คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เหตุใหม่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาคดีก่อนผูกพันคู่ความในคดีหลัง และการฟ้องขับไล่โดยอ้างเหตุใหม่ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
ในคดีก่อนศาลมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดว่าโจทก์เป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทซึ่งจำเลยเป็นผู้เช่า คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์จำเลยในคดีนี้เพราะเป็นคู่ความรายเดียวกัน ดังนั้นข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติว่า โจทก์เป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทซึ่งจำเลยเป็นผู้เช่า ศาลจึงชอบที่จะมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยในประเด็นข้อนี้
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่า แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่โดยอ้างว่าได้บอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว จึงเป็นการฟ้องขับไล่โดยอ้างเหตุขึ้นใหม่ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการยกเหตุใหม่ในชั้นอุทธรณ์คดีแรงงาน: การเลิกจ้างและค่าชดเชย
จำเลยให้การต่อสู้เหตุที่ไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชยเพราะ โจทก์ขาดงานเกิน 3 วันโดยไม่มีเหตุอันสมควรเพียงประการเดียว มิได้ยกเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเพราะโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานในกรณีที่ร้ายแรงขึ้นต่อสู้ ดังนั้น ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการขาดงานของโจทก์โดยมิได้บอกกล่าวหรือแจ้งสาเหตุให้จำเลยทราบ เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยอย่างร้ายแรง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ศาลชั้นต้น ถึงแม้ศาลแรงงานกลางจะได้วินิจฉัยว่า โจทก์เพียงกระทำผิดเกี่ยวกับการลาซึ่งไม่ใช่ความผิดกรณีร้ายแรง และจำเลยไม่ได้มีคำเตือนเป็นหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก่อน ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหาเป็นเหตุให้จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาข้ามฟ้อง: โจทก์มิอาจยกเหตุใหม่ในฎีกา หากมิได้ยกในชั้นอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยเพราะเห็นว่าจำเลยห้ามธนาคารไม่ให้ใช้เงินตามเช็คโดยเจตนาทุจริต ซึ่งมิใช่มูลคดีตามฟ้องของโจทก์ โดยศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยว่า จำเลยกระทำโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คหรือไม่ เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ทั้งมิได้ยกปัญหาเรื่องจำเลยออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คขึ้นอ้างอิงในคำแก้อุทธรณ์ ปัญหาที่ว่าจำเลยออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คจริงหรือไม่จึงไม่ใช่ปัญหาที่ว่ากันมาในชั้นอุทธรณ์ โจทก์จะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 158/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมคำให้การของผู้ค้ำประกันหลังเกิดเหตุใหม่ และการหลุดพ้นจากความรับผิดเมื่อลูกหนี้ชำระหนี้ครบถ้วน
จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ขอเพิ่มเติมคำให้การครั้งแรก ยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ว่า ที่โจทก์ถอนการอายัดทรัพย์จำเลยที่ 1 เท่ากับยอมให้เปลี่ยนแปลงสภาพหนี้ตามฟ้อง การค้ำประกันจึงเป็นโมฆะ ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ขอเพิ่มเติมคำให้การครั้งหลังยกข้อต่อสู้เพิ่มขึ้นใหม่อีกว่า โจทก์ผ่อนเวลา และหลังจากฟ้องแล้วโจทก์ได้รับชำระหนี้จากเงินประกันภัยของจำเลยที่ 1 กับหักหนี้จากเงินขายฝากที่ดินที่โจทก์หรือผู้แทนรับซื้อฝากไว้จากจำเลยที่ 1 หนี้ของจำเลยที่ 1 เป็นอันระงับ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด ข้อที่ขอเพิ่มเติมคำให้การนี้เพราะเมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแล้ว โรงงานทอผ้าของจำเลยที่ 1 ถูกเพลิงไหม้ และในวันชี้สองสถานศาลมีคำสั่งอายัดเงินค่าประกันภัยจากบริษัทประกันภัย ส่วนการซื้อฝากที่ดินได้กระทำกันภายหลังวันชี้สองสถานแล้ว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นภายหลังทั้งสิ้น ซึ่งจำเลยไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถาน จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงมีสิทธิขอเพิ่มเติมคำให้การได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การได้เฉพาะเรื่องจำเลยได้ชำระหนี้แล้วก็เป็นการชอบ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 33 - 34/2512 และ 1/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดค่าปรับนายประกันหลังผิดสัญญา โดยมีเหตุใหม่เกิดขึ้นภายหลัง ศาลมีอำนาจตามมาตรา 119 ป.วิ.อาญา
ผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลชั้นต้นสั่งปรับตามสัญญาประกันและนายประกันร้องขอให้ลดค่าปรับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ลด และมีอุทธรณ์ฎีกาต่อมาจนถึงที่สุดไปแล้วครั้งหนึ่ง ไม่มีข้อห้ามไม่ให้นายประกันร้องขอลดค่าปรับอีก โดยเหตุอื่นที่แตกต่างไปจากเหตุที่ขอลดค่าปรับคราวก่อน และเมื่อศาลชั้นต้นสั่งประการใด ก็เป็นการที่ศาลชั้นต้นสั่งบังคับตามสัญญาประกันตามอำนาจในมาตรา 119 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งได้ตามบทกฎหมายบทนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากจำเลยอ้างเหตุใหม่ในชั้นฎีกา และคำฟ้องไม่เคลือบคลุม
แม้ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่ได้ระบุโดยตรงว่า จำเลยที่ 2 รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับ จำเลยที่ 2 ก็สามารถให้การต่อสู้คดีได้ แต่ตามคำให้การของจำเลยที่ 2 รับว่า ได้รับประกันภัยรถยนต์หมายเลขทะเบียน สย 9160 กรุงเทพมหานคร ไว้จริง เพียงแต่ปฏิเสธว่า เหตุละเมิดไม่ได้เกิดในขณะมีการขับเคลื่อนรถยนต์ แสดงว่า จำเลยที่ 2 ได้ตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยและทราบอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 2 รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 2 อ้างว่า จำเลยที่ 1 มิได้กระทำละเมิดในขณะขับรถ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด กรณีตามคำให้การดังกล่าว จำเลยที่ 2 หาได้หลงต่อสู้ไม่ คำฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 อ้างทำนองว่า ถังสีตกมาจากด้านบนของตึก จำเลยที่ 2 ก็เพิ่งยกข้อเท็จจริงนี้ขึ้นอ้างในชั้นฎีกา เกี่ยวกับความเสียหายที่อ้างว่าโจทก์เรียกร้องสูงเกินจริง จำเลยที่ 2 ก็มิได้โต้แย้งให้ชัดแจ้งว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามจำนวนเงินค่าซ่อมตามที่โจทก์มีใบเสนอราคาและใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานนั้น ค่าซ่อมรายการใดที่ไม่จำเป็น ฎีกาของจำเลยที่ 2 ในปัญหาที่กล่าวมาจึงไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 โดยชัดแจ้งว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้องในส่วนใด และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ด้วยเหตุผลใด ทั้งยังมีข้อเท็จจริงบางส่วนที่จำเลยที่ 2 เพิ่งยกขึ้นอ้าง หาได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ถือเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12156/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อและการแก้ไขคำพิพากษา: ศาลฎีกาห้ามแก้ไขคำพิพากษาเดิมแม้มีการอ้างเหตุใหม่
เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าศาลชั้นต้นนับโทษจำคุกคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกในคดีอาญาอีกคดีชอบหรือไม่ และถึงที่สุดแล้ว จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนการนับโทษต่อและออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดให้แก่จำเลยใหม่โดยอ้าง ป.วิ.อ. มาตรา 160 และ ป.อ. มาตรา 91 อีกไม่ได้ เพราะหากศาลฎีกาฟังตามที่จำเลยอ้างแล้ววินิจฉัยให้เพิกถอนการนับโทษต่อและออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดให้แก่จำเลยใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลฎีกา ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การยกเหตุใหม่ในฎีกาที่ไม่เคยกล่าวอ้างในชั้นศาลล่าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตาย จำเลยให้การปฏิเสธและนำสืบปฏิเสธอ้างฐานที่อยู่ ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตาย พิพากษาลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่น จำเลยอุทธรณ์อ้างว่าจำเลยมิใช่คนร้าย ศาลอุทธรณ์ฟังตามศาลชั้นต้นว่า จำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตายเช่นกัน แต่จำเลยฎีกากลับอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ว่า จำเลยได้ฆ่าผู้ตายจริงเพราะจำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดไปโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72 ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4268/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาจำเลยมิอาจอ้างเหตุใหม่นอกเหนือจากที่ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์ และประโยชน์จาก พ.ร.บ.ล้างมลทิน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์และยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 3 ร่วมกระทำความผิดด้วย ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ผู้เสียหายตามฟ้อง จำเลยทั้งสามมิได้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชิงทรัพย์ผู้เสียหายจึงเป็นอันยุติ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังว่าจำเลยที่ 3 ร่วมกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ด้วยและพิพากษาแก้เฉพาะบทจากความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นปล้นทรัพย์ มิได้แก้ไขโทษ เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 เกินห้าปี แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง แต่จำเลยที่ 1 คงมีสิทธิฎีกาได้เฉพาะในปัญหาว่าจำเลยที่ 3 มิได้ร่วมกระทำความผิดด้วยอันจะทำให้การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์เท่านั้น จำเลยที่ 1 จะหวนกลับมาใช้สิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ร่วมกันชิงทรัพย์ผู้เสียหายอีกไม่ได้ ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานทำร้ายร่างกาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
อนึ่ง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ เมื่อจำเลยที่ 1 พ้นโทษในความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ได้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2742/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม – การยกเหตุใหม่ในชั้นฎีกาหลังศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัย
ฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นฎีกาทำนองปฏิเสธว่ามิได้กระทำความผิด เมื่อคดีนี้จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้อง แม้จำเลยที่ 2 ได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่วินิจฉัย จำเลยก็ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่วินิจฉัยนั้นไม่ชอบอย่างไร ฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
of 3