พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10659-10665/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องมีเหตุผลอันสมควร และรางวัลพิเศษขึ้นอยู่กับผลกำไรจากธุรกิจหลัก
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 หมายความถึงการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีสาเหตุ หรือแม้จะมีสาเหตุบ้างแต่ก็ไม่ใช่สาเหตุที่จำเป็นหรือสมควรจะต้องถึงกับเลิกจ้าง สาเหตุการเลิกจ้างอาจเกิดจากฝ่ายลูกจ้างฝ่ายเดียว เมื่อสาเหตุและความจำเป็นที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์มาจากการประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่อง จำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและลดจำนวนพนักงานลงเพื่อลดค่าใช้จ่ายให้อยู่ในระดับคุ้มทุน มิฉะนั้นจะไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ และตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในเรื่องข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างก็ให้สิทธิจำเลยในการที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ ทั้งเหตุที่ต้องยุบหน่วยงานที่โจทก์ทำงานและโอนงานไปรวมกับหน่วยงานอื่นก็เป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการและสัญญาผู้ประกอบการจำหน่ายที่จำเลยทำกับเจ้าหนี้ ดังนั้น การที่จำเลยใช้สิทธิตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเลิกจ้างโจทก์พร้อมกับพนักงานในหน่วยงานที่ถูกปรับยุบทั้งหมด เพราะมีสาเหตุมาจากการประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่องมิได้เลือกปฏิบัติกลั่นแกล้งเฉพาะโจทก์เท่านั้น จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ส่วนกรณีที่จำเลยประกาศรับสมัครผู้จัดการในหน่วยงานอื่นของจำเลยซึ่งโจทก์ทั้งสองมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะสมัครเข้าไปทำงานได้นั้น จำเลยก็ได้ดำเนินการหลังจากเลิกจ้างโจทก์เป็นเวลานาน เนื่องจากความจำเป็นทางด้านการบริหารจัดการที่เพิ่งเกิดมีขึ้นใหม่ในภายหลังตามความประสงค์ของบริษัท ว. ซึ่งจำเลยมีความผูกพันตามสัญญาตัวแทนจำหน่ายที่จะต้องปฏิบัติ เหตุดังกล่าวจึงไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเช่นกัน
จำเลยประกอบธุรกิจจำหน่ายรถยนต์และอะไหล่และให้บริการเกี่ยวกับรถยนต์ รายได้ที่จะมีผลต่อกำไรหรือขาดทุนในการประกอบธุรกิจของจำเลยย่อมขึ้นอยู่กับการดำเนินงานในส่วนธุรกิจรถยนต์ การที่จำเลยประกาศจ่ายรางวัลพิเศษเพิ่มให้แก่พนักงาน จึงมุ่งหมายถึงผลประกอบการในการดำเนินธุรกิจรถยนต์โดยตรง ซึ่งได้แก่ การขายรถยนต์ใหม่ การขายรถยนต์เก่าการขายอะไหล่ การให้บริการซ่อมบำรุง และการให้เช่ารถยนต์ ส่วนการขายสินทรัพย์ หนี้สูญได้รับคืน รายได้อื่นๆ และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของจำเลย มิใช่การประกอบกิจการอันเป็นธุรกิจรถยนต์ของจำเลยดังกล่าว จึงไม่อาจถือเป็นรายได้ที่จะนำมาคำนวณเป็นผลกำไรในส่วนธุรกิจรถยนต์ เมื่อการดำเนินงานในส่วนธุรกิจรถยนต์ไม่มีผลกำไร โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับรางวัลพิเศษจากจำเลย
จำเลยประกอบธุรกิจจำหน่ายรถยนต์และอะไหล่และให้บริการเกี่ยวกับรถยนต์ รายได้ที่จะมีผลต่อกำไรหรือขาดทุนในการประกอบธุรกิจของจำเลยย่อมขึ้นอยู่กับการดำเนินงานในส่วนธุรกิจรถยนต์ การที่จำเลยประกาศจ่ายรางวัลพิเศษเพิ่มให้แก่พนักงาน จึงมุ่งหมายถึงผลประกอบการในการดำเนินธุรกิจรถยนต์โดยตรง ซึ่งได้แก่ การขายรถยนต์ใหม่ การขายรถยนต์เก่าการขายอะไหล่ การให้บริการซ่อมบำรุง และการให้เช่ารถยนต์ ส่วนการขายสินทรัพย์ หนี้สูญได้รับคืน รายได้อื่นๆ และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของจำเลย มิใช่การประกอบกิจการอันเป็นธุรกิจรถยนต์ของจำเลยดังกล่าว จึงไม่อาจถือเป็นรายได้ที่จะนำมาคำนวณเป็นผลกำไรในส่วนธุรกิจรถยนต์ เมื่อการดำเนินงานในส่วนธุรกิจรถยนต์ไม่มีผลกำไร โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับรางวัลพิเศษจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7179/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: พิจารณาเหตุผลความเหมาะสมในการบริหารงานและมนุษยสัมพันธ์ของลูกจ้าง
การพิจารณาว่ากรณีใดเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้าง ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาถึงมูลเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นสำคัญไม่ว่าจะเป็นเหตุทางฝ่ายนายจ้างหรือเหตุทางฝ่ายลูกจ้างโดยพิจารณาว่านายจ้างมีเหตุผลอันสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่
จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์อ้างเหตุว่า "เพื่อความเหมาะสมในการบริหารงาน" ซึ่งยังไม่ได้ความชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่มีความเหมาะสมในการบริหารงานใด หรือจำเลยประสงค์จะให้เกิดความเหมาะสมในการบริหารงานเช่นใด จึงต้องพิจารณาจากคำให้การและข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบ ซึ่งข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังมาแสดงว่าเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นเพราะโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติงานเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ เมื่อโจทก์ทำงานในระดับบริหารต้องประสานงานกับบุคลากรในส่วนงานอื่น ๆ ในระดับเดียวกัน แต่โจทก์ปฏิบัติงานเข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ แม้จำเลยจะได้ย้ายโจทก์ไปส่วนงานอื่น โจทก์ก็ยังทำงานในลักษณะเดิมโดยมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานอีก ชี้ให้เห็นว่าโจทก์น่าจะเป็นผู้ขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ไม่สามารถประสานงานกับบุคลากรในส่วนอื่นได้ ย่อมทำให้เกิดความขัดข้องในการบริหารจัดการของจำเลย ทำให้การผลิตและการบริการของจำเลยขาดประสิทธิภาพ อาจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายได้ จำเลยจึงมีเหตุผลอันสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์อ้างเหตุว่า "เพื่อความเหมาะสมในการบริหารงาน" ซึ่งยังไม่ได้ความชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่มีความเหมาะสมในการบริหารงานใด หรือจำเลยประสงค์จะให้เกิดความเหมาะสมในการบริหารงานเช่นใด จึงต้องพิจารณาจากคำให้การและข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบ ซึ่งข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังมาแสดงว่าเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นเพราะโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติงานเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ เมื่อโจทก์ทำงานในระดับบริหารต้องประสานงานกับบุคลากรในส่วนงานอื่น ๆ ในระดับเดียวกัน แต่โจทก์ปฏิบัติงานเข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ แม้จำเลยจะได้ย้ายโจทก์ไปส่วนงานอื่น โจทก์ก็ยังทำงานในลักษณะเดิมโดยมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานอีก ชี้ให้เห็นว่าโจทก์น่าจะเป็นผู้ขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ไม่สามารถประสานงานกับบุคลากรในส่วนอื่นได้ ย่อมทำให้เกิดความขัดข้องในการบริหารจัดการของจำเลย ทำให้การผลิตและการบริการของจำเลยขาดประสิทธิภาพ อาจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายได้ จำเลยจึงมีเหตุผลอันสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5208/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คนอนาถาต้องมีเหตุผลสมควร แม้ยากจนก็ไม่อุทธรณ์ได้หากคดีไม่มีเหตุผล
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยโดยวินิจฉัยว่าคดีไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์และจำเลยมิใช่คนยากจน การที่จำเลยใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน เห็นได้ว่าแม้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและฟังว่าจำเลยเป็นคนยากจน ก็หาเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ไม่ เพราะข้อเท็จจริงยังปรากฏว่าคดีไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5208/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คนอนาถา: คดีต้องมีเหตุผลสมควร & ผู้ขอต้องยากจนจริง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย โดยวินิจฉัยว่าคดีไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์และจำเลยมิใช่คนยากจน การที่จำเลยใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน ซึ่งแม้ศาลชั้นต้นจะทำการไต่สวนและฟังว่าจำเลยเป็นคนยากจน ก็หาเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ไม่ เพราะข้อเท็จจริงยังปรากฏว่าคดีไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4340-4341/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การ, การขออนุญาตยื่นคำให้การหลังพ้นกำหนด, และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การได้ต่อเมื่อโจทก์มีคำขอ แต่การที่โจทก์มิได้ขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมิได้หมายความว่าจำเลยไม่ขาดนัดยื่นคำให้การ เพราะเมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ก็ต้องถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยผลของกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคแรก (เดิม) แล้วผลของการที่โจทก์มีคำขอดังกล่าวมีเพียงว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปเท่านั้น หากโจทก์ไม่ยื่นคำขอ ก็เป็นผลทำให้ศาลชั้นต้นอาจมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความได้ตามมาตรา 198 วรรคแรกและวรรคสอง (เดิม) ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับโจทก์โดยเฉพาะมิได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่ เหตุนี้การขออนุญาตยื่นคำให้การตามมาตรา 199(เดิม) จึงไม่ต้องให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การตามมาตรา 198 วรรคแรก (เดิม) ก่อน
การที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การเป็นการขออนุญาตยื่นคำให้การเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นคำให้การแล้ว ซึ่งหากจะถือว่าเป็นการขอขยายระยะเวลา จำเลยจะต้องอ้างทั้งพฤติการณ์พิเศษที่ไม่อาจยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายและอ้างเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจยื่นคำขอขยายระยะเวลานั้นก่อนสิ้นระยะเวลายื่นคำให้การด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 แต่ตามคำร้องขอของจำเลยอ้างเหตุที่มิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การเท่านั้น มิได้อ้างพฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัยจึงไม่อาจถือเท่ากับเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การแก่จำเลยได้
จำเลยทั้งสองได้รับหมายเรียกให้ให้การและสำเนาคำฟ้องโดยชอบแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ที่หลงลืมเพราะมีธุระส่วนตัวต้องทำจึงไม่อาจยื่นคำให้การได้ทันภายในกำหนดมิใช่เหตุผลอันสมควร ทั้งจำเลยที่ 2 ก็มีทนายความในคดีอาญาที่เกี่ยวกับคดีที่ตนถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งอยู่แล้ว ซึ่งจำเลยที่ 2 อาจติดต่อกับทนายความของตนเพื่อยื่นคำให้การต่อสู้คดีได้ก่อนสิ้นระยะเวลายื่นคำให้การหรืออาจขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การโดยอ้างพฤติการณ์พิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งได้ แต่จำเลยที่ 2 หาได้เอาใจใส่ในการดำเนินการดังกล่าวหรือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการไม่ พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยทั้งสองยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การโดยมีเหตุอันสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การได้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ยังคงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้รับฟังได้ตามคำฟ้องและในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ จำเลยมีสิทธิที่จะสาบานตนให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งจำเลยก็ได้สาบานตนให้การเป็นพยาน และถามค้านพยานโจทก์ในข้อที่ว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์หรือไม่ จึงถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาดังกล่าวตามประมวลมาตรา 249 วรรคแรก
การที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การเป็นการขออนุญาตยื่นคำให้การเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นคำให้การแล้ว ซึ่งหากจะถือว่าเป็นการขอขยายระยะเวลา จำเลยจะต้องอ้างทั้งพฤติการณ์พิเศษที่ไม่อาจยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายและอ้างเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจยื่นคำขอขยายระยะเวลานั้นก่อนสิ้นระยะเวลายื่นคำให้การด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 แต่ตามคำร้องขอของจำเลยอ้างเหตุที่มิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การเท่านั้น มิได้อ้างพฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัยจึงไม่อาจถือเท่ากับเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การแก่จำเลยได้
จำเลยทั้งสองได้รับหมายเรียกให้ให้การและสำเนาคำฟ้องโดยชอบแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ที่หลงลืมเพราะมีธุระส่วนตัวต้องทำจึงไม่อาจยื่นคำให้การได้ทันภายในกำหนดมิใช่เหตุผลอันสมควร ทั้งจำเลยที่ 2 ก็มีทนายความในคดีอาญาที่เกี่ยวกับคดีที่ตนถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งอยู่แล้ว ซึ่งจำเลยที่ 2 อาจติดต่อกับทนายความของตนเพื่อยื่นคำให้การต่อสู้คดีได้ก่อนสิ้นระยะเวลายื่นคำให้การหรืออาจขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การโดยอ้างพฤติการณ์พิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งได้ แต่จำเลยที่ 2 หาได้เอาใจใส่ในการดำเนินการดังกล่าวหรือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการไม่ พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยทั้งสองยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การโดยมีเหตุอันสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การได้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ยังคงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้รับฟังได้ตามคำฟ้องและในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ จำเลยมีสิทธิที่จะสาบานตนให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งจำเลยก็ได้สาบานตนให้การเป็นพยาน และถามค้านพยานโจทก์ในข้อที่ว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์หรือไม่ จึงถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาดังกล่าวตามประมวลมาตรา 249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4079/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตสืบพยานเพิ่มเติมหลังศาลถือว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบพยาน ต้องพิจารณาเหตุผลสมควรเพื่อให้ความเป็นธรรม
ศาลชั้นต้นกำชับมิให้ฝ่ายจำเลยขอเลื่อนคดีไว้แล้ว การที่ในนัดสุดท้ายซึ่งเป็นวันสืบพยานจำเลยพร้อมสืบพยานโจทก์ โจทก์มิได้ไปศาล และศาลชั้นต้นขึ้นนั่งพิจารณาคดีสืบพยานจำเลยในเวลา 11 นาฬิกา จนเสร็จโดยถือว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบพยาน แล้วมีคำสั่งให้รอฟังคำพิพากษาในวันเดียวกัน ต่อมาในเวลาบ่ายทนายโจทก์ได้ไปศาลจึงทราบเหตุและยื่นคำร้องขอสืบพยานโจทก์โดยให้เหตุผลว่าจดเวลานัดผิดพลาดเป็นเวลาบ่าย ซึ่งในขณะนั้นศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำพิพากษา ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิจารณาว่ามีเหตุผลสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์นำพยานเข้าสืบต่อไปหรือไม่ การที่ทนายโจทก์จดเวลานัดผิดพลาด ถือว่าเป็นเหตุผลสมควรที่จะให้โจทก์มีโอกาสนำพยานเข้าสืบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1161/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์อย่างคนอนาถาต้องแสดงเหตุผลสมควร และมีกำหนดเวลาอุทธรณ์คำสั่ง หากพ้นกำหนดถือว่าขาดอายุความ
การขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานอกจากผู้ขอต้องเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมแล้ว ยังจะต้องแสดงให้ศาลเห็นว่าคดีของตนมีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 155 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถามาพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ และศาลชั้นต้นเห็นว่า คดีของจำเลยไม่มีเหตุสมควรอุทธรณ์และมีคำสั่งยกคำร้องจึงเท่ากับศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งเกี่ยวกับเนื้อหาของคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว และมีผลเป็นคำสั่งให้ยกคำขอนั้นเสียทีเดียวซึ่งอยู่ในบังคับมาตรา 156 วรรคท้าย ที่ให้สิทธิแก่ผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันมีคำสั่ง การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งเมื่อพ้นกำหนดเวลาเช่นว่านี้ จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1161/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์อย่างคนอนาถาต้องมีเหตุผลสมควร และต้องอุทธรณ์คำสั่งศาลภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย
การขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานอกจากผู้ขอต้องเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมแล้ว ยังต้องแสดงให้ศาลเห็นว่าคดีของตนมีเหตุสมควรที่จะอุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 155 วรรคหนึ่งเมื่อจำเลยยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถามาพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ และศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีของจำเลยไม่มีเหตุสมควรอุทธรณ์และยกคำร้อง และสั่งว่าหากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์ต่อไปให้นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระภายในเวลาที่กำหนด จึงเท่ากับศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งเกี่ยวกับเนื้อหาของคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยแล้ว อันมีผลให้ยกคำขอนั้นเสียทีเดียว ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้ายให้สิทธิจำเลยอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายใน 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่งการที่จำเลยอุทธรณ์พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวจึงต้องห้ามอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยกคำร้องของจำเลยชอบแล้ว แต่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้กำหนดเวลาให้จำเลยนำค่าธรรมเนียมมาชำระภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้จำเลยฟัง ทั้งกำหนดเวลาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยนำค่าธรรมเนียมมาชำระได้ล่วงพ้นไปแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาชอบที่จะกำหนดเวลาให้จำเลยนำค่าธรรมเนียมมาชำระภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8099/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังสืบพยานฝ่ายจำเลย: ศาลไม่อนุญาตหากเหตุผลไม่สมควรหรือไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องขอเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินตามฟ้อง อ้างว่าโจทก์หลงลืมและโจทก์เพิ่งทราบในภายหลังว่าตามกฎหมายสามารถเรียกร้องดอกเบี้ยได้ หลังจากที่ศาลแรงงาน สืบพยานจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่นำพยานเข้าสืบก่อนเสร็จสิ้นแล้ว แต่เหตุที่โจทก์อ้างก็ไม่ปรากฏว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่อาจรู้หรือไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น หรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย จึงไม่เข้ากรณีที่โจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6877/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: เหตุผลสมควรจากการขาดความไว้วางใจจากความบกพร่องในการบังคับบัญชา
สัญญาจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างไม่ได้กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2540 โดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าและไม่มีเหตุที่จำเลยจะไล่โจทก์ออกจากงานโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ทุกวันสิ้นเดือน จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายนับแต่วันที่มีคำสั่งเลิกจ้างจนถึงวันสิ้นเดือนสิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 เป็นเวลา 44 วัน
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ชอบที่จะได้รับสินจ้างหรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายรวม 60 วัน ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 121 วรรคสอง และชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 1 เดือน แต่ขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ยังมิได้ใช้บังคับ อุทธรณ์ของโจทก์พออนุโลมได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ทวิ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยให้เหตุผลว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างด้วยเหตุผลตามที่ข้อ 46 ทวิ วรรคหนึ่ง กำหนดไว้
ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 1 เดือน ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดรับรองสิทธิดังกล่าวไว้
การที่มีผู้ร่วมกันยักยอกเงินค่าสุราต่างประเทศของจำเลยไป แม้มิได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ หรือสืบเนื่องจากโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยก็ตาม แต่ผู้ที่ร่วมกันยักยอกเงินดังกล่าวเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นภายในหน่วยงานที่โจทก์รับผิดชอบย่อมมีเหตุผลให้จำเลยเชื่อว่าการปฏิบัติหน้าที่ภายในหน่วยงานของโจทก์ต้องมีข้อบกพร่องและทำให้จำเลยขาดความไว้วางใจโจทก์ จำเลยเลิกจ้างโจทก์อันสืบเนื่องมาจากสาเหตุดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ชอบที่จะได้รับสินจ้างหรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายรวม 60 วัน ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 121 วรรคสอง และชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 1 เดือน แต่ขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ยังมิได้ใช้บังคับ อุทธรณ์ของโจทก์พออนุโลมได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ทวิ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยให้เหตุผลว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างด้วยเหตุผลตามที่ข้อ 46 ทวิ วรรคหนึ่ง กำหนดไว้
ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 1 เดือน ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดรับรองสิทธิดังกล่าวไว้
การที่มีผู้ร่วมกันยักยอกเงินค่าสุราต่างประเทศของจำเลยไป แม้มิได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ หรือสืบเนื่องจากโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยก็ตาม แต่ผู้ที่ร่วมกันยักยอกเงินดังกล่าวเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นภายในหน่วยงานที่โจทก์รับผิดชอบย่อมมีเหตุผลให้จำเลยเชื่อว่าการปฏิบัติหน้าที่ภายในหน่วยงานของโจทก์ต้องมีข้อบกพร่องและทำให้จำเลยขาดความไว้วางใจโจทก์ จำเลยเลิกจ้างโจทก์อันสืบเนื่องมาจากสาเหตุดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม