คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แก้ไขเปลี่ยนแปลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4687/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช็คหลังเรียกเก็บเงินจากธนาคาร และผลกระทบต่ออายุความฟ้องร้อง
การที่ผู้สั่งจ่ายออกเช็คโดยไม่ลงวันที่ แต่ได้ลงชื่อกำกับไว้ย่อมมีความหมายว่าผู้สั่งจ่ายตกลงยินยอมให้ผู้ทรงโดยสุจริตจดวันที่เอาเองได้โดยถือว่าได้รับความยินยอมจากผู้สั่งจ่ายตามลายมือชื่อที่ลงกำกับไว้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช็คซึ่งกระทำหลังจากเช็คนั้นไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารไม่ได้ โดยปกติผู้ทรงเช็คจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังไม่ใช่ปล่อยให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามความพอใจ เมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันออกเช็คไม่ปรากฎว่ามีการลงลายมือชื่อกำกับไว้อันเป็นการผิดปกติกับที่เคยปฎิบัติ มา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ทำหรือยินยอมด้วยในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเมื่อผู้ทรงนำเช็คมาฟ้องให้ผู้สั่งจ่ายรับผิดเกิน 1 ปี นับแต่วันเช็คถึงกำหนดครั้งแรกคดีจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3397/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเช็ค: ผลของการแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันที่เช็คและขอบเขตความผูกพันของผู้อาวัล
โจทก์ผู้ทรงเช็คย่อมต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายเมื่อพ้นเวลา 1 ปี นับแต่วันเช็คถึงกำหนดหรือวันที่ลงในเช็คจำเลยที่ 2 ผู้อาวัลย่อมมีความผูกพันเป็นอย่างเดียวกับบุคคลซึ่งตนประกัน การฟ้องผู้อาวัลผู้สั่งจ่ายจึงใช้อายุความ 1 ปีเช่นเดียวกับฟ้องผู้สั่งจ่าย โจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยที่ 2ผู้อาวัลจำเลยที่ 1 ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ลงในเช็คพิพาทแต่ละฉบับ การที่จำเลยที่ 1 แก้ไขวันที่ลงในเช็คพิพาทใหม่อันเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญนั้นมีผลให้เช็คพิพาทเป็นอันเสียไป แต่ยังคงใช้ได้ต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเท่านั้นเมื่อนับแต่วันที่ที่จำเลยที่ 1 แก้ไขลงไว้ในเช็คพิพาทถึงวันฟ้องยังไม่พ้นเวลา 1 ปี คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงไม่ขาดอายุความแต่โจทก์จะอ้างเอาผลของการที่เช็คพิพาททั้งหมดถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันที่ลงในเช็คโดยจำเลยที่ 2 มิได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นมาเป็นวันเริ่มนับอายุความ เป็นเหตุให้คดีของโจทก์ในการฟ้องจำเลยที่ 2 ไม่ขาดอายุความนั้นหาได้ไม่เพราะมีผลเท่ากับให้โจทก์ยังคงใช้เช็คพิพาทอ้างสิทธิต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นได้ต่อไปอีกเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1007 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5728/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนประทานบัตรเพื่อประโยชน์สาธารณะและการใช้อำนาจของรัฐในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตประทานบัตร
การวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ กระทำเพื่อประโยชน์แก่การอันเป็นสาธารณูปโภคและเพื่อประโยชน์สาธารณะของรัฐ การสร้างท่าเรือน้ำลึกก็เป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไปและประเทศชาติ ถือได้ว่ากระทำไปเพื่อประโยชน์สาธารณะของรัฐ จำเลยที่ 2 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีจึงมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ในเขตประทานบัตรของโจทก์ทั้งสองได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2514/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับบริษัทที่แก้ไขสภาพการจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง ย่อมมีผลเฉพาะลูกจ้างใหม่
ข้อบังคับของนายจ้างที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินสงเคราะห์แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุ ถูกเลิกจ้าง หรือลาออก หรือตาย เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่ได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หากนายจ้างประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกข้อบังคับดังกล่าวในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง นายจ้างจะต้องได้ รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือมิฉะนั้นจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 13 จนมีการเจรจาตกลงกัน หรือหากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ต่อไป เมื่อปรากฏว่า ข้อบังคับฉบับเดิมไม่ได้กำหนดให้ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ การที่นายจ้างออกข้อบังคับฉบับใหม่ให้ยกเลิกข้อบังคับฉบับเดิม โดยข้อบังคับฉบับใหม่ได้ตัดสิทธิของลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่ให้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ ข้อบังคับฉบับใหม่จึงมีผลเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้างที่ปฎิบัติงานอยู่ก่อนมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมิได้กระทำโดยถูกต้อง ข้อบังคับฉบับใหม่คงมีผลเฉพาะต่อลูกจ้างใหม่ที่เข้าทำงานภายหลังการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นเท่านั้น หามีผลต่อลูกจ้างที่ทำงานอยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับฉบับใหม่มีผลใช้บังคับไม่
แม้จำเลยจะได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การไว้แล้วว่าข้อบังคับของจำเลยเป็นคำสั่ง ระเบียบแบบแผนซึ่งออกโดยกฎหมายปกครอง ไม่ต้องนำมาตกลงกับลูกจ้างไม่ใช่เรื่องที่จะนำกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาใช้บังคับก็ตาม แต่เมื่อศาลแรงงานกลางได้ พิจารณาพิพากษาคดีเสร็จโดยไม่มีเหตุสงสัยว่าคดีดังกล่าวไม่นำกฎหมายแรงงานมาใช้ บังคับ และไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ทั้งศาลแรงงานกลางก็มิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวแต่อย่างใด อุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวที่แก้ไขเปลี่ยนแปลง: ความถูกต้องสมบูรณ์และอำนาจฟ้องของโจทก์
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาต่อโจทก์ แม้สัญญาประกันจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมจากข้อความเดิมซึ่งกล่าวหาว่าออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค โดยพิมพ์ข้อความเพิ่มเติมว่า ออกเช็คในขณะที่ออกไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น และมีการแก้ไขจำนวนเงินเดิม 150,000 บาท โดยขีดฆ่าจำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวอักษรออกแล้วพิมพ์ใหม่ว่า 86,600 บาท เนื่องจากตามระเบียบกำหนดให้ผู้ประกันรับผิดไม่เกินจำนวนเงินในเช็คที่ถูกกล่าวหา แต่ข้อความเดิมและข้อความที่เพิ่มเติมก็เป็นข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คนั่นเอง มิได้เพิ่มเติมข้อหาความผิดอื่นแต่อย่างใด และจำนวนเงินประกันที่แก้จากเดิมก็เป็นผลดีแก่จำเลย ทั้งมีการขีดฆ่าจำนวนเงินที่ประกันและลงจำนวนเงินที่ประกันใหม่ต่อหน้าจำเลยก่อนที่จำเลยจะลงชื่อในสัญญาประกันดังกล่าว สัญญาประกันจึงเป็นเอกสารที่ถูกต้องสมบูรณ์มีผลใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4219/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อบริษัทที่มีคำว่า 'เงินทุน' โดยไม่ได้รับอนุญาต และการแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อตามกฎหมาย
จำเลยใช้ชื่อว่าบริษัทเงินทุนในการประกอบธุรกิจโดยจำเลยมิใช่บริษัทเงินทุนตามกฎหมาย ต่อมาระหว่างอุทธรณ์ได้มีประกาศใช้บังคับ พระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ ซึ่งมาตรา 37 บัญญัติให้เลิกใช้ชื่อดังกล่าวภายใน 180 วันนับแต่วันที่พ.ร.ก. ใช้บังคับ ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัทเลิกใช้ชื่อว่า บริษัทเงินทุน ดังนี้จำเลยมิได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 13, 72 แห่งพระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจเงินทุนฯ อีกต่อไป ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งรื้ออาคารต้องเป็นไปตามกฎหมายควบคุมอาคาร หากไม่ผิดกฎหมายหรือแก้ไขได้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีอำนาจสั่งรื้อ
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มีทั้งบทบัญญัติที่เป็นส่วนแพ่งและส่วนอาญา โดยมีบทบัญญัติให้ลงโทษทางอาญาแก่ผู้ฝ่าฝืนในบางกรณีด้วย แต่โจทก์หาได้ฟ้องขอให้ลงโทษทางอาญาไม่ คงฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคาร ซึ่งเป็นบทบัญญัติในส่วนแพ่งเท่านั้นโจทก์จึงฟ้องและดำเนินคดีที่ศาลแพ่งได้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่มีการก่อสร้าง หรือต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและการก่อสร้างหรือต่อเติมนั้นผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นซึ่งระบุไว้ใน พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 42เท่านั้น ทั้งต้องเป็นกรณีที่การก่อสร้าง หรือต่อเติมนั้นไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นด้วย หากการก่อสร้างหรือต่อเติมนั้นไม่ผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือผิดแต่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ เจ้าพนักงานจะมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารหาได้ไม่ เมื่อการก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารของจำเลยไม่ผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น โจทก์ก็ไม่อาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารได้ กรณีของจำเลยต้องด้วยพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 43 ที่อาจยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้องได้ แม้จำเลยจะเคยยื่นคำขออนุญาตต่อเติมอาคารชั้นที่ 5และไม่ได้รับอนุญาต เพราะโจทก์อ้างว่าความสูงของอาคารไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะอนุญาตให้ได้เมื่อจำเลยมิได้ก่อสร้างต่อเติมฝ่าฝืนกฎหมายจำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเติมอาคารให้โจทก์พิจารณาในเหตุอื่นได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1475/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินในเช็คหลังการสลักหลัง ผู้สลักหลังรับผิดชอบเฉพาะจำนวนเงินเดิมที่สลักหลัง
หลังจากสลักหลังเช็คพิพาทแล้วได้มีการกรอกตัวหนังสือและตัวเลข เพิ่มเข้าไป การแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์ ผู้สลักหลังย่อมมีความรับผิด เพียงเท่าจำนวนเงินเดิมขณะสลักหลังเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงิน ธนาคารผู้ทรงเช็คต้องคืนเงินส่วนเกินให้ผู้สั่งจ่าย
ผู้สั่งจ่ายออกเช็คล่วงหน้าสั่งธนาคารโจทก์จ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่ ช. ต่อมาได้มีการแก้ไขจำนวนเงินในเช็คให้สูงขึ้น แล้ว ส. ได้นำเช็คดังกล่าวมามอบให้ธนาคารจำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของ ส. ครั้นเช็คถึงกำหนด จำเลยได้เรียกเก็บเงินจากโจทก์หักล้างหนี้ของ ส.ต่อมาผู้สั่งจ่ายทราบจึงเรียกเงินคืนจากโจทก์ โจทก์ได้จ่ายเงินจำนวนที่ถูกแก้ไขให้สูงขึ้นแก่ผู้สั่งจ่ายแล้วมาฟ้องเรียกคืนจากจำเลย ดังนี้ เมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าจึงเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ไม่ประจักษ์ในข้อสำคัญเมื่อผู้สั่งจ่ายไม่ได้รู้เห็นยินยอมในการแก้ไขด้วย จำเลยผู้ทรงเช็คย่อมมีสิทธิบังคับการใช้เงินตามเช็คได้เพียงจำนวนเงินเดิมก่อนมีการแก้ไขเท่านั้นจำนวนที่เกินเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เมื่อโจทก์มิได้จ่ายเงินให้จำเลยรับไปตามอำเภอใจ แต่จ่ายไปโดยเชื่อว่าผู้สั่งจ่ายออกเช็คสั่งจ่ายเงินตามจำนวนที่แก้ไข จำเลยจึงต้องคืนเงินส่วนที่รับเกินมาแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์แจ้งให้ทราบ
แม้ผู้สั่งจ่ายเขียนเช็คเว้นช่องว่างหน้าตัวเลขและตัวหนังสือจำนวนเงินไว้มากเป็นเหตุให้มีการเพิ่มเติมจำนวนเงินได้ง่าย แต่จำนวนเงินส่วนเกินที่จำเลยรับก็เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ หากจำเลยได้รับความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อของผู้สั่งจ่ายอย่างไรก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องว่ากล่าวเอาแก่ผู้สั่งจ่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับบริษัทต้องเป็นไปตามกฎหมาย แม้ข้อบังคับบริษัทจะอนุญาตให้ทำได้โดยมติธรรมดา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1145 ห้ามมิให้เพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของบริษัท เว้นแต่ทำโดยมติพิเศษของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ฉะนั้น การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของบริษัทโดยมติธรรมดาจึงใช้ไม่ได้ หากมีข้อบังคับของบริษัทอนุญาตให้ทำได้ก็ไม่มีผลบังคับ เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย
of 4