พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344-4345/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานไม่ไว้วางใจ แม้มิใช่ความผิดร้ายแรง ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองมิได้ทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามคำสั่งเลิกจ้างของจำเลยแต่จากการ สอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนได้ความว่าโจทก์ทั้งสองมีพฤติการณ์เป็นที่น่าสงสัยในความซื่อสัตย์สุจริต ไม่น่าไว้วางใจ และมีมลทินมัวหมองเป็นการพิจารณาถึงเหตุที่เลิกจ้างหย่อนลงไปจาก ข้ออ้างที่ว่าทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงว่าจำเลย จะมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองหรือไม่ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเป็นไปตามผลการสอบสวนซึ่งมีเหตุที่จำเลยจะไม่ไว้วางใจโจทก์ทั้งสองให้ทำงานกับจำเลยต่อไปแม้จะมิใช่ ความผิดร้ายแรง แต่ก็มีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำให้การของ อ. และโจทก์ที่ 1 ต่อคณะกรรมการสอบสวนเป็นการ บอกเล่าข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่มีการลงนามหรือปฏิญาณตามแบบวิธีการเบิกความต่อศาลเป็นเพียงพยานบอกเล่า รับฟังได้เพียงประกอบคำเบิกความของตัวพยานซึ่งได้มาเบิกความต่อศาล เท่านั้นเมื่อ อ. และโจทก์ที่ 1 มาเบิกความต่อศาลศาลจึงต้องรับฟัง คำเบิกความของพยานทั้งสองอันเป็นประจักษ์พยานตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 95
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเป็นไปตามผลการสอบสวนซึ่งมีเหตุที่จำเลยจะไม่ไว้วางใจโจทก์ทั้งสองให้ทำงานกับจำเลยต่อไปแม้จะมิใช่ ความผิดร้ายแรง แต่ก็มีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำให้การของ อ. และโจทก์ที่ 1 ต่อคณะกรรมการสอบสวนเป็นการ บอกเล่าข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่มีการลงนามหรือปฏิญาณตามแบบวิธีการเบิกความต่อศาลเป็นเพียงพยานบอกเล่า รับฟังได้เพียงประกอบคำเบิกความของตัวพยานซึ่งได้มาเบิกความต่อศาล เท่านั้นเมื่อ อ. และโจทก์ที่ 1 มาเบิกความต่อศาลศาลจึงต้องรับฟัง คำเบิกความของพยานทั้งสองอันเป็นประจักษ์พยานตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 95
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4625/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย และวันหยุดพักผ่อนประจำปี: การพิจารณาเหตุผลในการเลิกจ้าง และการคำนวณค่าชดเชยที่ถูกต้อง
โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง (5) กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 300 วัน สุดท้ายสำหรับโจทก์ซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน เมื่อโจทก์ได้รับค่าจ้างตามระยะเวลาคือเงินเดือนอัตราสุดท้ายเดือนละ 65,510 บาท โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากค่าจ้างดังกล่าว 655,100 บาท ส่วนค่าชดเชยจากค่าจ้างตามผลงานคือเงินรางวัลการขาย ปรากฏว่าโจทก์ได้รับจากการทำงาน 300 วัน สุดท้ายคิดเป็นเงิน 139,965 บาท โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากค่าจ้างตามผลงานในจำนวนเงินดังกล่าว รวมค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายทั้งสิ้น 795,065 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9774/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากกระทำผิดซ้ำคำเตือน ขัดคำสั่งนายจ้าง และการพิจารณาเหตุผลในการเลิกจ้าง
เหตุที่โจทก์ยกขึ้นเป็นข้อเลิกจ้าง ข. ลูกจ้างเพราะกระทำผิดซ้ำคำเตือนในข้อขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่ได้เตือนเป็นหนังสือแล้ว การเตือนในครั้งแรกตามหนังสือเตือน ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2553 เป็นการเตือนเนื่องจาก ข. ขัดคำสั่งและโต้เถียงผู้บังคับบัญชาระดับสูงอันเป็นผลมาจากการที่ ข. ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในฐานดื่มสุราขณะขับขี่ยานพาหนะและไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้ แต่ในการกระทำผิดครั้งหลังเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2553 เป็นเรื่อง ข. ไม่ไปตรวจสอบสถานที่ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาแล้วทำรายงานเท็จเสนอต่อโจทก์ว่าตรวจสอบแล้ว ซึ่งเป็นคนละกรณีกันไม่ถือว่าเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน อันจะมีผลให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4)
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการที่ ข. ไม่ไปตรวจสถานที่ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและทำรายงานเท็จต่อโจทก์เป็นการกระทำผิดกรณีร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือนนั้น ไม่ใช่เหตุที่โจทก์อ้างในการเลิกจ้าง ข. ตามหนังสือเลิกจ้าง โจทก์จึงไม่สามารถยกขึ้นอ้างในการเลิกจ้าง ข. โดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 119 วรรคท้าย
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการที่ ข. ไม่ไปตรวจสถานที่ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและทำรายงานเท็จต่อโจทก์เป็นการกระทำผิดกรณีร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือนนั้น ไม่ใช่เหตุที่โจทก์อ้างในการเลิกจ้าง ข. ตามหนังสือเลิกจ้าง โจทก์จึงไม่สามารถยกขึ้นอ้างในการเลิกจ้าง ข. โดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 119 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6945/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างต้องระบุเหตุผลเลิกจ้างชัดเจน หากมิได้ระบุเหตุผลตั้งแต่แรก จะไม่อาจยกเหตุภายหลังได้
จำเลยระบุพฤติกรรมของโจทก์และเหตุผลในการเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไว้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมในกรณีที่ร้ายแรงเท่านั้น โดยไม่ได้ระบุว่าการกระทำของโจทก์เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายซึ่งระบุไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและเป็นกรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2) จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุว่าโจทก์จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายขึ้นอ้างในคำให้การและอุทธรณ์ได้ แม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสาม
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 1 (1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือ ความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง
โจทก์ไม่เคยถูกตักเตือนมาก่อนและโจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้าง การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ที่ต้องทำงานในเวลาปกติ แล้วนำงานเหมาที่จำเลยให้พนักงานรับไปทำในเวลาทำงานปกติเป็นแต่เพียงการละทิ้งหน้าที่ในเวลาไม่นานนัก แม้การกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงการทำงานปกติไปบ้างและเป็นผลให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นการตอบแทนแต่ก็เป็นไปเพื่อให้จำเลยได้รับประโยชน์จากงานเหมาของตนเอง ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) แม้โจทก์จะฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างยังสามารถตักเตือนเป็นหนังสือได้ การกระทำของโจทก์จึงมิใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมในกรณีร้ายแรง ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์นั้นชอบแล้ว
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 1 (1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือ ความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง
โจทก์ไม่เคยถูกตักเตือนมาก่อนและโจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้าง การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ที่ต้องทำงานในเวลาปกติ แล้วนำงานเหมาที่จำเลยให้พนักงานรับไปทำในเวลาทำงานปกติเป็นแต่เพียงการละทิ้งหน้าที่ในเวลาไม่นานนัก แม้การกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงการทำงานปกติไปบ้างและเป็นผลให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นการตอบแทนแต่ก็เป็นไปเพื่อให้จำเลยได้รับประโยชน์จากงานเหมาของตนเอง ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) แม้โจทก์จะฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างยังสามารถตักเตือนเป็นหนังสือได้ การกระทำของโจทก์จึงมิใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมในกรณีร้ายแรง ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์นั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 608/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การพิจารณาเหตุผลการเลิกจ้าง, เงินช่วยเหลือพิเศษ และการกำหนดค่าเสียหาย
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชอบด้วยกฎหมาย โดยฟังข้อเท็จจริงตามที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ฟังมาเป็นยุติว่า โจทก์เลิกจ้างเพราะผู้กล่าวหาไม่ให้ความร่วมมือในการทำงานล่วงเวลา และเรื่องโจทก์ประสบภาวะขาดทุนโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างมาแต่แรกในหนังสือเลิกจ้าง ดังนั้น ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาเพราะผู้กล่าวหาขาดประสิทธิภาพในการทำงาน และโจทก์ขาดทุน อีกทั้งเป็นการเลิกจ้างตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จึงเป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 41 (4) ให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างในการกระทำอันไม่เป็นธรรมของนายจ้างได้และตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่ได้กำหนดให้ถือเอาเงินช่วยเหลือพิเศษที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นเงินค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำอันไม่เป็นธรรม เงินช่วยเหลือพิเศษดังกล่าวเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างผู้กล่าวหาเป็นกรณีพิเศษที่โจทก์เลิกจ้างโดยไม่มีความผิดเท่านั้น จึงเป็นการจ่ายเงินคนละกรณีกัน โจทก์จะถือว่าการจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษเป็นการจ่ายค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมไม่ได้ และเมื่อจำเลยในฐานะคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้พิจารณากำหนดค่าเสียหายโดยการนำเอาเงินช่วยเหลือพิเศษที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างแล้วมาประกอบการพิจารณาด้วย ย่อมเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว และมิใช่กรณีที่จำเลยกำหนดค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างผู้กล่าวหาเกินไปกว่าคำร้องขอ
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 41 (4) ให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างในการกระทำอันไม่เป็นธรรมของนายจ้างได้และตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่ได้กำหนดให้ถือเอาเงินช่วยเหลือพิเศษที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นเงินค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำอันไม่เป็นธรรม เงินช่วยเหลือพิเศษดังกล่าวเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างผู้กล่าวหาเป็นกรณีพิเศษที่โจทก์เลิกจ้างโดยไม่มีความผิดเท่านั้น จึงเป็นการจ่ายเงินคนละกรณีกัน โจทก์จะถือว่าการจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษเป็นการจ่ายค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมไม่ได้ และเมื่อจำเลยในฐานะคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้พิจารณากำหนดค่าเสียหายโดยการนำเอาเงินช่วยเหลือพิเศษที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างแล้วมาประกอบการพิจารณาด้วย ย่อมเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว และมิใช่กรณีที่จำเลยกำหนดค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างผู้กล่าวหาเกินไปกว่าคำร้องขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลพิจารณาเหตุผลการเลิกจ้างและความถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดและเป็นการเลิกจ้างโจทก์ที่ไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้น เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (5) แล้ววินิจฉัยต่อมาว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์กระทำความผิดดังกล่าวซึ่งนายจ้างมีเหตุอันสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้โดยไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จึงเป็นการพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ด้วยแล้ว