คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เสียงข้างมาก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจของสหกรณ์: เสียงข้างมากของคณะกรรมการเพียงพอต่อการสมบูรณ์ของอำนาจฟ้องคดี
จำเลยให้การว่า ค.จะได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ ฟ้องคดีหรือไม่ จำเลยไม่ทราบและไม่รับรอง คำให้การเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การรับ โจทก์จึงยังมีหน้าที่นำสืบถึง ประเด็นข้อนี้
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2511 มาตรา 24 บัญญัติให้คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์จำกัดเป็นผู้ดำเนินการและ เป็นผู้แทนสหกรณ์จำกัดในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก และคณะกรรมการจะมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคน ทำการแทนก็ได้แต่ตามกฎหมายและข้อบังคับของสหกรณ์โจทก์ มิได้กำหนดไว้ว่าในการดำเนินกิจการต่างๆ คณะกรรมการดังกล่าว จะต้องลงชื่อครบทุกคนหรือไม่เพียงใด จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไป เกี่ยวกับนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 77 กำหนดให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก ดังนั้น เมื่อ คณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ 6 คนในจำนวน 7 คนได้ลงชื่อ ในหนังสือมอบอำนาจให้ ค.ฟ้องคดี จึงเป็นเสียงข้างมากตามนัย แห่งบทกฎหมายดังกล่าว หนังสือมอบอำนาจของโจทก์จึงสมบูรณ์ ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสหภาพแรงงานฟ้องคดี – เสียงข้างมากกรรมการ – สิทธิลูกจ้างมอบอำนาจ – สัญญาเช่าผูกพันตามมติคณะรัฐมนตรี
บทบัญญัติมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 เป็นเพียงกำหนดให้สหภาพแรงงานดำเนินกิจการต่าง ๆ โดยทางผู้แทนทั้งหลายที่เรียกว่าคณะกรรมการเท่านั้น และไม่มีมาตราอื่นใดบังคับว่า สหภาพแรงงานจะดำเนินกิจการใด ๆ ได้ต้องอาศัยความเห็นชอบของคณะกรรมการทุกคน เมื่อข้อบังคับของสหภาพแรงงานโจทก์มิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่นกรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 77 ว่าการจะทำความตกลงต่างๆ ในทางอำนวยกิจการของนิติบุคคลนั้น ให้เป็นไปตามเสียงข้างมากในหมู่ผู้จัดการทั้งหลายด้วยกัน
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ.2522 มาตรา 36 ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงานซึ่งตนเป็นสมาชิกดำเนินคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานแทนลูกจ้างผู้นั้นได้เท่านั้น ไม่หมายถึงการฟ้องคดีในส่วนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสหภาพแรงงานโดยเฉพาะ สหภาพแรงงานโจทก์มีวัตถุประสงค์ว่า เพื่อแสวงหาและคุ้มครองประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา98(2) กำหนดให้สหภาพแรงงานมีอำนาจหน้าที่จัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน ฉะนั้น เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของโจทก์ไปในทางเสื่อมประโยชน์ของสมาชิกโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดีของหุ้นส่วน: ถอนอำนาจต้องทำโดยเสียงข้างมาก ห้ามโต้แย้งหลังจำหน่ายคดี
การที่ผู้เป็นหุ้นส่วน 5 คนรวมทั้ง อ.ได้ร่วมกันลงชื่อในใบมอบอำนาจให้ พ.ผู้เป็นหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับกิจการของหุ้นส่วนตามสัญญาเข้าหุ้นส่วนซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีผลประโยชน์ร่วมกันนั้น ย่อมถือว่า พ.ฟ้องคดีในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญเพื่อประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคน หาใช่ฟ้องคดีแทนผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะไม่ ฉะนั้นหากจะมีการถอนการมอบอำนาจให้ พ.เป็นโจทก์ฟ้องคดี ก็ชอบที่จะกระทำโดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนร่วมกันขอถอนหรือกระทำโดยเสียงข้างมาก ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยจะขอถอนใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นซึ่งเป็นเสียงข้างมากมิได้ยินยอมด้วยหาได้ไม่ ฉะนั้น การที่ อ.ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่เพียงคนเดียวยื่นคำร้องขอถอนการมอบอำนาจโดยผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ มิได้ยินยอมด้วย จึงหาทำให้การมอบอำนาจให้ พ.ฟ้องคดีตามใบมอบอำนาจเสียไปไม่และหามีผลทำให้ อ.กลับเข้ามาเป็นโจทก์ด้วยตนเองไม่ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะ พ.ขอถอนฟ้อง แม้ อ.จะได้ยื่นคำร้องของถอนการมอบอำนาจไว้ก่อนศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีก็ตาม อ.ก็ไม่มีสิทธิขอเป็นโจทก์ดำเนินคดีต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดีของหุ้นส่วน การถอนอำนาจต้องทำโดยเสียงข้างมาก สิทธิการเป็นโจทก์
การที่ผู้เป็นหุ้นส่วน 5 คนรวมทั้ง อ. ได้ร่วมกันลงชื่อในใบมอบอำนาจให้ พ. ผู้เป็นหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับกิจการของหุ้นส่วนตามสัญญาเข้าหุ้นส่วนซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีผลประโยชน์ร่วมกันนั้น ย่อมถือว่า พ. ฟ้องคดีในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญเพื่อประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนหาใช่ฟ้องคดีแทนผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะไม่ฉะนั้น หากจะมีการถอนการมอบอำนาจให้ พ. เป็นโจทก์ฟ้องคดี ก็ชอบที่จะกระทำโดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนร่วมกันขอถอนหรือกระทำโดยเสียงข้างมาก ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยจะขอถอนใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นซึ่งเป็นเสียงข้างมากมิได้ยินยอมด้วยหาได้ไม่ฉะนั้น การที่ อ. ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่เพียงคนเดียวยื่นคำร้องขอถอนการมอบอำนาจโดยผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆ มิได้ยินยอมด้วย จึงหาทำให้การมอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีตามใบมอบอำนาจ เสียไปไม่และหามีผลทำให้ อ. กลับเข้ามาเป็นโจทก์ด้วยตนเองไม่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะพ.ขอถอนฟ้องแม้ อ. จะได้ยื่นคำร้องขอถอนการมอบอำนาจไว้ก่อนศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีก็ตามอ. ก็ไม่มีสิทธิขอเป็นโจทก์ดำเนินคดีต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เสียงข้างมากผู้จัดการมรดกมีอำนาจจัดการทรัพย์มรดก บุคคลภายนอกต้องยินยอมตาม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 นั้น การทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องเป็นไปตามเสียงข้างมาก. และเสียงข้างมากดังกล่าวนี้มิได้มีกฎหมายบังคับว่าต้องจัดให้มีการประชุมผู้จัดการมรดกเพื่อปรึกษาออกเสียงกันโดยตรงในกรณีที่ผู้จัดการมรดกเห็นควรดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งในการจัดการมรดก และปรากฏว่าได้แจ้งไปยังผู้จัดการมรดกทุกคนแล้ว มีผู้เห็นด้วยเป็นส่วนมาก ความเห็นส่วนข้างมากนั้นก็ถือได้ว่าเป็นเสียงข้างมาก ตกเป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องจัดการไปตามนั้นผู้จัดการมรดกส่วนข้างมากก็อาจดำเนินการไปในนามของผู้จัดการมรดกทั้งคณะได้ การรวบรวมทรัพย์มรดกก็ตาม ก็เป็นการจัดการมรดก บุคคลภายนอกหากได้ทราบความเห็นหรือเสียงข้างมากที่ให้เรียกทรัพย์มรดกนั้นแล้ว ก็ต้องรับรู้และยินยอมให้ผู้จัดการมรดกส่วนข้างมากรับทรัพย์มรดกไปจะเกี่ยงให้ผู้จัดการมรดกส่วนข้างมากนำผู้จัดการมรดกส่วนข้างน้อยเข้ามาร่วมจัดการด้วยหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นเห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นละเมิด แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่เป็นละเมิด จะถือได้อย่างมากเพียงแต่เป็นการผิดสัญญา ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2, 3 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 แล้วพิพากษายืนในข้อที่ให้จำเลยที่ 2, 3 ร่วมเสียค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นด้วยนั้นเป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 และไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลฎีกาจะแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เสียงข้างมากของผู้จัดการมรดกมีผลผูกพัน การจัดการทรัพย์มรดกต้องเป็นไปตามเสียงข้างมาก แม้ผู้จัดการมรดกส่วนน้อยไม่ยินยอม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 นั้น การทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องเป็นไปตามเสียงข้างมาก และเสียงข้างมากดังกล่าวนี้มิได้มีกฎหมายบังคับว่าต้องจัดให้มีการประชุมผู้จัดการมรดกเพื่อปรึกษาออกเสียงกันโดยตรงในกรณีที่ผู้จัดการมรดกเห็นควรดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งในการจัดการมรดกและปรากฏว่าได้แจ้งไปยังผู้จัดการมรดกทุกคนแล้ว มีผู้เห็นด้วยเป็นส่วนมาก ความเห็นส่วนข้างมากนั้นก็ถือได้ว่าเป็นเสียงข้างมากตกเป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องจัดการไปตามนั้นผู้จัดการมรดกส่วนข้างมากก็อาจดำเนินการไปในนามของผู้จัดการมรดกทั้งคณะได้การรวบรวมทรัพย์มรดกก็ตาม ก็เป็นการจัดการมรดก บุคคลภายนอกหากได้ทราบความเห็นหรือเสียงข้างมากที่ให้เรียกทรัพย์มรดกนั้นแล้วก็ต้องรับรู้และยินยอมให้ผู้จัดการมรดกส่วนข้างมากรับทรัพย์มรดกไปจะเกี่ยงให้ผู้จัดการมรดกส่วนข้างมากนำผู้จัดการมรดกส่วนข้างน้อยเข้ามาร่วมจัดการด้วยหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นเห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นละเมิดแต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่เป็นละเมิดจะถือได้อย่างมากเพียงแต่เป็นการผิดสัญญาซึ่งเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2,3 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 แล้วพิพากษายืนในข้อที่ให้จำเลยที่ 2, 3ร่วมเสียค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นด้วยนั้นเป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 และไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลฎีกาจะแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เสียงข้างมากของผู้จัดการมรดกมีผลผูกพัน การจัดการมรดกต้องเป็นไปตามเสียงข้างมาก แม้ผู้จัดการมรดกส่วนน้อยไม่ยินยอม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 นั้น. การทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องเป็นไปตามเสียงข้างมาก. และเสียงข้างมากดังกล่าวนี้มิได้มีกฎหมายบังคับว่าต้องจัดให้มีการประชุมผู้จัดการมรดกเพื่อปรึกษาออกเสียงกันโดยตรงในกรณีที่ผู้จัดการมรดกเห็นควรดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งในการจัดการมรดก. และปรากฏว่าได้แจ้งไปยังผู้จัดการมรดกทุกคนแล้ว มีผู้เห็นด้วยเป็นส่วนมาก. ความเห็นส่วนข้างมากนั้นก็ถือได้ว่าเป็นเสียงข้างมากตกเป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องจัดการไปตามนั้น.ผู้จัดการมรดกส่วนข้างมากก็อาจดำเนินการไปในนามของผู้จัดการมรดกทั้งคณะได้. การรวบรวมทรัพย์มรดกก็ตาม ก็เป็นการจัดการมรดก บุคคลภายนอกหากได้ทราบความเห็นหรือเสียงข้างมากที่ให้เรียกทรัพย์มรดกนั้นแล้ว. ก็ต้องรับรู้และยินยอมให้ผู้จัดการมรดกส่วนข้างมากรับทรัพย์มรดกไป.จะเกี่ยงให้ผู้จัดการมรดกส่วนข้างมากนำผู้จัดการมรดกส่วนข้างน้อยเข้ามาร่วมจัดการด้วยหาได้ไม่.
ศาลชั้นต้นเห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นละเมิด. แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่เป็นละเมิด. จะถือได้อย่างมากเพียงแต่เป็นการผิดสัญญา. ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1. ส่วนจำเลยที่ 2,3 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1. แล้วพิพากษายืนในข้อที่ให้จำเลยที่ 2, 3ร่วมเสียค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นด้วยนั้น.เป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161. และไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลฎีกาจะแก้ไข.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจถอนฟ้องของโจทก์ร่วม: เสียงข้างมากของคณะกรรมการมัสยิดมีผลผูกพัน
หากคณะกรรมการมัสยิดซึ่งมีเสียงข้างมากมอบอำนาจให้บุคคลใดถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดอันยอมความได้แล้ว บุคคลนั้นก็ย่อมมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ได้ แม้จะมีกรรมการส่วนข้างน้อยคัดค้านการมอบอำนาจนั้นอยู่ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจถอนฟ้องของโจทก์ร่วม: การมอบอำนาจตามเสียงข้างมากของคณะกรรมการมัสยิด
หากคณะกรรมการมัสยิดซึ่งมีเสียงข้างมากมอบอำนาจให้บุคคลใดถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดอันยอมความได้แล้ว บุคคลนั้นก็ย่อมมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ได้แม้จะมีกรรมการส่วนข้างน้อยคัดค้านการมอบอำนาจนั้นอยู่ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกหลายคนต้องเสียงข้างมาก ทายาทหมดสิทธิจัดการเอง
เมื่อศาลตั้งผู้จัดการมรดกไว้หลายคน และมิได้กำหนดสิทธิและหน้าที่ของแต่ละคนไว้โดยเฉพาะ การทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้นจึงต้องถือเอาเสียงข้างมาก และนับแต่วันศาลตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว บรรดาทายาททั้งหลายย่อมหมดสิทธิที่จะเข้าจัดการมรดก เพราะมิฉะนั้นจะเป็นการจัดการมรดกซ้อนอำนาจผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง
จำเลยเช่าที่ดินมรดกจากผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งคนหนึ่ง โดยผู้จัดการมรดกร่วมคนอื่นมิได้รู้เห็นด้วย ดังนี้ถือว่าเป็นการเช่าจากบุคคลที่ไม่มีอำนาจให้เช่าได้ตามกฎหมาย จำเลยจึงอ้างสิทธิการเช่านั้นไม่ได้
of 3