พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3767/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดปากกาลูกลื่นที่ประกอบจากชิ้นส่วนนำเข้าและเสียภาษีแล้ว ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ปากกาลูกลื่นยี่ห้อโบโซ่ที่เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยยึดเป็นส่วนหนึ่งของปากกาลูกลื่นที่โจทก์ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนปากกาลูกลื่นที่โจทก์สั่งเข้ามาและเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมายแล้วมิใช่เป็นสินค้าที่นำเข้าโดยยังมิได้เสียภาษี เจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงไม่มีอำนาจยึด และจำเลยจะไม่คืนปากกาลูกลื่นดังกล่าวให้โจทก์โดยอ้างว่าตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 24 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่12) พ.ศ.2497 มาตรา 3 หาได้ไม่ เพราะกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3767/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดปากกาลูกลื่นที่ประกอบจากชิ้นส่วนนำเข้าและเสียภาษีแล้ว ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ปากกาลูกลื่นยี่ห้อโบโซ่ที่เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยยึดเป็นส่วนหนึ่งของปากกาลูกลื่นที่โจทก์ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนปากกาลูกลื่นที่โจทก์สั่งเข้ามาและเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมายแล้ว มิใช่เป็นสินค้าที่นำเข้าโดยยังมิได้เสียภาษี เจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงไม่มีอำนาจยึด และจำเลยจะไม่คืนปากกาลูกลื่นดังกล่าวให้โจทก์โดยอ้างว่าตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 24 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่12) พ.ศ.2497 มาตรา 3 หาได้ไม่ เพราะกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน และผลกระทบต่อการเสียภาษี การหลีกเลี่ยงภาษี
โจทก์ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนในกิจการขนส่งภายในประเทศได้นำเรือบรรทุกน้ำมันโอชั่นนิค4 เข้ามาในประเทศโดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีการค้า ภายหลังโจทก์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมดที่ได้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมิใช่ผู้ได้รับการส่งเสริม ไม่ได้รับประโยชน์ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 227 ข้อ 37 และโจทก์ได้ขายเรือดังกล่าวไปแล้วพฤติการณ์ของโจทก์ฟังได้ว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงในการเสียภาษี ไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะงดเงินเพิ่มหรือเบี้ยปรับ โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าเงินเพิ่มเบี้ยปรับภาษีรายได้เทศบาลแก่กรมสรรพากรจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีและการอุทธรณ์ หากมิได้อุทธรณ์ตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด จะไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล
ภาษีการค้าอันเป็นภาษีอากรประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 77 ทวิซึ่งตามมาตรา 84 วรรค 2 ผู้ประกอบการค้าในการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามแบบที่อธิบดีกำหนด ทุกครั้งนั้น เจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินตามรายการที่ยื่นเพื่อเสียภาษีอากรนั้นแล้วแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไป ยังผู้ต้องเสียภาษีอากรตามมาตรา 18 หากผู้ประกอบการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจประเมินภาษีได้เองตามมาตรา 87(1) และต้องแจ้งการประเมินไปยังผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 88 เมื่อได้มีการประเมินภาษีอากรและแจ้งการประเมินไปยังผู้ประกอบการค้าแล้วผู้ประกอบการค้ามีสิทธิที่จะอุทธรณ์การประเมินได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18, 88 การอุทธรณ์นั้นให้อุทธรณ์ตามแบบที่อธิบดีกำหนด และอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 30 วันตามมาตรา 30 เมื่อไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามมาตรา 30(2) โจทก์สั่งเครื่องอะไหล่ของเครื่องจักรจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อใช้แทนของเก่าเมื่อชำรุด ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและได้ชำระเงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแก่จำเลยไปแล้ว แต่โจทก์เห็นว่าสินค้าที่นำเข้ามานั้นเป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าของโจทก์เอง ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามมาตรา 79 ตรี (11) จึงได้ยื่นหนังสือต่อจำเลยขอเงินค่าภาษีอากรนั้นคืน จำเลยยังมิได้พิจารณาดังนี้แม้เป็นกรณีที่อ้างว่าได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากรก็ตาม เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้เสียภาษีอากรและแจ้งให้โจทก์ทราบแล้ว โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์ตามขั้นตอนที่ บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีและการอุทธรณ์: ผู้เสียภาษีต้องอุทธรณ์ตามขั้นตอนก่อนฟ้องคดี แม้ได้รับยกเว้นภาษี
ภาษีการค้าอันเป็นภาษีอากรประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ทวิ ซึ่งตามมาตรา 84 วรรค 2 ผู้ประกอบการค้าในการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามแบบที่อธิบดีกำหนดทุกครั้งนั้น เจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินตามรายการที่ยื่นเพื่อเสียภาษีอากรนั้นแล้วแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรตามมาตรา18 หากผู้ประกอบการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจประเมินภาษีได้เองตามมาตรา 87(1) และต้องแจ้งการประเมินไปยังผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 88 เมื่อได้มีการประเมินภาษีอากรและแจ้งการประเมินไปยังผู้ประกอบการค้าแล้ว ผู้ประกอบการค้ามีสิทธิที่จะอุทธรณ์การประเมินได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18,88 การอุทธรณ์นั้นให้อุทธรณ์ตามแบบที่อธิบดีกำหนดและอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 30 วันตามมาตรา 30 เมื่อไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามมาตรา 30(2) โจทก์สั่งเครื่องอะไหล่ของเครื่องจักรจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อใช้แทนของเก่าเมื่อชำรุด ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและได้ชำระเงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแก่จำเลยไปแล้ว แต่โจทก์เห็นว่าสินค้าที่นำเข้ามานั้นเป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าของโจทก์เอง ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามมาตรา 79 ตรี(11) จึงได้ยื่นหนังสือต่อจำเลยขอเงินค่าภาษีอากรนั้นคืน จำเลยยังมิได้พิจารณา ดังนี้แม้เป็นกรณีที่อ้างว่าได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากรก็ตาม เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้เสียภาษีอากรและแจ้งให้โจทก์ทราบแล้ว โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์ตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีการค้าสำหรับสินค้ามือสอง: ผู้ประกอบการค้าต้องเสียภาษีตามประเภทการค้าที่จดทะเบียน แม้เป็นสินค้ามือสองก็ไม่เข้าข่ายอัตราภาษีพิเศษหากไม่ได้รับอนุญาต
คำว่า "ของเก่า" ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ. 2474 มาตรา 3 นั้น หมายความว่า ทรัพย์ที่เสนอขายแลกเปลี่ยนหรือจำหน่นายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ที่ใช้แล้ว ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นของที่ใช้แล้วเสมอไป
ผู้ประกอบการค้ารายใดจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราภาษีร้อยละเท่าใดของรายรับ จะต้องพิจารณาถึงประเภทการค้าที่ผู้นั้นกระทำ และรายการที่ประกอบการค้าตลอดตนตัวผู้ประกอบการค้าที่มีหน้าที่เสียภาษีประมวลเข้าด้วยกัน จะพิจารณาเพียงแต่ชนิดของรายการที่ประกอบการค้าหรือบุคคลผู้ประกอบการค้าอย่างใดอย่างหนึ่งหาได้ไม่
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 1 การขายของ รายการประกอบการค้าชนิดหนึ่ง 1(ก) มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้าหรือผู้ผลิตในอัตราร้อยละ 5 ของรายรับ แม้โจทก์จะสั่งสินค้ารถยนต์บรรทุกและเครื่องอะไหล่ซึ่งเป็นของเก่าใช้แล้วจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย แต่เมื่อโจทก์มิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานให้เป็นผู้ค้าของเก่าตามกฎหมาย ก็หาได้ชื่อว่า โจทก์เป็นผู้ขายทุกทอด ประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 7(ค) ของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่าไม่
ผู้ประกอบการค้ารายใดจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราภาษีร้อยละเท่าใดของรายรับ จะต้องพิจารณาถึงประเภทการค้าที่ผู้นั้นกระทำ และรายการที่ประกอบการค้าตลอดตนตัวผู้ประกอบการค้าที่มีหน้าที่เสียภาษีประมวลเข้าด้วยกัน จะพิจารณาเพียงแต่ชนิดของรายการที่ประกอบการค้าหรือบุคคลผู้ประกอบการค้าอย่างใดอย่างหนึ่งหาได้ไม่
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 1 การขายของ รายการประกอบการค้าชนิดหนึ่ง 1(ก) มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้าหรือผู้ผลิตในอัตราร้อยละ 5 ของรายรับ แม้โจทก์จะสั่งสินค้ารถยนต์บรรทุกและเครื่องอะไหล่ซึ่งเป็นของเก่าใช้แล้วจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย แต่เมื่อโจทก์มิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานให้เป็นผู้ค้าของเก่าตามกฎหมาย ก็หาได้ชื่อว่า โจทก์เป็นผู้ขายทุกทอด ประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 7(ค) ของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่าไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้า - ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีเมื่อมีประเภทการค้าชัดเจน
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการค้าต้องเป็น "ผู้ประกอบการค้า"ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ซึ่งได้แก่ผู้ประกอบการค้า2 ประเภท คือ ผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้กำหนดประเภทการค้าและรายการที่ประกอบการค้าไว้ประเภทหนึ่ง ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าตามอัตราที่ระบุไว้ในบัญชีนั้น ตามมาตรา 78 วรรคหนึ่ง กับผู้ที่บทบัญญัติในหมวด 4 ที่ให้ถือว่าเป็นผู้ประกอบการค้าด้วยอีกประเภทหนึ่ง ประเภทหลังนี้คือผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (1)และ (2)
สำหรับผู้ประกอบการค้าประเภทหลังตามมาตรา 78 วรรคสองอธิบดีกรมสรรพากร(โดยอนุมัติรัฐมนตรี) มีอำนาจประกาศให้บุคคล4 จำพวกเท่านั้น ซึ่งได้แก่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้ขายทอดใดทอดหนึ่งหรือหลายทอด ซึ่งสินค้าตามที่กำหนดไว้ในประกาศ (ซึ่งไม่เป็นผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้ระบุให้เสียภาษีไว้โดยเฉพาะ) มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าซึ่งสินค้าใดๆ ตามที่จะกำหนดไว้ในประกาศ แต่อธิบดีฯ ไม่มีอำนาจกำหนดอัตราภาษีการค้าที่บุคคลเหล่านี้จะต้องเสียให้นอกเหนือเกินเลยไปจากอัตราภาษีการค้าตามที่มาตรา 78 วรรคสอง(1)และ (2) ได้บัญญัติไว้แล้ว
โจทก์สั่งหินสำลีซึ่งเป็นสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปเข้ามาผลิตเพื่อขายเป็นสินค้าอื่น มิใช่สั่งเข้ามาเพื่อขายให้แก่โรงงานอื่นหรือผู้อื่น โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าหินสำลี และจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าสำหรับหินสำลีในฐานะผู้นำเข้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ฉะนั้น มาตรา 78 วรรคสองและประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 2) ข้อ 3 รวมตลอดทั้งประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 3) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 79(6) ซึ่งให้ถือว่าโจทก์ได้ขายหินสำลีในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จึงนำมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าทั้งสองประเภทตามมาตรา 78 วรรคหนึ่งและมาตรา 78 วรรคสอง ดังกล่าว
คำว่า"ผลิตเพื่อขาย"ตามมาตรา 79ทวิ(1) ต้องอ่านประกอบกับประโยคหน้าและจึงควรหมายความว่า "โดยมิใช่ผลิตเพื่อขาย" ด้วย จึงจะถูกต้องตามความมุ่งหมายของมาตรา 79ทวิวรรคแรก กล่าวคือการนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาขายก็ดีการนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาผลิตเพื่อขายก็ดี กฎหมายให้ถือว่าเป็นการขายสินค้าตามวรรคแรกแห่งมาตรานี้ เพราะการผลิตเพื่อขายย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า "มิใช่นำมาขาย" ในตอนต้นของมาตรา 79ทวิ(1) อยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องใส่คำว่า "ผลิตเพื่อขาย" ลงไปอีก และโดยเฉพาะถ้าไม่อ่านประกอบประโยคหน้าดังกล่าวเช่นนั้นแล้ว ก็จะไม่มีทางใช้ข้อยกเว้นตามข้อ(ก) ของมาตรา 79ทวิ(1) ซึ่งบัญญัติยกเว้นในกรณีที่นำเข้ามาใช้ส่วนตัวตามปกติและตามสมควรได้เลย ส่วนการนำเข้าซึ่งสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิดอื่นอีก 8 ชนิดนั้น มาตรา 79ทวิวรรคแรก ให้ถือเป็นการขายสินค้าทั้งสิ้น (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2512)
สำหรับผู้ประกอบการค้าประเภทหลังตามมาตรา 78 วรรคสองอธิบดีกรมสรรพากร(โดยอนุมัติรัฐมนตรี) มีอำนาจประกาศให้บุคคล4 จำพวกเท่านั้น ซึ่งได้แก่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้ขายทอดใดทอดหนึ่งหรือหลายทอด ซึ่งสินค้าตามที่กำหนดไว้ในประกาศ (ซึ่งไม่เป็นผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้ระบุให้เสียภาษีไว้โดยเฉพาะ) มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าซึ่งสินค้าใดๆ ตามที่จะกำหนดไว้ในประกาศ แต่อธิบดีฯ ไม่มีอำนาจกำหนดอัตราภาษีการค้าที่บุคคลเหล่านี้จะต้องเสียให้นอกเหนือเกินเลยไปจากอัตราภาษีการค้าตามที่มาตรา 78 วรรคสอง(1)และ (2) ได้บัญญัติไว้แล้ว
โจทก์สั่งหินสำลีซึ่งเป็นสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปเข้ามาผลิตเพื่อขายเป็นสินค้าอื่น มิใช่สั่งเข้ามาเพื่อขายให้แก่โรงงานอื่นหรือผู้อื่น โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าหินสำลี และจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าสำหรับหินสำลีในฐานะผู้นำเข้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ฉะนั้น มาตรา 78 วรรคสองและประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 2) ข้อ 3 รวมตลอดทั้งประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 3) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 79(6) ซึ่งให้ถือว่าโจทก์ได้ขายหินสำลีในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จึงนำมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าทั้งสองประเภทตามมาตรา 78 วรรคหนึ่งและมาตรา 78 วรรคสอง ดังกล่าว
คำว่า"ผลิตเพื่อขาย"ตามมาตรา 79ทวิ(1) ต้องอ่านประกอบกับประโยคหน้าและจึงควรหมายความว่า "โดยมิใช่ผลิตเพื่อขาย" ด้วย จึงจะถูกต้องตามความมุ่งหมายของมาตรา 79ทวิวรรคแรก กล่าวคือการนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาขายก็ดีการนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาผลิตเพื่อขายก็ดี กฎหมายให้ถือว่าเป็นการขายสินค้าตามวรรคแรกแห่งมาตรานี้ เพราะการผลิตเพื่อขายย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า "มิใช่นำมาขาย" ในตอนต้นของมาตรา 79ทวิ(1) อยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องใส่คำว่า "ผลิตเพื่อขาย" ลงไปอีก และโดยเฉพาะถ้าไม่อ่านประกอบประโยคหน้าดังกล่าวเช่นนั้นแล้ว ก็จะไม่มีทางใช้ข้อยกเว้นตามข้อ(ก) ของมาตรา 79ทวิ(1) ซึ่งบัญญัติยกเว้นในกรณีที่นำเข้ามาใช้ส่วนตัวตามปกติและตามสมควรได้เลย ส่วนการนำเข้าซึ่งสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิดอื่นอีก 8 ชนิดนั้น มาตรา 79ทวิวรรคแรก ให้ถือเป็นการขายสินค้าทั้งสิ้น (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าสินค้าแยกส่วนและการเสียภาษี ศาลฎีกาเห็นว่าการเสียภาษีตามสภาพสินค้า ณ เวลาที่นำเข้าเป็นไปตามกฎหมาย และไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
จำเลยสั่งรถจี๊บ (ไม่มีตัวถัง) 34 คันและเครื่องอุปกรณ์จากญี่ปุ่น เสียภาษีศุลกากรสำหรับรถจี๊บร้อยละ 20 สำหรับเครื่องอุปกรณ์ร้อยละ 25 ของราคา แล้วนำมาประกอบกันเป็นรถนั่งสมบูรณ์จดทะเบียนจำหน่ายไป ซึ่งพระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2478 มาตรา 4 และบัญชีต่อท้ายระบุถึงรถไม่มีตัวถังอัตราอากรตามราคาร้อยละ 26 รถมีตัวถังหรือสมบูรณ์แล้วร้อยละ 50 ดังนี้ เมื่อจำเลยได้เสียภาษีอย่างรถไม่มีตัวถังเป็นการเสียภาษีตามพิกัดอัตราศุลกากรแล้ว พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2479 มาตรา 5 ก็บัญญัติให้เรียกเก็บอากรแก่สิ่งที่นำเข้ามาตามสภาพแห่งของนั้น ณ เวลาที่นำเข้า แต่ที่บัญญัติต่อไปว่า "แต่สิ่งที่สมบูรณ์แล้วหากนำเข้ามาเป็นส่วน ๆ นั้น ....... จะเรียกเก็บตามอัตราที่กำหนดไว้สำหรับสิ่งนั้นเสมือนหนึ่งว่าได้นำเข้ามาโดยประกอบส่วนต่าง ๆ นั้นเข้าด้วยกันโดยสมบูรณ์แล้วก็ได้" นั้น มีความหมายว่า จะเรียกเก็บก็ได้ หรือจะไม่เรียกเก็บก็ได้ ฉะนั้น จำเลยจะต้องเสียอากรเสมือนสิ่งสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อถูกเรียกเก็บ เมื่อยังไม่ถูกเรียกเก็บจำเลยก็ยังไม่ต้องรับผิดชอบเสียอากรเสมือนสิ่งที่สมบูรณ์ เมื่อจำเลยยังไม่ต้องรับผิดเสียอากร ก็ไม่อาจถือว่าจำเลยหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษี
พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2479 มาตรา 6 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมศุลกากรอีกชั้นหนึ่ง ที่จะพิจารณาเรียกเก็บภาษี แต่มิใช่เป็นการให้อำนาจแก่อธิบดีฯ เป็นผู้พิจารณาและชี้ขาดว่าการนำสิ่งของเข้ามาเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรหรือไม่ การพิจารณาและชี้ขาดว่าผู้ใดทำผิดและถูกลงโทษหรือไม่เป็นอำนาจของศาล
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 29/2509)
พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2479 มาตรา 6 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมศุลกากรอีกชั้นหนึ่ง ที่จะพิจารณาเรียกเก็บภาษี แต่มิใช่เป็นการให้อำนาจแก่อธิบดีฯ เป็นผู้พิจารณาและชี้ขาดว่าการนำสิ่งของเข้ามาเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรหรือไม่ การพิจารณาและชี้ขาดว่าผู้ใดทำผิดและถูกลงโทษหรือไม่เป็นอำนาจของศาล
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 29/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 414/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สุราปิดแสตมป์ปลอมถือเป็นสุราที่ยังไม่ได้เสียภาษี จึงเป็นของไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลไม่สามารถคืนได้ แม้ผู้ครอบครองไม่มีเจตนา
สุราที่จะต้องเสียภาษีโดยปิดแสตมป์สุรานั้น หากปิดแสตมป์ปลอมก็เป็นสุราที่ยังไม่ได้เสียภาษีซึ่งต้องถือว่าเป็นสุราที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลจะสั่งคืนสุราให้โจทก์ผู้มีไว้ในครอบครองไม่ได้ ถึงแม้ว่าผู้ครอบครองจะไม่ถูกฟ้องคดีอาญา เพราะหลักฐานยังไม่พอฟังว่าผู้ครอบครองรู้ว่าแสตมป์นั้นปลอม ก็ไม่ทำให้สุราของกลางเป็นสุราที่มีการเสียภาษีสุราแล้วไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 414/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สุราปิดแสตมป์ปลอม ถือเป็นสุราที่ยังไม่ได้เสียภาษี ศาลไม่คืนได้ แม้ผู้ครอบครองไม่มีเจตนา
สุราที่จะต้องเสียภาษีโดยปิดแสตมป์สุรานั้นหากปิดแสตมป์ปลอมก็เป็นสุราที่ยังไม่ได้เสียภาษีซึ่งต้องถือว่าเป็นสุราที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลจะสั่งคืนสุราให้โจทก์ผู้มีไว้ในครอบครองไม่ได้ถึงแม้ว่าผู้ครอบครองจะไม่ถูกฟ้องคดีอาญาเพราะหลักฐานยังไม่พอฟังว่าผู้ครอบครองรู้ว่าแสตมป์นั้นปลอม ก็ไม่ทำให้สุราของกลางเป็นสุราที่มีการเสียภาษีสุราแล้วไปได้