คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เสียสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบต้องยื่นภายในกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นเสียสิทธิ
ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติว่า เมื่อมีการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลมีอำนาจที่หยิบยกขึ้นพิจารณาได้เอง หรือเฉพาะคู่ความฝ่ายที่เสียหายเท่านั้นที่มีอำนาจยื่นคำร้องคัดค้านได้ และเมื่อเห็นว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบแล้ว ศาลมีอำนาจที่จะสั่งอย่างไรบ้าง ส่วนวรรคสอง เป็นกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขในการยื่นคำร้องคัดค้าน คำร้องของจำเลยฉบับลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2537 เป็นการคัดค้านกระบวนพิจารณาของศาล-อุทธรณ์ที่จำเลยอ้างว่าผิดระเบียบ จำเลยจึงต้องยื่นไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่จำเลยได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทราบข้อเท็จจริงอันเป็นมูลแห่งข้ออ้างว่า กระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบในวันที่ 31 พฤษภาคม 2537 แต่จำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2537 คำร้องของจำเลยจึงมิได้ยื่นต่อศาลภายในแปดวันนับแต่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น จำเลยย่อมไม่มีสิทธิคัดค้านกระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3271/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ ต้องดำเนินการก่อนศาลมีคำพิพากษา หากมิได้ทำตาม จะเสียสิทธิ
การที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยที่ 2 ก็มิได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว สิทธิในการอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 จึงเป็นอันยุติ ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1137/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นต้องยื่นคำร้องภายในกำหนดตามกฎหมาย หากพ้นกำหนดจะเสียสิทธิ
การเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นหรือการประชุมและการลงมติของที่ประชุมถ้ากระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195จะต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันลงมตินั้นเมื่อมิได้ยื่นคำร้องขอในกำหนดดังกล่าวจึงหมดสิทธิที่จะร้องขอต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขสภาพการจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิ และเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
เมื่อนายจ้างได้ออกคำสั่งอันถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและได้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างแล้ว นายจ้างจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือออกคำสั่งใหม่อันจะมีผลให้ลูกจ้างต้องเสียประโยชน์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหาได้ไม่ และเมื่อนายจ้างออกคำสั่งทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายนอกเหนือจากที่จะได้รับบำเหน็จตามคำสั่งเดิมโดยมิได้ยื่นข้อเรียกร้องและไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ จึงเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 20

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1995/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่นต้องยื่นคำร้องก่อนการขายทอดตลาด หากยื่นหลังจะเสียสิทธิ
การยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยมาชำระหนี้ของผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้อื่น อันเป็นการใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคสองนั้น ต้องยื่นก่อนเอาทรัพย์นั้นขายทอดตลาด ดังนั้นเมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่นภายหลังจากที่ได้มีการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้ว จึงเป็นการยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมาย ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิขอให้เอาเงินที่ได้มาจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยมาชำระหนี้จำนองของผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้รายอื่นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1488/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการขายทอดตลาดต้องยื่นต่อศาลภายใน 8 วัน มิฉะนั้นเสียสิทธิอุทธรณ์ฎีกา
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อเสร็จการขายจำเลยค้านว่าราคาสูงสุดที่ได้ยังต่ำไปขอให้ขายใหม่ เจ้าพนักงานบังคับคดีเสนอศาลขออนุญาตขาย ศาลสั่งอนุญาตให้ขาย จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลภายใน 8 วันเช่นนี้ ถือว่าจำเลยมิได้ยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดต่อศาลชั้นต้นภายใน 8 วัน นับแต่ทราบถึงเหตุที่ทำให้การขายทอดตลาดเป็นไปโดยมิชอบ ตามที่บังคับไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง เมื่อจำเลยมิได้ร้องคัดค้านการขายทอดตลาดต่อศาลชั้นต้นตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6099/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นคำคัดค้านตามกำหนดทำให้เสียสิทธิในการโต้แย้งคำสั่งศาลในคดีครอบครองปรปักษ์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งว่าผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาท ศาลชั้นต้นประกาศนัดไต่สวนคำร้องโดยระบุว่าผู้ใดประสงค์จะคัดค้านให้ยื่นคำร้องคัดค้านก่อนวันนัดไต่สวนไม่มีผู้ใดคัดค้าน ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและมีคำสั่งในวันเดียวกันว่าที่พิพาทเป็นของผู้ร้อง เมื่อผู้คัดค้านไม่มายื่นคำร้องคัดค้านภายในกำหนดที่ประกาศ ผู้คัดค้านย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านขอให้ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องเพื่อทำการไต่สวนใหม่เพราะล่วงเลยเวลาที่จะยื่นคำคัดค้านไปแล้ว และกรณีเช่นนี้มิใช่เรื่องคู่ความฝ่ายหนึ่งขาดนัด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องกระทำภายในกำหนด หากพ้นกำหนดจะเสียสิทธิในการโต้แย้ง
จำเลยไม่พอใจการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ให้เสียภาษีก็ชอบที่จะยื่นคำโต้แย้งคัดค้านการประเมิน หรือขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และหากจำเลยยังไม่พอใจการชี้ขาดการประเมิน ก็อาจนำคดีไปสู่ศาลเพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องได้ แต่ต้องทำภายในสามสิบวันนับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 31 วรรคหนึ่งทั้งนี้ จำเลยจะต้องชำระค่าภาษีทั้งสิ้น ซึ่งถึงกำหนดต้องชำระเสียก่อนตามมาตรา 39 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง และมาตรา 39วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิโต้แย้งต่อศาลได้ว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นการไม่ชอบ ในการโต้แย้งนั้น ไม่ว่าผู้รับประเมินจะอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลย ผู้รับประเมินก็หมดสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5779/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่รับอุทธรณ์เพิ่มเติมและการไม่แจ้งคำสั่ง ทำให้จำเลยเสียสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2528 จำเลยยื่นอุทธรณ์ฉบับแรกเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2528 พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน นับแต่วันที่ 6 เมษายน 2528 เพื่อจะทำอุทธรณ์ฉบับสมบูรณ์มายื่นเพิ่มเติม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับเป็นอุทธรณ์ของจำเลยและอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้ตามขอ จำเลยยื่นอุทธรณ์ฉบับที่สองอันเป็นฉบับเพิ่มเติมผ่านเรือนจำ แต่ระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นขยายให้ครบกำหนดในวันที่ 21 เมษายน 2528ตรงกับวันอาทิตย์เป็นวันหยุดราชการ อุทธรณ์เพิ่มเติมของจำเลยที่ยื่นในวันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2528 ซึ่งเป็นวันแรกที่เปิดทำการย่อมเป็นการยื่นภายในกำหนดโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์เพิ่มเติมของจำเลย และไม่ได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยทราบ จึงไม่ทราบว่าจำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งตาม ป.วิ.อ.มาตรา 198 ทวิ หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไปโดยไม่ให้โอกาสจำเลยใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งก่อน จึงไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 226/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลระหว่างพิจารณา ทำให้เสียสิทธิอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226
ศาลชั้นต้นสั่งงดชี้สองสถานและงดพิจารณาเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม2527 และนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 11 เดือนเดียวกัน อันเป็นเวลาหลังจากที่ศาลสั่งถึง 5 วัน จำเลยมีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้งคัดค้านคำสั่งนี้ได้ แต่ไม่ทำ เป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายบัญญัติไว้จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226.
of 4