พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5592/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินบริคณห์ระหว่างสมรส และผลของการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์กับ ช. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2480 ตึกแถวพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ ช. ได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ช. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาตรา 1466 เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ ตามมาตรา 1462 วรรคสอง เดิม ช. ให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทตั้งแต่ปี 2509 และปี 2529 ช. ได้จดทะเบียนให้จำเลยเช่า 30 ปี ไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสระหว่างโจทก์กับ ช. ตกลงเป็นอย่างอื่น ช. จึงเป็นผู้มีอำนาจจัดการตึกแถวพิพาทได้ฝ่ายเดียวมาแต่แรกตามมาตรา 1468 เดิม และตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 ก็บัญญัติรับรองว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ท้าย พระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบรรพ 5 ใหม่นี้ ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดเป็นผู้จัดการสินบริคณห์แต่ฝ่ายเดียวให้ถือว่าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ยินยอมให้คู่สมรสนั้นจัดการสินสมรสด้วย ช. เพียงฝ่ายเดียวจึงมีอำนาจให้เช่าตึกแถวพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468 เดิม นิติกรรมการเช่าตึกแถวพิพาทซึ่งทำไว้เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2529 ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกฎหมายควบคุมอาคารและการมีอำนาจฟ้องคดีอาญาจากความผิดหลังมีกฎหมายใหม่
แม้จำเลยจะทำการก่อสร้างดัดแปลงอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ขออนุญาตระหว่างวันที่21กุมภาพันธ์2535ถึงวันที่15มีนาคม2535ซึ่งอยู่ในระหว่างใช้กฎหมายเก่าก็ตามแต่ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร(ฉบับที่2)พ.ศ.2535มาตรา23ใช้บังคับตั้งแต่วันที่6มิถุนายน2535แก้ไขให้มีบทลงโทษตามมาตรา66ทวิเมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าจำเลยได้ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารก่อสร้างผิดแบบที่ขออนุญาตภายในกำหนด30วันหลังจากที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร(ฉบับที่2)พ.ศ.2535ใช้บังคับแล้วการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา42,66ทวิ,69และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร(ฉบับที่2)พ.ศ.2535มาตรา23หาใช่เป็นเรื่องการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดหรือกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดไม่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนและโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6863/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกฎหมายวัตถุออกฤทธิ์ฯ และการใช้กฎหมายที่แก้ไขแล้วปรับแก่คดีเก่า
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี 4 เดือน จำเลยฎีกาขอให้ลดโทษหรือลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำเลย เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยเพียงใดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
บทบัญญัติในมาตรา 13 และ 89 แห่ง พ.ร.บ. วัตถุที่ออก-ฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ยังมิได้ถูกยกเลิกเด็ดขาดไปเสียทีเดียว เพราะความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 และมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 ให้ยกเลิกไปใช้บังคับเพิ่มเติมและบังคับแทนบทบัญญัติในมาตรา 13 และ 89 แห่ง พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 ทั้งตามกฎหมายฉบับหลังที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้ก็เป็นการแก้ไขโทษปรับขั้นสูงตามมาตรา 89 ให้ต่ำลงมาจาก 500,000 บาท เหลือ 400,000 บาทอันเป็นคุณแก่จำเลยซึ่งจะต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้มาปรับแก่คดีตามนัย ป.อ.มาตรา 3 อยู่แล้ว ดังนั้น แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวอ้างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้ ไม่เป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มีได้กล่าวในฟ้อง
บทบัญญัติในมาตรา 13 และ 89 แห่ง พ.ร.บ. วัตถุที่ออก-ฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ยังมิได้ถูกยกเลิกเด็ดขาดไปเสียทีเดียว เพราะความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 และมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 ให้ยกเลิกไปใช้บังคับเพิ่มเติมและบังคับแทนบทบัญญัติในมาตรา 13 และ 89 แห่ง พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 ทั้งตามกฎหมายฉบับหลังที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้ก็เป็นการแก้ไขโทษปรับขั้นสูงตามมาตรา 89 ให้ต่ำลงมาจาก 500,000 บาท เหลือ 400,000 บาทอันเป็นคุณแก่จำเลยซึ่งจะต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้มาปรับแก่คดีตามนัย ป.อ.มาตรา 3 อยู่แล้ว ดังนั้น แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวอ้างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้ ไม่เป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มีได้กล่าวในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6086/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายที่บังคับใช้ ณ ขณะยื่นอุทธรณ์ แม้มีการแก้ไขกฎหมายภายหลัง
การที่จะพิจารณาว่าคดีใดต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ จะต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการยื่นอุทธรณ์ โจทก์ยื่นอุทธรณ์เมื่อ20 มีนาคม 2535 จึงต้องใช้ ป.วิ.พ. มาตรา 224 ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 27 ตุลาคม 2534 เป็นต้นไป
แม้ว่าจำเลยจะได้เคยยื่นอุทธรณ์มาแล้ว และศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้พิจารณาและพิพากษาใหม่ โดยอุทธรณ์ของจำเลยไม่ต้องห้าม แต่ก็เป็นการยื่นอุทธรณ์ในขณะที่ ป.วิ.พ. มาตรา 224 ที่แก้ไขใหม่ยังไม่มีผลบังคับ เมื่อ ป.วิ.พ. มาตรา 224 ที่แก้ไขใหม่มีผลบังคับแล้วกรณีจะไม่บังคับใช้แก่กรณีที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยยกเว้นไม่ให้ย้อนหลังหาได้ไม่
แม้ว่าจำเลยจะได้เคยยื่นอุทธรณ์มาแล้ว และศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้พิจารณาและพิพากษาใหม่ โดยอุทธรณ์ของจำเลยไม่ต้องห้าม แต่ก็เป็นการยื่นอุทธรณ์ในขณะที่ ป.วิ.พ. มาตรา 224 ที่แก้ไขใหม่ยังไม่มีผลบังคับ เมื่อ ป.วิ.พ. มาตรา 224 ที่แก้ไขใหม่มีผลบังคับแล้วกรณีจะไม่บังคับใช้แก่กรณีที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยยกเว้นไม่ให้ย้อนหลังหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินมีข้อจำกัดตาม ป.ที่ดิน ผลกระทบจากการแก้ไขกฎหมาย และสิทธิครอบครอง
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการ-ทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนภายในสิบปีตาม ป.ที่ดิน มาตรา31 อันเป็นการห้ามโอนโดยเด็ดขาด การที่โจทก์ที่ 1 ขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 2 ไม่ทำให้โจทก์ที่ 2 ได้สิทธิครอบครองในที่ดินแต่อย่างใดนั้น เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้เป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วในศาล-ชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249
โจทก์ที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2530 แม้ตามสารบัญจดทะเบียนจะมีข้อความว่า ห้ามโอนภายในสิบปี ตามมาตรา 31 แห่ง ป.ที่ดินนับแต่วันที่ 15 มกราคม 2523 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นก็ตาม แต่ต่อมามี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.ที่ดิน (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2521 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 31 แห่ง ป.ที่ดิน ที่ใช้อยู่เดิมจากการห้ามโอนภายในสิบปีให้ยกเลิกเป็นการห้ามโอนมีกำหนดห้าปี ดังนั้น ข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 เดิมจึงไม่อาจนำมาใช้บังคับในคดีนี้ได้เพราะคดีนี้โจทก์ที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 เมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนภายในห้าปีแล้ว โจทก์ที่ 2 จึงได้สิทธิครอบครองที่พิพาท
โจทก์ที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2530 แม้ตามสารบัญจดทะเบียนจะมีข้อความว่า ห้ามโอนภายในสิบปี ตามมาตรา 31 แห่ง ป.ที่ดินนับแต่วันที่ 15 มกราคม 2523 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นก็ตาม แต่ต่อมามี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.ที่ดิน (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2521 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 31 แห่ง ป.ที่ดิน ที่ใช้อยู่เดิมจากการห้ามโอนภายในสิบปีให้ยกเลิกเป็นการห้ามโอนมีกำหนดห้าปี ดังนั้น ข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 เดิมจึงไม่อาจนำมาใช้บังคับในคดีนี้ได้เพราะคดีนี้โจทก์ที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 เมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนภายในห้าปีแล้ว โจทก์ที่ 2 จึงได้สิทธิครอบครองที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บทลงโทษกฎหมายเลือกตั้ง: การใช้บทกฎหมายที่มีผลต่อจำเลยมากที่สุด แม้กฎหมายจะมีการแก้ไข
บทกำหนดโทษของผู้ที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 35 นั้นปรากฏว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด คือมาตรา 84แตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิด คือมาตรา 91ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535มาตรา 22 ทั้งนี้เพราะตามมาตรา 84 กำหนดอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี แต่อัตราโทษตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ จำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี ดังนี้เมื่อเปรียบเทียบแล้วจะเห็นได้ว่า มาตรา 91ที่แก้ไขใหม่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ผู้กระทำความผิดมากกว่าตามมาตรา 84 เดิม ทั้งนี้เพราะตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ไม่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำไว้ จึงต้องใช้มาตรา 91ที่แก้ไขเป็นบทลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และผลของการแก้ไขกฎหมาย
การอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของ ศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การพิจารณาว่าคดีใดจะอุทธรณ์ได้หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นอุทธรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาศาลแขวงในปัญหาข้อเท็จจริงหลังแก้ไขกฎหมาย โดยคำพิพากษาลงโทษปรับต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
จำเลยยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2532 ซึ่งเป็นวันที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาให้ อันเป็นวันภายหลังจากที่พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532 ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2532ใช้บังคับแล้ว จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ ดังนั้นที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษปรับจำเลย600 บาท ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 720/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์-ฎีกาในคดีผิดสัญญาประกันตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่แก้ไขใหม่
ผู้ประกันยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2533 ภายหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532ใช้บังคับแล้ว สิทธิในการฎีกาของผู้ประกันต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะยื่นฎีกา ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติดังกล่าวอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่ผู้ประกันยื่นฎีกา บัญญัติให้ผู้ประกันมีอำนาจอุทธรณ์ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด กรณีของผู้ประกันเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยแล้วย่อมเป็นที่สุดศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาผิดสัญญาประกัน: ผลกระทบจากการแก้ไข ป.วิ.อ. มาตรา 119
ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันเต็มตามสัญญาประกันฐานผิดสัญญาศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผู้ประกันจะฎีกาไม่ได้ เพราะคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดย ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 ซึ่งผู้ประกันจะฎีกาได้หรือไม่เพียงใด ต้องพิเคราะห์ตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่ยื่นฎีกานั้นเอง.