คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แก้ฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 58/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตแก้ฟ้อง, อำนาจศาลในการสั่งตรวจเอกสาร, และสิทธิทายาทรับมรดก
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกา
ในกรณีที่ศาลเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจเอกสารในสำนวน และศาลเห็นสมควร ศาลก็ย่อมใช้อำนาจของศาลเองที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99 ส่งเอกสารนั้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ได้โดยไม่จำต้องให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยื่นบัญชีระบุพยานหรือระบุชื่อผู้เชี่ยวชาญ
จำเลยเป็นพี่ชายเจ้ามรดก ส่วนโจทก์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก จำเลยเป็นทายาทลำดับหลังโจทก์ ไม่มีสิทธิรับมรดกรายนี้จำเลยจึงยกอายุความมรดก 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755 มาต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแพ่งรับฟ้องนอกเขตอำนาจ: ดุลพินิจตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 14(4) แม้แก้ฟ้องภายหลัง
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชำระหนี้ตามสัญญาจ้างต่อศาลแพ่งโดยระบุในคำฟ้องว่าจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ใน กรุงเทพมหานคร ศาลแพ่งสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้แล้ว แต่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสองไม่ได้ เพราะจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดสมุทรสาคร โจทก์จึงแก้ฟ้องเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองใหม่ ศาลแพ่งอนุญาตและในวันเดียวกันโจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องจำเลยทั้งสองที่ศาลแพ่ง ศาลแพ่งอนุญาต เมื่อศาลแพ่งมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตของศาลแพ่งและจำเลยมีภูมิลำเนานอกเขตศาลแพ่งตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14 (4) ได้ด้วยและศาลแพ่งอนุญาตให้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่งได้ตามคำร้องขอของโจทก์แล้ว แม้คำร้องขอของโจทก์จะยื่นเข้ามาภายหลังจากยื่นคำฟ้องแล้วก็ตามย่อมแสดงว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ศาลแพ่งมีอำนาจพิจารณาคดีต่อไปได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเช็ค: วันที่ปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นรายละเอียดของข้อหา โจทก์ขอแก้ฟ้องได้หากจำเลยไม่เสียเปรียบ
คดีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คนั้น การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นการกระทำผิดอย่างหนึ่งที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ส่วนวันที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินนั้นเป็นวันที่มีการกระทำผิดซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำที่อ้างว่าเป็นความผิด ดังนั้นเมื่อโจทก์กล่าวในฟ้องว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโดยมิได้ระบุว่าปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันใด จึงเป็นฟ้องที่ขาดรายละเอียดที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีเท่านั้น มิใช่ฟ้องที่บรรยายข้อเท็จจริงขาดองค์ประกอบความผิด โจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องได้ในเมื่อจำเลยมิได้เสียเปรียบในการต่อสู้คดีหรือหลงข้อต่อสู้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163,164
หมายเหตุ ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2530

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานีขนส่ง, การใช้ประกาศกระทรวงเดิม, ความผิดพ.ร.บ.ขนส่งทางบก, การแก้ฟ้อง
เมื่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 19 ยังไม่ได้กำหนดให้สถานีขนส่งสายเหนือเป็นสถานที่หยุดหรือจอดรถเพื่อรับส่งผู้โดยสารไว้เป็นการต่างหาก จึงต้องนำประกาศของกระทรวงคมนาคมและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดสถานที่ใช้เป็นสถานีขนส่ง ซึ่งประกาศโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 มาใช้ตามมาตรา 164 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 จึงมิใช่การนำกฎหมายที่ถูกยกเลิกแล้วมาใช้บังคับและลงโทษแก่จำเลย
รถประจำทางปรับอากาศต้องหยุดหรือจอดรถเพื่อรับส่งผู้โดยสาร ณ สถานที่ซึ่งคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดหรือสถานที่หยุดหรือจอดรถตามที่มาตรา 164 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 บัญญัติไว้เท่านั้น การที่จำเลยหยุดหรือจอดรถรับส่งผู้โดยสารที่ศูนย์รถแห่งอื่นจึงเป็นความผิดตามมาตรา 156 แล้ว แม้จำเลยจะนำรถเข้าหยุดหรือจอดรับผู้โดยสารที่สถานีขนส่งสายเหนือซึ่งเป็นสถานที่ซึ่งคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดในภายหลัง ก็ตามก็ไม่เป็นการลบล้างการกระทำความผิดของจำเลยซึ่งได้กระทำมาแล้วให้หมดสิ้นไป
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำความผิดของจำเลยซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 156 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ครบถ้วนแล้ว แต่เนื่องจากสถานที่หยุดหรือจอดรถยังคงเป็นไปตามประกาศกระทรวงคมนาคมและกระทรวงมหาดไทยเรื่อง กำหนดสถานที่ใช้เป็นสถานีขนส่ง ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2503 ตามที่มาตรา 164 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ได้บัญญัติไว้ว่าให้นำมาใช้ได้ การที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องระบุว่าสถานีขนส่งสายเหนือเป็นสถานีขนส่งตามที่กำหนดไว้และขอระบุประกาศดังกล่าวเป็นพยานเพิ่มเติม ภายหลังจากที่โจทก์สืบพยานหมดไปแล้ว แต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาคดี จึงกระทำได้ตาม มาตรา 163 และมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และการขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าวไม่ได้ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีหรือหลงข้อต่อสู้เพราะจำเลยก็ทราบว่า จำเลยจะต้องหยุดหรือจอดรถรับส่งคนโดยสารที่สถานีขนส่งอยู่แล้ว และการที่โจทก์นำพยานมาสืบเพิ่มเติมภายหลังที่โจทก์ได้แถลงหมดพยานแล้วนั้นก็เป็นเวลาก่อนที่จำเลยจะสืบพยาน จึงไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3523/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตแก้ฟ้องไม่ใช่คำสั่งจำหน่ายคดี จึงไม่อุทธรณ์ได้ตามมาตรา 196
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง มิใช่เป็นคำสั่งจำหน่ายคดีบางส่วน แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเพราะมิได้ทำให้คดีเสร็จไปจากศาล ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3523/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตแก้ฟ้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ห้ามอุทธรณ์จนกว่าจะมีคำพิพากษา
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องมิใช่เป็นคำสั่งจำหน่ายคดี บางส่วนแต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเพราะมิได้ทำให้ คดีเสร็จไปจากศาล ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 993/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตให้แก้ฟ้องคดีอาญาเมื่อข้อหาเปลี่ยนแปลง และผลกระทบต่ออำนาจศาล
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสระหว่างพิจารณาผู้เสียหายถึงแก่ความตาย และได้มีการสอบสวนเพิ่มเติมแล้วโจทก์จึงขอแก้ฟ้องเป็นขอให้ลงโทษจำเลยฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายดังนี้กรณีมีเหตุอันควรและสมควรอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา163ศาลจะไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องเพราะเหตุเพียงว่าหากอนุญาตแล้วจะไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาหาได้ไม่ เมื่อศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องแล้วคดีเกินอำนาจศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 15 ศาลฎีกาจึงพิพากษากลับให้ยกฟ้องและให้โจทก์นำคดีไปฟ้องต่อศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการแก้ฟ้องของโจทก์ร่วมที่ดำเนินคดีโดยอาศัยฟ้องของพนักงานอัยการ และขอบเขตการลงโทษ
โจทก์ร่วมเข้ามาดำเนินคดีแก่จำเลยโดยอาศัยสิทธิตามฟ้องของพนักงานอัยการ จึงไม่มีอำนาจขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องให้นอกเหนือไปจากฟ้องของพนักงานอัยการ หากศาลชั้นต้นสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องส่วนที่โจทก์ร่วมขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องไว้ก็มีอำนาจสั่งงดเสียได้
เมื่อศาลมิได้อนุญาตให้แก้และเพิ่มเติมฟ้องตามคำร้องของโจทก์ร่วม จึงลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่ขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องนั้นไม่ได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำคุกจำเลย 1 เดือนปรับ 500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการแก้ฟ้องของโจทก์ร่วมที่ดำเนินคดีโดยอาศัยฟ้องของอัยการ และผลต่อการพิจารณาคดี
โจทก์ร่วมเข้ามาดำเนินคดีแก่จำเลยโดยอาศัยสิทธิตามฟ้องของพนักงานอัยการ จึงไม่มีอำนาจขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องให้นอกเหนือไปจากฟ้องของพนักงานอัยการ หากศาลชั้นต้นสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องส่วนที่โจทก์ร่วมขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องไว้ก็มีอำนาจสั่งงดเสียได้
เมื่อศาลมิได้อนุญาตให้แก้และเพิ่มเติมฟ้องตามคำร้องของโจทก์ร่วม จึงลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่ขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องนั้นไม่ได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำคุกจำเลย 1 เดือนปรับ 500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3852/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ฟ้องและการถอนฟ้องแย้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลในชั้นอุทธรณ์ทำให้ฎีกาไม่ได้
จำเลยที่ 3 ทราบก่อนแล้วว่า บริษัท ส. จดทะเบียนเลิกบริษัท และตั้งผู้ชำระบัญชีและโจทก์จะขอแก้ฟ้อง โดยแถลงต่อศาลว่าไม่คัดค้านที่ของแก้ฟ้องจากบริษัทส.เป็นผู้ชำระบัญชี จำเลยที่ 3 ได้ยื่นคำร้องขอให้เรียกผู้ชำระบัญชีของบริษัท ส. (จำเลยที่ 1) เข้ามาด้วยแล้ว ต่อมาเมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องชื่อจำเลยที่ 1 เป็นนายรมย์ ไชยเสนา ผู้ชำระบัญชีบริษัท ส.ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตโดยไม่ได้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยที่ 3 ทราบจำเลยที่ 3 ก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องดังกล่าวแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 3 ไม่ได้โต้แย้งไว้ก็อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งดังกล่าวไม่ได้
จำเลยที่ 3 อุทธรณ์คำสั่งที่จำเลยที่ 1 ขอถอนฟ้องแย้ง โดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 ต่อศาลอุทธรณ์ครั้งหนึ่งแล้ว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ถอนฟ้องแย้งได้คดีถึงที่สุด จำเลยที่ 3 จะอุทธรณ์ฎีกาปัญหานี้อีกไม่ได้
of 16