คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แก้ไขข้อบกพร่อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2705/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องอำนาจฟ้องหลังมอบอำนาจ: การยื่นใบมอบอำนาจใหม่แก้ไขชื่อศาลที่ผิดพลาดได้
การที่โจทก์มอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีโดยระบุในหนังสือมอบอำนาจที่ยื่นพร้อมคำฟ้องว่าให้ฟ้องคดีต่อศาลแพ่งธนบุรี มิใช่ศาลแพ่งที่โจทก์ได้ยื่นคำฟ้องนั้น เป็นการระบุชื่อศาลที่จะฟ้องร้องผิดพลาด อันเป็นข้อบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของผู้รับมอบอำนาจ แต่ต่อมาก่อนส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย โจทก์ได้ยื่นใบมอบอำนาจใหม่ต่อศาลระบุว่ามอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่ง ถือได้ว่าโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของผู้รับมอบอำนาจดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2705/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องอำนาจฟ้องจากหนังสือมอบอำนาจที่ระบุศาลผิดพลาด โดยการยื่นหนังสือมอบอำนาจใหม่
โจทก์มอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีต่อศาลแพ่งโดยระบุในหนังสือมอบอำนาจผิดพลาดไปว่าให้ฟ้องต่อศาลแพ่งธนบุรี การระบุชื่อศาลที่จะฟ้องร้องผิดพลาดเป็นข้อบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของผู้รับมอบอำนาจแต่ต่อมาก่อนส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโจทก์ได้ยื่นใบมอบอำนาจใหม่ระบุว่า มอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่ง ถือได้ว่าโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของผู้รับมอบอำนาจดังกล่าวแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบเนื่องจากทนายไม่มีอำนาจ และไม่แก้ไขข้อบกพร่องตามคำสั่งศาล
ฎีกาของจำเลยมี อ.ลงชื่อเป็นผู้ยื่นฎีกาในฐานะทนายของจำเลยโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แต่งตั้งให้ อ.เป็นทนายของตน และเมื่อศาลฎีกาได้ส่งสำนวนกลับคืนมายังศาลชั้นต้นเพื่อสั่งให้ อ.จัดการแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องทนายให้ถูกต้องภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดจำเลยทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วหาได้จัดการแก้ไขแต่อย่างใดไม่ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความสามารถในการฟ้องคดี และผลต่อการยกฟ้อง
การที่โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเป็นข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสองซึ่งศาลมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะให้แก้ไขข้อบกพร่องก่อนหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความสามารถในการฟ้องคดี ก่อนพิพากษายกฟ้อง
การที่โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเป็นข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสอง ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะให้แก้ไขข้อบกพร่องก่อนหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3795/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแก้ไขข้อบกพร่องใบมอบอำนาจเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ข้อบังคับบริษัทโจทก์ระบุให้กรรมการสองคนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทจึงจะผูกพันบริษัทได้ การที่โจทก์มอบอำนาจให้ศ. ฟ้องและดำเนินคดีแทน โดยมีกรรมการ 2 คนลงลายมือชื่อในใบมอบอำนาจ แต่ไม่ได้ประทับตราสำคัญของบริษัทย่อมทำให้ใบมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ แต่ก่อนพิพากษาศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับใบมอบอำนาจให้ฟ้องและดำเนินคดีแทนได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: ผู้เช่าซื้อมีสิทธิเลิกสัญญาเมื่อผู้ให้เช่าซื้อไม่แก้ไขข้อบกพร่องของทรัพย์สิน และสิทธิในการขอคืนเงินค่าเช่าซื้อ
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573 จะเป็นบทบัญญัติให้สิทธิผู้เช่าซื้อเลิกสัญญาในกรณีที่ไม่มีการผิดนัดสัญญา แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อผิดสัญญาเพราะไม่จัดการแก้ไขให้ทรัพย์ที่ให้เช่าซื้ออยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ จำเลยก็มีสิทธิเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ได้ เมื่อจำเลยผู้เช่าซื้อใช้สิทธิเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 แล้ว การชำระหนี้อันเกิดแต่การเลิกสัญญามาตรา 392 บัญญัติให้เป็นไปตามมาตรา 369 และคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจึงต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามมาตรา 391 โจทก์ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่ได้รับคืนให้แก่จำเลยแต่เงินค่าเช่าซื้อมิใช่ราคาทรัพย์อย่างเดียว หากแต่เป็นค่าเช่ารวมอยู่ด้วย ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับค่าเช่าในระหว่างที่จำเลยครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์ที่เช่าซื้ออยู่ จึงต้องหักค่าเช่าออกจากจำนวนค่าเช่าซื้อที่ต้องคืนจำเลยให้โจทก์เสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีจัดการสินสมรส: ศาลแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความสามารถของโจทก์ได้ แม้ไม่มีความยินยอมจากสามีตั้งแต่แรก
แม้การฟ้องคดีเรื่องขับไล่ออกจากที่ดินจะถือเป็นเรื่องจัดการสินสมรสตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477และโจทก์เป็นหญิงมีสามี ยื่นฟ้องโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี ก็ไม่มีผลถึงกับจะต้องยกฟ้อง เพราะเป็นเรื่องที่ศาลมีอำนาจสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 การที่โจทก์ยื่นหนังสือยินยอมอนุญาตให้ฟ้องคดีของสามี และศาลชั้นต้นสั่งรับไว้ เป็นเรื่องศาลให้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถ และไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องระบุอ้างหนังสือดังกล่าวไว้ในบัญชีพยานตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 อีก ศาลอุทธรณ์รับฟังเอกสารดังกล่าวและวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอุทธรณ์ของทนายความ และการแก้ไขข้อบกพร่องของอุทธรณ์ที่ไม่มีอำนาจ
ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์และคำร้องขอทุเลาการบังคับขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ โดยทนายความที่ลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์ไม่ได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจใช้สิทธิอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมสั่งให้ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยทั้งสองแก้ไขข้อบกพร่องเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18, 62
การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยโดยผู้ลงชื่อในฟ้องอุทธรณ์ไม่มีอำนาจนั้นเป็นเรื่องผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะสั่งแก้ไขได้ตามที่เห็นสมควร เมื่อได้มีการแก้ไขตามคำสั่งศาลอุทธรณ์แล้ว อุทธรณ์นั้นย่อมสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการอุทธรณ์: การแก้ไขข้อบกพร่องและผลต่อความสมบูรณ์ของอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์และคำร้องขอทุเลาการบังคับขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ โดยทนายความที่ลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์ไม่ได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจใช้สิทธิอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมสั่งให้ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยทั้งสองแก้ไขข้อบกพร่องเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18, 62
การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยโดยผู้ลงชื่อในฟ้องอุทธรณ์ไม่มีอำนาจนั้นเป็นเรื่องผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะสั่งแก้ไขได้ตามที่เห็นสมควร เมื่อได้มีการแก้ไขตามคำสั่งศาลอุทธรณ์แล้ว อุทธรณ์นั้นย่อม สมบูรณ์
of 4