คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แก้ไข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ผู้อุทธรณ์วางค่าธรรมเนียม ศาลมีอำนาจสั่งให้แก้ไขก่อนส่งอุทธรณ์ ไม่ถือเป็นการไม่รับอุทธรณ์
การนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์นั้น ป.วิ.พ. มาตรา 229 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์ที่จะต้องนำเงินมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ด้วย การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์โดยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ ซึ่งศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดระยะเวลาให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนเท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้แก่จำเลยทั้งสองนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลให้ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองว่าจะให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 อันเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะ คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้มิใช่เป็นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ซึ่งผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ได้ จำเลยทั้งสองจึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำคู่ความไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลต้องให้แก้ไขก่อนพิพากษา
คำให้การของจำเลยไม่มีลายมือชื่อจำเลยหรือทนายจำเลยผู้ยื่นคำให้การ ไม่มีลายมือชื่อทนายจำเลยผู้เรียง และไม่มีลายมือชื่อผู้พิมพ์ เป็นคำคู่ความที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 (5) การที่ทนายจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในช่องหมายเหตุท้ายคำให้การจำเลยแผ่นแรกที่มีข้อความระบุว่า "ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" นั้น มิใช่เป็นการลงลายมือชื่อในคำคู่ความตามความหมายของมาตรา 67 (5) ศาลชั้นต้นรับคำให้การจำเลยฉบับดังกล่าวโดยไม่คืนไปให้จำเลยทำมาใหม่ หรือให้จำเลยแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียให้ถูกต้อง จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 18 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปโดยไม่ได้ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อนจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5490/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากเกินทุนทรัพย์ที่กฎหมายกำหนด และแก้ไขค่าทนายความเกินอัตรา
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของที่ดินติดต่อกับที่ดินของจำเลย สิ่งปลูกสร้างของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและให้จำเลยชำระค่าเสียหายเดือนละ 15,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้รุกกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยต่างอ้างว่าตนเองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้จะมีคำขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกไปและให้จำเลยชำระค่าเสียหายเดือนละ 15,000 บาท มาด้วย แต่จะบังคับให้ได้หรือไม่เพียงใดนั้น เป็นผลต่อเนื่องมาจากข้อวินิจฉัยในเรื่องสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทอันเป็นประเด็นสำคัญในคดีนี้ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ที่ดินพิพาทตีราคาเป็นเงิน 67,875 บาท ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราที่ตกลงกัน ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามกฎหมาย
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แต่การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าธนาคารโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เพราะเกินกว่าอัตราตามประกาศของโจทก์ กลับพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงิน 1,300,031.26 บาท ซึ่งมีดอกเบี้ยจำนวน 300,394.17 บาท ที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าตกลงเป็นโมฆะรวมอยู่ด้วย จึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ถูกต้องเพราะทำให้จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยมากไปกว่าที่ต้องรับผิดตามกฎหมายและเกินคำขอ จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 243 (1) และมาตรา 246
ขณะทำสัญญากู้เงิน ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยซึ่งเป็นลูกค้าเงินกู้รายย่อยระยะยาวในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นการคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราตามประกาศของโจทก์ ซึ่งกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เพียงร้อยละ 12.25 ต่อปี ข้อตกลงในส่วนดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับเอาดอกเบี้ยตามสัญญาจากจำเลย ดังนั้น ที่ศาลชั้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 1,300,031.26 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 999,178.09 บาท นับถัดจากวันชำระหนี้ครั้งสุดท้ายจนกว่าจะชำระเสร็จนั้น จึงไม่ถูกต้องเพราะเงินจำนวน 1,300,031.26 บาท ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์ดังกล่าวมีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ที่จำเลยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2541 ถึงวันฟ้องจำนวน 300,399.17 บาท รวมอยู่ด้วย
โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับดอกเบี้ยตามสัญญาเพราะตกเป็นโมฆะแต่เมื่อเป็นหนี้เงินจำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อตามสัญญากู้เงินตกลงให้ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยเป็นรายเดือนภายในทุกวันที่ 16 ของเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2540 ต่อมาวันที่ 2 ธันวาคม 2541 จำเลยชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นครั้งสุดท้าย หลังจากนั้นจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์อีก จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่ 17 มกราคม 2542 มิใช่ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2541

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3662-3663/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขพินัยกรรมด้วยยาลบหมึกก่อนลงลายมือชื่อและประทับตรา ไม่ถือเป็นการแก้ไขที่ทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ
ก่อนที่ ล. ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการเขตตลิ่งชันจะลงลายมือชื่อและประทับตราสำนักงานเขตตลิ่งชัน ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1658 (4) บัญญัติ ล. ได้ดำเนินการให้แก้ไขพินัยกรรมที่พิมพ์ผิดพลาดโดยใช้ยาลบหมึกกลบถ้อยคำแล้วพิมพ์ใหม่เป็นต้นฉบับหรือคู่ฉบับ แก้ไขชื่อจาก "นายสัมพันธ์" เป็น "นายสมพันธ์" เพื่อให้ถูกต้องตามความจริง โดยผู้ทำพินัยกรรม (นายสัมพันธ์) และพยานรู้เห็น จากนั้น ล. จึงลงลายมือชื่อและประทับตราสำนักงานเขตตลิ่งชัน ดังนี้ ไม่ถือว่าเป็นการขูด ลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรม จึงไม่จำต้องให้ผู้ทำพินัยกรรม พยาน และ ล. ลงลายมือชื่อกำกับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1658 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าเสียหายจากการปล้นทรัพย์: แก้ไขจำนวนยางพาราที่ยังไม่ได้คืนให้ถูกต้อง
ยางพาราแผ่นของผู้เสียหายที่ 1 ถูกคนร้ายปล้นเอาไป 9,500 กิโลกรัม ซึ่งตามบัญชีทรัพย์ถูกประทุษร้ายได้คืนและบัญชีของกลางคดีอาญาปรากฏว่า หลังเกิดเหตุพนักงานสอบสวนยึดยางพาราแผ่นที่ถูกปล้นคืนมาได้รวม 3,169.5 กิโลกรัม มากกว่าจำนวน 2,987.5 กิโลกรัม ซึ่งเจ้าพนักงานยึดไว้เป็นของกลางตามที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืน 212,307.50 บาท โดยคำนวณจากจำนวนยางพาราแผ่นที่ผู้เสียหายที่ 1 ยังไม่ได้คืนตามฟ้อง 6,512.5 กิโลกรัม จึงเกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่พิจารณาได้ความ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 โดยคำนวณราคายางพาราแผ่นตามฟ้องได้กิโลกรัมละ 32.63 บาท ผู้เสียหายที่ 1 ยังไม่ได้รับยางพาราแผ่นคืน 6,330.5 กิโลกรัม จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนหรือใช้ราคายางพาราแผ่นที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหายที่ 1 เพียง 206,564.22 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2536/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขพินัยกรรมโดยการขีดฆ่าและพิมพ์ใหม่ ไม่ทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ หากไม่เข้าข่ายแก้ไขเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ
ที่ผู้ตายขีดฆ่าคำว่า "ดังนี้" ออกไปเพราะเป็นการพิมพ์ข้อความตกแล้วพิมพ์ใหม่ว่า "ให้มีผลเมื่อข้าพเจ้าตายแล้วดังนี้" โดยผู้ตายไม่ได้ลงลายมือชื่อกำกับนั้น การขีดฆ่าดังกล่าวไม่มีผลต่อความสมบูรณ์ของข้อความในพินัยกรรมเพราะแม้ไม่มีการขีดฆ่าดังกล่าวและไม่พิมพ์ข้อความใหม่ ข้อความที่พิมพ์ก่อนหน้านั้นก็ระบุชัดเจนว่าเป็นใบมอบทรัพย์สิน (มรดก) ให้แก่จำเลยผู้รับมรดกเพียงผู้เดียว การรับมรดกย่อมจะมีผลต่อเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายอยู่แล้ว ส่วนการขีดฆ่าคำว่า "ผู้รับมอบ" แล้วพิมพ์ข้อความใหม่เป็นว่า "พยาน" ก็เพื่อให้ตรงกับความเป็นจริงว่า จ. ลงลายมือชื่อเป็นพยานในการทำพินัยกรรม มิใช่เป็นผู้รับมอบแต่อย่างใด การแก้ไขดังกล่าวมิใช่เป็นการตกเติม แก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมทั้งเป็นการแก้ไขก่อนที่ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อในพินัยกรรมจึงไม่ต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคสอง จึงไม่ทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2536/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมสมบูรณ์ แม้มีการแก้ไขเล็กน้อย ไม่กระทบสาระสำคัญ และการขีดฆ่าคำบางส่วนไม่มีผลทำให้เป็นโมฆะ
การขีดฆ่า คำว่า "ดังนี้" ในพินัยกรรมออกไปเพราะเป็นการพิมพ์ข้อความตกไปแล้วพิมพ์ใหม่เป็นว่า "ให้มีผลเมื่อข้าพเจ้าตายแล้วดังนี้" การขีดฆ่าคำว่า "ดังนี้" ไม่มีผลต่อความสมบูรณ์ของข้อความในพินัยกรรม เพราะแม้ไม่มีการขีดฆ่าคำดังกล่าวและไม่พิมพ์ข้อความใหม่ข้อความที่พิมพ์ก่อนหน้านั้นก็ระบุชัดเจนว่าเป็นใบมอบทรัพย์สิน (มรดก) ให้แก่จำเลยผู้รับมรดกเพียงผู้เดียว การรับมรดกย่อมจะมีผลต่อเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายอยู่แล้ว ส่วนการขีดฆ่าคำว่า "ผู้รับมอบ" แล้วพิมพ์ข้อความใหม่เป็นว่า "พยาน" ก็เพื่อให้ตรงกับความเป็นจริงว่า จ. ลงลายมือชื่อเป็นพยานในการทำพินัยกรรมมิใช่เป็นผู้รับมอบ การแก้ไขดังกล่าวมิใช่เป็นการตก เติม แก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมที่ต้องมีการลงลายมือชื่อกำกับ ทั้งเป็นการแก้ไขก่อนที่ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อในพินัยกรรมจึงไม่ต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคสอง ไม่ทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1511/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่ถูกต้อง แม้โจทก์อ้างบทมาตราผิด ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานใช้รถที่จดทะเบียนแล้วแต่ยังมิได้เสียภาษีประจำปี การที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง, 59 จึงไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องเป็นมาตรา 6 วรรคสอง, 60 แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษฐานใช้รถที่ยังมิได้จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 59 แต่บทมาตราที่ถูกต้องเป็นมาตรา 60 จึงเป็นเพียงแต่โจทก์อ้างบทมาตราผิดไป ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7903/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งทนายความไม่ถูกต้องตามกระบวนการ แต่ศาลไม่จำเป็นต้องแก้ไขเมื่อมีการแต่งตั้งทนายภายหลัง
การที่ ธ.ลงลายมือชื่อในช่องผู้อุทธรณ์ในฐานะทนายจำเลยโดยไม่ปรากฏว่ามีใบแต่งทนายความในสำนวน คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งให้แก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225 แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้แต่งตั้ง ธ. เป็นทนายจำเลยให้มีอำนาจอุทธรณ์และฎีกาแทนจำเลยก่อนยื่นฎีกาฉบับนี้ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องสั่งแก้ไขและถือว่าจำเลยยื่นคำฟ้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว และเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทรธรณ์ภาค 4 พิจารณาพิพากษาใหม่เพื่อให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาล
of 39