พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2483
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกใบสุทธิใหม่โดยครูใหญ่เดิม แม้พ้นตำแหน่งแล้ว ไม่ถือเป็นปลอมแปลงหนังสือ และการแก้ไขชื่อให้ตรงกับความจริงไม่เป็นความผิด
ผู้ที่เคยเป็นครูใหญ๋โรงเรียนประชาบาลและเป็นผู้ออกใบสุทธินั้นแม้พ้นจากตำแหน่งครูใหญ่แล้ว ก็ทำใบสุทธิใหม่แทนใบสุทธิเดิมได้ ไม่เป็นปลอมหนังสือและแม้ใบสุทธิใหม่จะใส่ชื่อนักเรียนตามชื่อที่เปลี่ยนใหม่ ก็ไม่เป็นปลอมหนังสือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8950/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: ฟ้องแก้ไขชื่อบิดามารดาในทะเบียนราษฎร ต้องยื่นร้องต่อประธานศาลฎีกา หากล่วงเลยระยะเวลา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยมิใช่บุตรของ จ. และ ส. ซึ่งเป็นบิดามารดาของโจทก์ โดยโจทก์ได้ร้องขอให้นายอำเภอคลองหลวงแก้ไขรายการช่องบิดามารดาในทะเบียนราษฎรของจำเลย คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย จึงไม่อาจแก้ไขรายการช่องบิดามารดาในทะเบียนราษฎรของจำเลยได้ ทำให้โจทก์ในฐานะบุตรของ จ. และ ส. เสียสิทธิในการได้รับสิทธิทำกินในที่ดิน ส.ป.ก. และสิทธิอื่นอีกหลายประการ จึงขอให้บังคับจำเลยแจ้งแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิกถอนชื่อ จ. และ ส. ในช่องบิดามารดาออกจากรายการทะเบียนราษฎรของจำเลย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่พึงจะได้รับตามกฎหมาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อขอให้บังคับจำเลยแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิกถอนชื่อ จ. และ ส. ในช่องบิดามารดาออกจากรายการทะเบียนราษฎรของจำเลยได้ แล้วพิพากษากลับให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาตามรูปคดี จำเลยมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้าน ปัญหาดังกล่าวจึงถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1
พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 11 ก่อนแก้ไขเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558 ซึ่งใช้บังคับในขณะที่โจทก์จำเลยพิพาทกันเป็นคดีนี้บัญญัติว่า ในกรณีที่มีปัญหาว่า คดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่น ไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่น ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด คำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาให้เป็นที่สุด และวรรคสองบัญญัติว่า การขอให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามวรรคหนึ่ง คู่ความจะต้องร้องขอก่อนวันสืบพยานแต่ในกรณีที่ศาลเห็นสมควรให้กระทำได้ก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น การที่จำเลยยกปัญหาเรื่องฟ้องผิดศาลขึ้นในชั้นฎีกาจึงเป็นการล่วงเลยระยะเวลาตามกฎหมาย ไม่อาจกระทำได้ ทั้งจำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นข้อพิพาท จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่จะยกขึ้นอ้างได้แม้จะมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 11 ก่อนแก้ไขเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558 ซึ่งใช้บังคับในขณะที่โจทก์จำเลยพิพาทกันเป็นคดีนี้บัญญัติว่า ในกรณีที่มีปัญหาว่า คดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่น ไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่น ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด คำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาให้เป็นที่สุด และวรรคสองบัญญัติว่า การขอให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามวรรคหนึ่ง คู่ความจะต้องร้องขอก่อนวันสืบพยานแต่ในกรณีที่ศาลเห็นสมควรให้กระทำได้ก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น การที่จำเลยยกปัญหาเรื่องฟ้องผิดศาลขึ้นในชั้นฎีกาจึงเป็นการล่วงเลยระยะเวลาตามกฎหมาย ไม่อาจกระทำได้ ทั้งจำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นข้อพิพาท จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่จะยกขึ้นอ้างได้แม้จะมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1761/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขชื่อจำเลยในคดีถึงที่สุด ศาลต้องไต่สวนเพื่อยืนยันว่าเป็นบุคคลเดียวกันก่อน
หลังจากศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาตามยอมและออกหมายบังคับคดีแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง ใบแต่งทนายความบัญชีพยาน คำพิพากษา และหมายบังคับคดีในส่วนชื่อของจำเลยที่ 3 จาก "นางละมูล พลทอน" เป็น "นางละมูลหรือละมุล พลทอน" ตามลายมือชื่อที่จำเลยที่ 3 ลงไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาและสัญญาประนีประนอมยอมความว่า "ละมุล พลทอน" ศาลแรงงานกลางต้องไต่สวนให้ได้ความว่านางละมูล พลทอน จำเลยที่ 3 กับนางละมุล พลทอน เป็นบุคคลคนเดียวกันหรือไม่แล้วจึงมีคำสั่งตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4605/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขชื่อผู้ถือหุ้นแทน, อำนาจฟ้องโอนหุ้น, และการบังคับแก้ไขสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น
ความเกี่ยวพันระหว่างผู้ลงทุนในบริษัทจำเลยที่ 1 ย่อมต้องบังคับตาม ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 22 มาตรา 1015 ซึ่งกำหนดว่า บริษัทเมื่อได้จดทะเบียนตามบทบัญญัติลักษณะดังกล่าวแล้ว จัดว่าเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งรวมเข้ากันเป็นบริษัทนั้น โดยบทบัญญัติดังกล่าวมีลักษณะเป็นบทบังคับโดยเด็ดขาด มิได้มีลักษณะเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้นตามกฎหมาย ที่จะสามารถนำสืบเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จากบทบัญญัติดังกล่าวบริษัทจึงมีสิทธิหน้าที่แยกต่างหากจากบรรดาผู้ถือหุ้น สามารถมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นของตนเอง ทรัพย์สินของบริษัทจึงแยกต่างหากจากทรัพย์สินของบรรดาผู้ถือหุ้น หากบริษัทก่อหนี้สินก็ต้องถูกบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของบริษัท
โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นที่แท้จริงในบริษัทจำเลยที่ 1 โดยบรรดาผู้ถือหุ้นทุกคนของบริษัทจำเลยที่ 1 ถือหุ้นแทนโจทก์ หากเป็นจริงดังที่กล่าวอ้าง โจทก์ก็มีสถานะเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ซึ่งผู้ที่เป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัท ไม่ได้เป็นกรรมการบริษัทซึ่งเป็นผู้แทนนิติบุคคลของบริษัท จะมีสิทธิแต่เพียงควบคุมการดำเนินงานของกรรมการบริษัทบางประการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น หาอาจก้าวล่วงเข้าไปจัดการงานของบริษัทเสียเองได้ไม่ หรือหากกรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท ซึ่งบริษัทมีสิทธิจะฟ้องร้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนแก่กรรมการแล้วบริษัทไม่ยอมฟ้องร้อง ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่าก็ได้ตามมาตรา 1169 วรรคหนึ่ง อันเป็นการใช้สิทธิของบริษัทเพื่อประโยชน์ของบริษัท แต่ผู้ถือหุ้นหาอาจจะเข้ามาดำเนินการฟ้องเพิกถอนนิติกรรมสัญญาที่กรรมการบริษัทกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้นิติกรรมการจดทะเบียนซื้อขายทรัพย์สินตามฟ้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 เป็นโมฆะ และให้โอนทรัพย์สินกลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ตามเดิม หากไม่สามารถกระทำได้ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ร่วมกันชำระเงินแทน ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมา ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ฟังขึ้น
โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นที่แท้จริงในบริษัทจำเลยที่ 1 โดยบรรดาผู้ถือหุ้นทุกคนของบริษัทจำเลยที่ 1 ถือหุ้นแทนโจทก์ หากเป็นจริงดังที่กล่าวอ้าง โจทก์ก็มีสถานะเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ซึ่งผู้ที่เป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัท ไม่ได้เป็นกรรมการบริษัทซึ่งเป็นผู้แทนนิติบุคคลของบริษัท จะมีสิทธิแต่เพียงควบคุมการดำเนินงานของกรรมการบริษัทบางประการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น หาอาจก้าวล่วงเข้าไปจัดการงานของบริษัทเสียเองได้ไม่ หรือหากกรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท ซึ่งบริษัทมีสิทธิจะฟ้องร้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนแก่กรรมการแล้วบริษัทไม่ยอมฟ้องร้อง ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่าก็ได้ตามมาตรา 1169 วรรคหนึ่ง อันเป็นการใช้สิทธิของบริษัทเพื่อประโยชน์ของบริษัท แต่ผู้ถือหุ้นหาอาจจะเข้ามาดำเนินการฟ้องเพิกถอนนิติกรรมสัญญาที่กรรมการบริษัทกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้นิติกรรมการจดทะเบียนซื้อขายทรัพย์สินตามฟ้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 เป็นโมฆะ และให้โอนทรัพย์สินกลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ตามเดิม หากไม่สามารถกระทำได้ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ร่วมกันชำระเงินแทน ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมา ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ฟังขึ้น