พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3816/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างไม่มีกำหนดเวลา การเลิกจ้างต้องมีเหตุอันสมควร มิฉะนั้นเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
หนังสือสัญญาจ้างกำหนดว่าสัญญาจ้างเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2546 แต่ยังมีข้อความต่อไปอีกว่าทั้งสองฝ่ายจะเจรจาเกี่ยวกับการต่อสัญญา 2 เดือน ก่อนสัญญาสิ้นสุดลง หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดประสงค์ที่จะยกเลิกสัญญาต้องแจ้งให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้า 2 เดือน ข้อความในส่วนหลังนี้ทำให้เป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดเวลาการจ้าง แต่การใช้สิทธิเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยต้องมีเหตุอันสมควรจึงจะเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ผลักดันให้จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างจำเลยซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาโจทก์ให้ตรงกำหนดและจ่ายค่าบริการที่จำเลยเก็บจากลูกค้าให้ลูกจ้าง เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกจ้างลาออกบ่อยครั้ง ต้องรับลูกจ้างใหม่ซึ่งไม่มีประสบการณ์ในการทำงานเข้ามาประจำ ทำให้มาตรฐานการบริการลูกค้าไม่ดีเท่าที่ควรโจทก์กระทำเพื่อให้มาตรฐานการบริการลูกค้าดีขึ้นซึ่งเป็นประโยชน์แก่จำเลยเอง เมื่อโจทก์ไม่ได้กระทำผิดจึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างต้องมีเหตุผลแห่งการเลิกจ้างตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยหรือไม่ จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ผลักดันให้จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างจำเลยซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาโจทก์ให้ตรงกำหนดและจ่ายค่าบริการที่จำเลยเก็บจากลูกค้าให้ลูกจ้าง เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกจ้างลาออกบ่อยครั้ง ต้องรับลูกจ้างใหม่ซึ่งไม่มีประสบการณ์ในการทำงานเข้ามาประจำ ทำให้มาตรฐานการบริการลูกค้าไม่ดีเท่าที่ควรโจทก์กระทำเพื่อให้มาตรฐานการบริการลูกค้าดีขึ้นซึ่งเป็นประโยชน์แก่จำเลยเอง เมื่อโจทก์ไม่ได้กระทำผิดจึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างต้องมีเหตุผลแห่งการเลิกจ้างตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยหรือไม่ จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9724/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตยื่นบัญชีระบุพยาน เหตุจากเหตุขัดข้องในการจัดเตรียมเอกสารไม่ใช่เหตุอันสมควรตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร
ตามข้อกำหนดคดีภาษี พ.ศ.2539 ข้อ 10 วรรคสี่ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น กำหนดกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานไว้ว่า คู่ความซึ่งขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานจะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลได้ว่า มีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน การที่โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน โดยอ้างว่าได้ปรับปรุงซ่อมแซมที่ทำการของโจทก์ ได้เคลื่อนย้ายเอกสารต่าง ๆ และกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เดินทางไปต่างประเทศไม่สามารถหาเอกสารยื่นต่อศาลได้ทันนั้น มิใช่เหตุขัดข้องในการยื่นบัญชีระบุพยาน กรณีไม่มีเหตุอันสมควรจะอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4189/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ต้องยื่นก่อนวันสืบพยาน หากทราบราคาที่ดินเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นแล้วถือเป็นเหตุที่ควรทราบ
คดีไม่มีการชี้สองสถาน โจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทอันเป็นเวลาล่วงเลยมาถึงยี่สิบปี วิญญูชนทั่วไปย่อมทราบดีว่าราคาที่ดินต้องเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น ซึ่งโจทก์อาจกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ตามราคาในขณะยื่นฟ้องได้อยู่แล้ว ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า ขณะยื่นฟ้องโจทก์ไม่ทราบว่าราคาที่ดินสูงขึ้นกว่าวันที่โจทก์ซื้อที่ดินก็ดี หรือโจทก์เพิ่งคิดได้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาว่าราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้นก็ดี ล้วนเป็นกรณีที่ไม่อาจถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันสืบพยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4070/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาซ้ำ เมื่อศาลเคยมีคำสั่งแล้วว่าไม่มีเหตุอันสมควร
จำเลยเคยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์มาแล้วครั้งหนึ่ง ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีของจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด คดีจึงฟังได้เป็นยุติว่าคดีจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ครั้งใหม่โดยอ้างเหตุว่ายากจนลงกว่าเดิม แม้จะฟังได้ตามข้ออ้างของจำเลย ศาลก็ไม่อาจอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4038-4039/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ธุรกิจขาดทุนต่อเนื่อง จำเป็นต้องมีเหตุอันสมควรเพียงพอ
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ระบุว่า นายจ้างและลูกจ้างยินยอมให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิใด ๆ ที่จะพึงมีตามสัญญานี้เพื่อระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการก่อน ถ้าปรากฏว่าไม่สามารถระงับข้อพิพาทได้ให้ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป เป็นผลให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะนำข้อพิพาทดังกล่าวไปฟ้องต่อศาลแรงงานกลางก่อนที่จะให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดไม่ได้ตามที่พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 บัญญัติไว้ แต่คำฟ้องของโจทก์เป็นการอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 บัญญัติไว้ มิใช่เป็นการฟ้องเกี่ยวกับกรณีพิพาทซึ่งเกิดจากสัญญาจ้างพนักงานจึงไม่อยู่ในเงื่อนไขข้อตกลงดังกล่าว
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 44 และข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานข้อ 10 ให้อำนาจศาลแรงงานสอบถามคู่ความแต่ละฝ่ายว่าประสงค์จะอ้างและสืบพยานใดบ้าง แล้วจดรายชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคล สภาพและสถานที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุไว้หรือจะให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลแรงงานในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ก็ได้หากศาลแรงงานเห็นว่าพยานที่คู่ความนำมาสืบยังไม่ได้ข้อเท็จจริงแห่งคดีแจ้งชัด ศาลก็มีอำนาจตามมาตรา 45 ที่จะเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เอง ซึ่งเป็นกรณีที่มีบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีแรงงานเป็นการเฉพาะแล้ว ไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) และมาตรา 88 มาอนุโลมใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้
กิจการของจำเลยประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่องนับแต่เริ่มดำเนินกิจการในปี 2538จนถึงปี 2542 รวมเป็นเงินถึง 40 ล้านบาท และนอกจากโจทก์แล้วจำเลยยังได้เลิกจ้างพนักงานอื่น ๆ อีก 2 คน แต่จำเลยมีทุนจดทะเบียนดำเนินการถึง 208,500,000 บาทประกอบกับจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าปกติการดำเนินธุรกิจประกันภัยสหกรณ์อย่างเช่นกิจการของจำเลยจะขาดทุนต่อเนื่องในระยะเวลา 6 ปีแรก และไม่ปรากฏว่าภาวะขาดทุนของจำเลยในขณะที่เลิกจ้างโจทก์กับแนวโน้มในการดำเนินกิจการของจำเลยในปีต่อ ๆ ไปนั้นจะต้องประสบภาวะวิกฤตจนถึงขั้นไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้หากไม่แก้ไขการจัดการโดยวิธีเลิกจ้างโจทก์ ฉะนั้นจึงต้องถือว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ยังไม่มีเหตุอันสมควรเพียงพอ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 44 และข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานข้อ 10 ให้อำนาจศาลแรงงานสอบถามคู่ความแต่ละฝ่ายว่าประสงค์จะอ้างและสืบพยานใดบ้าง แล้วจดรายชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคล สภาพและสถานที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุไว้หรือจะให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลแรงงานในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ก็ได้หากศาลแรงงานเห็นว่าพยานที่คู่ความนำมาสืบยังไม่ได้ข้อเท็จจริงแห่งคดีแจ้งชัด ศาลก็มีอำนาจตามมาตรา 45 ที่จะเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เอง ซึ่งเป็นกรณีที่มีบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีแรงงานเป็นการเฉพาะแล้ว ไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) และมาตรา 88 มาอนุโลมใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้
กิจการของจำเลยประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่องนับแต่เริ่มดำเนินกิจการในปี 2538จนถึงปี 2542 รวมเป็นเงินถึง 40 ล้านบาท และนอกจากโจทก์แล้วจำเลยยังได้เลิกจ้างพนักงานอื่น ๆ อีก 2 คน แต่จำเลยมีทุนจดทะเบียนดำเนินการถึง 208,500,000 บาทประกอบกับจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าปกติการดำเนินธุรกิจประกันภัยสหกรณ์อย่างเช่นกิจการของจำเลยจะขาดทุนต่อเนื่องในระยะเวลา 6 ปีแรก และไม่ปรากฏว่าภาวะขาดทุนของจำเลยในขณะที่เลิกจ้างโจทก์กับแนวโน้มในการดำเนินกิจการของจำเลยในปีต่อ ๆ ไปนั้นจะต้องประสบภาวะวิกฤตจนถึงขั้นไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้หากไม่แก้ไขการจัดการโดยวิธีเลิกจ้างโจทก์ ฉะนั้นจึงต้องถือว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ยังไม่มีเหตุอันสมควรเพียงพอ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์เกษียณอายุตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย โดยมิได้มีการกลั่นแกล้งโจทก์ ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1794/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุผลความไม่ไว้วางใจจากพฤติการณ์ส่งเงินที่ไม่ถี่ถ้วน ถือเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร
นับแต่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายตรวจรับสินค้า โจทก์ส่งเงินค่าขายแถบรหัสบอกราคาสินค้าเพียง 3 ครั้ง ทั้งที่มีการขายแถบรหัสบอกราคาสินค้าทุกเดือนและมีการตรวจนับเงินพร้อมใบเสร็จรับเงินชั่วคราวให้โจทก์แล้ว นอกจากนี้โจทก์ส่งเงินให้ฝ่ายการเงินและบัญชีน้อย และมีระยะเวลาการส่งมอบเงินไม่ถี่เท่ากับผู้จัดการฝ่ายตรวจรับสินค้าคนก่อน แม้ไม่อาจฟังได้แน่ชัดว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ แต่พฤติการณ์เช่นนี้ย่อมทำให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีเหตุที่ไม่ไว้วางใจให้โจทก์ทำงานต่อไป จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1794/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลความไม่ไว้วางใจ แม้ไม่พบการทุจริตชัดเจน ถือเป็นเหตุอันสมควรได้
ตั้งแต่โจทก์อยู่ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายตรวจรับสินค้า โจทก์ส่งเงินค่าขายสินค้าเพียง 3 ครั้ง ทั้งที่มีการขายสินค้าทุกเดือน และมีการตรวจนับเงินพร้อมใบเสร็จรับเงินชั่วคราวให้โจทก์แล้ว นอกจากนี้โจทก์ยังส่งเงินให้ฝ่ายการเงินและบัญชีน้อย และไม่ถี่เท่ากับผู้จัดการฝ่ายตรวจรับสินค้าคนก่อนโจทก์ แม้ไม่อาจฟังได้แน่ชัดว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ แต่ย่อมทำให้จำเลยมีเหตุที่ไม่ไว้วางใจให้โจทก์ทำงานต่อไป จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุนี้ได้ตามคู่มือพนักงาน ข้อ 32.2 ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรแล้ว ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9518/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาเหตุอันสมควรที่นายจ้างเลิกจ้างได้ แม้เหตุนั้นมิได้เกิดจากการกระทำผิดของลูกจ้าง
การพิจารณาว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 หรือไม่ ต้องพิจารณาว่ามีเหตุอันสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ ซึ่งเหตุดังกล่าวอาจเกิดขึ้นจาก การกระทำของลูกจ้างหรือเหตุอื่นที่ไม่ใช่การกระทำความผิดของลูกจ้างก็ได้
ช.กับพวกเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ช.กล่าวหาโจทก์ว่าปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมกับตำแหน่งเลขานุการสหภาพแรงงาน โจทก์ไม่พอใจ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างเคยเรียกโจทก์และ ช.กับพวกไปตักเตือนให้เลิกแล้วต่อกันเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 แต่ตกลงกันไม่ได้ ทำให้พนักงานภายในโรงงานของจำเลยที่ 1 แบ่งเป็น 2 ฝ่าย เมื่อโจทก์ได้ฟ้อง ช.กับพวกต่อศาลในข้อหาหมิ่นประมาทแล้ว พนักงานในบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ก็จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์และไม่ยอมทำงาน ก่อให้เกิดความไม่สงบ รวมทั้งเป็นปัญหาและอุปสรรคใน การดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 แม้จะฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ชักชวนให้พนักงานของจำเลยที่ 1 แบ่งเป็น 2 ฝ่าย หรือ จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์และไม่ทำงานอันเป็นความผิดตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ความไม่สงบรวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 และความเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งของโจทก์และ ช.กับพวก และไม่ทราบว่าจะยุติลงเมื่อใด การที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์รวมทั้ง ช. กับพวกเพราะความจำเป็นอันเนื่องมาจากเหตุดังกล่าวเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 ดำรงคงอยู่ต่อไป นับได้ว่ามีเหตุอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ช.กับพวกเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ช.กล่าวหาโจทก์ว่าปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมกับตำแหน่งเลขานุการสหภาพแรงงาน โจทก์ไม่พอใจ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างเคยเรียกโจทก์และ ช.กับพวกไปตักเตือนให้เลิกแล้วต่อกันเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 แต่ตกลงกันไม่ได้ ทำให้พนักงานภายในโรงงานของจำเลยที่ 1 แบ่งเป็น 2 ฝ่าย เมื่อโจทก์ได้ฟ้อง ช.กับพวกต่อศาลในข้อหาหมิ่นประมาทแล้ว พนักงานในบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ก็จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์และไม่ยอมทำงาน ก่อให้เกิดความไม่สงบ รวมทั้งเป็นปัญหาและอุปสรรคใน การดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 แม้จะฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ชักชวนให้พนักงานของจำเลยที่ 1 แบ่งเป็น 2 ฝ่าย หรือ จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์และไม่ทำงานอันเป็นความผิดตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ความไม่สงบรวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 และความเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งของโจทก์และ ช.กับพวก และไม่ทราบว่าจะยุติลงเมื่อใด การที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์รวมทั้ง ช. กับพวกเพราะความจำเป็นอันเนื่องมาจากเหตุดังกล่าวเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 ดำรงคงอยู่ต่อไป นับได้ว่ามีเหตุอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8428/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการต้องมีเหตุอันสมควรและช่องทางในการดำเนินงาน แม้มีสัญญาเช่าโรงงานก็ไม่เป็นอุปสรรคการคัดค้านของเจ้าหนี้
ในการฟื้นฟูกิจการนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กิจการของลูกหนี้ซึ่งประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราวได้มีโอกาสฟื้นฟูกิจการ หรือปรับโครงสร้างกิจการของลูกหนี้เพื่อให้กิจการของลูกหนี้กลับคืนสู่สภาพที่สามารถดำเนิน กิจการตามปกติต่อไปได้ เมื่อลูกหนี้มีกิจการเฉพาะโรงงานผลิตกระดาษและผลิตกล่องกระดาษแต่โรงงานดังกล่าว อยู่ระหว่างสัญญาเช่ากับผู้คัดค้านที่ 2 ผู้คัดค้านที่ 2 จึงเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในโรงงานดังกล่าวในขณะที่ยื่น คำร้องขอ ลูกหนี้ยังไม่อาจปรับปรุงฟื้นฟูกิจการในการประกอบกิจการโรงงานดังกล่าวได้ ทั้งการให้เช่าโรงงานของลูกหนี้ ก็มีสัญญาเช่าเพียงรายเดียวคือสัญญาเช่าระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 2 เท่านั้นซึ่งกำหนดค่าเช่าแน่นอน หาใช่กรณีลูกหนี้ประกอบกิจการทำเป็นธุรกิจในการเช่าทรัพย์สินอันจะต้องมีการจัดการบริหารดำเนินงานในทางธุรกิจการค้าไม่ กรณีจึง ไม่มีเหตุอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/10
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/9 วรรคสาม บัญญัติว่า "ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อาจยื่นคำคัดค้านวันนัด ไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่าสามวัน ในกรณีที่เป็นการคัดค้านผู้ทำแผน ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้จะเสนอชื่อบุคคลอื่นเป็น ผู้ทำแผนด้วยหรือไม่ก็ได้?" และในบทนิยามมาตรา 90/1" "เจ้าหนี้" หมายความว่า เจ้าหนี้มีประกันหรือเจ้าหนี้ไม่มีประกัน" จึงเห็นได้ว่ากฎหมายล้มละลายส่วนการฟื้นฟูกิจการให้สิทธิเจ้าหนี้ทุกประเภทยื่นคำคัดค้านคำร้องขอฟื้นฟู กิจการเพื่อปกป้องสิทธิของตน ส่วนคำว่า "เจ้าหนี้" นั้น คือผู้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้
ผู้ร้องขอ (ลูกหนี้) ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเพื่อนำโรงงานในขณะที่ตกอยู่ในภาระการเช่าแก่ผู้คัดค้านที่ 2 มาดำเนินกิจการ แต่ตามสัญญาเช่าโรงงานดังกล่าวผู้คัดค้านที่ 2 ในฐานะผู้เช่าชอบที่จะได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ใน โรงงานอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาการเช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 537 และมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในฐานะผู้ให้เช่า จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านการขอฟื้นฟูกิจการของผู้ร้องขอดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/9 วรรคสาม
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/9 วรรคสาม บัญญัติว่า "ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อาจยื่นคำคัดค้านวันนัด ไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่าสามวัน ในกรณีที่เป็นการคัดค้านผู้ทำแผน ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้จะเสนอชื่อบุคคลอื่นเป็น ผู้ทำแผนด้วยหรือไม่ก็ได้?" และในบทนิยามมาตรา 90/1" "เจ้าหนี้" หมายความว่า เจ้าหนี้มีประกันหรือเจ้าหนี้ไม่มีประกัน" จึงเห็นได้ว่ากฎหมายล้มละลายส่วนการฟื้นฟูกิจการให้สิทธิเจ้าหนี้ทุกประเภทยื่นคำคัดค้านคำร้องขอฟื้นฟู กิจการเพื่อปกป้องสิทธิของตน ส่วนคำว่า "เจ้าหนี้" นั้น คือผู้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้
ผู้ร้องขอ (ลูกหนี้) ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเพื่อนำโรงงานในขณะที่ตกอยู่ในภาระการเช่าแก่ผู้คัดค้านที่ 2 มาดำเนินกิจการ แต่ตามสัญญาเช่าโรงงานดังกล่าวผู้คัดค้านที่ 2 ในฐานะผู้เช่าชอบที่จะได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ใน โรงงานอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาการเช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 537 และมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในฐานะผู้ให้เช่า จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านการขอฟื้นฟูกิจการของผู้ร้องขอดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/9 วรรคสาม