็เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจในการบริหารที่ตนมีอยู่ โดยโจทก์เองมีส่วนทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าใจผิดและใช้ดุลพินิจดังกล่าว กรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนที่ไม่ชอบ กรณีใช้ความผิดวินัยที่ไม่เป็นความผิดของลูกจ้างเป็นเหตุ
การที่โจทก์ไม่ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน ประจำปีนั้นก็โดยจำเลยถือเอาเหตุที่โจทก์กระทำผิดวินัยและถูกลงโทษทางวินัยเป็นเหตุผลหนึ่งประกอบการพิจารณา เมื่อเหตุดังกล่าว ไม่อาจถือเป็นความผิดของโจทก์ การที่จำเลยนำไปประกอบการพิจารณาซึ่งเป็นโทษแก่โจทก์ย่อมเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อตัดเหตุดังกล่าวออกแล้ว จำเลยยังมีเหตุอีกหลายประการในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี จึงจำเป็นต้องให้จำเลยพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีแก่โจทก์ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนหลังเกษียณอายุชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิการรับเงินบำเหน็จไม่ตัดสิทธิเนื่องจากเกษียณอายุ
จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเนื่องจากเกษียณอายุ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2527 ต่อมาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2527 ผู้อำนวยการของจำเลยมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือนโจทก์โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2527 ดังนี้ เมื่อโจทก์อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการเลื่อนเงินเดือนตามข้อบังคับของจำเลยและไม่ปรากฏว่ามีระเบียบข้อบังคับใดห้ามผู้อำนวยการของจำเลยมิให้มีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานหลังจากเกษียณอายุไปแล้วทั้งคำสั่งให้เลื่อนเงินเดือนโจทก์ได้ระบุให้มีผลย้อนหลังไปก่อนเวลาที่โจทก์เกษียณอายุด้วย เช่นนี้ คำสั่งเลื่อนเงินเดือนโจทก์ดังกล่าวจึงชอบแล้ว หาเป็นการขัดต่อมาตรา 21 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป พ.ศ.2498 ไม่
ก่อนที่โจทก์จะถูกให้ออกจากงานเพราะเกษียณอายุ โจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและทุจริตก็ตาม แต่จำเลยก็มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุไปก่อนแล้ว ไม่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยทราบเรื่องดังกล่าวจำเลยได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ให้โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุเป็นไล่ออกแต่อย่างใดและกรณีดังกล่าวโจทก์มิใช่เป็นผู้ถูกตัดสิทธิมิให้ได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของจำเลยจำเลยจึงต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์.
ก่อนที่โจทก์จะถูกให้ออกจากงานเพราะเกษียณอายุ โจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและทุจริตก็ตาม แต่จำเลยก็มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุไปก่อนแล้ว ไม่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยทราบเรื่องดังกล่าวจำเลยได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ให้โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุเป็นไล่ออกแต่อย่างใดและกรณีดังกล่าวโจทก์มิใช่เป็นผู้ถูกตัดสิทธิมิให้ได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของจำเลยจำเลยจึงต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนขั้นเงินเดือนหลังเกษียณและการจ่ายเงินบำเหน็จ กรณีลูกจ้างปฏิบัติงานโดยทุจริต
จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเนื่องจากเกษียณอายุ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2527 ต่อมาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2527 ผู้อำนวยการของจำเลยมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือนโจทก์โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2527 ดังนี้ เมื่อโจทก์อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการเลื่อนเงินเดือนตามข้อบังคับของจำเลยและไม่ปรากฏว่ามีระเบียบข้อบังคับใดห้ามผู้อำนวยการของจำเลยมิให้มีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานหลังจากเกษียณอายุไปแล้วทั้งคำสั่งให้เลื่อนเงินเดือนโจทก์ได้ระบุให้มีผลย้อนหลังไปก่อนเวลาที่โจทก์เกษียณอายุด้วย เช่นนี้ คำสั่งเลื่อนเงินเดือนโจทก์ดังกล่าวจึงชอบแล้ว หาเป็นการขัดต่อมาตรา21 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป พ.ศ.2498ไม่
ก่อนที่โจทก์จะถูกให้ออกจากงานเพราะเกษียณอายุ โจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและทุจริตก็ตาม แต่จำเลยก็มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุไปก่อนแล้ว ไม่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยทราบเรื่องดังกล่าวจำเลยได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ให้โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุเป็นไล่ออกแต่อย่างใดและกรณีดังกล่าวโจทก์มิใช่เป็นผู้ถูกตัดสิทธิมิให้ได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของจำเลยจำเลยจึงต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์.
ก่อนที่โจทก์จะถูกให้ออกจากงานเพราะเกษียณอายุ โจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและทุจริตก็ตาม แต่จำเลยก็มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุไปก่อนแล้ว ไม่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยทราบเรื่องดังกล่าวจำเลยได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ให้โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุเป็นไล่ออกแต่อย่างใดและกรณีดังกล่าวโจทก์มิใช่เป็นผู้ถูกตัดสิทธิมิให้ได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของจำเลยจำเลยจึงต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาป่วย กรณีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถแจ้งล่วงหน้าได้ และการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนที่ไม่เป็นธรรม
เหตุจำเป็นที่ไม่อาจเสนอใบลาหรือไม่อาจรอรับอนุญาตให้ลากิจส่วนตัวได้ตามข้อบังคับของจำเลยหมายถึงเหตุที่ลูกจ้างไม่สามารถยื่นใบลาก่อนหยุดงานหรือยื่นใบลาไว้แล้วแต่ไม่สามารถรอฟังคำสั่งอนุญาตของจำเลยได้มิได้หมายถึงความสำคัญหรือความจำเป็นของธุรกิจการงานซึ่งลูกจ้างจะต้องไปกระทำมิฉะนั้นข้อบังคับจะไร้ผลเพราะในกรณีที่ลูกจ้างได้รับหนังสือหรือโทรเลขเรียกตัวกลับบ้านโดยมิได้ระบุรายละเอียดของธุรกิจการงานหรือระบุรายละเอียดอันเป็นเท็จลูกจ้างก็ไม่อาจหยุดงานไปก่อนได้ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นใบลากิจส่วนตัวต่อจำเลยโดยแนบโทรเลขซึ่งได้รับจากญาติซึ่งแจ้งให้โจทก์กลับบ้านด่วนนั้นเป็นการยื่นใบลาพร้อมทั้งชี้แจงเหตุจำเป็นซึ่งไม่อาจรอฟังคำสั่งอนุญาตจากจำเลยถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยแล้วแม้ธุรกิจการงานที่โจทก์ลาไปทำนั้นเป็นเพียงไปกู้เงินให้พี่ชายไปทำงานต่างประเทศก็เป็นเรื่องที่โจทก์เพิ่งทราบภายหลังจำเลยจะถือเป็นข้ออ้างไม่อนุมัติใบลาของโจทก์ไม่ได้. จำเลยไม่อนุมัติใบลาของโจทก์โดยถือว่าโจทก์ขาดงานและมีคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์และตัดค่าจ้างเป็นเงิน348บาทโดยไม่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งและให้จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างที่ตัดได้ส่วนดอกเบี้ยโจทก์มีสิทธิได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224เพราะเป็นเงินค่าจ้างซึ่งจำเลยตัดโดยมีกรณีกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่ใช่เงินค่าจ้างซึ่งจำเลยผิดนัดในการจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ31เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดวันใดหรือโจทก์ทวงถามจำเลยแล้วหรือไม่ศาลให้รับผิดตั้งแต่วันฟ้อง จำเลยถือเอาเหตุที่โจทก์ขาดงานครั้งนี้เป็นเหตุผลหนึ่งประกอบการพิจารณาไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีให้โจทก์เมื่อเหตุดังกล่าวไม่อาจถือเป็นความผิดของโจทก์การที่จำเลยนำเหตุนี้ไปประกอบการพิจารณาเป็นโทษแก่โจทก์ย่อมเป็นการไม่ชอบแต่เมื่อตัดเหตุดังกล่าวออกแล้วยังมีเหตุอื่นอีกหลายประการที่จำเลยใช้พิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีจำเลยจึงต้องพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีของโจทก์ใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการใช้ดุลพินิจนายจ้างในการงดเลื่อนขั้นเงินเดือน: การพิจารณาผลงานตามระเบียบ
ระเบียบว่าด้วยการขอเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีมิได้กำหนดขีดขั้นไว้ชัดแจ้งว่า การปฏิบัติงานของลูกจ้างอย่างไรจึงจะถือว่าได้ผลสมบูรณ์ตามคุณภาพและปริมาณของงานในตำแหน่งหน้าที่ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องให้อำนาจแก่นายจ้างโดยเฉพาะที่จะพิจารณาใช้ดุลพินิจ เมื่อนายจ้างได้ใช้ดุลพินิจแล้วว่าโจทก์ปฏิบัติงานไม่ได้ผลสมบูรณ์ตามคุณภาพและปริมาณของงานในตำแหน่ง เป็นผู้อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องงดบำเหน็จจึงเป็นการชอบด้วยระเบียบและเป็นอันยุติตามนั้น ลูกจ้างหามีอำนาจฟ้องขอให้ศาลวินิจฉัยสั่งเป็นอย่างอื่นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการใช้ดุลพินิจนายจ้างในการงดเลื่อนขั้นเงินเดือนและการไม่อาจฟ้องร้องได้หากเป็นการใช้ดุลพินิจชอบแล้ว
ระเบียบว่าด้วยการขอเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีมิได้กำหนดขีดขั้นไว้ชัดแจ้งว่าการปฏิบัติงานของลูกจ้างอย่างไรจึงจะถือว่าได้ผลสมบูรณ์ตามคุณภาพและปริมาณของงานในตำแหน่งหน้าที่ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องให้อำนาจแก่นายจ้างโดยเฉพาะที่จะพิจารณาใช้ดุลพินิจ เมื่อนายจ้างได้ใช้ดุลพินิจแล้วว่าโจทก์ปฏิบัติงานไม่ได้ผลสมบูรณ์ตามคุณภาพและปริมาณของงานในตำแหน่ง เป็นผู้อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องงดบำเหน็จ จึงเป็นการชอบด้วยระเบียบและเป็นอันยุติตามนั้นลูกจ้างหามีอำนาจฟ้องขอให้ศาลวินิจฉัยสั่งเป็นอย่างอื่นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15400/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ต้องเป็นไปตามระเบียบ หากไม่ชอบด้วยระเบียบ สิทธิในการปรับขึ้นเงินเดือนย่อมไม่มี
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2547 ที่เห็นชอบให้กำหนดขอบเขตสภาพการจ้างเกี่ยวกับการเงินตามมาตรา 13 (2) แห่ง พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 ที่รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งสามารถดำเนินการได้เองเมื่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจให้ความเห็นชอบแล้ว เป็นเพียงการให้อำนาจคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งในการปรับปรุงค่าจ้าง การกำหนดอัตราค่าจ้างแรกบรรจุ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำขั้นสูงของลูกจ้างทุกตำแหน่งเท่านั้น หาได้มีมติให้ปรับขึ้นอัตราเงินเดือนค่าจ้างของพนักงานลูกจ้างรัฐวิสาหกิจไม่ ดังนั้นโรงงานยาสูบโดยคณะกรรมการอำนวยการโรงงานยาสูบจึงไม่อาจอ้างมติคณะรัฐมนตรีมามีมติและคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้โจทก์ทั้งแปดร้อยหกเป็นกรณีพิเศษ คนละ 1 ขั้นได้ การเลื่อนขั้นเงินเดือนของโจทก์ทั้งแปดร้อยหกจึงต้องตกอยู่ภายใต้ระเบียบโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลังว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานยาสูบ พ.ศ.2520 ซึ่งกำหนดให้การเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีให้เลื่อนตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนแรกของปีที่ได้เลื่อน อันได้แก่วันที่ 1 ตุลาคมของปีงบประมาณภายใต้วงเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนที่ได้รับอนุมัติไว้ในแต่ละปี ดังนั้น คำสั่งที่ให้เลื่อนขั้นเงินเดือนโจทก์ทั้งแปดร้อยหกคนละ 1 ขั้น ให้มีผลในวันที่ 7 เมษายน 2547 จึงขัดต่อระเบียบดังกล่าว ย่อมไม่มีผลใช้บังคับ แม้คณะกรรมการอำนวยการโรงงานยาสูบจะมีคำสั่งให้ปรับเงินเดือนของโจทก์ทั้งแปดร้อยหกไปแล้วอันอาจมีลักษณะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นคุณแก่โจทก์ทั้งแปดร้อยหกมากกว่าก็ตาม แต่สภาพการจ้างที่เป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าซึ่งไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยพลการนั้นต้องเป็นสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นโดยชอบเท่านั้น เมื่อคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนแก่โจทก์ทั้งแปดร้อยหกไม่ชอบตามระเบียบข้างต้น โจทก์ทั้งแปดร้อยหกจึงไม่มีสิทธิได้รับการปรับอัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้น