คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เวลาราชการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ: เวลาราชการทวีคูณและเศษของปี
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญฯ มาตรา 14 วรรคสอง มิได้ใช้ถ้อยคำแต่เพียงว่า "เวลาราชการ" แต่ใช้คำว่า "เวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ" ซึ่งมีความหมายกว้างกว่า เพราะ "เวลาราชการ" นั้น หมายถึงเวลาราชการจริง ๆ ส่วน "เวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ" หมายถึงเวลาราชการจริง ๆ รวมทั้งเวลาราชการที่ไม่ใช่เวลาราชการจริง ๆ ด้วย เช่น มาตรา 24 วรรคสอง ให้นับเวลาราชการที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเขตที่ได้มีประกาศใช้กฎอัยการศึกเป็นทวีคูณเป็นต้นซึ่งไม่ใช่เวลาราชการจริง ๆ แต่ก็ถือว่าเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ ด้วยเหตุนี้ มาตรา 14 วรรคสอง จึงไม่ใช้ถ้อยคำว่า"ถ้าข้าราชการผู้ใดมีเวลาราชการครบยี่สิบห้าปีบริบูรณ์แล้ว" แต่ใช้ว่า "ถ้าข้าราชการผู้ใดมีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครบยี่สิบห้าปีบริบูรณ์แล้ว" เพื่อให้มีความหมายกว้างและเพื่อประโยชน์แก่ข้าราชการผู้ลาออกจากราชการนั่นเอง ดังนั้น เมื่อโจทก์มีเวลาราชการจริง ๆ 17 ปี 10 เดือน 30 วัน และมีเวลาราชการทวีคูณในระหว่างประกาศใช้กฎอัยการศึก อีก 6 ปี 9 เดือน 27 วัน หักวันลากิจลาป่วยระหว่างเวลาราชการทวีคูณแล้ว รวมเป็นเวลาราชการทั้งสิ้น 25 ปี 7 เดือน18 วัน อันเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตามนัยดังกล่าวแต่โดยที่ มาตรา 4 ประกอบด้วยมาตรา 29 วรรคแรก บัญญัติให้นับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญแต่จำนวนปีเศษของปีถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็นหนึ่งปี ซึ่งโจทก์มีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญที่เป็นเศษของปีถึงครึ่งปี คือ 7 เดือน 18 วัน จึงต้องนับเป็นหนึ่งปี เมื่อรวมกับ 24 ปีแรก จึงเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครบ 25 ปีบริบูรณ์แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับบำนาญ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าโจทก์มีสิทธิได้รับบำนาญซึ่งขณะยื่นฟ้อง ไม่อาจกำหนดจำนวนเงินได้แน่นอนโดยโจทก์มิได้ขอให้จำเลยชำระเงินจำนวนหนึ่งจำนวนใด จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2894/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดเวลาราชการต่อเนื่องสำหรับคำนวณบำนาญหลังเปลี่ยนสถานะจากลูกจ้างเป็นข้าราชการพลเรือน
โจทก์เข้ารับราชการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2463 แล้วลาออกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2477 โดยได้ไปเป็นผู้ช่วยจัดทำตำราและสอนกฎหมายซึ่งเป็นลูกจ้างของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2477 นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2477 ถึง พ.ศ. 2502 โจทก์ได้รับบำนาญจากทางราชการตลอดมา แต่ต่อมาได้คืนบำนาญสำหรับปี พ.ศ. 2501 และ 2502 เนื่องจากในวันที่ 1 มกราคม 2500 ได้มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2499 ออกใช้บังคับและโดยผลของมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัตินี้โจทก์ได้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนย้อนหลังไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2477 แม้การที่กฎหมายเปลี่ยนฐานะของโจทก์จากการเป็นลูกจ้างมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญจะถือไม่ได้ว่าเป็นการกลับเข้ารับราชการใหม่ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2494 เพราะไม่มีการกลับเข้ารับราชการใหม่ แต่โดยที่โจทก์เป็นผู้ได้รับบำนาญอยู่ก่อนที่โจทก์จะได้รับการเปลี่ยนฐานะจากลูกจ้างมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ เมื่อมีปัญหาจะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์จะคิดเวลาราชการของโจทก์ทั้งสองครั้งติดต่อกันเพื่อคำนวณเงินบำนาญได้หรือไม่ กรณีต้องวินิจฉัยคดีเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 คือเทียบกับมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2494 ซึ่งตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้าราชการผู้ประสงค์จะให้คิดเวลาราชการทั้งการรับราชการครั้งเก่าและครั้งใหม่ติดต่อกันสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ จะต้องบอกเลิกรับบำนาญเสียก่อนภายใน 30 วัน นับแต่วันกลับเข้ารับราชการใหม่ สำหรับกรณีของโจทก์เมื่อไม่มีวันกลับเข้ารัชราชการใหม่ก็ควรจะต้องถือว่าหากโจทก์ประสงค์จะให้คิดเวลาราชการทั้งสองครั้งติดต่อกัน โจทก์ก็ต้องบอกเลิกรับบำนาญเสียภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันประกาศใช้บังคับของพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2499 เมื่อโจทก์มิได้บอกเลิกรับบำนาญภายในกำหนด จึงไม่มีสิทธิ์ที่จะขอให้จำเลยคิดเวลาราชการสำหรับคำนวณบำนาญทั้งเวลาราชการครั้งก่อนและครั้งหลังติดต่อกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1001/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้างขณะขับรถประจำตำแหน่ง แม้เลยเวลาราชการ
คำฟ้องของโจทก์ระบุเลขทะเบียนรถยนต์ของจำเลยคันที่ชนโจทก์ผิดพลาด จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่ารถยนต์นั้นมิใช่ของจำเลยแต่ต่อสู้ว่าคนขับรถมิใช่ลูกจ้างของจำเลย หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว โจทก์มาขอแก้ไขฟ้องให้ถูกต้อง ดังนี้ เป็นเรื่องแก้ไขความผิดพลาดเล็กน้อย แม้จะขอภายหลังกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ศาลก็มีอำนาจสั่ง อนุญาตได้
เทศบาลนครกรุงเทพจัดรถยนต์ประจำตำแหน่งให้พนักงานเทศบาลชั้นผู้ใหญ่ใช้พร้อมกับจ้างคนขับรถให้ด้วยโดยผู้ใช้รถนำรถไปเก็บไว้ที่บ้าน คนขับรถได้ขับรถโดยประมาทชนโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัสในขณะที่ผู้ใช้รถนั่งมาในรถนั้นด้วยแม้ขณะเกิดเหตุจะเป็นเวลา 20 นาฬิกานอกเวลาราชการ ก็ยังถือได้ว่าคนขับรถซึ่งเป็นลูกจ้างของเทศบาลได้กระทำไปในทางการที่จ้างเทศบาลจะปฏิเสธความรับผิดมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำเหน็จบำนาญข้าราชการ: เวลาราชการต้องเป็นช่วงที่รับเงินเดือนจากงบประมาณปกติ ไม่นับช่วงข้าราชการวิสามัญ
การนับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญต้องนับแต่วันรับราชการรับเงินเดือนจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือน ซึ่งมิใช่อัตราข้าราชการวิสามัญหรือลูกจ้างตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 23
ระหว่างวันที่ 24 เมษายน 2477 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2479 โจทก์เป็นข้าราชการวิสามัญต่อมาโจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการสามัญเมื่อ พ.ศ.2480 โดยเจ้ากระทรวงเห็นสมควรบรรจุในชั้นนั้นเข้าอันดับเงินเดือนเท่าที่ได้รับอยู่ โดยได้รับอนุมัติของ ก.พ.แล้ว ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2479 มาตรา 74 จึงเห็นได้ว่าการยกฐานะหรือเปลี่ยนฐานะของโจทก์เป็นไปโดยคำสั่งของเจ้ากระทรวงซึ่งเห็นสมควรบรรจุหาใช่เป็นไปโดยกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่จึงไม่ชอบที่จะนับระยะเวลาระหว่างที่เป็นข้าราชการวิสามัญดังกล่าวเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 23 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การระบุเวลาในความผิดที่กระทำในเวลาราชการ
โจทก์ ฟ้องระบุถึงวันเดือนปีที่จำเลยนำหนังสือปลอมไปแสดงต่อเจ้าพนักงานหอทะเบียนที่ดินโดยอ้างว่าเป็นหนังสืออันแท้จริงไว้แล้ว คงขาดแต่ไม่ได้กล่าวเวลาที่ไปแสดงนั้นเป็นเวลาใดกลางวันหรือกลางคืน แต่ตามฟ้องนั้นเองก็ย่อมจะเข้าใจได้ว่าจำเลยนำไปแสดงต่อเจ้าพนักงานในเวลาราชการ ซึ่งตามปกติเป็นเวลากลางวัน ทั้งปรากฎตามคำให้การของจำเลย ก็เห็นได้ว่าจำเลยเข้าใจข้อหาดีอยู่แล้ว ดังนี้ ย่อมถือได้ว่า ฟ้องของโจทก์สมบูรณ์พอเพียงตามความประสงค์ของกฎหมายแล้ว
of 2