พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3732/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้หลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์และการสิ้นสุดคดีล้มละลาย ศาลอนุญาตได้หากมีเหตุพลั้งเผลอ
การยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกันที่ไม่แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกัน โดยอ้างว่าเกิดขึ้นเพราะความพลั้งเผลอตามความในพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 97 ซึ่งศาลอาจอนุญาตให้แก้ไขโดยกำหนดให้คืนส่วนแบ่งหรือกำหนดการอย่างอื่นตามที่เห็นสมควรนั้น คำว่าให้คนส่วนแบ่ง แสดงว่าผู้ขอได้รับชำระหนี้ไปแล้ว จึงต้องมีการคืน และการได้รับชำระหนี้ แสดงว่าศาลได้สั่งอนุญาตให้รับชำระหนี้แล้ว ดังนั้น การขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้ย่อมทำได้จนกว่าจะได้จัดการแบ่งทรัพย์สินครั้งที่สุด แม้คำสั่งให้รับชำระหนี้จะถึงที่สุดไปแล้ว หรือเจ้าหนี้ผู้นั้นจะได้เคยยื่นคำขอแก้ไขมาแล้วและได้ขอถอนคำร้องไปก็ตาม
ความพลั้งเผลออันเกิดจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ของผู้ร้อง และเกิดขึ้นในระหว่างมีการสับเปลี่ยนหน่วยงานของผู้ร้อง โดยไม่มีเหตุผลที่ผู้ร้องจะต้องปกปิดเพื่อเอาเปรียบเจ้าหนี้อื่น จึงไม่เหตุผลสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้แก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้ได้
ความพลั้งเผลออันเกิดจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ของผู้ร้อง และเกิดขึ้นในระหว่างมีการสับเปลี่ยนหน่วยงานของผู้ร้อง โดยไม่มีเหตุผลที่ผู้ร้องจะต้องปกปิดเพื่อเอาเปรียบเจ้าหนี้อื่น จึงไม่เหตุผลสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้แก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3491/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำขอรับชำระหนี้เจ้าหนี้มีประกัน แม้คำสั่งถึงที่สุดได้ หากเกิดจากความพลั้งเผลอ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 97
พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 97 บัญญัติว่า แม้เจ้าหนี้มีประกันขอรับชำระหนี้โดยไม่แจ้งว่าเป็น เจ้าหนี้มีประกัน ศาลก็อาจอนุญาตให้แก้ไขข้อความในรายการขอรับชำระหนี้ได้ หากเจ้าหนี้แสดงต่อศาลได้ว่าการละเว้นนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ และตามมาตรา108 นั้นถ้าปรากฏว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตคำขอรับชำระหนี้ โดยผิดหลงว่าลูกหนี้เป็นหนี้ตามจำนวนที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ ความจริงลูกหนี้มิได้เป็นหนี้ หรือเป็นหนี้ไม่ถึงจำนวนที่อนุญาตให้รับชำระหนี้ ศาลอาจมีคำสั่งใหม่ให้ ยกคำขอ หรือลดจำนวนหนี้ที่อนุญาตไปแล้วได้ ทั้งตามมาตรา108 นี้ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งใหม่ได้เสมอ แม้คำสั่งเรื่องคำขอรับชำระหนี้จะถึงที่สุดแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพราะกฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ให้ได้รับชำระหนี้หรือได้รับส่วนแบ่งอย่างเป็นธรรม ฉะนั้นโดยนัยเดียวกันศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้แก้ไขข้อความในรายการขอรับชำระหนี้ได้แม้คำสั่งศาลเรื่องคำขอรับชำระหนี้จะถึงที่สุดแล้วก็ตาม หากผู้ขอรับชำระหนี้แสดงได้ว่า การละเว้นไม่แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันเกิดขึ้นโดยความพลั้งเผลอ
ความในตอนท้ายของมาตรา 97 ที่ว่า "โดยกำหนดให้คืนส่วนแบ่ง หรือกำหนดอย่างอื่นตามที่เห็นสมควร" นั้นแสดงว่าแม้จะมีการขายและแบ่งทรัพย์สินไปบ้างแล้วแต่ตราบใดที่ยังมิได้มีการแบ่งครั้งที่สุดตาม มาตรา 131 ศาลย่อมมีอำนาจที่จะอนุญาตให้แก้ไขข้อความในรายการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 97ได้เพราะฉะนั้นแม้คำสั่งศาลเรื่องขอรับชำระหนี้จะถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องก็อาจจะร้องขอแก้ไขข้อความในคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 97 ได้
ความในตอนท้ายของมาตรา 97 ที่ว่า "โดยกำหนดให้คืนส่วนแบ่ง หรือกำหนดอย่างอื่นตามที่เห็นสมควร" นั้นแสดงว่าแม้จะมีการขายและแบ่งทรัพย์สินไปบ้างแล้วแต่ตราบใดที่ยังมิได้มีการแบ่งครั้งที่สุดตาม มาตรา 131 ศาลย่อมมีอำนาจที่จะอนุญาตให้แก้ไขข้อความในรายการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 97ได้เพราะฉะนั้นแม้คำสั่งศาลเรื่องขอรับชำระหนี้จะถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องก็อาจจะร้องขอแก้ไขข้อความในคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 97 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3491/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำขอรับชำระหนี้เจ้าหนี้มีประกัน แม้คำสั่งถึงที่สุดได้ หากเกิดจากความพลั้งเผลอ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 97บัญญัติว่า แม้เจ้าหนี้มีประกันขอรับชำระหนี้โดยไม่แจ้งว่าเป็น เจ้าหนี้มีประกัน ศาลก็อาจอนุญาตให้แก้ไขข้อความใน รายการขอรับชำระหนี้ได้ หากเจ้าหนี้แสดงต่อศาลได้ว่าการ ละเว้นนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ และตามมาตรา108 นั้น ถ้าปรากฏว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตคำขอรับชำระหนี้ โดยผิดหลงว่า ลูกหนี้เป็นหนี้ตามจำนวนที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ ความจริงลูกหนี้มิได้เป็นหนี้หรือเป็นหนี้ไม่ถึงจำนวนที่อนุญาตให้รับชำระหนี้ ศาลอาจมีคำสั่งใหม่ให้ ยกคำขอหรือลดจำนวนหนี้ที่อนุญาตไปแล้วได้ ทั้งตามมาตรา108 นี้ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งใหม่ได้เสมอแม้คำสั่ง เรื่องคำขอรับชำระหนี้จะถึงที่สุดแล้วก็ตามทั้งนี้เพราะกฎหมายล้มละลาย เป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ที่ จะคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ให้ ได้รับชำระหนี้หรือได้รับส่วนแบ่งอย่างเป็นธรรมฉะนั้นโดยนัยเดียวกัน ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้แก้ไขข้อความในรายการขอรับชำระหนี้ได้แม้คำสั่งศาลเรื่องคำขอรับชำระหนี้จะถึงที่สุดแล้วก็ตามหากผู้ขอรับชำระหนี้ แสดงได้ว่าการละเว้นไม่แจ้งว่าเป็น เจ้าหนี้มีประกันเกิดขึ้นโดยความพลั้งเผลอ ความในตอนท้ายของมาตรา 97 ที่ว่า 'โดยกำหนดให้คืนส่วนแบ่ง หรือกำหนดอย่างอื่นตามที่เห็นสมควร' นั้นแสดงว่าแม้จะมีการขายและ แบ่งทรัพย์สินไปบ้างแล้วแต่ ตราบใดที่ยังมิได้มีการแบ่งครั้งที่สุดตาม มาตรา 131 ศาลย่อมมีอำนาจที่จะอนุญาตให้แก้ไขข้อความในรายการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา97ได้เพราะฉะนั้นแม้คำสั่งศาล เรื่องขอรับชำระหนี้จะถึงที่สุดแล้วผู้ร้องก็อาจจะร้องขอแก้ไขข้อความ ในคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 97 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอท้ายฟ้องเพิ่มเติมทุนทรัพย์ต้องไม่เป็นการตั้งทุนทรัพย์ใหม่นอกประเด็นฟ้องเดิม
ที่พิพาทตามคำฟ้องเดิมซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยบุกรุกทำรั้วล้ำเข้ามาในที่ดินโจทก์ที่ 1 มีราคาเพียง 1,000บาทเท่านั้น แต่เมื่อทำแผนที่กลางจำเลยนำชี้นอกเหนือออกไปจากที่พิพาทตามคำฟ้องเดิมคิดเป็นราคา 4,000 บาท และระบุไว้ในแผนที่กลางว่าที่พิพาทตามคำฟ้องเดิมกับที่จำเลยชี้นอกเหนือออกไปนั้น เป็นที่พิพาทในคดีทั้งหมด ดังนี้ย่อมไม่เป็นการถูกต้อง เพราะเป็นการนอกประเด็นในคำฟ้องและข้อต่อสู้ ฉะนั้น การที่โจทก์ขอแก้คำขอท้ายฟ้องเพิ่มเติมทุนทรัพย์จาก 1,000 บาทเป็น 5,000 บาท และขอเสียค่าขึ้นศาลเพิ่ม จึงเป็นการตั้งทุนทรัพย์ขึ้นใหม่ อันเป็นทุนทรัพย์นอกที่พิพาทและนอกคำฟ้อง ไม่ใช่เป็นการขอเพิ่มราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179(1) การแก้ไขคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177-1178/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอท้ายฟ้องและการฎีกา ศาลฎีกาไม่สามารถเพิ่มค่าเสียหายจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้หากไม่ได้ฎีกา
เดิม คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดเป็นเงิน 750 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ. ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้เพิ่มเติมฟ้องเฉพาะคำขอข้อนี้ว่า ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดเป็นเงินปีละ 750 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะออกไปจากที่ดินของโจทก์. ศาลชั้นต้นอนุญาตแล้ว.แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์คนละ750 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ. โจทก์มิได้ฎีกา. เป็นแต่ยื่นคำแถลงการณ์ว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้ไม่ชัดเจนขอให้พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ปีละ 750 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะออกไปจากที่ดินของโจทก์. ดังนี้ การที่จะพิพากษาให้เป็นไปตามที่โจทก์กล่าวในคำแถลงการณ์ จะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเพิ่มขึ้นจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์. เป็นการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการแก้ไขให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น. แม้ศาลอุทธรณ์จะไม่ได้พิพากษาให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอแก้ไขเพิ่มเติม. หากโจทก์ไม่พอใจ. ก็ชอบที่จะฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์. แต่เมื่อโจทก์ไม่ฎีกา. ศาลฎีกาย่อมจะแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเพิ่มขึ้นไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2484
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอท้ายฟ้องหลังศาลพิพากษาแล้ว เป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย
คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้นับโทษจำเลยต่อจากคดีแดงของศาลจังหวัดราชบุรี ที่ 1637/2484 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นับโทษตามนั้น ต่อมาโจทก์ขอให้แก้เรื่องนับโทษต่อเป็นให้นับต่อจากคดีแดงที่ 1637/2483 เพื่อให้ตรงกับความจริงเช่นนี้ถือว่าศาลได้พิพากษาตรงตามคำขอของโจทก์แล้ว ไม่ใช่เป็นการเขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด จึงแก้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกัน กรณียื่นโดยพลั้งเผลอ
ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยระบุในคำขอรับชำระหนี้ว่าเป็นหนี้ตามคำพิพากษา ส่วนบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินและทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันระบุว่า เป็นหนี้ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดนนทบุรี มีหลักฐานประกอบหนี้เป็นต้นฉบับหรือสำเนาภาพถ่ายคำพิพากษาของศาลจังหวัดนนทบุรี ซึ่งจะนำส่งต้นฉบับหลักฐานในชั้นสอบสวน ในคำพิพากษาคดีดังกล่าวศาลพิพากษาว่า หากจำเลยไม่ชำระหรือชำระไม่ครบให้ยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์ หากได้เงินจำนวนสุทธิไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ ข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ประกันจึงปรากฏในคำพิพากษาของศาลจังหวัดนนทบุรีแล้ว การที่ผู้ร้องมิได้ระบุหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เป็นหลักฐานประกอบไว้ในบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินและทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันจะฟังว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันเสียทีเดียวหาได้ไม่ ทั้งส. ผู้รับมอบอำนาจผู้ร้องให้ถ้อยคำไว้ว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้มีประกัน แต่พลั้งเผลอยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกัน ผู้ร้องมิได้มีเจตนาขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกัน เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้นำสืบพยานหลักฐานให้เห็นเป็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าการที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้โดยไม่แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ ผู้ร้องชอบที่จะขออนุญาตแก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 97
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1499/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันแจ้งตกหล่น การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้ที่เกินกำหนดเวลา มีผลผูกพันตามกฎหมายล้มละลาย
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องว่า เหตุที่ผู้คัดค้านมิได้ระบุหลักประกันเหนือที่ดินของลูกหนี้ในคำขอรับชำระหนี้ที่ผู้คัดค้านได้ยื่นไว้ด้วยเนื่องจากพลั้งเผลอ และขออนุญาตเพิ่มเติมหลักประกันในคำขอรับชำระหนี้ มิใช่เรื่องการเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ในคำขอรับชำระหนี้ แต่ก็เป็นการกล่าวอ้างว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้มีประกันด้วยต้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 97 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องโดยเห็นว่าการละเว้นนั้นมิได้เกิดจากการพลั้งเผลอ คดีถึงที่สุดย่อมมีผลผูกพันผู้คัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายฯ พ.ศ.2522 มาตรา 14 และมีผลให้ผู้คัดค้านจะต้องคืนหลักประกันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องและสิทธิเหนือทรัพย์นั้นเป็นอันระงับตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 97 ผู้คัดค้านย่อมไม่อาจยกข้อกล่าวอ้างหรือนำสืบในภายหลังอันเกี่ยวกับประเด็นกันนั้นอีกได้ การที่ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านคัดค้านคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ผู้คัดค้านคืนหลักประกันและเพิกถอนรายการจดทะเบียนจำนองหลักประกันว่า ผู้คัดค้านมิได้ปกปิดหลักประกันก็ดี ผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้มีประกันแต่มิได้แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันเนื่องจากความพลั้งเผลอก็ดี ล้วนเป็นข้ออ้างในประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตามคำร้องของผู้คัดค้านมาแล้ว จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายฯ พ.ศ.2542 มาตรา 14 อีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2867/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันได้ หากมีเหตุผลอันสมควรและไม่ขัดต่อกฎหมาย
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้มีประกันซึ่งปรากฏในคำพิพากษาตามยอมและสัญญาประนีประนอมยอมความของศาลแพ่งกรุงเทพใต้แล้ว การที่ผู้ร้องมิได้ระบุโฉนดที่ดินเลขที่ 18874 เป็นหลักฐานประกอบไว้ในบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินและทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน ก็จะฟังว่า ผู้ร้องไม่ประสงค์ที่จะขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันเสียทีเดียวหาได้ไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องขอรับชำระหนี้โดยไม่แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอและ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 97 มิได้กำหนดระยะเวลาในการขอแก้ไขข้อความในรายการคำขอรับชำระหนี้ไว้ ผู้ร้องจึงชอบที่จะขออนุญาตแก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้จากการขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นการขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันได้