คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เหตุผลความจำเป็น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7873/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาจากการบรรทุกน้ำหนักเกินขนาด และเหตุผลความจำเป็นส่วนตัวที่ไม่เพียงพอต่อการรอการลงโทษ
จำเลยขับรถยนต์บรรทุกและรถพ่วงคันเกิดเหตุบรรทุกทรายมีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด 38,800 กิโลกรัม แล่นไปตามทางหลวงแผ่นดิน เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางหลวงแผ่นดิน ซึ่งได้รับการออกแบบและก่อสร้างให้สามารถรองรับน้ำหนักได้ตามอัตราที่กฎหมายกำหนดมากจนเกินกว่าที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งานตามปกติ การกระทำดังกล่าวของจำเลยแสดงให้เห็นว่า จำเลยมุ่งแต่ผลประโยชน์ส่วนตนหรือผลประโยชน์ของนายจ้างจำเลยเพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินส่วนรวมและไม่นำพาต่อสวัสดิภาพในชีวิตและทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลอื่น ๆ ที่ร่วมใช้เส้นทางสัญจรไปมาซึ่งต้องเสี่ยงต่ออันตรายอันอาจเกิดจากสภาพถนนที่ชำรุดทรุดโทรมง่ายต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรืออันตรายที่อาจจะเกิดจากสภาพรถยนต์ของจำเลยซึ่งบรรทุกน้ำหนักเป็นจำนวนมากจนเกินกว่าที่ผู้ขับจะควบคุมรถยนต์ได้อย่างปลอดภัย การที่จำเลยอ้างว่าจำต้องกระทำความผิดในครั้งนี้เพราะไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือขัดคำสั่งของนายจ้าง มิฉะนั้นอาจต้องถูกไล่ออกจากงานอันจะทำให้จำเลยต้องขาดรายได้และหากจำเลยต้องจำคุกก็จะทำให้บุตร ภริยา ซึ่งไม่อาจหาเลี้ยงตนเองและต้องอาศัยจำเลยเพียงผู้เดียวหารายได้มาจุนเจือต้องได้รับความเดือดร้อนอย่างมากนั้น เห็นได้ว่าเหตุต่าง ๆ ที่จำเลยยกขึ้นอ้างเป็นเพียงเหตุผลส่วนตัวของจำเลยเท่านั้น บุคคลทั่ว ๆ ไปในสถานะเช่นเดียวกันกับจำเลยก็มีภาระหน้าที่ไม่แตกต่างไปจากจำเลยจำเลยไม่อาจอ้างภาระความจำเป็นส่วนตัวเพื่อก่อภาระให้แก่สังคมโดยรวมได้ เหตุต่าง ๆ ที่จำเลยยกขึ้นอ้างนั้นจึงยังไม่เพียงพอที่จะนำมารับฟังเพื่อรอการลงโทษให้จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6695/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยาน: เหตุผลความจำเป็นและข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 บัญญัติหลักเกณฑ์กำหนดระยะเวลาแก้ไขคำให้การไว้ว่า ต้องยื่นก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่ายี่สิบเอ็ด วันหรือก่อนวันสืบพยานแล้วแต่กรณี มีข้อยกเว้น 3 กรณี คือ กรณีที่หนึ่งมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้นประการหนึ่ง กรณีที่สองเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอีกประการหนึ่ง และกรณีที่สามเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอีกประการหนึ่ง จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า"มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้เป็นสินสมรสที่โจทก์และสามีทำมาหาได้ร่วมกันมา จึงต้องจัดการทรัพย์สินดังกล่าวร่วมกัน เมื่อโจทก์มิได้รับความยินยอมจากสามีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476(4) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องดำเนินคดีนี้กับจำเลยทั้งสอง" แต่เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477 บัญญัติว่าสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนสินสมรสได้ ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนสินสมรสโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากสามีฉะนั้นเมื่อคำร้อง ของ จำเลยที่ขอแก้คำให้การไม่เกี่ยวกับข้อที่จะทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นให้จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหลังวันสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลความจำเป็น, การลาหยุด, และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย
มารดาโจทก์เป็นโรคความดันโลหิตสูงซึ่งได้รับการรักษาตามปกติไม่ปรากฏว่ามีอาการรุนแรงและเฉียบพลัน และไม่ได้ป่วยหนักจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องรีบเดินทางไปทันที การที่โจทก์ขาดงานไปเยี่ยมมารดาโดยไม่ลากิจให้ถูกต้อง จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร การที่นายจ้างมีระเบียบห้ามมิให้ลูกจ้างลาหยุดโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือลาหยุดเป็นประจำนั้น มิได้หมายความว่าถ้าลูกจ้างฝ่าฝืนแล้วจะต้องมีความผิด เพราะถ้าลูกจ้างยื่นใบลาโดยไม่มีเหตุสมควรหรือลาหยุดบ่อย นายจ้างก็สามารถจะไม่อนุญาตให้ลาหยุดได้ถ้าลูกจ้างลาหยุดโดยนายจ้างอนุญาตแล้ว แม้เป็นการลาหยุดโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือลาหยุดเป็นประจำ จะถือว่าเป็นความผิดของลูกจ้างไม่ได้ และการลากิจ ลาป่วยบ่อย ๆ ของลูกจ้าง ไม่ใช่การกระทำผิดไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมหลังสืบพยานหลักฐานเสร็จสิ้น ต้องพิจารณาเหตุผลความจำเป็นและประเด็นสำคัญที่ต้องสืบ
จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมโดยขอเปลี่ยนตัวพยานจาก ร. มาเป็น ท. ภายหลังจากโจทก์ซึ่งมีหน้าที่สืบพยานก่อนได้สืบพยานหลักฐานเสร็จแล้ว ในคำร้องอ้างเหตุเพียงว่า ร. ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการและพนักงานของจำเลยแล้ว ไม่สามารถตามตัวได้ มิได้อ้างเหตุที่เกี่ยวกับพยานที่ระบุเพิ่มเติมซึ่งไม่ใช่เหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม ที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมได้ ทั้งประเด็นที่จะสืบ ท. ก็มีเพียงเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัยและกิจการของจำเลยซึ่งโจทก์ได้นำสืบยอมรับแล้วว่าจำเลยมีความรับผิดตามข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยเท่านั้นดังนั้น ประเด็นที่จำเลยจะสืบ ท. จึงไม่ใช่ข้อสำคัญแห่งประเด็นที่จำเลยจำเป็นจะต้องนำสืบเพื่อให้คำวินิจฉัยของศาลเป็นไปโดยเที่ยงธรรม ชอบที่จะไม่อนุญาตให้จำเลยระบุ ท. เป็นพยานเพิ่มเติม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างทดลองงาน การพิพากษาของศาลต้องวินิจฉัยเหตุผลความจำเป็นและความเพียงพอของการเลิกจ้าง
ลูกจ้างที่ทดลองปฏิบัติงานเป็นลูกจ้างประจำ แต่หาใช่ลูกจ้างประจำสมบูรณ์อันจะพึงมีสิทธิตามกฎหมายเยี่ยงลูกจ้างประจำโดยทั่วไปไม่ เพราะนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างเสียได้ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ศาลแรงงานกลางมิได้วินิจฉัยว่าเหตุผลที่การทดลองปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ไม่เป็นที่พอใจเกิดแต่เหตุอันใด พฤติการณ์เป็นอย่างใด มีความจำเป็นแท้จริง และเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง มีเหตุอันสมควรที่จะให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาในประเด็นนี้ใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาเหตุผลความจำเป็น หากลูกจ้างมีเหตุผลอันสมควรในการขาดงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน เนื่องจากในวันแรกบุตรของโจทก์ป่วยมากจำเป็นที่โจทก์ต้องคอยดูแล ส่วนอีกสองวันต่อมานั้นปรากฏว่าฝนตกมาก น้ำท่วมถนนสายที่โจทก์จะต้องเดินทางไปทำงานและโทรศัพท์เสียหายมาก โจทก์อยู่ไกลจากสถานที่ทำงาน ไม่สามารถเดินทางไปทำงานและแจ้งให้จำเลยทราบทางโทรศัพท์ได้ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเนื่องจากมีเหตุจำเป็น ถือได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุอันสมควรมิใช่การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
เมื่อโจทก์มาทำงานแล้วได้ทราบว่า ผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีคำสั่งให้โจทก์ไปพบ แต่โจทก์ไม่ยอมไปพบนั้น แม้จะเป็นการขัดคำสั่งของนายจ้างก็ตาม แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือแล้ว จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาเหตุผลความจำเป็น หากมีเหตุสมควร การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยเป็นโมฆะ
วันที่ 8-10 พฤษภาคม 2529 โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเนื่องจากวันที่ 8 บุตรโจทก์ป่วยมาก โจทก์จะต้องคอยดูแล บุตรอย่างใกล้ชิดส่วนวันที่ 9 และ 10 นั้น ฝนตก มากน้ำท่วมถนนสายที่โจทก์จะต้องเดิน ทางไปทำงาน และโทรศัพท์เสียหายเป็นจำนวนมาก โจทก์อยู่ไกลจากสถานที่ทำงาน ไม่สามารถเดิน ทางไปทำงานและแจ้งให้จำเลยทราบทาง โทรศัพท์ได้ การที่โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติ เนื่องจากมีเหตุจำเป็น มิใช่เป็นการจงใจละทิ้งหน้าที่การงาน หรือฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เมื่อโจทก์มาทำงานทราบว่าผู้จัดการฝ่ายบุคคลสั่งให้โจทก์ไปพบ แต่โจทก์ไม่ไปพบ แม้จะฟังว่าเป็นการขัดคำสั่งนายจ้างก็ตาม แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรงอันไม่จำต้องตักเตือน เมื่อจำเลยไม่เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยเหตุดังกล่าว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิจารณาใหม่ในคดีแรงงาน: เหตุผลความจำเป็น, การขาดนัด, และข้อจำกัดการอุทธรณ์
คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่สั่งอนุญาตตามคำขอให้พิจารณาใหม่เกิดขึ้นภายหลังคำพิพากษา จึงมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้
ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 1 ว่า เป็นคำขอที่ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่คู่ความขาดนัดและข้อคัดค้านคำชี้ขาดตัดสินของศาลแรงงานกลางแล้วโจทก์จะยกปัญหาที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยเป็นที่ยุติไปดังกล่าวแล้ว ขึ้นมาอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาอีกไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
จำเลยที่ 1 เดินทางไปต่างประเทศก่อนถูกฟ้องและไม่เคยกลับเข้ามาประเทศไทยอีกเลย จำเลยที่ 1 ย่อมไม่สามารถแถลงขอให้ศาลพิจารณาใหม่ภายในกำหนดเจ็ดวันตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้จงใจขาดนัด ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจที่จะให้จำเลยที่ 1 ได้พิจารณาใหม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 และ 209 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีเนื่องจากป่วยและการประวิงคดี ศาลพิจารณาเหตุผลและความจำเป็นในการเลื่อนคดีประกอบกับประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ในวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกซึ่งจำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อนทนายจำเลยยื่นคำร้องว่าจำเลยเดินทางไปทำธุรกิจที่จังหวัดเลยแล้วป่วยกระทันหันไม่สามารถเดินทางมาศาลได้ขอเลื่อนคดีโจทก์แถลงคัดค้านว่าจำเลยประวิงคดีและไม่มีพยานมาสืบโจทก์มิได้คัดค้านโดยตรงว่าจำเลยมิได้ป่วยทั้งมิได้คัดค้านว่าคำร้องของจำเลยไม่เป็นความจริงฟังได้ว่าจำเลยป่วยมีอาการท้องเดินและอ่อนเพลียมาศาลไม่ได้จริงนับว่าจำเลยมีเหตุจำเป็นในการขอเลื่อนคดีพยานจำเลยตามบัญชีพยานปรากฏว่านอกจากจำเลยอ้างตนเองแล้วมีส.อีกเพียงคนเดียวแม้ส.เป็นพยานซึ่งจำเลยมีหน้าที่นำมาเบิกความต่อศาลแต่จำเลยไม่นำมาก็ได้ความว่าในวันนั้นส.อยู่ที่จังหวัดเลยเช่นเดียวกันเมื่อคำนึงถึงเหตุที่จำเลยป่วยประกอบด้วยแล้วการที่จำเลยไม่นำส.มาเบิกความยังถือไม่ได้ว่าจำเลยประวิงคดีและไม่มีพยานมาสืบนอกจากนี้หากพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ในเนื้อหาของคดีประกอบกับประโยชน์แห่งความยุติธรรมด้วยกรณีมีเหตุสมควรให้จำเลยเลื่อนคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3603/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนการทำแผนที่พิพาท: เหตุผลความจำเป็นและผลกระทบต่อการจำหน่ายคดี
การที่ศาลสั่งให้คู่ความไปจัดทำแผนที่พิพาท โดยห้ามมิให้เลื่อนและระบุว่าถ้าโจทก์ไม่ไปนำชี้จะจำหน่ายคดีเสียนั้น หากทนายโจทก์ผู้จะไปนำชี้จำเป็นต้องจัดการศพบิดาของภริยาจนไม่สามารถไปตามนัด และไม่อาจขอเลื่อนการทำแผนที่พิพาทได้ก่อนวันนัดแต่ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนในวันต่อมา ดังนี้ ถือว่าเป็นความจำเป็นและมีเหตุผลสมควรที่จะอนุญาตได้ ศาลจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า ถึงวันนัดหากคู่ความฝ่ายใดไม่ไปนำชี้ ก็ให้อีกฝ่ายหนึ่งนำชี้ไปฝ่ายเดียว ดังนั้น แม้คู่ความฝ่ายใดไม่ไปนำชี้ก็หาเป็นอุปสรรคต่อการทำแผนที่พิพาทไม่ ด้วยเหตุนี้หากโจทก์มีความจำเป็นและมิได้ขอเลื่อนการทำแผนที่พิพาท กรณีก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันจะเป็นเหตุให้สั่งจำหน่ายคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)
of 3