พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6830/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในคดีล้มละลาย กรณีเหตุพิเศษและคำสั่งที่ไม่ชอบ
ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ครบถ้วนตามประเด็นแห่งคดีอันเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 141(5), 246
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดก็ต่อเมื่อข้อเท็จจริงในทางพิจารณาได้ความว่า ลักษณะของจำเลยต้องด้วยกฎเกณฑ์ตามกฎหมายที่ศาลจะพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายได้แล้ว แต่กฎหมายกำหนดให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเสียก่อน เพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย หากไม่มีการประนอมหนี้หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้และศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว ศาลชั้นต้นต้องพิพากษาให้จำเลย ล้มละลายตามมาตรา 61 ทันที คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดจึงเป็นคำสั่งชี้ขาดคดีมีผลเป็นคำพิพากษา ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิจารณาใหม่ภายหลังเมื่อมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด จึงมิใช่ คำสั่งในระหว่างพิจารณา
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่แล้ว โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอคัดและถ่ายเอกสารรวมทั้งคำเบิกความพยาน เพื่อใช้ประกอบการเขียนอุทธรณ์ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่จนกระทั่งก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ 1 วัน และเป็นวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้นก็ยังไม่สามารถจัดการให้โจทก์ได้รับสำเนาเอกสารดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือการบังคับของโจทก์ ถือเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์
เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ถึงวันตามที่โจทก์ขออุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งได้ยื่นต่อศาลในวันดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ที่ได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดที่ศาลฎีกาขยายระยะเวลาให้ชอบที่จะรับอุทธรณ์ไว้ดำเนินการต่อไป
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดก็ต่อเมื่อข้อเท็จจริงในทางพิจารณาได้ความว่า ลักษณะของจำเลยต้องด้วยกฎเกณฑ์ตามกฎหมายที่ศาลจะพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายได้แล้ว แต่กฎหมายกำหนดให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเสียก่อน เพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย หากไม่มีการประนอมหนี้หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้และศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว ศาลชั้นต้นต้องพิพากษาให้จำเลย ล้มละลายตามมาตรา 61 ทันที คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดจึงเป็นคำสั่งชี้ขาดคดีมีผลเป็นคำพิพากษา ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิจารณาใหม่ภายหลังเมื่อมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด จึงมิใช่ คำสั่งในระหว่างพิจารณา
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่แล้ว โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอคัดและถ่ายเอกสารรวมทั้งคำเบิกความพยาน เพื่อใช้ประกอบการเขียนอุทธรณ์ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่จนกระทั่งก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ 1 วัน และเป็นวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้นก็ยังไม่สามารถจัดการให้โจทก์ได้รับสำเนาเอกสารดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือการบังคับของโจทก์ ถือเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์
เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ถึงวันตามที่โจทก์ขออุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งได้ยื่นต่อศาลในวันดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ที่ได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดที่ศาลฎีกาขยายระยะเวลาให้ชอบที่จะรับอุทธรณ์ไว้ดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8222/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาฎีกาต้องมีเหตุพิเศษ การปล่อยปละละเลยย่อมไม่อนุญาต
นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้โจทก์ฟังจนถึงวันครบกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาในครั้งที่ 3 เป็นเวลายาวนานเกินกว่า 2 เดือน ทั้งคดีมีข้อเท็จจริงไม่สลับซับซ้อนหากโจทก์ตั้งใจจริงย่อมสามารถยื่นฎีกาได้ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตได้แต่โจทก์ปล่อยปละละเลยจนกระทั่งใกล้ครบกำหนดระยะเวลาฎีกาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายออกไป โจทก์จึงเพิ่งดำเนินการขอถ่ายเอกสาร การยื่นฎีกาไม่ทันตามกำหนดเช่นนี้ ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าได้รับเอกสารจากศาลชั้นต้นล่าช้าเพราะเครื่องถ่ายเอกสารใช้การไม่ได้ จึงเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น กรณีนับเป็นความผิดพลาดบกพร่องของโจทก์เอง หาใช่พฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะขยายระยะเวลาฎีกาให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8046/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยถูกบังคับข่มขู่ และการลดโทษจากเหตุพิเศษ
แม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นและคำรับสารภาพชั้นจับกุมและสอบสวนของจำเลยเป็นเพียงพยานบอกเล่าก็ตาม แต่ในข้อที่จำเลยให้การว่าอย่างไร ตลอดถึงการนำชี้ที่เกิดเหตุและการนำไปเอามีดของกลางที่ใช้แทงผู้ตายนั้น เจ้าพนักงานตำรวจเป็นพยานรู้เห็นโดยตรง
ปัญหาที่ว่าจำเลยกระทำผิดเพราะความจำเป็นเพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้หรือไม่นั้น แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แต่เมื่อคดีมีเหตุที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
จำเลยและ บ. สามีอยู่ด้วยกันเพียงสองคนในบ้านพัก จำเลยเป็นหญิงซึ่งเป็นเพศที่อ่อนแอกว่าจึงอาจถูก บ. ข่มเหงเอาได้ตลอดเวลา ทั้งจำเลย เป็นชู้กับผู้ตายซึ่งถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงที่ บ. อาจฆ่าจำเลยเสียได้จริง และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ตาย เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจ พาจำเลยมาถึงที่เกิดเหตุจำเลยร้องไห้และเล่าถึงเหตุที่ บ. บังคับให้นัด ผู้ตายมาพบเพื่อฆ่า หากไม่นัดจะฆ่าจำเลยและผู้ตายทั้งสองคนให้ฟัง ทั้งผู้ตายยอมทำตามที่จำเลยชักชวนโดยไม่ระแวงสงสัย ชี้ให้เห็นว่า จำเลยร่วมฆ่าผู้ตายเพราะตกอยู่ภายใต้อำนาจของ บ. ซึ่งไม่สามารถ หลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ แต่การที่จำเลยถึงกับยอมร่วมมือกับ บ. ฆ่าผู้ตาย ถือได้ว่าได้กระทำไปเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งความจำเป็น ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใด ก็ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67(1),69 แต่เมื่อผู้ตายเองก็มี ส่วนก่อเหตุอยู่ด้วยโดยมาติดพันจำเลยจนได้เสียเป็นชู้กันทั้งที่รู้อยู่ว่า จำเลยมีครอบครัวอยู่แล้ว จึงสมควรกำหนดโทษจำเลยให้เหมาะสมกับความผิด
ปัญหาที่ว่าจำเลยกระทำผิดเพราะความจำเป็นเพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้หรือไม่นั้น แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แต่เมื่อคดีมีเหตุที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
จำเลยและ บ. สามีอยู่ด้วยกันเพียงสองคนในบ้านพัก จำเลยเป็นหญิงซึ่งเป็นเพศที่อ่อนแอกว่าจึงอาจถูก บ. ข่มเหงเอาได้ตลอดเวลา ทั้งจำเลย เป็นชู้กับผู้ตายซึ่งถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงที่ บ. อาจฆ่าจำเลยเสียได้จริง และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ตาย เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจ พาจำเลยมาถึงที่เกิดเหตุจำเลยร้องไห้และเล่าถึงเหตุที่ บ. บังคับให้นัด ผู้ตายมาพบเพื่อฆ่า หากไม่นัดจะฆ่าจำเลยและผู้ตายทั้งสองคนให้ฟัง ทั้งผู้ตายยอมทำตามที่จำเลยชักชวนโดยไม่ระแวงสงสัย ชี้ให้เห็นว่า จำเลยร่วมฆ่าผู้ตายเพราะตกอยู่ภายใต้อำนาจของ บ. ซึ่งไม่สามารถ หลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ แต่การที่จำเลยถึงกับยอมร่วมมือกับ บ. ฆ่าผู้ตาย ถือได้ว่าได้กระทำไปเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งความจำเป็น ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใด ก็ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67(1),69 แต่เมื่อผู้ตายเองก็มี ส่วนก่อเหตุอยู่ด้วยโดยมาติดพันจำเลยจนได้เสียเป็นชู้กันทั้งที่รู้อยู่ว่า จำเลยมีครอบครัวอยู่แล้ว จึงสมควรกำหนดโทษจำเลยให้เหมาะสมกับความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7171/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษ การอ้างเหตุผลล่าช้าในการเบิกจ่ายเงินค่าธรรมเนียมเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในคดีแพ่งไปแล้วถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกอ้างว่ายังคัดคำพิพากษาไม่แล้วเสร็จโดยขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน ครั้งที่สองอ้างว่า ค่าขึ้นศาลและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนโจทก์จำเลยที่ 2 จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาเบิกจ่ายจึงขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก30 วัน ศาลชั้นต้นอนุญาต ซึ่งเท่ากับว่าศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษ และระยะเวลานับแต่จำเลยทราบคำพิพากษาศาลชั้นต้นจนถึงวันครบกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตเป็นเวลานานถึง 64 วัน ซึ่งเป็นเวลาอันสมควรที่จำเลยจะเบิกจ่ายเงินดังกล่าวได้แล้ว แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีกเป็นครั้งที่สามโดยมิได้อ้างเหตุพฤติการณ์พิเศษ คงอ้างแต่เพียงว่าจำเลยที่ 2 ยังมิได้ส่งเงินดังกล่าวมายังพนักงานอัยการทนายจำเลยที่ 2 เท่านั้น ซึ่งมิใช่พฤติการณ์พิเศษ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ 2 นั้น ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7512/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษ เหตุผลที่ตรวจสอบได้ก่อนฟ้องไม่ถือเป็นเหตุพิเศษ
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า ว. ได้ยึดรถคันที่จำเลยเช่าซื้อไปจากโจทก์คืนมาแล้วตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยเชื่อพยานหลักฐานของจำเลยหรือไม่ และหากเป็นไปดังที่จำเลยอ้างโจทก์ก็จะไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลอุทธรณ์นั้นเมื่อปรากฏว่า ข้อเท็จจริงดังกล่าวโจทก์ทราบมาก่อนแล้วตั้งแต่จำเลยเบิกความพร้อมทั้งแสดงเอกสารประกอบข้ออ้างดังกล่าวในชั้นพิจารณา ดังนี้หากโจทก์จะยื่นอุทธรณ์ในเรื่องนี้โจทก์ก็ควรจะหาข้อมูลได้ตั้งแต่ได้ฟังคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว การตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวจึงมิใช่พฤติการณ์พิเศษที่โจทก์จะอาศัยมาเป็นข้ออ้างเพื่อขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5029/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษ มิใช่การเพิ่งได้รับการยืนยันจากจำเลย
ในวันครบกำหนดอุทธรณ์ ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไป 15 วัน โดยอ้างเหตุว่าเพิ่งได้รับการยืนยันจากจำเลยให้ว่าความในชั้นอุทธรณ์จึงไม่สามารถยื่นคำอุทธรณ์ได้ทันนั้น เมื่อคดีนี้มิได้มีถ้อยคำสำนวนมากมายจนไม่อาจตรวจและทำคำฟ้องอุทธรณ์ได้ทันภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ไว้ถึง 1 เดือนเหตุที่อ้างว่าจำเลยเพิ่งยืนยันให้ว่าความในชั้นอุทธรณ์เป็นเรื่องที่จำเลยเพิกเฉยเสียเอง ยังถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะสั่งขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้ได้ และมิใช่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์นั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษ การอ้างเหตุผลเรื่องวันหยุดและพนักงานลาพัก ไม่เพียงพอต่อการขยายเวลา
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์วันที่5มีนาคม2539โจทก์ยื่นคำร้องขอถ่ายคำเบิกความพยานและคำพิพากษาในวันรุ่งขึ้นศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตวันที่15เดือนเดียวกันวันที่4เมษายน2539โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์30วันโดยอ้างเหตุว่ายังไม่ได้รับเอกสารที่ขอถ่ายศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์วันที่23เดือนเดียวกันซึ่งเมื่อนับแต่วันพิพากษาถึงวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ของระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้มีเวลาถึงประมาณ50วันโจทก์มีอาชีพเป็นทนายความสามารถทำอุทธรณ์ได้เองและยังแต่งตั้งทนายความอีกคนหากโจทก์หรือทนายโจทก์ตั้งใจจริงย่อมสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดทั้งรูปคดีไม่สลับซับซ้อนการที่โจทก์ปล่อยปละละเลยจนกระทั่งถึงวันครบกำหนดอุทธรณ์ที่ขยายให้แล้วจึงมายื่นขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก10วันโดยอ้างเหตุว่านับแต่ต้นเดือนเมษายน2539มีวันหยุดราชการและวันหยุดตามประเพณีหลายวันพนักงานพิมพ์ดีดและพนักงานอื่นในสำนักงานของโจทก์ขอลาหยุดต่อเนื่องกันหลายวันทำให้คดีที่จะต้องเตรียมและจัดพิมพ์ค้างอยู่หลายคดีเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถทำอุทธรณ์ยื่นต่อศาลได้ภายในระยะเวลาดังกล่าวเป็นการกล่าวอ้างลอยๆแม้ไม่มีพนักงานพิมพ์ดีดพิมพ์อุทธรณ์ให้โจทก์ก็สามารถเขียนด้วยหมึกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา46วรรคสองกรณีของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5135-5136/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาฎีกาต้องมีเหตุพิเศษ การรับราชการทหารและการเปลี่ยนทนายไม่ถือเป็นเหตุพิเศษ
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ แต่คำร้องของจำเลยที่ 2 อ้างเหตุเพียงว่า จำเลยที่ 2 รับราชการทหารกองประจำการประจำอยู่ที่กองพันทหารม้าที่ 2 จังหวัดสระบุรี เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับแจ้งจากญาติว่าทนายความคนก่อนไม่คัดค้านการที่จำเลยที่ 2 จะแต่งตั้งทนายความคนใหม่ให้ดำเนินคดีในชั้นฎีกา จำเลยที่ 2 จึงขอลาราชการมาหาทนายความคนใหม่ แต่เป็นเวลากะทันหัน เพราะคดีเกี่ยวพันกันสามสำนวนมีพยานบุคคลหลายปาก เอกสารต่าง ๆได้รับจากทนายความคนเดิมไม่ครบ ทนายความคนใหม่ไม่อาจทำฎีกาได้ทันในเวลาที่กำหนด ดังนี้ ข้ออ้างดังกล่าวหาใช่พฤติการณ์พิเศษตามที่กฎหมายบัญญัติไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4855/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงทนายความไม่เป็นเหตุพิเศษขยายเวลาฎีกา แม้ทนายความเดิมยังคงมีอำนาจดำเนินคดี
แม้พนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายความคนเดิมของจำเลยที่2และที่3จะย้ายไปดำรงตำแหน่งที่อื่นก็ตามพนักงานอัยการคนเดิมนั้นก็ยังเป็นทนายความของจำเลยที่2และที่3มีสิทธิที่จะดำเนินคดีต่อไปได้ฉะนั้นการที่พนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายความคนใหม่ของจำเลยที่2และที่3ยื่นคำร้องขอคัดสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาก่อนครบกำหนดยื่นฎีกา1วันโดยอ้างว่าเพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นทนายความของจำเลยที่2และที่3เนื่องจากทนายความคนเดิมย้ายไปดำรงตำแหน่งที่อื่นจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะให้ศาลสั่งขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษและต้องยื่นก่อนครบกำหนด ศาลไม่อนุญาตขยายเวลาหากเหตุผลไม่สมเหตุสมผล
การขอขยายหรือย่นระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2537 วันที่ครบกำหนด1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์ฟัง คือ วันที่ 9 ตุลาคม2537 เป็นวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดทำการ ดังนั้น วันสุดท้ายที่โจทก์มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ คือ วันที่ 10 ตุลาคม 2537 โจทก์มีเวลาเพียงพอที่จะเสนอความเห็นให้อัยการสูงสุดรับรองให้อุทธรณ์ได้ทันกำหนดระยะเวลาดังกล่าว แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์เพียง3 วัน อ้างว่าต้องเสนออัยการสูงสุดรับรองอุทธรณ์ ทั้งที่ปรากฏว่าเป็นคดีที่ไม่มีข้อเท็จจริงยุ่งยากซับซ้อน จำเลยก็ให้การรับสารภาพ ข้ออ้างของโจทก์ถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้