พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6863/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: โจทก์ฎีกาขอไม่รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์แก้โทษเป็นรอการลงโทษ ถือเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 จำคุกกระทงละ 1 เดือน รวม 3 กระทง จำคุก 3 เดือนศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ปรับจำเลยกระทงละ 1,000 บาทอีกสถานหนึ่ง รวม 3 กระทง ปรับ 3,000 บาท โทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด 2 ปี แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นให้รอการลงโทษแก่จำเลย เป็นการแก้ไขมาก แต่ก็ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปี จึงเป็นคดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยเพียงใด เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5940/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบเมื่อยกข้อกฎหมายใหม่ในชั้นฎีกา แต่ศาลฎีกามีอำนาจแก้โทษจำเลยร่วมกันได้
ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพิ่งมายกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา195 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 225 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ศาลฎีกาเห็นว่า ศาลล่างกำหนดโทษจำเลยหนักเกินไป สมควรกำหนดโทษจำเลยให้เบาลง และเมื่อจำเลยที่ฎีกากับจำเลยที่มิได้ฎีกา กระทำผิดร่วมกันเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้โทษตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3082/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายเวลาอุทธรณ์-กฎหมายใหม่คุ้มครอง: ศาลฎีกาแก้โทษปรับ-จำคุกจากกฎหมายเช็คเก่าเป็นเช็คใหม่
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาและมีคำสั่งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ โจทก์ร่วมย่อมอุทธรณ์คัดค้านของศาลชั้นต้นดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคแรก เพราะคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว และยังไม่ได้มีการสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 196 ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์มีพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 บังคับใช้ ซึ่งมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด มีอัตราโทษเบากว่ากฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดและเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องใช้กฎหมายใหม่ดังกล่าวบังคับแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมยกขึ้นว่าในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2457/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยุยงให้กระทำผิด vs. ตัวการร่วม: ศาลแก้โทษจากตัวการเป็นผู้สนับสนุนอาญา
จำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาจะใช้อาวุธปืนยิงทำร้ายผู้ใดมาก่อนเมื่อชาวบ้านวิ่งไล่ตามจับ จำเลยที่ 2 ตะโกนว่า "ยิงเลย" เพื่อหลบหนีเอาตัวรอด จำเลยที่ 1 จึงใช้ปืนยิงผู้เสียหายในระยะห่าง2 วา ดังนี้ ถือว่าจำเลยที่ 2 ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด จะถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ไม่ได้ จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2ตามที่ปรากฏในทางพิจารณาเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84แต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการ จึงเป็นการแตกต่างในสาระสำคัญอย่างมากย่อมลงโทษไม่ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง แต่การที่จำเลยที่ 2 ร้องบอกดังกล่าวถือได้ว่าเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษฐานเป็นผู้สนับสนุนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4914/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชนต่างกรรมต่างวาระ: ศาลฎีกาแก้โทษเพิ่มกระทงความผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2521 มีกำหนด 1 เดือน และความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 รวม 5 กระทงจำคุกกระทงละ 2 ปี ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2521 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนส่วนความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนพิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวและลงโทษจำคุกมีกำหนด 2 ปี ความผิดทั้งสองฐานจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก การที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมานั้นยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนรับสมัครไปทำงานและรับเงินค่าบริการจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหาย พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบมานั้นฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ว่าจำเลยมิได้หลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหาย ทั้งมิได้รับเงินไว้เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ขอให้ศาลฎีการับฟังพยานเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยส่งมาพร้อมฎีกาและขอให้รอการลงโทษจำเลยนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานและการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม จำเลยหลอกลวงว่าสามารถจัดส่งผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศได้ผู้เสียหายแต่ละคนหลงเชื่อจึงมาสมัครงานกับจำเลยและมอบเงินค่าบริการให้ตามที่จำเลยเรียกร้อง โดยกระทำในวันเวลาที่แตกต่างกันรวม 5 ครั้ง แต่ละครั้งจำเลยหลอกลวงประชาชนต่างกลุ่มกันผู้เสียหายแต่ละกลุ่มมาสมัครงานและมอบเงินแก่จำเลยต่างวันเวลากัน เป็นการกระทำโดยเจตนาให้เกิดผลต่อประชาชนแต่ละกลุ่มแยกต่างหากจากกันต่างกรรมต่างวาระ เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนรวม 5 กระทง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1247/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ศาลอุทธรณ์แก้บทแก้ไขโทษ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่รับ
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 จำคุก 1 ปี และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดฐานช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่ผู้อื่นกระทำความผิดฉ้อโกงตามมาตรา 341,86 จำคุก 8 เดือน นั้น แม้จะเป็นการแก้ทั้งบทและโทษ แต่ศาลอุทธรณ์ก็คงพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 1 ปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4613/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 กรณีศาลอุทธรณ์แก้โทษและรอการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลย 3 เดือน ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้เป็นว่า ลงโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือนและให้รอการลงโทษไว้ มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ดังนี้ ถือไม่ได้ว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเกินหนึ่งปี เป็นคดีต้องห้ามฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2118/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาแก้โทษและไม่ริบเสื้อของกลาง
ฟ้องว่าจำเลยกับพวกอีก 2 คน ร่วมปล้นทรัพย์และฆ่าผู้อื่นตายปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่ช่วยวางแผนให้คนร้าย 2 คน ไปกระทำผิดในสวนยางและขณะคนร้าย 2 คน ไปกระทำความผิดตามแผนที่วางแผนไว้ จำเลยยืนอยู่นอกสวนยางห่างสวนยางชั่วระยะตะโกนกันได้ยิน ในช่วงระยะเวลาที่คนร้าย 2 คน ดังกล่าวกระทำความผิด อ. บุตรผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ผ่านจำเลยเข้าไปในสวนยางที่เกิดเหตุ จำเลยก็มิได้ส่งสัญญาณให้คนร้าย 2 คน ดังกล่าวทราบหรือเข้าช่วยคนร้าย 2 คนนั้น คงยืนอยู่เฉย ๆ เมื่อคนร้าย 2 คนนั้นกระทำความผิดตามที่วางแผนไว้สำเร็จแล้วคนร้ายคนหนึ่งหลบหนีไปทางอื่น คนร้ายอีกคนหนึ่งขับรถจักรยานยนต์ของผู้ตายผ่านหน้าจำเลยไปแล้วจำเลยก็กลับบ้าน การกระทำของจำเลยดังกล่าวยังไม่ถึงขั้นเป็นการร่วมกระทำความผิดด้วยกันกับคนร้าย 2 คนนั้น โดยแบ่งหน้าที่กันทำ แต่เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่คนร้าย 2 คนดังกล่าวกระทำความผิด จำเลยจึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของคนร้าย 2 คนดังกล่าว
เมื่อปรากฏว่าคนร้ายที่เข้าไปลักทรัพย์ของผู้ตายโดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยการยิงผู้ตายโดยเจตนาฆ่าเพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์และพาเอาทรัพย์ไปจนเป็นเหตุให้เจ้าทรัพย์ถึงแก่ความตายมี 2 คน การกระทำของคนร้าย 2 คนดังกล่าว จึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคท้าย
เสื้อแจกเกตของคนร้ายที่ทิ้งไว้รวมกับบางส่วนของทรัพย์สินของผู้ตายที่คนร้ายชิงไปถือไม่ได้ว่าเสื้อตัวนี้เป็นทรัพย์สินที่คนร้ายได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด นอกจากนี้เสื้อดังกล่าวยังมิใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ศาลจะริบเสื้อดังกล่าวไม่ได้
เมื่อปรากฏว่าคนร้ายที่เข้าไปลักทรัพย์ของผู้ตายโดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยการยิงผู้ตายโดยเจตนาฆ่าเพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์และพาเอาทรัพย์ไปจนเป็นเหตุให้เจ้าทรัพย์ถึงแก่ความตายมี 2 คน การกระทำของคนร้าย 2 คนดังกล่าว จึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคท้าย
เสื้อแจกเกตของคนร้ายที่ทิ้งไว้รวมกับบางส่วนของทรัพย์สินของผู้ตายที่คนร้ายชิงไปถือไม่ได้ว่าเสื้อตัวนี้เป็นทรัพย์สินที่คนร้ายได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด นอกจากนี้เสื้อดังกล่าวยังมิใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ศาลจะริบเสื้อดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2849/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 218 เมื่อศาลล่างพิพากษาลงโทษในบทเดียวกัน แม้แก้โทษเล็กน้อย
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก โดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยชำเราผู้เสียหายโดยลักษณะข่มขืนจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรกเช่นเดียวกัน โดยฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้เสียหายสมัครใจให้จำเลยกระทำชำเราจำคุก2 ปี จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยในบทมาตราเดียวกัน แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้โทษให้เบาลง ก็เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และ ลงโทษจำคุกไม่เกิน5 ปี การที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยกระทำชำเราในลักษณะข่มขืนอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 442/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล้นทรัพย์โดยใช้อาวุธปืน จำเลยไม่มีอาวุธ ศาลฎีกาแก้โทษ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้องอีก 4 คนร่วมกันมีปืนเป็นอาวุธทำการปล้นทรัพย์ ได้ความว่าจำเลยที่ 2 มิได้มีอาวุธอะไรเลย และจำเลยที่ 1 มีเพียงมีดปลายแหลมอย่างเดียวเท่านั้น คนร้ายที่มีปืนคือพวกที่ยังจับตัวไม่ได้ ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรีแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 15
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340,340 ตรี,83 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 14,15 ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามบทมาตราดังกล่าวด้วยจำเลยที่ 2 ฎีกา ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ข้อ 15 ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ได้ เพราะเป็นเหตุในลักษณะคดี.
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340,340 ตรี,83 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 14,15 ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามบทมาตราดังกล่าวด้วยจำเลยที่ 2 ฎีกา ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ข้อ 15 ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ได้ เพราะเป็นเหตุในลักษณะคดี.