คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แก้ไขคำให้การ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8920/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังศาลตัดสินแล้ว และประเด็นอายุความ ต้องไม่ขัดกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และการพิจารณาหนี้ตามสัญญา
เดิมศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุคดีโจทก์ขาดอายุความ แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำให้การจำเลยมิได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ จึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นข้ออื่นแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ประเด็นเรื่องอายุความจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ดังนั้น ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยเฉพาะประเด็นอื่นที่ยังมิได้ดำเนินการเท่านั้น จำเลยไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพื่อให้เกิดประเด็นเรื่องอายุความขึ้นอีก เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอายุความแล้วหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น ย่อมไม่ชอบด้วยบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว
ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับคำสั่งศาลที่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิแก้ไขคำให้การในคดีแรงงาน: การพิจารณาตาม ป.วิ.พ. และ พ.ร.บ.แรงงาน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำให้การไว้ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยขึ้นใหม่แทนวันนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์แต่เดิม เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่จำต้องนำเรื่องการชี้สองสถานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 183 มาใช้บังคับ ถือได้ว่าคดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถาน เมื่อคดีไม่มีการชี้สองสถานและมีการสืบพยานนัดแรก (พยานจำเลย) เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 การยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยฉบับลงวันที่ 12 มีนาคม 2545 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ซึ่งจำเลยมีสิทธิที่จะกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5866/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ชอบ และการแก้ไขคำให้การหลังสืบพยาน รวมถึงประเภทสัญญาเช่า
ศาลมีคำสั่งให้ ศ. เป็นคู่ความแทนจำเลย ศ. ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวอ้างว่าส่งหมายเรียกให้แก่ตนไม่ชอบ ศาลมีคำสั่งยกคำร้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาและมิได้เป็นคำสั่งที่ไม่รับหรือคืนคำคู่ความตามมาตรา 18 เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ตามมาตรา 226 (2) จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์
การขอแก้ไขคำให้การให้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น หรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหลังจากโจทก์สืบพยานไปแล้ว 1 ปาก จำเลยจึงไม่มีสิทธิกระทำได้โดยไม่ต้องพิเคราะห์ว่าโจทก์จะเสียเปรียบหรือไม่
สัญญาเช่าระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่าจะเป็นสัญญาธรรมดาหรือสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ก็เป็นเรื่องระหว่างคู่สัญญา มิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4399/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังศาลสั่งงดชี้สองสถาน และประเด็นฟ้องซ้อนที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนอง การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การจากเดิมที่ให้การไว้ว่า จำเลยไม่เคยทำสัญญาค้ำประกัน เป็นว่าจำเลยได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ที่มีอยู่ในขณะทำสัญญาและมีการชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ที่มีอยู่ในขณะทำสัญญาและมีการชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ในคดีนี้ซึ่งเป็นหนี้ในอนาคต จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด และจำเลยได้ทำสัญญาจำนองกับโจทก์ตามสัญญาจำนองทั้งสี่ฉบับจริง แต่เป็นการจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้อื่นที่ได้ชำระไปแล้ว ไม่ใช่หนี้ในคดีนี้ การฟ้องคดีนี้เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทำให้จำเลยต้องรับผิดมากกว่าเงินที่ได้จดทะเบียนไว้เป็นจำนวนถึง 72,400,000 บาท นั้น เป็นการขอแก้ไขคำให้การโดยยกข้อเท็จริงขึ้นเป็นข้อต่อสู้ใหม่และเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อเถียง เพื่อหักล้างข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ เมื่อปรากฏว่าศาลสั่งให้งดชี้สองสถาน และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีเหตุสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น และไม่ใช่การขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย จำเลยจึงต้องยื่นคำร้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 180
แต่ในส่วนที่จำเลยแก้ไขคำให้การว่า โจทก์ได้ฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองดังกล่าว ต่อศาลแพ่งไว้แล้ว การที่โจทก์นำสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองดังกล่าวต่อศาลแพ่งไว้แล้วการที่โจทก์นำสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้อนนั้น เป็นการขอแก้ไขเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์อันเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ชอบที่จำเลยจะขอแก้ไขได้ก่อนมี คำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4399/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยาน: ศาลพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายและข้อยกเว้นเรื่องความสงบเรียบร้อย
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเป็นว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ที่มีอยู่ในขณะทำสัญญาและมีการชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ในคดีนี้ซึ่งเป็นหนี้ในอนาคต และจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจำนองกับโจทก์ตามสัญญาจำนองสี่ฉบับจริง แต่เป็นการจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้อื่นที่ได้ชำระไปแล้วไม่ใช่หนี้ในคดีนี้ เป็นการขอแก้ไขคำให้การโดยยกข้อเท็จจริงขึ้นเป็นข้อต่อสู้ใหม่และเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อเถียงเพื่อหักล้างข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางสั่งให้งดชี้สองสถาน จำเลยที่ 2 จึงต้องยื่นคำร้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องภายหลังจากที่โจทก์สืบพยานไปบ้างแล้ว ย่อมเป็นการล่วงเลยกำหนดเวลาที่จะขอแก้ไขคำให้การได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 จึงอนุญาตให้จำเลยที่ 2 แก้ไขคำให้การไม่ได้
จำเลยที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การว่า โจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่อศาลแพ่ง โจทก์นำสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองมาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้อน เป็นการขอแก้ไขเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์อันเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนชอบที่จำเลยที่ 2จะขอแก้ไขได้ แม้จะเป็นการยื่นคำร้องภายหลังวันสืบพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3579/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การพ้นกำหนด ไม่กระทบความสมบูรณ์สัญญาเช่าซื้อ และไม่เป็นประเด็นความสงบเรียบร้อย
โจทก์จะเป็นเจ้าของรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อในขณะทำสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงมิได้กระทบถึงความสมบูรณ์ของสัญญาเช่าซื้อ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่จจำเลยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3579/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การนอกกำหนดเวลาและประเด็นความสมบูรณ์ของสัญญาเช่าซื้อ
ในขณะที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อและจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์นั้น โจทก์จะเป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทหรือไม่ เป็นเพียงข้อเท็จจริง มิได้มีผลกระทบถึงความสมบูรณ์ของสัญญาเช่าซื้อ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในปัญหาดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การที่ขัดแย้งกันเอง และผลกระทบต่อประเด็นข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177
แม้การแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ 1 จะเป็นการยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่กล่าวแก้ข้อหาของโจทก์ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับคำให้การเดิมหรือไม่ก็ย่อมกระทำได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 (3) แต่เนื่องจากคำให้การของจำเลยที่ 1 กับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ 1 ขัดแย้งกันเอง กลายเป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้งอันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ศาลฎีกาจึงไม่อาจอนุญาตให้จำเลยที่ 1 แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การตามคำร้องดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การที่ขัดแย้งกับคำให้การเดิม ศาลไม่อนุญาต เพราะทำให้ขาดประเด็นพิจารณา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179(3) มิได้บัญญัติว่า ข้อความที่ขอแก้ไขคำให้การจำเลยใหม่จะต้องเกี่ยวกับคำให้การเดิมหรือข้ออ้างเดิมของจำเลยคงบัญญัติห้ามเฉพาะเรื่องคำฟ้องเท่านั้น ฉะนั้นแม้การแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ 1 จะเป็นการยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่กล่าวแก้ข้อหาของโจทก์ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับคำให้การเดิมหรือไม่ก็ย่อมกระทำได้
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องอันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขภายหลังจากวันสืบพยานโจทก์ได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180
จำเลยที่ 1 ให้การไว้ว่า โจทก์ได้ชำระเบี้ยประกันภัยโดยสั่งจ่ายเช็คและจำเลยที่ 2ได้นำเช็คไปเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ได้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่โจทก์แล้วก็ต้องถือว่าโจทก์ได้ชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วคำให้การดังกล่าวจำเลยที่ 1 รับว่า โจทก์เป็นผู้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์กับจำเลยที่ 2และเงินที่จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยเป็นเงินของโจทก์ ส่วนคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ 1 ขอเพิ่มเติมว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์ในขณะที่นำมาทำสัญญาประกันภัยไว้แก่จำเลยที่ 2 เพราะโจทก์ได้โอนและส่งมอบการครอบครองรถยนต์ให้เป็นทรัพย์สินส่วนกลางของ ท. แล้ว โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์กรมธรรม์ประกันภัยจึงไม่มีผลผูกพันคู่กรณีเงินค่าเบี้ยประกันภัยไม่ใช่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนั้น คำให้การกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ 1จึงขัดแย้งกันเอง หากศาลอนุญาตแล้วย่อมจะทำให้กลายเป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้ง จึงไม่อาจอนุญาตให้จำเลยที่ 1 แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1147/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การต้องยื่นตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เว้นแต่มีเหตุสมควร หรือเป็นเรื่องความสงบเรียบร้อย
โจทก์ส่งสำเนาบัญชีกระแสรายวันให้จำเลยแล้วตั้งแต่ขณะยื่นฟ้องตามเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยสามารถตรวจสอบยอดหนี้และรายการคิดดอกเบี้ยได้มาตั้งแต่ต้น การที่จำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การภายหลังวันสืบพยานว่าเป็นหนี้โจทก์อยู่เพียงประมาณ 300,000 บาท จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การก่อนวันดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180
of 13