พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทะเบียนหย่าและข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินเป็นเอกสารมหาชน การจดทะเบียนแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิไม่ใช่การโอนทรัพย์สิน
ทะเบียนการหย่าและบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าเป็นเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน และให้ประชาชนตรวจดูอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสาร-มหาชน
เดิมที่พิพาทมีจำเลยที่ 1 และ ม.เป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกันต่อมา จำเลยที่ 1 กับ ม.จดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สิน ตกลงให้ที่พิพาทเป็นของ ม. บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนการหย่าให้แล้ว ถือว่าได้มีการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวกันเรียบร้อยแล้วนับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่า และที่พิพาทตกเป็นสิทธิของ ม. นับแต่เวลานั้น การที่จำเลยที่ 1จดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับที่พิพาทในเวลาต่อมา เป็นเพียงการแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิในที่พิพาทให้ตรงความจริงเท่านั้น หาใช่การทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งมีผลเป็นการจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สินของตนอันจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และขอเพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่
จำเลยที่ 1 กับที่ 3 มิได้ฎีกา แต่เมื่อคดีฟังได้ตามฎีกาของจำเลยที่ 2 และคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จำเลยที่ 1 กับที่ 3 จึงได้รับผลจากคำพิพากษานี้ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
เดิมที่พิพาทมีจำเลยที่ 1 และ ม.เป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกันต่อมา จำเลยที่ 1 กับ ม.จดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สิน ตกลงให้ที่พิพาทเป็นของ ม. บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนการหย่าให้แล้ว ถือว่าได้มีการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวกันเรียบร้อยแล้วนับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่า และที่พิพาทตกเป็นสิทธิของ ม. นับแต่เวลานั้น การที่จำเลยที่ 1จดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับที่พิพาทในเวลาต่อมา เป็นเพียงการแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิในที่พิพาทให้ตรงความจริงเท่านั้น หาใช่การทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งมีผลเป็นการจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สินของตนอันจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และขอเพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่
จำเลยที่ 1 กับที่ 3 มิได้ฎีกา แต่เมื่อคดีฟังได้ตามฎีกาของจำเลยที่ 2 และคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จำเลยที่ 1 กับที่ 3 จึงได้รับผลจากคำพิพากษานี้ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารใบสำคัญสมรสที่ยื่นผิดระเบียบ และการสันนิษฐานความถูกต้องของเอกสารมหาชน
ปัญหาที่ว่ามีการจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับมารดาผู้ตายหรือไม่ เป็นประเด็นสำคัญแห่งคดี ซึ่งหากจะให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดีแล้วจำเป็นจะต้องสืบพยานเอกสารใบสำคัญการสมรส การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังพยานเอกสารดังกล่าวที่ยื่นโดยผิดระเบียบ จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)
ต้นฉบับใบสำคัญการสมรสเป็นเอกสารมหาชน เพราะเป็นเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนใช้อ้างอิง จึงสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127
ต้นฉบับใบสำคัญการสมรสเป็นเอกสารมหาชน เพราะเป็นเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนใช้อ้างอิง จึงสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย: การรับฟังพยานหลักฐานการสมรสที่ยื่นผิดระเบียบ และเอกสารมหาชน
ปัญหาที่ว่ามีการจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับมารดาผู้ตายหรือไม่เป็นประเด็นสำคัญแห่งคดีซึ่งหากจะให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดีแล้วจำเป็นจะต้องสืบพยานเอกสารใบสำคัญการสมรสการที่ศาลอุทธรณ์รับฟังพยานเอกสารดังกล่าวที่ยื่นโดยผิดระเบียบจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87(2) ต้นฉบับใบสำคัญการสมรสเป็นเอกสารมหาชนเพราะเป็นเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนใช้อ้างอิงจึงสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา127
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอมของคู่สมรส การรับฟังพยานหลักฐานเอกสารมหาชน และการไม่รับวินิจฉัยประเด็นที่ไม่จำเป็น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 เดิม ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ประกอบกับพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478มาตรา 22 บัญญัติแต่เพียงว่าการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเท่านั้น ไม่ได้บังคับว่าจะต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเอง โจทก์ยอมรับว่าทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมเป็นเอกสารราชการ เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนยืนยันว่าทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมเป็นเอกสารที่ถูกต้องเอกสารฉบับนี้เป็นเอกสารมหาชนเมื่อโจทก์สืบไม่ได้ว่าเป็นเอกสารที่ไม่สมบูรณ์อย่างไร ต้องถือว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องสมบูรณ์ รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ฟังได้ว่าโจทก์ได้ให้ความยินยอมในการจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมตามทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมแล้ว โจทก์ฎีกาว่าศาลชั้นต้นสั่งตัดพยานสำคัญของโจทก์ทำให้โจทก์เสียเปรียบในการต่อสู้คดีซึ่งโจทก์ได้โต้แย้งคัดค้านไปแล้วโจทก์อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้ต่อศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นข้อนี้เพราะไม่อาจทำให้ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงไปได้ ฎีกาของโจทก์ไม่ได้คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไรศาลอุทธรณ์จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นข้อนี้อย่างไร ฎีกาของโจทก์จึงไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม: ความยินยอมของคู่สมรส และความสมบูรณ์ของเอกสารมหาชน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 เดิม (แก้ไขใหม่มาตรา 1598/25) ประกอบกับพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 มาตรา 22 บัญญัติแต่เพียงว่าการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเท่านั้นไม่ได้บังคับว่าคู่สมรสจะต้องลงลายมือชื่อให้ความยินยอมด้วยตนเอง ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบันทึกด้านหลัง ค.ร.13 ตามคำร้องให้ความยินยอมของคู่สมรสไว้ว่าคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมาให้ความยินยอมแล้วการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมย่อมสมบูรณ์ตามกฎหมาย ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมเป็นเอกสารมหาชน เมื่อโจทก์สืบไม่ได้ว่าเป็นเอกสารที่ไม่สมบูรณ์อย่างไร ต้องถือว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องสมบูรณ์รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1430/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่อเอกสารมหาชน: การแจ้งข้อมูลเท็จต่อนายทะเบียนเพื่อแก้ไขกรรมการบริษัท
การที่จำเลยร่วมกับ อ.และให้อ. ยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม กรรมการของบริษัท ก. ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทโดยยื่นเอกสารรายงานการประชุมวิสามัญของบริษัท ก. อันเป็นเอกสารเท็จประกอบไปด้วย เป็นเหตุให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนให้เป็นการแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการของบริษัท ก. และประชาชน จึงเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกโดยบุตรที่ได้รับการรับรอง และการพิสูจน์สถานะความเป็นบุตรจากเอกสารมหาชน
สำเนาทะเบียนบ้านเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นหรือรับรองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่ถูกต้องของเอกสาร เมื่อไม่มีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักเพียงพอมาสืบหักล้างจึงต้องถือว่าสำเนาทะเบียนบ้านนั้นถูกต้องแล้ว ผู้ตายได้รับรองว่าต.เป็นบุตรของตนต.จึงมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายเมื่อต.ตายก่อนผู้ตาย ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ต.จึงมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายแทนที่ ต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2809/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารมหาชน, การซื้อขายสังหาริมทรัพย์, ความรับผิดร่วมกิจการค้า
หนังสือรับรองซึ่งออกโดยนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นเอกสารมหาชนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร เมื่อไม่สืบพยานหักล้าง แม้ทางราชการจะออกหนังสือรับรองดังกล่าวให้ช้านานเพียงใดก็ต้องถือว่าเอกสารนั้นมีข้อความที่ถูกต้องสมบูรณ์
การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าอันเป็นการชำระหนี้ฝ่ายผู้ขายแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม ผู้ขายย่อมฟ้องร้องบังคับคดีได้โดยกฎหมายไม่บังคับให้ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ประกอบกิจการค้าร่วมกัน โดยแบ่งหน้าที่กันทำ การที่จำเลยที่ 2 ผู้เดียวเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าไปจากโจทก์ และเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ค่าสินค้าให้โจทก์ เช่นนี้ถือว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดในหนี้ค่าสินค้าต่อโจทก์
การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าอันเป็นการชำระหนี้ฝ่ายผู้ขายแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม ผู้ขายย่อมฟ้องร้องบังคับคดีได้โดยกฎหมายไม่บังคับให้ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ประกอบกิจการค้าร่วมกัน โดยแบ่งหน้าที่กันทำ การที่จำเลยที่ 2 ผู้เดียวเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าไปจากโจทก์ และเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ค่าสินค้าให้โจทก์ เช่นนี้ถือว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดในหนี้ค่าสินค้าต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2809/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารมหาชนมีน้ำหนักเบา แต่คู่ความต้องหักล้าง การค้าโดยร่วมกัน ความรับผิดร่วมกัน
หนังสือรับรองซึ่งออกโดยนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ เป็นเอกสารมหาชนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร เมื่อไม่สืบพยานหักล้าง แม้ทางราชการจะออกหนังสือรับรองดังกล่าวให้ช้านานเพียงใดก็ต้องถือว่าเอกสารนั้นมีข้อความที่ถูกต้องสมบูรณ์ การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าอันเป็นการชำระหนี้ฝ่ายผู้ขายแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม ผู้ขายย่อมฟ้องร้องบังคับคดีได้โดยกฎหมายไม่บังคับให้ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ประกอบกิจการค้าร่วมกัน โดยแบ่งหน้าที่กันทำ การที่จำเลยที่ 2 ผู้เดียวเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าไปจากโจทก์ และเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ค่าสินค้าให้โจทก์เช่นนี้ถือว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1ต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดในหนี้ค่าสินค้าต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2781/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชนที่สันนิษฐานว่าถูกต้อง ผู้ฟ้องแย้งมีหน้าที่พิสูจน์ความไม่ชอบด้วยกฎหมายของโฉนด หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ โฉนดนั้นมีผลผูกพัน
โฉนดที่ดินของโจทก์เป็นเอกสารมหาชนที่รัฐออกให้แก่ผู้ทรงกรรมสิทธิ์ ซึ่งในเบื้องต้นต้องสันนิษฐานว่าได้ออกมาถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 เมื่อจำเลยฟ้องแย้งให้ศาลพิพากษาเพิกถอนโฉนดที่ดินของโจทก์ว่าออกมาทับที่โดยไม่ถูกต้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบถึงความไม่ถูกต้องหรือมิชอบด้วยกฎหมายนั้น แม้เดิมที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า แต่ต่อมาทางราชการได้ออกโฉนดที่ดินให้โจทก์เป็นผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในปี พ.ศ. 2527 ซึ่งเมื่อนับถึงวันที่โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382