คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เหมาจ่าย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13895/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าพาหนะเหมาจ่ายไม่ถือเป็นค่าจ้าง การจ่ายเงินรางวัลประจำปีและเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เดิมจำเลยจ่ายค่าพาหนะให้โจทก์เมื่อไปปฏิบัติงานนอกสถานที่เป็นรายครั้งตามค่าใช้จ่ายที่โจทก์เบิกจ่าย ต่อมาจำเลยมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงโดยให้โจทก์รับค่าพาหนะเป็นการเหมาจ่ายรายเดือน ตามคำสั่งดังกล่าวระบุว่าการอนุมัติค่าพาหนะให้แก่โจทก์ให้ถือว่าเป็นการให้เฉพาะตำแหน่งที่ดำรงอยู่ในขณะนั้นเท่านั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งและลักษณะงานที่ไม่จำเป็นจะต้องได้รับค่าพาหนะ จำเลยมีสิทธิยกเลิกเงินได้ค่าพาหนะนั้น แปลความได้ว่าจำเลยตกลงให้ค่าพาหนะแก่โจทก์ต่อมาเมื่อโจทก์มีตำแหน่งและลักษณะงานที่ต้องเดินทาง มิได้ให้ค่าพาหนะเป็นการถาวรตลอดไปมีการเปลี่ยนแปลงได้ กรณีจึงเป็นการที่นายจ้างให้เงินเพิ่มแก่ลูกจ้างเป็นครั้งคราวตามลักษณะการทำงาน มิได้ให้เพื่อตอบแทนการทำงานโดยตรงไม่ถือเป็นค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5978/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าจ้างเหมาจ่ายรวมค่าล่วงเวลาขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และการคำนวณค่าล่วงเวลาที่ถูกต้อง
การคำนวณว่านายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้ลูกจ้างถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ต้องรู้อัตราค่าจ้างในเวลาทำงานตามปกติเสียก่อนยิ่งไปกว่านั้นหากนายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา นายจ้างจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆ ไป ในกรณีที่ลูกจ้างไม่ยินยอมทำงานล่วงเวลาคราวใด นายจ้างอาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เฉพาะในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งานหรือเป็นกรณีฉุกเฉิน หรือเป็นงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงและสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 24 และมาตรา 61 ข้อตกลงรวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายไปกับค่าจ้างในเวลาทำงานตามปกติโดยไม่มีการคิดค่าล่วงเวลาที่ทำจริง จึงเป็นการเอาเปรียบลูกจ้างทั้งมีลักษณะเป็นการผูกพันให้ลูกจ้างต้องยอมทำงานล่วงเวลาตลอดไปโดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆ ไป และโดยไม่คำนึงถึงความจำเป็นที่จะต้องให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาอีกด้วย จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
of 2