คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แก้ไขคำสั่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2342-2343/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์ในคดีประนีประนอมยอมความ ศาลฎีกาแก้ไขคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลเกินมาให้ถูกต้องตามอัตราขั้นต่ำ
โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นเรื่องตีความข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเรียกเก็บค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในตาราง1(2)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งคือ200บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2342-2343/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์ในคดีประนีประนอมยอมความ ศาลฎีกาแก้ไขคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนเกินตามอัตราขั้นต่ำ
โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นเรื่องตีความข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเรียกเก็บค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในตาราง1(2)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งคือ200บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2164/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ระหว่างฎีกา และอำนาจศาลชั้นต้นในการแก้ไขคำสั่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านที่ 1 ส่งเอกสารต่าง ๆเกี่ยวกับทรัพย์มรดกไว้ที่ศาล ผู้คัดค้านที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผู้คัดค้านที่ 1 ฎีกา คดียังไม่ถึงที่สุด คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คงมีผลผูกพันผู้คัดค้านที่ 1 ที่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาศาลฎีกาเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา145 วรรคแรก ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยอนุญาตให้ผู้คัดค้านที่ 1 ส่งสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม – การยึดทรัพย์ขัดคำสั่งศาล – อำนาจแก้ไขคำสั่ง – การบังคับคดี
ฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่ประการใดเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งคำร้องของจำเลยที่ขอให้ถอนการยึดทรัพย์โดยวินิจฉัยว่าการยึดทรัพย์จำเลยกระทำ ก่อนเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบคำสั่งศาลที่ให้งดการบังคับคดีไว้ระหว่างรอคำสั่งศาลอุทธรณ์ เป็นการยึดทรัพย์ที่ชอบด้วยกฎหมายไม่อาจเพิกถอนการยึดทรัพย์ได้ ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาแต่เป็นคำสั่งโดยทั่วไป ซึ่งคู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้เพราะไม่มีบทกฎหมายจำกัดห้ามไว้
ในวันที่ศาลชั้นต้นแจ้งให้ศาลซึ่งได้รับมอบหมายให้บังคับคดีแทนให้สั่งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยตามคำแถลงของผู้แทนโจทก์ จำเลยก็ได้ยื่นคำร้องขอให้งดหรือยกเลิกการออกหมายบังคับคดีเพราะได้ยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีต่อศาลอุทธรณ์ไว้แล้ว และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในวันรุ่งขึ้นว่าให้งดการบังคับคดีไว้ระหว่างรอคำสั่งศาลอุทธรณ์ เรื่องทุเลาการบังคับคดี คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดการบังคับคดีเป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292 (2) และมีความหมายเพียงว่าเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบคำสั่งดังกล่าวก็ให้งดการบังคับคดีตามคำสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นแจ้งคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกรมบังคับคดีงดการบังคับคดีแล้ว คำสั่งดังกล่าวย่อมเกิดผลแล้ว การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลซึ่งดำเนินการบังคับคดีแทนทำการยึดทรัพย์ในภายหลัง แม้จะอ้างว่าเพิ่งทราบคำสั่งให้งดการบังคับคดี ก็เป็นการยึดทรัพย์ที่ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งให้งดการบังคับคดีของศาลชั้นต้น ศาลย่อมมีอำนาจยกเลิกเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1997/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งคืนค่าธรรมเนียมเมื่อโจทก์ขาดนัด – ศาลมีอำนาจแก้ไขคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณาเป็นการสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201ประกอบด้วยมาตรา 132 ซึ่งมิได้เป็นบทบังคับให้ต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมเช่นบทบัญญัติในมาตรา 151 การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้คืนค่าฤชาธรรมเนียมตามระเบียบ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาศาลชั้นต้นย่อมใช้อำนาจตามมาตรา 27 เพิกถอนคำสั่งเดิมและสั่งใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตจากการทำงาน: อำนาจของอธิบดีกรมแรงงานในการแก้ไขคำสั่ง
ลูกจ้างไม่มีโรคประจำตัวมาก่อน ได้ออกปฏิบัติงานตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกา โดยทำการล้างหินอัดหินตามทางรถไฟซึ่งเป็นที่กลางแจ้ง ต้องก้ม ๆ เงย ๆ พอถึงเวลา 10.30 นาฬิกา อากาศร้อนอบอ้าว เกิดอาการหน้ามืดเป็นลมถึงแก่ความตาย ดังนี้ เป็นการตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างโดยตรง การที่จำเลยซึ่งเป็นอธิบดีกรมแรงงานสั่งให้นายจ้าง จ่ายค่าทดแทนเพิ่มขึ้นจากจำนวนที่พนักงานเงินทดแทนสั่งโดยที่ นายจ้างแต่ฝ่ายเดียวอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเงินทดแทนนั้นเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร มิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณา ของศาล จึงนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคแรก ไปใช้บังคับหรือเทียบเคียงมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยเห็นว่าสิ่งที่พนักงานเงินทดแทนสั่งไปผิดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ก็ย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งฟ้องของอธิบดีกรมอัยการ แม้ยังมิได้ผ่านความเห็นพนักงานสอบสวน และการแก้ไขคำสั่งไม่ฟ้อง
อธิบดีกรมอัยการมีอำนาจดำเนินคดีได้ทุกศาลตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการฯ ฉะนั้น อธิบดีกรมอัยการจึงมีอำนาจสั่งให้พนักงานอัยการจังหวัดส่งสำนวนไปให้พิจารณาได้โดยไม่จำต้องเป็นผู้รับสำนวนการสอบสวนและความเห็นจากพนักงานสอบสวนโดยตรงตามมาตรา 143 และ 145 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คดีที่พนักงานอัยการจังหวัดได้ทำคำสั่งไม่ฟ้องโดยยังไม่ได้ส่งสำนวนและคำสั่งเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด ถือได้ว่า สำนวนการสอบสวนยังอยู่ในอำนาจของพนักงานอัยการ ย่อมแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งได้ อธิบดีกรมอัยการจึงมีอำนาจออกคำสั่งฟ้องผู้ต้องหานั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2494-2495/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอแก้ไขคำสั่งศาล: ผู้ไม่เป็นคู่ความในคดี ไม่มีสิทธิขอแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย
ช. กับพวกร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าการเลือกตั้งได้กระทำไปโดยชอบแล้ว เว้นแต่ผู้สมัครซึ่งได้รับเลือกตั้งอันดับที่ 18 นั้นได้รับเลือกตั้งโดยมิชอบ คดีถึงที่สุด อ. ยื่นคำร้องว่าตนเองเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งด้วย ขอให้แก้ไขคำสั่งที่ผิดพลาดเล็กน้อยในคดีนี้ และสั่งเลื่อนอันดับของ อ.ผู้ร้องเป็นอันดับที่18ดังนี้เมื่ออ. ผู้ร้องมิได้เป็นผู้ยื่นคำร้องคัดค้านหรือถูกคัดค้านการเลือกตั้ง จึงมิใช่คู่ความในคดี ไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้แก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำสั่งของศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแก้ไขคำสั่งรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย เมื่อข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงตามคำพิพากษาฎีกา
บทบัญญัติในมาตรา 108 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 นั้นหมายความว่าเมื่อศาลสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เป็นจำนวนเท่าใดแล้ว ต่อมาปรากฏว่าศาลสั่งไปโดยหลงผิดเข้าใจว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้จริงตามจำนวนเงินที่สั่งอนุญาต แต่ความจริงลูกหนี้มิได้เป็นหนี้หรือลูกหนี้เป็นหนี้น้อยกว่านั้นเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ศาลมีอำนาจยกคำขอรับชำระหนี้หรือลดจำนวนหนี้ที่ได้สั่งอนุญาตไปแล้วได้
ศาลสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 130(6) โดยถือว่าหนี้ดังกล่าวถึงกำหนดชำระภายในหกเดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นหนี้บุริมสิทธิต่อมาได้มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยว่าหนี้ทำนองเดียวกันนี้ถือว่าถึงกำหนดชำระเกินกว่าหกเดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วและเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8) ซึ่งมิใช่หนี้บุริมสิทธินั้น คำสั่งของศาลที่สั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(6) ไปแล้วนั้น ไม่ใช่สั่งไปโดยผิดหลงตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 108

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแก้ไขคำสั่งส่งตัวจำเลยเข้าสถานฝึกอบรมเมื่อมีเหตุเปลี่ยนแปลงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74
ศาลพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยซึ่งมีอายุ 15 ปีไปสถานฝึกและอบรมจนกว่าจะมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ต่อมาบิดาจำเลยร้องขอรับจำเลยไปดูแลเอง โดยยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆที่ศาลจะกำหนดถือได้ว่าเป็นกรณีที่พฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งเดิมได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 วรรคท้าย
of 3